Green Campus หรือ มหาวิทยาลัยสีเขียว หมายถึง มหาวิทยาลัยที่มีการบูรณาการอนุรักษ์ด้านพลังงาน และสิ่งแวดล้อมเข้าไปในการเรียนการสอน การวิจัย และในทุกกิจกรรม ของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการทำงานในบรรยากาศที่มีความปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงาน อันก่อให้เกิดผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนของชาติ

การพัฒนาพื้นที่ที่จะมุ่งสู่ความเป็น Green Campus นั้น ควรมีแผนดำเนินการพัฒนาที่จะให้สอดคล้องกับสภาพของพื้นที่ และเป็นไปตามลักษณะสิ่งแวดล้อมโดยรอบพื้นที่ดังกล่าว การดำเนินงานเพื่อมุงสู่ Green Campus นั้น มีการวาง concept ของการพัฒนาโดยยึดหลัก 9 ประการดังนี้

1. Supporting Excellence
2. An Enhanced Research Focus
3. Strengthening Community Connection
4. An International Perspective
5. Green Campus
6. A Connected Campus
7. A Livable Campus
8. The Life – Long Campus
9. A Tradition of Design Excellence

1. Supporting Excellence

การจัดทำ Master Plan ต้องคำนึงถึงเป้าหมายของการพัฒนาพื้นที่ว่าจะดำเนินการในด้านใด ซึ่งโดยหลักของการพัฒนาพื้นที่ในส่วนนี้จะให้ความสำคัญกับงานด้านการศึกษาการวิจัย และการเป็นศูนย์ฝึกอบรมเฉพาะทางเป็นหลัก ซึ่งการจัดทำ Master Plan จึงควรที่จะต้องให้ความยืดหยุ่นกับพื้นที่การใช้งานของงานทั้งสามด้านที่วางไว้ โดยการออกแบบ Master Plan ควรที่จะสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และนโยบายของมจธ.เป็นหลัก โดยสามารถที่จะมีการ revised master plan ได้เมื่อมีความชัดเจนของพื้นที่การใช้งานเพียงพอ โดยยุทธศาสตร์หลักที่นำมาใช้ในการจัดทำ Master Plan ควรเป็นไปในลักษณะที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของมหาวิทยาลัยนั้น เป็นหลัก โดยมีการแสดง Mission ที่ชัดเจนและการกำหนดระยะเวลาของกิจกรรมตามแผนและดำเนินการแบบ Enrolment Plan

2. An Enhanced Research Focus

โดยเหตุที่มหาวิทยาลัยที่ได้วางเป้าหมายของการมุ่งสู่ความเป็น Green Campus นั้น ควรมีการสนับสนุนให้เกิดการวิจัยที่มุ่งสู่การพัฒนาความเป็น Green Campus โดยสามารถจัดทำเป็น Research Excellent และสนับสนุนให้เกิดการจัดตั้ง Excellent Center ด้าน Green Campus ขึ้นภายในมหาวิทยาลัยหลายกลุ่ม ซึ่งขึ้นอยู่กับศักยภาพของกลุ่มวิจัยต่างๆ ซึ่งในการพัฒนาพัฒนาพื้นที่ ซึ่งมีจุดเป้าหมายของการมุ่งสู่ความเป็น Green Campus จึงควรกระตุ้นและชักจูงให้กลุ่มวิจัยที่มีทิศทาง/เป้าหมายของการวิจัยที่ชัดเจนรวมถึง Excellent Center ที่มีการดำเนินการวิจัยพัฒนาที่สอดคล้องกับงานด้านการพัฒนาพื้นที่และงานด้านสิ่งแวดล้อม/พลังงาน ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของชาติและสิ่งแวดล้อมโดยรอบมหาวิทยาลัย โดยหลักสำคัญในการวางเป้าหมาย และทิศทางการวิจัยก็เพื่อสามารถที่จะได้เห็นภาพของการดำเนินงานที่ชัดเจนขึ้น ทำให้การจัดทำ Master Plan สามารถวางไว้/ออกแบบได้ใกล้เคียงกับรูปแบบการดำเนินการจริง ซึ่งต้องคำนึงถึงส่วนประกอบที่สำคัญส่วนอื่นที่ต้องเตรียมให้พร้อมกับการดำเนินงานในลักษณะของ Excellent Center เช่นต้องเตรียมการด้านการสนับสนุนงานวิจัย ทั้งอาคาร เครื่องมืออุปกรณ์ตลอดจนที่พัก/หอพัก/บ้านพัก ที่อยู่ภายในพื้นที่ และสร้างระบบที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างนักศึกษาบุคลากร และเกิดความร่วมมือข้ามหน่วยงานในการดำเนินงานบางอย่าง

3. Strengthening Community Connection

มหาวิทยาลัยที่มุ่งสู่ความเป็น Green Campus ควรมีนโยบายอย่างชัดเจนในการที่จะสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยอย่างใกล้ชิด โดยใช้กลไกในการดำเนินงานด้านมหาวิทยาลัยกับชุมชนในเชิงรุก โดยมีกิจกรรมร่วมกับชุมชนที่อยู่รอบมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาพื้นที่ในส่วนนี้ และควรวางเป้าหมายหลักของกิจกรรมด้านมหาวิทยาลัยกับชุมชน และมหาวิทยาลัยกับโรงเรือนโดยรอบพื้นที่ ให้เป็นกิจกรรมพัฒนาเชิงรุกไว้ ตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัยที่มีพื้นที่อยู่ใกล้กับชายฝั่งทะเล ควรดำเนินกิจการดังนี้ คือเป็นศูนย์การเรียนรู้และฝึกปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนระบบนิเวศวิทยาของพื้นที่ป่าชายเลนและ หรือเขตน้ำกร่อย และศูนย์ศึกษาด้านทรัพยากรชีวภาพ (Biodiversity) ป่าชายเลน, จัดทำศูนย์วัฒนธรรมพื้นที่และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการเรียนรู้และอนุรักษ์, พัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม และเทคโนโลยีผสมผสานที่ต่อยอดภูมิปัญญาชาวบ้าน เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนขึ้นภายในชุมชน, จัดทำศูนย์ฝึกอบรมและศูนย์การเรียนรู้สำหรับชุมชนและโรงเรียน เพื่อให้เกิดการพัฒนาชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย และจัดทำโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับชุมชน และโรงเรียนรอบพื้นที่

4. An International Perspective

การพัฒนาพื้นที่ของมหาวิทยาลัยที่มุ่งสู่ความเป็น Green Campus ที่ได้วางเป้าหมายของการที่จะนำ International Program ที่เน้นด้านการศึกษาสภาพแวดล้อมภู มิสถาปัตย์ตลอดจนการวิจัยพัฒนาที่สอดคล้องกับระบบนิเวศวิทยาและการมุ่งสู่การเป็น Green Campus ของมหาวิทยาลัยเป็นหลัก รวมถึงการให้โอกาสจัดทำโครงการในลักษณะของ Project Based ที่ทำเกิดการพัฒนาพื้นที่ที่สอดคล้องกับระบบนิเวศวิทยาและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ซึ่งการวางแผนจัดทำ Master plan ที่สอดคล้องกับหลักการพัฒนาพื้นที่ในส่วนนี้ ต้องคำนึงถึงความต้องการของนักศึกษาในหลักสูตร International Program เหล่านี้ ซึ่งนอกเหนือจากหลักสูตรและความต้องการในส่วนของ Academic area แล้ว ยังต้องคำนึงถึงความต้องการพื้นที่ในส่วนของ on-campus services และ housing ซึ่งต้องมีการออกแบบให้อยู่ในรูปแบบของ Eco friendly design และต้องขยายการจัดทำ International Student Centers หรือกิจกรรมนานาชาติ ที่ให้บริการด้านการสนับสนับสนุน และการสร้างกิจกรรมเพื่อให้นักศึกษาและนักวิจัยต่างชาติได้เข้าร่วมและมีส่วนร่วมกิจกรรมด้านศิลปะวัฒนธรรม, สังคม และกิจกรรมด้านอื่นๆ ภายในมหาวิทยาลัย

5. A Green Campus

จากเป้าหมายหลักของมหาวิทยาลัยที่จะมุ่งสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ที่มีการจัดการสิ่งแวดล้อม และพลังงานที่ดีขึ้นภายในมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นต้นแบบให้กับหน่วยงานอื่น ตลอดจนชุมชนที่อยู่รอบหมาวิทยาลัยนั้น การจัดทำ Master plan และการวางแผนกิจกรรม/ตลอดจนการออกแบบก่อสร้างต่างๆ ต้องคำนึงถึงการบูรณาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานผนวกเข้ากับการดำเนินงานในทุกส่วนของฝ่ายสนับสนุน, การเรียนการสอน, การวิจัย และการพัฒนาทางภายภาพของพื้นที่ทั้งในงานด้านภูมิสถาปัตย์ และการออกแบบจัดทำ Master plan ด้านต่างๆ โดยมีหลักสำคัญที่ต้องคำนึงถึงดังนี้คือ

- การออกแบบอาคาร และภูมิสถาปัตย์ตลอดจนระบบสาธารณูปโภคคำนึงถึงสภาพแวดล้อม และการประหยัดพลังงาน
- กระตุ้นและสนับสนุนให้เกิดการด้านทางติดต่อภายใน Campus โดยการใช้ทางเดินเท้าต่อเชื่อมและการสร้างบ้านพัก หอพัก ภายในมหาวิทยาลัยที่สามารถใช้การเดินทางด้วยจักรยานหรือใช้รถบ่อยที่สุด
- พัฒนา Green Architecture guideline
- ออกแบบสภาพภูมิสถาปัตย์และสิ่งแวดล้อมให้เป็น sustainable landscape design
- จัดระบบและพ้นที่รวมทั้งคู่มือด้านการบริหารจัดการให้เกิดการ reuse/recycle
- จัดระบบการเรียนรู้/สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับบุคลากร/นักศึกษาในระบบการบริหารจัดการ Green Campus

6. Connected Campus

เพื่อให้การพัฒนาพื้นที่มุ่งสู่ความเป็น Green Campus และเป็นไปตามเป้าหมายของการดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆ การพัฒนาและออกแบบ จัดทำ Master plan ต้องคำนึงถึงการแบ่งโซนของ area ต่างๆ และการเดินทางเชื่อมต่อในบริเวณโซนเหล่านั้นเพื่อให้เกิดการเดินทางที่ลดการใช้พลังงาน โดยมีหลักสำคัญควรคำนึงดังนี้ คือ

- สร้างการต่อเชื่อมในส่วน Academic area ให้สามารถเดินเข้าชั้นเรียนในแต่ละวิชาโดยใช้การเดินเท้าในเวลาประมาณ 10 นาที
- กระตุ้นให้เกิดการเชื่อมต่อสภาพทางภูมิสถาปัตย์ระหว่าง Campus เดิมกับ Campus ใหม่ให้มีความร่มรื่น และเกิดการเชื่อมต่อกับแม่น้ำหรือลำคลองในบริเวณใกล้เคียงเพื่อให้เกิดความร่มรื่นและเพื่อเพิ่มทัศนียภาพ
- กระตุ้นและสนับสนุนให้เกิดการต่อเชื่อมในส่วนของ Core Campus area และส่วนของ Academies/Research area เข้ากับศูนย์กิจกรรมการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม/สภาพแวดล้อม
- สร้างศูนย์กีฬา/ sport center/fitness ทั้งใน Indoor และ Outdoor แยกเป็นโซน แต่มีการต่อเชื่อมและจัดทำกิจกรรมกระตุ้นให้เกิดการใช้พื้นที่/และการออกกำลังกายสำหรับบุคลากรใน Campus และชุมชน /โรงเรียนในพื้นที่ใกล้เคียง
- ขยายส่วนของ courtyard-type open spaces และกระตุ้นให้เกิดการใช้พื้นที่นอกอาคารขึ้นภายใน campus และออกแบบ/จัดรูปแบบเพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีของทางเดินเท้าที่วนรอบ campus โดยใช้กลยุทธ์ของการจัดตั้งอาคาร, ต้นไม้, สวนพฤกษ์ชาติ และหอศิลป์หรืออื่นๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้ทางเดินเท้า
- กระตุ้นให้มีการจัดทำประตูทางเข้าหลักของมหาวิทยาลัยให้เป็นส่วนที่ให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุน หรือเกิดกิจกรรมในเชิงรุกระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนรอบข้าง
- ออกแบบระบบจราจรที่ไม่ต้องการให้มีสถานที่จอดรถในบริเวณกว้างอยู่ด้านข้างของสภาพภูมิสถาปัตย์ โดยมีการจัดสถานที่จอดรถไว้ตามบริเวณที่อยู่ด้านข้างของส่วนที่เป็น Core Campus area เท่านั้น

7. Livable Campus

เพื่อสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมตามเป้าหมายของการใช้พื้นที่ให้เป็น Green Campus ตามที่วางไว้ การออกแบบและการวางแผนการจัดการ/จัดระบบต่างๆ ภายใน Campus ต้องคำนึงถึงสถานที่ ซึ่งเป็นที่พักที่อาศัยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี, ปริญญาโท, บุคลากรฝ่ายสนับสนุนที่มีครอบครัวแล้ว และนักวิจัยแลกเปลี่ยน และต้องคำนึงถึง On-Campus service ในส่วนของงานพยาบาลและศูนย์การแพทย์, ศูนย์รับเลี้ยงเด็ก Child care, ห้องอาหาร/ convenient store , ธนาคารไปรษณีย์, entertainment, recreation และ transportation

8. The Life – Long Campus

สนับสนุนให้เกิดการจัดตั้งสมาคมนักศึกษาเก่าและมีกิจกรรมนักศึกษาใหม่ที่สอดคล้องกับการเป็น Green Campus เพื่อให้เกิดการช่วยเหลือและสนับสนุนด้านกองทุน/การช่วยเหลือสนับสนุนด้านการเงินและกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถดำเนินการโดยจัดทำศูนย์ Alumni Welcoming Center และให้ on-campus service ในส่วนที่เป็นสาธารณะ ซึ่งบุคลากรภายนอกสามารถเข้ามาใช้บริการได้ง่าย ซึ่งจะกระตุ้นความสนใจของ Alumni และอยู่เข้าเยี่ยมชมโดยจัดตั้งศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง ซึ่งมีกิจกรรมน่าสนใจตอลดทุกเดือน, ร้านหนังสือ, ร้านอาหาร cafes และร้านค้า/ร้านที่ให้บริการด้านอื่นๆ ซึ่งเข้าโดยใช้ตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย

9. A Tradition of Design

การมุ่งสู่การเป็น Green Campus นั้น ต้องมีการวางแผนการพัฒนาพื้นที่ใหม่ โดยวางเป้าหมายมุ่งสู่การเป็นต้นแบบอันดีในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงาน และสอดคล้องกับระบบนิเวศวิทยาของสภาพแวดล้อมที่มีอยู่เดิม การจัดทำ Master Plan ของ Campus ต้องมีการออกแบบสภาพภูมิสถาปัตย์ และตัวอาคารตลอดจนทางเดินและสภาพแวดล้อมต่างๆ และการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และลดการใช้พลังงาน ซึ่งการออกแบบด้านการพัฒนาพื้นที่เพื่อให้ก่อประโยชน์ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยพยายามรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติอันเดิมที่มีอยู่ ทั้งนี้เพื่อให้การพัฒนาพื้นที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศวิทยาที่มีอยู่เดิมน้อยที่สุด

 

เอกสารอ้างอิง

1. www.cnr.umn.edu/sci/Resources.html
2. www.epa.gov/ne/assistance/univ/pdfs
3. www.atec.org/pub/greenbr.pdf
4. www.greencampus.harvard.edu
5. www.outreach.missouri.edu
6. www.mtholyoke.edu
7. www.msu.mcmaster.ca

 

 

 





Presented by
Digital Library Team | e-mmet@lib.kmutt.ac.th