รศ.ดร.บุญเจริญ ศิริเนาวกุล

รองอธิการบดีฝ่ายวางแผน
และพัฒนา

สวัสดีครับ

ฉบับนี้เป็นฉบับที่ 5 แล้ว เราก็ยังมีเรื่องเด่นที่อยากจะนำมาเสนอให้อ่านอีกหลายเรื่องเช่นเดิม ในฉบับนี้เรื่องเด่นประจำฉบับเรื่องแรกชื่อ “ ระบบผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลระดับครัวเรือน ” เขียนโดย ดร. อภิชิต เทอดโยธินในเรื่องจะกล่าวถึง โซล่าเซล ซึ่งเป็นสารกึ่งตัวนำที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือ เมื่อได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์แล้ว จะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าชนิดกระแสตรงออกมาได้ มูลนิธิคลังสมองของชาติได้ให้ทุนแก่คณะพลังงานและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีทำการศึกษาเรื่องนี้ ว่าการใช้งานโซล่าเซลที่จะประสบความสำเร็จจะต้องมีปัจจัยอะไรบ้าง

เรื่องอื่นๆ ก็มีหลายเรื่องเช่นกัน คือ การทดสอบความสามารถในการใช้ผลิตภัณฑ์ หรือ Usability Testing จะกล่าวถึงเรื่องของ “ ผู้ใช้จะใช้ระบบที่เขาเข้าใจ ” หมายความว่าถ้าระบบนั้นทำให้ชีวิตยากขึ้น ก็จะไม่มีใครใช้ ดังนั้นประโยชน์ของการทดสอบความสามารถในการใช้งาน จะช่วยทำให้ผลิตภัณฑ์นั้นใช้งานง่าย (easy-to-use)

เรื่องที่สองเป็นเรื่องของผลิตภัณฑ์ GMOs เขียนโดย มธุรา สิริจันทรัตน์ ที่กล่าวถึงการ ที่พืชหลายชนิดที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมด้วย DNA จากแหล่งภายนอก นั้นเป็นอย่างไรสามารถติดตามได้

เรื่องที่สามเป็นเรื่องของ การตรวจสอบโดยไม่ทำลาย (NON DESTRUCTIVE TESTING) เขียนโดย ผศ.วชิระ มีทอง ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนี้ ได้กล่าวถึง การตรวจสอบโดยไม่ทำลายหมายถึงอะไรให้ฟังครับ

เรื่องที่สี่เป็นเรื่องของปูนซีเมนต์ เขียนโดย รองศาสตราจารย์ ดร. ชัย จาตุรพิทักษ์กุล ซึ่งจะอธิบายถึงความเป็นมา และประโยชน์ของการให้งานในหลายแง่มุม

ขอให้ผู้อ่านมีความสนุกกับเนื้อหาวิชาการในวารสารอิเล็กทรอนิกส์ฉบับนี้ด้วยครับ





Presented by
Digital Library Team | e-mmet@lib.kmutt.ac.th