หัวข้อข่าวปีที่ 3 ฉบับที่ 34 ประจำวันที่ 2002-09-24

ข่าวการศึกษา

วิชาการจัดการวิศวกรรม
ทบวงฯมุ่งผลิตบัณฑิตกล้าเป็นผู้นำ
ครม.ไฟเขียนอาจารย์เกษียณ 65 ปี
จี้ กมธ.ระงับเวลาประเมินภายนอก
เผยผลสำรวจนักศึกษา มธ.85% อยากอยู่รังสิตเกิน 2 ปี
ทบวงฯ ย้ำมหาวิทยาลัยร่าง ก.ม. ออกนอกระบบได้ตามใจ
สมศ.เล็งรับรองหลักสูตร ป.โท ประเมินภายนอก
ดึงตัวแทน นศ.ราชภัฎแฉปัญหากลุ่มเสี่ยง
ไฟเขียวค่าใช้จ่ายรายหัวเรียนฟรี 12 ปี เปิดทางเอกชนเก็บเพิ่มไม่เกินเพดาน สกศ.
หนุนเลิก GPA-PR ทำเด็กเครียด
หนุนมหาวิทยาลัยจังหวัดรองรับเด็กจบ ม.6 กว่า 80%
“วพละ-ร.ร.กีฬา” ตบเท้าหนีศธ. ค้านโอนข้าราชการสังกัดราชภัฏ
เอกชนจับมือ สกศ.ดันเลิกสอบเข้า ป.1 ชงครม.เริ่มปี’48-แฉเด็กฝากการเมือง
สรุป 158 เขตพื้นที่ศึกษาลงตัวแล้ว
มศว.ตั้งธ.สมองอาจารย์เกษียณ
ยันโอนขรก.ราชภัฏลง “สกอ.” ไร้ปัญหา
ปอมท.ลุยทำประชามติ ม.อิสระ

ข่าววิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี

ดร.มหิดลคว้ารางวัลนักวิทย์รุ่นเยาว
สสวท.จับมือเนคเทค กรุยทาง”สมองกล”สู่ชั้นเรียน
นาโนเทคโนโลยี...คลื่นลูกใหม่แห่งวงการวิทยาศาสตร์
มะขามหวานฉายรังสี
โครงการพระราชดำริแหลมผักเบี้ย ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมชุมชน
มังกรไล่บล็อกเว็บไซต์ดัง
ห้ามใช้น้ำส้มตรวจหามะเร็ง
กฟผ.ตั้งเป้าหมื่นครัว ‘บ้านพลังงานแสงอาทิตย์’
ผลิตถุงยางทันใจใช้เวลาใส่ 3 วินาที
นักวิทยาศาสตร์ชวนท้าพิสูจน์สารคดีนักบินอวกาศย่ำดวงจันทร์

ข่าววิจัย/พัฒนา

บัณฑิตวิศวฯวัสดุ ม.เกษตร คว้าแขมป์ Thainox Award 2002
นักพฤกษศาสตร์ไทย-มาเลย์จับมือศึกษาไม้วงศ์เปล้า สนองนโยบายความหลากหลายทางชีวภาพ
โรงงานต้นแบบผลิตเอทานอลจากมันเส้น
THE หอยหลอด RETURN หุ่นยนต์มหัศจรรย์จากมันสอมองเด็กไทย
ยุคใหม่ของสารกึ่งตัวนำ
โทษความเครียดทำให้เด็กอ้วนเครียดหนักยิ่งเคี้ยวของมันมาก
ฮือฮาขมิ้นชันสมุนไพรไทยอุดมวิตามินอีชะลอความแก่ลดเหี่ยวย่น
คนตาบอดใกล้เห็นแสงรำไรพัฒนาอุปกรณ์ช่วยให้มองเห็นได้
แนะไทยให้สำคัญงานวิจัยพื้นฐาน

ข่าวทั่วไป

ชี้ยอดอัลไซเมอร์อีก 30 ปีเพิ่มสูง 5 แสนราย
อย่ามองข้ามปัญหา คลื่นเซาะ “ชายฝั่งบางขุนเทียน”
องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์เตรียมสร้าง รพ.ศูนย์มะเร็ง
ยาแผนโบราณอีสานตื่นตัวเปิดอบรมอนุรักษ์ภูมิปัญญามุ่งพัฒนาคุณภาพ
ระวังภาวะแทรกซ้อนหลังทำเลสิก
ยอดมะเร็งปากมดลูกภาคเหนือสูง





ข่าวการศึกษา


วิชาการจัดการวิศวกรรม

วิชาการจัดการวิศวกรรมเกิดจากการเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรมของโลก ในปัจจุบันวิศวกรไม่มีความรู้ทางด้านการบัญชี การตลาด และการเงิน จึงมีปัญหาในการบริหารจัดการระยะหลังจึงเกิดวิชาการบริหารแบบ BMA ในสหรัฐอเมริกาที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐมิสซูรี่ว฿งเปิดสอนในระดับปริญญาตรีเรียนวิศวกรรมศาสตร์ 3 ปี และวิชาการบริหาร 1 ปี สอนปริญญาโทจะเรียนวิชาการบริหารเป็นหลัก แต่ต้องมีพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยชั้นนำได้เปิดสอนวิชาการจัดการของวิศวกรรมมากขึ้น และมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขาการจัดการวิศวกรรมใหญี่สุด 10 แห่ง เรียงลำดับดังนี้ 1.University of Missouru-Rolia 2. George Washington University 3. Northwestern University 4. Cornell University 5. Rensselaer Polytechin 6. Oklahoma State University 7. Wayne State University 8. University of Michigan Dearbon 9. Oakland University 10. Southern Methodist University (เดลินิวส์ พฤหัสบดี ที่ 12 กันยายน 2545 หน้า 16)





ทบวงฯมุ่งผลิตบัณฑิตกล้าเป็นผู้นำ

ศ.ดร.วรเดช จันทรศร ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย กล่าวในการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง”สาขาวิชาที่มีความจำเป็นเร่งด่วนต่อการพัฒนาประเทศในช่วง 5-15 ปีข้างหน้า” ว่าทุกสาขาวิชาจะมีความสำคัญเท่ากัน แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญและควรตระหนักคือ เราจะต้องผลิตบัณฑิตในทุกสาขาวิชาให้เป็นผู้นำ เพื่อจะได้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศต่างๆ ได้ ดังนั้นเราควรปรับยุทธศาสตร์ในการผลิตบัณฑิตที่จะต้องเน้นที่สหวิชาการให้มากขึ้น โดยจัดการเรียนการสอนให้สามารถศึกษาข้ามสาขาวิชาและเชื่อมโยงกันได้ เพื่อให้สอดคล้องกับโลกยุคใหม่ และต้องผลิตบุคลากรให้ตรงต่อความจำเป็นการพัฒนาประเทศ โดยมุ่งเป้าหมายผลิตบุคลากรให้เป็น winner และ leader ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนในอนาคตควรให้นิสิตนักศึกษาในสาขาวิชาต่างๆ ทั้งที่ขาดแคลนและไม่ขาดแคลนได้ศึกษาการบริหารจัดการควบคู่ไปกับสาขาวิชาต่างๆ ด้วย (เดลินิวส์ จันทร์ที่ 16 กันยายน 2545 หน้า 14)





ครม.ไฟเขียนอาจารย์เกษียณ 65 ปี

นายยงยุทธ ติยะไพรับ โฆษกประจำสำนักรัฐมนตรี แถลงว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบการ ขยายเวลาการเกษียณอายุของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐบาลจาก 60 ปีเป็น 65 ปี เนื่องจากอาจารย์ที่มีประสบการณ์ในสายวิชาการเมื่อเกษียณอายุแต่สุขภาพยังแข็งแรงจึงถือว่ายังเป็นประโยชน์ในการให้ความรู้แก่เด็กทั้งหลายและทำให้อาจารย์ได้พัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามทบวงฯ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ของผู้ที่จะเกษียณอายุ 65 ปีว่า 1.ต้องเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์หรือ รองศาสตราจารย์ 2.สุขภาพแข็งแรง 3.ต้องแจ้งให้อธิการบดีต้นสังกัด และ 4.ต้องให้อ.ก.พ.ในมหาวิทยาลัยประเมินผลและเสนอต่อสภามหาวิทยาลัยเพื่ออนุมัติทั้งนี้ต้องเสร็จสิ้นก่อนที่อาจารย์ผู้นั้นจะเกษียณเป็นเวลา 6 เดือน โดยที่ประชุมได้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการไปแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบำเหน็จบำนาญข้าราชการรวมทั้งกฎหมายและระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (เดลินิวส์ พุธที่ 18 กันยายน 2545 หน้า 3)





จี้ กมธ.ระงับเวลาประเมินภายนอก

ตามที่คณะกรรมาธิการสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ วุฒิสภาได้มีมติปรับมาตรา 72 วรรค 3 ของ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ 2542 ที่กำหนดว่าภายใน 6 ปี นับตั้งแต่วันที่ พ.ร.บ. ฉบับนี้ใช้บังคับ (20 ส.ค. 2548) ให้กระทรวงศึกษาทุกแห่ง เมื่อ พ.ร.บ. ฉบับนี้ใช้บังคับมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปีหรือ ประเมินผลครั้งแรกหลังวันที่ 20 ส.ค. 2542 นั้น ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ อาจารย์คณะครุศาสตร์จุฬาฯ กล่าวว่า การขยายเวลาการประเมินภายนอกออกไปนั้นจะส่งผลกระทบระดับชาติ เพราะคุณภาพการศึกษาไทยกำลังอยู่ในขั้นวิกฤติ เป็นกระแสของการซื้อขายการศึกษา คนขายได้เงินและคนซื้อได้ปริญญา ขณะเดียวกันสถานประกอบการก็เริ่มยอมรับในปริญญาน้อยลง ปริญญาตรีแทบจะหมดความหมายและเริ่มลามไปถึงปริญญาโท ซึ่ง สนง.รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ถือเป็นหน่วยงานกลางที่ต้องเข้ามาดูแล (สยามรัฐ พุธที่ 18 กันยายน 2545 หน้า 7)





เผยผลสำรวจนักศึกษา มธ.85% อยากอยู่รังสิตเกิน 2 ปี

รศ.ดร.นริศ ชัยสูตร อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดเผยผลการสำรวจความคิเห็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี มธ. เกี่ยวกับกรณีการย้ายการเรียนการสอนไปศูนย์รังสิตขององค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่า มีนักศึกษา 85% ต้องการศึกษาที่ศูนย์รังสิตมากกว่า 2 ปีขึ้นไป ส่วนอีก 15% เห็นด้วยที่จะเรียนที่ศูนย์รังสิตเฉพาะขั้นปีที่ 1 เท่านั้น แต่มหาวิทยาลัยยังคงรูปแบบการสอนที่จะให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 และ 2 เรียนที่ศูนย์รังสิต ส่วนปี 3 และ 4 ให้กลับไปเรียนที่ท่าพระจันทร์ ขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยจะเตรียมความพร้อมที่ศูนย์รังสิตให้มากขึ้นโดยให้ทุกคณะเปิดสอนวิชาโทที่ศูนย์รังสิตเพื่อรองรับนักศึกษาให้เต็มที่ และวิชาไหนมีผู้เรียนมากก็ให้ใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล (Teleconference) โดยจะสอนพร้อมกันทั้งที่ท่าพระจันทร์และรังสิต ตลอดจนเปิดโอกาสให้นักศึกษาลงทะเบียนเรียนข้ามคณะได้เหมือนเดิม เนื่องจากเวลานี้ห้องเรียนมีเพียงพอแล้วและมีนักศึกษามาลงเรียนข้ามคณะกันมากขึ้น (เดลินิวส์ พุธที่ 18 กันยายน 2545 หน้า 14)





ทบวงฯ ย้ำมหาวิทยาลัยร่าง ก.ม. ออกนอกระบบได้ตามใจ

น.พ.พิศิษฐ์ โจทย์กิ่ง ประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะประธานที่ประชุมประธานสภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) เปิดเผยว่า ตนและผู้แทนจากปอมท. เข้าพบ นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รมว.ทบวงฯ เพื่อหารือเกี่ยวกับนโยบายการออกนอกระบบ ซึ่ง นายสุวัจน์ได้มอบหมายให้คุยกับ ศ.ดร.วรเดช จันทรศร ปลัดทบวงฯ ซึ่งปลัดทบวงฯ ก็ไฟเขียวว่ามหาวิทยาลัยใดจะร่าง พ.ร.บ. ออกนอกระบบอย่างไรก็ได้ แล้วแต่ประชาคมจะมีมติว่าแบบไหนจะเหมาะสม และยังบอกว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีก็ยืนยันไม่บังคับว่ามหาวิทยาลัยออกนอกระบบในรูปแบบไหน หรือแม้แต่ในกฎหมายก็สามารถเปิดช่องว่า มหาวิทยาลัยจะจัดรูปแบบการเรียนการสอนอย่างไรก็ได้ (เดลินิวส์ พุธที่ 18 กันยายน 2545 หน้า 14)





สมศ.เล็งรับรองหลักสูตร ป.โท ประเมินภายนอก

ศ.ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ผอ.สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เปิดเผยถึง ความคืบหน้าในการพัฒนาผู้ประเมินภายนอกว่า ขณะนี้ สมศ.ได้ให้การรับรองผู้ประเมินภายนอกไปแล้วกว่า 900 คน และกำลังจัดอบรมผู้ประเมินภายนอก รุ่นที่ 11-12 และคาดว่าภายในปี 2545 จะอบรมผู้ประเมินภายนอกได้จำนวน 15 รุ่นพร้อมกันนี้ คณะครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์จำนวน 44 แห่ง ได้ตอบรับที่จะเป็นหน่วยประเมินภายนอกแล้วเช่นกัน โดยอบรมผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานรุ่นที่ 1 เรียบร้อยแล้ว ซึ่งคาดว่า สมศ. จะมีผู้ประเมินภายนอกจำนวน 2,000 คน ครบตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ และออกประเมินสถานศึกษารอบแรกครบทุกแห่งในปี 2548 ตามที่กฎหมายกำหนดแน่นอน อย่างไรก็ตาม สมศ. ได้วางแผนระยะยาวที่จะรับรองหลักศุตรปริญญาโทด้านการประเมินภายนอกสถานศึกษา ซึ่งขณะนี้มหาวิทยาลัยหลายแห่งได้จัดทำหลักสูตรดังกล่าวแล้ว เช่น จุฬาฯ. มศว., ม.สงขลานครินทร์ และ ม.นเรศวร ซึ่งมีหลักสูตรปริญญาวีวิทยาการประเมินและ สมศ. จะตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาและรับรองหลักสูตร ทั้งนี้บัณฑิตที่จบจะได้รับใบอนุญาตจาก สมศ. ทำหน้าที่ผู้ประเมินภายนอกได้ (กรุงเทพธุรกิจ เสาร์ที่ 14 กันยายน 2545 หน้า 6)





ดึงตัวแทน นศ.ราชภัฎแฉปัญหากลุ่มเสี่ยง

ผศ.สุขุม เฉลยทรัพย์ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนาสถาบันราชภัฏ (รภ.) สวนดุสิต เผยว่า ในการประชุมอธิการบดี รภ.ทุกแห่งในวันที่ 6 ก.ย.ที่ผ่านมา ได้พิจารณาผลสรุปจากการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง การพัฒนาสภาพแวดล้อมเพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยงทั้งปัญหายาเสพติด หอพักนักศึกษา การมั่วสุมทางเพศ” โดยที่ประชุมฯเห็นว่าเป็นปัญหาที่ทุกฝ่ายต้องร่วมรับผิดชอบ ทั้งเห็นว่าต่อไปเมื่อ รภ. เป็นนิติบุคคลตามโครงสร้างใหม่ แต่เรื่องของกิจกรรม นักศึกษาจำเป็นต้องร่วมมือกันแก้ปัญหาเครือข่าย ซึ่งวันที่ 11 ก.ย. นี้ จะเชิญตัวแทนนักศึกษากลุ่มเสี่ยงในด้านค่างๆ มาพูดคุยสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวเองหรือเพื่อนรอบข้าง หลังจากนั้นจะประมวลร่วมกับข้อมูลที่ได้รับในส่วนคณาจารย์ เพื่อหาแนวทางป้องกันและแก้ไข (ไทยรัฐ พุธที่ 11 กันยายน 2545 หน้า 15)





ไฟเขียวค่าใช้จ่ายรายหัวเรียนฟรี 12 ปี เปิดทางเอกชนเก็บเพิ่มไม่เกินเพดาน สกศ.

นพ.กระแส ชนะวงศ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคระรัฐมนตรี คณะที่ 4 ซึ่งมี นายปองพล อดิเรกสาร รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเมื่อวันที่ 11 ก.ย. ว่าที่ประชุมได้พิจารณาอนุมัติค่าใช้จ่ายการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี และหลักการให้เงินอุดหนุนภาคเอกชนตาที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (สกศ.) และสำนักงบประมาณเสนอมา โดยจะนำเข้าที่ประชุม ครม. ในวันอังคารที่ 17 ก.ย. นี้ ส่วนการอุดหนุนสถานศึกษาเอกชน จะให้เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัวปกติเท่ากับในแต่ละระดับของนักเรียนปกติภาครัฐ บวกเงินเดือนครูระดับประถม 3,440 บาท มัธยมศึกษาขึ้นไป 4,300 บาท สำหรับโรงเรียนที่ไม่ขอรับเงินอุดหนุนนั้น สช.ต้องให้โรงเรียนทำความเข้าใจกับผู้ปกครองด้วย เพราะตามรัฐธรรมนูญนักเรียนทุกคนมีสิทธิรับเงินในส่วนนี้ ทั้งคาดว่ามีโรงเรียนที่จะไม่ขอรับเงินอุดหนุนรายหัวเด็ก คือ ร.ร.นานาชาติ และ ร.ร.ที่เก็บค่าเล่าเรียนลอยตัว ซึ่งมีอยู่ 18 แห่ง นักเรียนประมาณ 4,000 คนทั้งนี้ จะพยายามให้มีผลตั้งแต่วันที่ 11 ต.ค. 2545 ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด โดยขณะนี้สำนักงบประมาณได้ตั้งงบฯ ปี 2546 ไว้แล้ว 7,600 ล้านบาท และแปรญัตติเพิ่มเติมให้ 500 ล้านบาท ซึ่งเพียงพอสำหรับภาคเรียนที่ 2/2545 ส่วนที่ยังขาดอยู่ในภาคเรียนที่ 1/2546 จะต้องขอใช้งบกลางต่อไป (ไทยรัฐ พฤหัสบดี ที่ 12 กันยายน 2545 หน้า 15)





หนุนเลิก GPA-PR ทำเด็กเครียด

ดร.ชูเวช ชาญสง่าเวช รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า พบว่าการสอบมากมายที่ทำให้เด็กเครียด จึงควรยกเลิกการให้ค่าน้ำหนักคะแนนเฉลี่ยสะสมมัธยมปลาย (GPA) และตำแหน่งลำดับที่ (PR) เพราะซ้ำซ้อนกับการวัดสัมฤทธิ์ระดับชาติ ด้าน รศ.ดร.ธีระพร วีระถาวร คณะพาฯชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ กล่าวว่าเห็นด้วยกับการนำพัฒนาการของเด็กเป็นส่วนหนึ่งในการคัดเลือก แต่เป็นห่วงระบบอุปถัมภ์ ส่วน รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ จากคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า GPA และ PR ที่ใช้ที่ผ่านมายังไม่มีการวิเคราะห์ว่ามีความยุติธรรมหรือไม่ จึงควรยกเลิกและใช้การวัดผลสัมฤทธิ์ระดับชาติ และอีกส่วนเป็นเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยที่จะพิจารณาจากการพัฒนาการนักเรียนตั่งแต่ ม.4 แต่การตัดสินคัดเลือกต้องมีคณะกรรมการกลางประกอบด้วยมหาวิทยาลัย คณะกรรมการเขตพื้นที่และทบวงฯ ไม่เช่นนั้นจะเกิดการซูเอี๋ย ทั้งต้องกำหนดบทลงโทษหากมีการดำเนินการที่ไม่โปร่งใส (ไทยรัฐ ศุกร์ที่ 13 กันยายน 2545 หน้า 15)





หนุนมหาวิทยาลัยจังหวัดรองรับเด็กจบ ม.6 กว่า 80%

เมื่อวันที่ 11 กันยายน น.พ.กระแส ชนะวงศ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) คณะที่ 4 ว่า ที่ประชุมเห็นขอบในหลักการให้ดำเนินโครงการนำร่องมหาวิทยาลัยของจังหวัด โดยหลอมรวมสถาบันอุดมศึกษาหรือที่มีระดับใกล้เคียงเช่น วิทยาลัยพยาบาล วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี วิทยาลัยเทคนิคเข้าด้วยกันแล้วใช้ชื่อเป็นมหาวิทยาลัยจังหวัด ทั้งนี้ เพื่อไม่ต้องจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นใหม่ตามแผนอุดมศึกษาเดิมที่เคยวางไว้ เนื่องจากปัจจุบันงบประมาณมีจำกัดและภาวะเศรษฐกิจยังไม่แข็งตัว คาดว่าการหลอมรวมเป็นมหาวิทยาลัยจังหวัดจะช่วยรองรับนักเรียน ม.6 ซึ่งมีการสำรวจพบว่า 80% ที่จบในปีการศึกษาหน้าต้องการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาได้ โดยจะจัดทำรายละเอียดเสนอคณะกรรมการกลั่นกรองอีกครั้งก่อนนำเสนอเข้าสู่ ครม. เพื่อขอความเห็นชอบ และจัดทำเป็น พ.ร.บ. เพื่อรองรับต่อไป (มติชน พฤหัสบดี ที่ 12 กันยายน 2545 หน้า 20)





“วพละ-ร.ร.กีฬา” ตบเท้าหนีศธ. ค้านโอนข้าราชการสังกัดราชภัฏ

วันที่ 11 กันยายน ตัวแทนผู้บริหารวิทยาลัยพลศึกษาและโรงเรียนกีฬา จำนวน 30 คน ได้ เข้ายื่นหนังสือต่อ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เรียกร้องกรณีการโอนข้าราชการไปสังกัดกระทรวงกีฬาและการท่องเที่ยว โดยหนังสือระบุว่าจากการสำรวจบุคลากรในวิทยาลัยพละ 10 แห่ง โรงเรียนกีฬา 10 แห่ง พบว่าข้าราชการร้อยละ 88.71 หรือประมาณ 1,400 คน ต้องการอยู่ในสังกัดกระทรวงกีฬาฯ นอกจากนี้ยังระบุคัดค้านการตัดดอนตำแหน่งข้าราการวิทยาลัยพลศึกษากรุงเทพ 40 คน ไปสังกัดสถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ (มติชน พฤหัสบดีที่ 12 กันยายน 2545 หน้า 20)





เอกชนจับมือ สกศ.ดันเลิกสอบเข้า ป.1 ชงครม.เริ่มปี’48-แฉเด็กฝากการเมือง

วันที่ 12 กันยายน ภารดามีศักดิ์ ว่องประชากูล กรรมการสภาการศึกษาคาทอลิก (ประเทศไทย) กล่าวในการประชุมเรื่อง “นโยบายว่าด้วยการรับนักเรียนเข้าเรียนชั้น ป.1” ว่าจากที่ น.พ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เคยประกาศห้ามโรงเรียนรับเด็กเรียน ป.1 ด้วยวิธีการสอบที่เน้นเนื้อหาวิชาการเป็นหลักนั้น แต่จากการสำรวจพบว่า มีบางโรงเรียนเท่านั้นที่ปฏิบัติ ในขณะที่โรงเรียนส่วนใหญ่ยังคงใช้วีการสอบทางวิชาการเหมือนเดิม เนื่องจากมีเด็กสมัครเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนระดับอนุบาลไม่สามารถจัดได้อย่างถูกต้องตามหลักการพัฒนาเด็กปฐมวัย สภาการศึกษาคาทอลิก (ประเทศไทย) จึงร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (สกศ.) จัดทำร่างนโยบายเรื่องนี้ขึ้นเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ออกเป็นนโยบายยังคับปฏิบัติให้โรงเรียนประถมศึกษาทุกสังกัดยกเลิกการคัดเลือกโดยสอบข้อเขียนที่เน้นเนื้อหาวิชาการพร้อมทั้งให้กำหนดนโยบายระยะสั้น เช่น โรงเรียนที่มีชั้นอนุบาลอยู่แล้วให้เลื่อนชั้นขึ้น ป.1 โดยไม่มีเงื่อนไข กรณีโรงเรียนที่มีเด็กสมัครมากเกินกว่าจำนวนรับได้ ควรดำเนินการรับด้วยวิธีที่หลากหลาย เช่น ทดสอบความพร้อม จับสลาก สัมภาษณ์เด็กและผู้ปกครอง พิจารณาแฟ้มบันทึกผลงานเด็ก เป็นต้น และให้โรงเรียนประกาศนโยบายนี้ให้ชัดเจน และให้ตรวจสอบได้ในทุกกรณี (มติชน ศุกร์ที่ 13 กันยายน 2545 หน้า 20)





สรุป 158 เขตพื้นที่ศึกษาลงตัวแล้ว

วันที่ 12 กันยายน นางสิริกร มณีรินทร์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่าจากที่คณะกรรมการอำนวยการเตรียมการจัดระบบบริหารของส่วนราชการตามโครงสร้างกระทรวงศึกษา ที่มี นายปองพล อดิเรกสาร รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้มอบหมายให้ตน และ นางกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา อธิบดีกรมสามัญศึกษา ว่าที่ปลัดกระทรวงศึกษาฯ ได้พิจารณาตัดสินใจสรุปจำนวนเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อให้ทันการประกาศใช้ตามโครงสร้างบริหารใหม่ในว้นที่ 1 ตุลาคมนี้ ตามนโยบาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในวันเดียวกันนี้จึงได้นำขึ้นพิจารณา และมีมติเห็นชอบให้กำหนดเขตพื้นที่จำนวน 158 เขตทั่วประเทศ โดยจังหวัดที่แบ่งเป็น 1 เขตมี 27 จังหวัด อาทิ กระบี่ ชัยนาท ฯลฯ จำนวน 2 เขตมี 27 จังหวัด อาทิ พะเยา แพร่ ฯลฯ จำนวน 3 เขตมี 16 จังหวัด เช่น ชลบุรี นครสวรรค์ ฯลฯ จำนวน 4 เขตมี 2 จังหวัด เชียงราย อุดรานี จำนวน 5 เขตมี 3 จังหวัด คือ ขอนแก่น เชียงใหม่ อุบลราชธานี และ จำนวน 6 เขตมี 1 จังหวัด คือ นครราชสีมา นางสิริกรกล่าวต่อว่า จะใช้งบประมาณดำเนินการรวม 625 ล้านบาทต่อปี โดยเฉลี่ยใช้เขตพื้นที่ละ 3.9 ล้านบาท ทั้งนี้จะมีการประเมินผลในช่วง 1 ปี ซึ่งสามารถปรับจำนวนตามความเหมาะสมภายหลังได้ อย่างไรก็ตามจะต้องเสนอคณะกรรมการอำนวยการเตรียมการจัดระบบบริหารฯในวันที่ 23 กันยายน เพื่อพิจารณาอีกครั้ง รวมทั้งจะรายงาน นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการ ศธ. และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รับทราบด้วย (มติชน ศุกร์ที่ 13 กันยายน 2545 หน้า 20)





มศว.ตั้งธ.สมองอาจารย์เกษียณ

วันที่ 13 กันยายน นิสิตปริญญาโท เอก การศึกษาผู้ใหญ่ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) ได้จัดโครงการประชุมเรื่อง “พัฒนาชีวิตอย่างมีคุณค่าในเวลาสูงวัย เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ” ทั้งนี้ นางสุมณฑา พรหมบุญ อธิการบดี มศว. กล่าวว่า จากพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เรื่องธนาคารสมอง ทาง มศว. ได้เสนอโดยตั้งโครงการคลังปัญญาผู้สูงอายุสู่โรงเรียนขึ้น โดยชมรมผู้สูงอายุ ซึ่งมีสมาชิกข้าราชการและอาจารย์ที่เกษียณอายุราชการมาช่วยทำประโยชน์เรื่องนี้ (มติชน เสาร์ที่ 14 กันยายน 2545 หน้า 15)





ยันโอนขรก.ราชภัฏลง “สกอ.” ไร้ปัญหา

ร.ต.อ.วรเดช จันทรศร ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์กรณีมีผู้ห่วงใยบุคลากรสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ (สรภ.) อาจไม่สามารถโอนเข้ากับโครงสร้างสำนักงานตคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ในกระทรวงใหม่ได้ เนื่องจากมี พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยราชภัฏทำให้อาจต้องขึ้นกับสำนักงานภามหาวิทยาลัยราชภัฏแทนว่า กรณีการโอนย้ายไปอยู่ในสังกัดใดขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้บริหาร นางศรีวิการ์ เมฆธวัชชัยกุล รองเลขาธิการ สรก. กล่าวว่า เป็นความเข้าใจผิดของ ท.พ.สมศักดิ์ จักรไพวงศ์ รองปลัดทบวงฯ ที่แสดงความห่วงใยเรื่องดังกล่าว ซึ่งตนได้ชี้แจงให้ ร.ต.อ.วรเดช เข้าใจแล้วว่า การมี พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยราชภัฏก็เพื่อเปิดโอกาสให้สถาบันทั้ง 41 แห่งเป็นนิติบุคคล มีอิสระเหมือนกับมหาวิทยาลัย และขึ้นกับ สกอ. ไม่ใช่ สรภ. ซึ่งในร่างกฎหมายยังให้ยุบ สรภ. ด้วยซ้ำ ดังนั้น การถ่ายโอนบุคลากร สรภ. ประมาณ 80 คน จากทั้งหมด 233 คนเพื่อไปอยู่ภายใต้ สกอ. จึงไม่น่ามีปัญหา (มติชน เสาร์ที่ 14 กันยายน 2545 หน้า 15)





ปอมท.ลุยทำประชามติ ม.อิสระ

น.พ.พิศิษฐ์ โจทย์กิ่ง ปรานที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ (ปอมท.) เปิดเผยว่า จากที่ ปอมท.ได้ขอให้มหาวิทยาลัยของรัฐทุกแห่งจัดทำประชามติเกี่ยวกับรูปแบบมหาวิทยาลัยอิสระที่พึงประสงค์ ซึ่งที่ผ่านมาสภาคณาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำรวจพบว่าบุคลากร 82% เห็นว่าจุฬาฯ ควรเป็นส่วนราชการ และขณะนี้สภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยศิลปากร (มศก.) ก็สำรวจเสร็จแล้วพบว่าบุคลากรเห็นด้วยกับรูปแบบมหาวิทยาลัยอิสระที่พึงประสงค์ 87% ส่วนมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่สภาคณาจารย์ไม่ยอมจัดประชามติเพราะเห็นด้วยกับผู้บริหารในการเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล เช่น มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นต้น ปอมท. อาจทำแบบทดสอบถามไปยังประชาคมของมหาวิทยาลัยเหล่านี้โดยตรง ซึ่งขอให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้รับฟังความคิดเห็นของประชาคมด้วย (มติชน เสาร์ที่ 14 กันยายน 2545 หน้า 15)





ข่าววิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี


ดร.มหิดลคว้ารางวัลนักวิทย์รุ่นเยาว

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ร่วมกับสภาวิทยาศาสตร์แห่งโลกที่สามหรือ The Third World Academy of Sciences (TWAS) องค์การอิสระที่ตั้งขึ้นเสริมสร้างสภาวะผู้นำทางวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ “2001 TWAS Prize for Young Scientists in Thailand” ที่มีผลงานดีเด่นใน 4 สาขาวิชาการ คือ สาขาชีววิทยา เคมี คณิตศาสตร์ และฟิสิกส์ โดยคณะกรรมการได้มีมติให้ ศ.ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจน์ แห่งภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้รับรางวัลดังกล่าว ในสาขาชีววิทยา จากผลงานวิจัยด้านมาลาเรียนวิทยา ประจำปี 2544 และได้จัดให้มีพิธีมอบรางวัลให้แก่ ศ.ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจน์ เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานและประกาศเกียรติคุณตลอดจนสร้างขวัญกำลังใจแก่นักวิทยาศาสตร์ไทยในการสร้างสรรค์ผลงานอันเป็นประโยชน์ต่อวงการวิทยาศาสตร์ไทยในการสร้างสรรค์ผลงานอันเป็นประโยชน์ต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศต่อไป (สยามรัฐ พฤหัสบดีที่ 19 กันยายน 2545 หน้า 7)





สสวท.จับมือเนคเทค กรุยทาง”สมองกล”สู่ชั้นเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้มีแนวคิดที่จะนำหุ่นยนต์ไปใช้ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนและเปิดสนามแข่งขันกันไปบ้างแล้ว และเมื่อเร็วๆนี้ ได้ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดสัมมนาวิทยาการแกนนำวิชาคอมพิวเตอร์เรื่อง “การพัฒนาชุดคิดคล่องสมองกล” เพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำหุ่นยนต์ไปช่วยในการสอน และหาแนวทางการพัฒนาชุดคิดคล่องสมองกลเพื่อการเรียนรู้ของเด็กไทย แรงจูงใจจากกล่องสมองกล หรือหุ่นยนต์ในการเรียนการสอนนี้ จะช่วยให้เด็ก เกิดความคิดสร้างสรรค์และปลูกฝังความเป็นนักประดิษฐ์น้อยไปในตัวเป็นการส่งเสริมให้เยาวชนได้ทำโครงการวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ ที่น่าสนใจ อันเป็นพื้นฐานหนึ่งที่จะต่อยอดสู่การสร้างผลงานยิ่งใหญ่ในวงการวิทยาศาสตร์บ้านเรา (สยามรัฐ เสาร์ที่ 21 กันยายน 2545 หน้า 7)





นาโนเทคโนโลยี...คลื่นลูกใหม่แห่งวงการวิทยาศาสตร์

นาโนเทคโนโลยี คือ วิทยาการประยุกต์แขนงใหม่ที่ว่าด้วยการศึกษาในระดับโมเลกุล และอะตอมของสิ่งต่างๆ ที่มีขนาด 1 ในพันล้านส่วนของ 1 เมตร โดยเป็นการผสมผสานของวิทยาศาสตร์หลายแขนง เช่น ชีววิทยา ชีวเคมี วิศวกรรมศาสตร์สาขาหุ่นยนต์ และเครื่องจักรกล แนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดังกล่าว แนวทางหนึ่งคงหนีไม่พ้นการที่จะทำให้คนมีสุขภาพดีสามารถใช้รักษาโรคได้ หรือแม้แต่สามารถทำนายได้ว่า โอกาสและความเสี่ยงในการเกิดโรคของเราเป็นเท่าใด ประโยชน์ของนาโนเทคโนโลยีทางการแพทย์มีมากมายมหาศาล อาทิ การสร้างเครื่องมือขนาดจิ๋วที่สามารถติดตามอาการผิดปกติของเซลล์ และใช้เครื่องดังกล่าวในการรักษาโรคในระดับเซลล์หรือโมเลกุล นอกเหนือจากการรักษาโรคแล้ว นาโนเทคโนโลยีอาจมีบทบาทในการสร้างเครื่องที่สามารถ “ทำนาย” โรคที่จะเกิดขึ้นกับบุคคลๆ หนึ่งก่อนที่อาการของโรคจะแสดงขึ้นได้โดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรม โดยใช้เครื่องมือที่มีชื่อว่า DNA Chip ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์อย่างมากในหลายสาขาวิชาโดยเฉพาะวงการแพทย์ (เดลินิวส์ เสาร์ที่ 14 กันยายน 2545 หน้า 23)





มะขามหวานฉายรังสี

การเก็บรักษามะขามหวานของเกษตรกรที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ได้แก่ การนึ่งด้วยไอน้ำ การอบด้วยตู้ไมโครเวฟ การอบด้วยไอร้อนหรือตู้อบแห้ง การเก็บในห้องเย็นและการอบด้วยตู้พลังงานแสดงอาทิตย์ ทุกวิธีการที่ว่าสามารถควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อราอย่างได้ผล และช่วยทำลายแมลงได้บางส่วน แต่ไม่สามารถกำจัดแมลงที่ติดมาในฝักมะขามหวานได้ผล และช่วยทำลายแมลงได้บางส่วน แต่ไม่สามารถกำจัดแมลงที่ติดมาในฝักมะขามหวานได้หมดสิ้น เมื่อเก็บไปนานๆ จะยังคงพบการทำลายของแมลงในมะขามหวานที่ผ่านกระบวนการเหล่านี้มาแล้ว กลุ่มงานถนอมอาหาร กองวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ได้แนะนำวิธีการฉายรังสีมะขามหวานเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้หมดไป โดยการใช้รังสีแกมมาซึ่งได้จากต้นกำเนิดรังสีโคบอลต์ 60 หรือซีเซียม 137 จากการศึกษาวิจัยในปี พ.ศ.2536-2537 พบว่าการฉายรังสีปริมาณ 1 กิโลเกรย์ ร่วมกับวิธีลดความชื้นด้วยการผึ่งแดดสามารถใช้กำจัดแมลงที่อาจติดมาในมะขามหวาน และควบคุมการเจริญของเชื้อราระหว่างการเก็บรักษาอย่างได้ผล (เดลินิวส์ เสาร์ที่ 21 กันยายน 2545 หน้า 23)





โครงการพระราชดำริแหลมผักเบี้ย ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมชุมชน

โครงการการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เป็นโครงการตามแนวพระราชดำริในการใช้เทคโนโลยีแบบง่ายที่อาซัยหลักการธรรมชาติในการบำบัดหรือรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ภารกิจที่สำคัญของโครงการ คือ การแสดงพระราชดำริในการกำจัดขยะและบำบัดน้ำเสียชุมชนที่มุ่งเน้นการให้ธรรมชาติช่วยเหลือธรรมชาติ เป็นเทคโนโลยีที่ปฏิบัติได้อย่างง่ายไม่ยุ่งยาก ราคาถูกและสามารถทำได้ทุกที่และทุกคน ปัจจุบันการดำเนินงานของโครงการฯ อยู่ในระยะของการนำแบบจำลองการกำจัดขยะด้วยกล่องคอนกรีต และบำบัดน้ำเสียด้วยพืชเผยแพร่สู่ประชาชนทั่วไป เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านขยะและน้ำเสียชุมชน โดยได้จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมเผยแพร่เทคโนโลยีดังกล่าวไว้ 8 จังหวัดคือ สุโขทัย อุตรดิตถ์ อุบลราชธานี ตรัง จันทบุรี นครนายก สุพรรณบุรี และเพชรบุรี (เดลินิวส์ เสาร์ที่ 21 กันยายน 2545 หน้า 24)





มังกรไล่บล็อกเว็บไซต์ดัง

ความพยายามบล็อกเว็บไซต์ชื่อดังของสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อปิดกั้นไม่ให้ประชาชนที่พำนักอยู่ในผืนแผ่นดินใหญ่เข้าไปใช้บริการได้ นับเป็นข่าวดังเกรียวกราวไปทั่วโลก ทั้งสำนักข่าวต่างประเทศ และข่าวสารในอินเตอร์เน็ตถูกเผยแพร่ออกมาอย่างต่อเนื่อง เพราะรัฐบาลคอมมิวนิสต์จีนไม่สามารถไปควบคุมเว็บไซต์ที่อยู่ในต่างประเทศได้ โดยเฉพาะการบล็อกเว็บไซต์ที่เป็นเครื่องค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตหรือเสิร์ช เอนจิ้นชื่อดังคือ goole.com ที่มีแม่ข่ายจากสหรัฐฯ ให้บริการค้นหาในรูปแบบภาษาจีน ทำให้ชาวจีนเข้าไปใช้บริการค้นหาข้อมูลจำนวนมาก ส่วนใหญ่มักเป็นภาพลามกอนาจารและเป็นที่เชื่อมต่อของลักทธิฟาหลุนกงกับสมาชิก เห็นว่าเป็นภัยและละเมิดกฎหมายจีน ทางการจีนยังเดินหน้าปิดกั้น Altavista.com ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลอีกเว็บไซต์ คาดกันว่ามีอีกหลายร้อยเว็บที่ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ไม่สามารถเข้าไปได้ (ไทยรัฐ อาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2545 หน้า 8)





ห้ามใช้น้ำส้มตรวจหามะเร็ง

น.พ.สมยศ ดิรัศมี รองอธิบดีกรมการแพทย์เปิดเผยกรณีที่มีการใช้อาซิติกแอซิดความเข้มข้น 3-5% ป้ายปากมดลูกขณะส่งกล้องตรวจหามะเร็งปากมดลูกที่เรยกว่า วิธีแป๊ปสเมียว่า ใช้มานานแล้วในวงการแพทย์ เนื่องจากการดูด้วยกล้องอย่างเดียวจะมองไม่ชัด จึงต้องป้ายอาซิติกแอซิดซึ่งเป็นชนิดเดียวกับน้ำส้มสูป้ายบริเวณปากมดลูก ให้เนื้อเซลล์แน่นเห็นเส้นเลือดชัดเจนขึ้นวิธีการตรวจหามะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีดังกล่าว ถือว่ามีความเหมาะสม เพราะในระดับสถานีอนามัยก็ทำได้ โดยป้ายขูดของเหลวจากปากมดลูกบนแผ่นสไลด์ เก็บรักษาในความเย็นส่งตรวจให้ผู้ชำนาญด้านการอ่านเป็นผู้รายงานผล หากพบเซลล์ผิดปกติจึงส่องกล้องยืนยันผลอีกครั้ง สูตินรีแพทย์เป็นผู้ตัดชิ้นเนื้อด้วยขดลวดความถี่สูง ตัดปากมดลูกเป็นกรวยเล็กๆ ไม่มีเลือดออกเพราะความถี่สูงทำให้เลือดหยุดไหล คนไข้ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก ส่วนวิธีตรวจด้วยน้ำส้มสายชูก็สามารถใช้ได้ แต่ควรใช้ในประเทศที่ไม่มีนักเซลล์วิทยา พยาธิแพทย์ สูตินรีแพทย์จะเหมาะสมกว่า ประเทศไทยไม่น่าจะนำวีใช้น้ำส้มสายชูมาตรวจ จะเป็นการรักษา 2 มาตรฐาน เพราะการทำอย่างนั้นต้องทำทั่วประเทศ คนที่อยู่ในเขตเมืองมีความเจริญจะไม่ยอมรับวิธีนี้ (ไทยรัฐ พุธที่ 11 กันยายน 2545 หน้า 15)





กฟผ.ตั้งเป้าหมื่นครัว ‘บ้านพลังงานแสงอาทิตย์’

นายชนะ โศภารักษ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวถึง ความคืบหน้าของการติดตั้งแผงกำเนิดพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ตามบ้านว่า ปัจจุบันมีเพียง 50 ครัวเรือนที่ติดตั้งแผงกำเนิดพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อทดสอบใช้ประสิทธิภาพการกำเนิดไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์สำหรับที่อยู่อาศัย แต่วางว่าภายในปี 2546 จะมีการเพิ่มปริมาณครัวเรือนที่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ เพื่อเป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้าภายในบ้านให้ได้ 1,000 ครัวเรือน และในปีถัดไปจะเพิ่มเป็น 10,000 ครัวเรือน โดยบ้านที่ถูกคัดเลือกให้ติดตั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายเริ่มต้นเป็นเงิน 400,000 บาท ส่วนอีก 300,000 บาท ทางสำนักงานพลังงานแห่งชาติหรือ สพช. จะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้ส่วนที่มีราคาสูงนั้นก็เป็นเพราะแผงโซลาร์เซลล์ไม่สามารถผลิตได้ภายในประเทศ ซึ่ง กฟผ. กำลังเปิดให้เอกชนประมูลอยู่ (มติชน พุธที่ 11 กันยายน 2545 หน้า 18)





ผลิตถุงยางทันใจใช้เวลาใส่ 3 วินาที

สำนักข่าวบีบีซี รายงานว่า นายวิลเลม ฟานเรนส์เบิร์ก นักประดิษฐ์ชาวแอฟริกาใต้ ได้ผลิตถุงยางอนามัยที่สามารถแกะห่อและสวนใส่ภายในเวลาอันรวดเร็วเพียง 3 วินาที ขณะที่ถุงยางอนามัยทั่วไปที่ใช้กันอยู่เวลานี้ต้องใช้เวลาสวมใส่ประมาณ 30-40 วินาที ถุงยางอนามัยแบบใหม่นี้ได้รับรางวัลนักออกแบบยอดเยี่ยมจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์แห่งแอฟริกาใต้ และจะมีการผลิตออกมาเพื่อจ่ายแจกให้คนแอฟริกาได้ใช้กันในปีหน้า นายเรนส์เบิรก์กล่าวว่า ถุงยางอนามัยแบบใหม่ถูกพัฒนาขึ้นมาภายใต้ความต้องการสามประการคือ ราคาถูก ใช้งานได้ทันใจและใช้ได้สะดวก และขนาดบรรจุภัณฑ์ต้องไม่ใหญ่กว่าขนาดที่ใช้กันอยู่แล้ว จึงได้ชักชวน นายโรฟ มัลเดอร์ แห่ง XYZ DESIGNS มาร่วมงานจนบรรลุผลดังกล่าว ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการหารือเรื่องสิทธิบัตรกับผู้ผลิตรายใหญ่ๆ ในต่างประเทศ (มติชน พุธที่ 11 กันยายน 2545 หน้า 18)





นักวิทยาศาสตร์ชวนท้าพิสูจน์สารคดีนักบินอวกาศย่ำดวงจันทร์

นายชัยวัฒน์ คุปตระกูล นักดาราศาสตร์และนักจัดรายการด้านความรู้ทางวิทยาศาสตร์ชื่อดัง กล่าวว่า จากกรณีที่รายการสารคดีของโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก (เคเบิลทีวี) ช่องหนึ่งที่จะนำเหตุการณ์ ช่วงที่นักบินอวกาศของสหรัฐอเมริกาขึ้นไปสำรวจดวงจันทร์ แต่มีการตั้งข้อสังเกตและตั้งคำถามกันอย่างกว้างขวางว่าเหตุการณ์ดังกล่าวนั้นเป็นการจัดฉากขึ้นมาเพื่อหลอกคนทั้งโลกหรือไม่ ว่า มีโอกาสดูเทปบันทึกภาพเหตุการณ์ดังกล่าว รวมทั้งได้นั่งอ่านการตั้งข้อสังเกตทั้งหมดที่เกี่ยวกับเรื่องนี้แล้วเห็นว่า เหตุการณ์ดังกล่าวนั้นเป็นปรากฏการณ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่มนุษยชาติทำได้ และจนถึงวันนี้ยังไม่มีเหตุการณ์อะไรมาแทนความยิ่งใหญ่เท่าเรื่องนี้ได้อีก อย่างไรก็ตามหากใครไม่มีความรู้ทางด้านดาราศาสตร์อย่างแท้จริงแล้วอาจจะคล้อยตามข้อกล่าวหาเหล่านั้นได้ “เรื่องที่เขาตั้งข้อสังเกตว่า ทำไมธงชาติสหรัฐฯที่เอาขึ้นไปปักนั้นจึงพลิ้ว เหมือนลมพัดให้พลิ้ว ทั้งๆ ที่บนดวงจันทร์ไม่มีลม เรื่องนี้เป็นข้อสังเกตที่น่าสนใจแต่ก็สามารถอธิบายได้ว่า วัสดุที่ใช้ทำธงนั้นไม่ใช่แผ่นแข็งหนา เมื่อจะปักธงก็ต้องใช้แรงมือหมุนเพื่อขยับเสาไปมาถึงตอนนี้ธงจะสามารถพลิ้วไปมาได้ด้วยตัวเอง ไม่จำเป็นต้องมีลม ส่วนคำถามที่ว่าทำไมถ่ายรูปมาจากดวงจันทร์รูปถ่ายถึงไม่มีดาว คำถามนี้ยิ่งตอบง่ายเข้าไปใหญ่ เหมือนกับเราถ่ายรูปตอนกลางคืนท่ามกลางแสงดาว ถามว่าถ้าเปิดหน้ากล้องให้กว้างและนานพอรูปถ่ายที่ออกมาจะเห็นดาวหรือไม่ ส่วนเรื่องแสงที่ปรากฏในภาพที่บอกว่าทำไมมาจากหลายทางก็อธิบายได้ว่า ตามข้อเท็จจริงแล้ว สภาพพื้นผิวบนดวงจันทร์เต็มไปด้วยหลุมและบ่อ ลักษณะดังกล่าวก่อให้เกิดแสงและเงาสะท้อนออกมาดูเหมือนเป็นแสงหลอกตา ทำให้มองเห็นเหมือนแสงสะท้อนออกมาหลายทิศทาง คิดว่าการตั้งข้อสังเกตทั้งหมดนั้นส่วนหนึ่งมาจากอิทธิพลของหนังเรื่อง Cappriton-1 แผนลวงโลกเป็นหนังที่สร้างเมื่อปี 1978 ภายหลังจากที่ยานอพอลโล 11 ไปดวงจันทร์ 9 ปี (มติชน เสาร์ที่ 14 กันยายน 2545 หน้า 16)





ข่าววิจัย/พัฒนา


บัณฑิตวิศวฯวัสดุ ม.เกษตร คว้าแขมป์ Thainox Award 2002

บัณฑิตวิศวกรรมวัสดุรุ่นแรก ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศการประกวด Thainox Metallurgy Award 2002 ซึ่งเป็นงานประกวดผลงานวิจัยด้านโลหะวิทยาที่จัดขึ้นเป็นประทุกปี มาครองได้สำเร็จจากผลงานวิจัยเรื่อง “การเคลือบผิวเหล็กกล้าด้วยโครเมียมคารืไบต์ โดยกระบวนการ TD” ของกฤษดา ณาศัย และ กาญจนา ฤดี-เกรียงไกร นอกเหนือจากรางวัลที่ได้รับแล้ว นิสิตเก่งทั้ง 2 คน ยังจะได้เดินทางไปดูงานด้านเหล็กกล้าไร้สนิมในโรงงานต่างๆ ของเครือยูซินอร์ ณ ประเทศฝรั่งเศส ช่วงเดือนกันยายนเป็นเวลา 1 สัปดาห์ด้วย (สยามรัฐ พฤหัสบดี ที่ 19 กันยายน 2545 หน้า 7)





นักพฤกษศาสตร์ไทย-มาเลย์จับมือศึกษาไม้วงศ์เปล้า สนองนโยบายความหลากหลายทางชีวภาพ

ดร.ก่องกานดา ชยามฤต นักวิทยาศาสตร์ระดับ 8 สวนพฤกษศาสตร์ สำนักวิชาการกรมป่าไม้ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนเพื่อทำการศึกษาวิจัยด้านอนุกรมวิธานของพรรณไม้วงศ์เปล้าในประเทศไทย จากโครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (BRT) เปิดเผยว่าไม้วงศ์เปล้าถือเป็นพรรณไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจมากมาย ดร.ก่องกานดา กล่าวว่า การศึกษาพรรณไม้วงศ์เปล้าเกิดปัญหามากในการวิเคราะห์ จำแนกชนิด เนื่องจากในประเทศไทยยังไม่มีนักพฤกษศาสตร์คนใดดำเนินการศึกษาทางด้านอนุกรมวิธานพรรณไม้วงศ์นี้มาก่อน และพรรณไม้วงศ์เปล้าเป็นไม้วงศ์ใหญ่ ถ้าจะให้นักพฤกษศาสตร์เพียงคนเดียวรับผิดชอบศึกษาวิจัยจะต้องใช้เวลานานนับ 10 ปี จึงได้ริเริ่มที่จะศึกษาพืชร่วมกันระหว่างนักพฤกษศาสตร์ทั้งไทยและต่างประเทศเกิดเป็นการศึกษาพรรณไม้วงศ์เดียวกันนี้ขึ้นในแถบภูมิภาคมาเลเซีย ด้วยการจัดทำเป็นคณะทำงานเพื่อย่นเวลาในการศึกษาแทนที่จะทำการศึกษาโดยคนคนเดียว (เดลินิวส์ เสาร์ที่ 14 กันยายน 2545 หน้า 23)





โรงงานต้นแบบผลิตเอทานอลจากมันเส้น

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้ให้ทุนสนับสนุนการสร้างโรงงานต้นแบบผลิตเอทานอลจากมันเส้นขึ้น โรงงานต้นแบบนี้ตั้งอยู่ที่องค์การสุรา อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา โดยมี ศ.ดร.เจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นหัวหน้าโครงการ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติและองค์การสุรา กรมสรรพสามิต โรงงานต้นแบบนี้จะมีกำลังการผลิตประมาณ 4,000 ลิตรต่อวัน ถือเป็นโรงงานต้นแบบผลิตเอทานอลแห่งแรกของประเทศไทยที่ออกแบบและก่อสร้างเอง ไม่ได้ซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศเข้ามาติดตั้ง โรงงานต้นแบบประกอบด้วยถังย่อยแป้งและถังหมักขนาด 4,000 ลิตรอย่างละ 2 ถัง และหอกลั่นที่สามารถกลั่นเอทานอล 95% ได้ในอัตรา 300 ลิตร/ชั่วโมง ส่วนการผลิตเอทานอลบริสุทธิ์ 99.8% สามารถทำต่อเนื่องได้โดยใช้เครื่องมือขององค์การสุราที่มีอยู่แล้ว แหล่งน้ำมันดิบในโลกนับวันมีแต่ละลดลงเรื่อยๆ ทำให้น้ำมันดิบมีราคาสูงขึ้น จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องหาพลังงานอื่นๆ มาทดแทน เอทานอลที่ผลิตได้นอกจากจะช่วยลดการนำเข้าน้ำมันดิบ ลดการขาดดุลการค้าของประเทศยังไม่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศด้วย (เดลินิวส์ เสาร์ที่ 14 กันยายน 2545 หน้า 23)





THE หอยหลอด RETURN หุ่นยนต์มหัศจรรย์จากมันสอมองเด็กไทย

หุ่นยนต์ที่ถูกประดิษฐ์คัดศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม ซึ่งเกิดจากมันสมองอัจฉริยะของ 2 เยาวชนคนเก่งจากลุ่มน้ำแม่กลอง คือ นายสนธยา บุญโท และ นายวิศรุต บัญสวัสดิ์ อายุ 18 ปี นักศึกษา ปวช.ปี 3 แผนกวิชาช่างกลโรงงาน วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม ที่พยายามที่จะให้หุ่นยนต์ตัวนี้มีความสามารถเตะตะกร้อลอดบ่วงได้อย่างแม่นยำ และได้ตั้งชื่อหุ่นยนต์ตัวนี้ว่า “THE หอยหลอด RETURN” พร้อมส่งเข้าแข่งขันกับหุ่นยนต์จากทั่วประเทศ 88 ทีม ในสังกัดอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในงาน 61 ปีอาชีวศึกษาวิวัฒน์ ณ สนามเสือป่า กรุงเทพมหานคร โดยหุ่นยนต์ THE หอยหลอด RETURN ตัวนี้ไม่ได้ทำให้ผิดหวังเลยเพราะสามารถคว้ารางวัล เทคนิคยอดเยี่ยม สร้างชื่อเสียงให้ทั้งสถาบันและจังหวัดสมุทรสงครามได้อย่างน่าภาคภูมิใจ (เดลินิวส์ อังคารที่ 17 กันยายน 2545 หน้า 32)





ยุคใหม่ของสารกึ่งตัวนำ

นักวิทยาศาสตร์จาก University of Arizona Optical Science Centre ที่กำลังวิจัยและพัฒนาสิ่งที่เรียกว่า organic semiconductor ที่มีความหนาเพียง 10-100 นาโนเมตรขึ้นมาได้ จากแผ่นฟิล์มขนาดบางมากๆ หลายชั้น ซึ่งประกอบด้วยวัสดุจำพวกโลหะและสารอินทรีย์จำพวกพลาสติก และด้วยลักษณะบางมากนี่เองดังนั้นจึงสามารถสร้างป้ายราคาสินค้าที่เรียกว่า radio frequency (RF) ขึ้นมาได้ในราคาที่ถูกกว่าการใช้ Chip ที่ทำมาจากซิลิคอนมากทีเดียว ซึ่งป้ายราคาสินค้านี้เองที่จะคอยสื่อสารกับเครื่องคิดเงินที่ช่องจ่ายเงินโดยที่เราแทบไม่ต้องแตะต้องสินค้าที่อยู่ในตะกร้าหรือรถเข็นแต่อย่างใด แต่ก็ใช่ว่าการใช้ organic semiconductor แทนซิลิคอนจะเป็นแนวคิดใหม่แต่อย่างใด เพราะว่านักวิทยาศาสตร์เองก็ได้มีการทำวิจัยกันมากว่า 50 ปีแล้ว เพียงแต่ว่าส่วนใหญ่จะมุ่งไปที่การนำเอาวัสดุที่เป็นส่วนประกอบคาร์บอน ออกซิเจน และไฮโดรเจนมาใช้เป็นหลัก (เดลินิวส์ พุธที่ 18 กันยายน 2545 หน้า 16)





โทษความเครียดทำให้เด็กอ้วนเครียดหนักยิ่งเคี้ยวของมันมาก

งานวิจัยในอังกฤษพบว่า เด็กยิ่งรู้สึกเครียดจะยิ่งหันไปคว้าของขบเคี้ยวที่มีไขมันมากินมากขี้น ไม่ค่อยกินอาหารเช้าบ่อยขึ้น และยังกินผักผลไม้ในปริมาณน้อยอีกด้วย มาร์ติน คาร์ตไรต์ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคอลเลจ ลอนดอน กล่าวว่า น่าเป็นกังวล ที่ผลจากความเครียดไปลงเอากับอาหารที่เด็กเลือกรับประทานโดยจากการศึกษากับเด้กอายุ 11-12 ปีด้วยการถามให้เด็กวัดระดับความเครียดของตัวเองในช่วงระยะ 1 เดือนที่ผ่านมา จากนั้นจึงถามเรื่องอาหารการกิน “เราพบว่าเด็กที่มีความเครียดมาก จะยิ่งกินมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกของขบเคี้ยวยิ่งกินมากขึ้น” (ไทยรัฐ พุธที่ 11 กันยายน 2545 หน้า 7)





ฮือฮาขมิ้นชันสมุนไพรไทยอุดมวิตามินอีชะลอความแก่ลดเหี่ยวย่น

สมุนไพรไทยสร้างชื่อ “ขมิ้นชัน” ช่วยลดรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้าคุณผู้หญิงได้ชะงัด เผยผลวิจัยระบุมีความเข้มข้นมากกว่าวิตามินอีธรรมชาติ 5-8% “หมอหน่อย” สั่ง อย.ผลิตอัดเม็ดเคลือบจำหน่ายสร้างรายได้เข้าประเทศพร้อมจับมือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ส่งเสริมเกษตรกรปลูกทั่วประเทศเป็นพืชเศรษฐกิจ ด้าน สธ.ฟุ้ง “อิเหนา” ตัดสินใจซื้อยาด้านไวรัสเอดส์จากไทยทั้งที่มีคู่แข่งนับ 10 ประเทศ (ไทยรัฐ ศุกร์ที่ 13 กันยายน 2545 หน้า 1,19)





คนตาบอดใกล้เห็นแสงรำไรพัฒนาอุปกรณ์ช่วยให้มองเห็นได้

คณะนักวิทยาศาสตร์จากห้องทดลองแห่งชาติแซนเดีย ของสหรัฐฯ ร่วมกับบริษัทเอกชนและมหาวิทยาลัยอีก 2 แห่งตั้งเป้าหมายร่วมกัน จะช่วยคนตาบอดให้มองเห็นได้ โครงการดังกล่าวได้รับทุนจากสำนักงานวิจัยสิ่งแวดล้อมและชีววิทยาของกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ มีมูลค่าประมาณ 360 ล้านบาท ในเวลา 3 ปี เพื่อพัฒนาอุปกรณ์ช่วยมองเห็น ซึ่งประกอบด้วยกล้องขนาดเล็ก และเครื่องส่งวิทยุติดตั้งไว้ที่บริเวณกรอบแว่นตาของคนไข้ อุปกรณ์เหล่านี้จะส่งข้อมูลและพลังงานเข้าไปสู่เครื่องวัดซึ่งติดอยู่ที่ลูกนัยตา และเครื่องวัดนี้จะเชื่อมโยงกับเซลล์ประสาทรับภาพที่เรตินา แล้วเซลล์ประสาทจะส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยังสมองให้ประมวลผล (ไทยรัฐ เสาร์ที่ 14 กันยายน 2545 หน้า 7)





แนะไทยให้สำคัญงานวิจัยพื้นฐาน

ศ.วิลเลียม นันท์ ลิปสคอมป์ นักวิทยาศาสตร์เจ้าของรางวัลโนเบล สาขาเคมี ประจำปี พ.ศ.2518 กล่าวในการบรรยายพิเศษเรื่อง “Research as a Way of Life” ซึ่งจัดขึ้นที่ห้องประชุม N101 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อเร็วๆ นี้ว่า ประเทศไทยควรให้ความสำคัญกับงานวิจัยพื้นฐานซึ่งเป็นงานวิจัยที่เกิดจากการที่ผู้วิจัยสนใจและอยากรู้อยากทำเองมากกว่า งานวิจัยประยุกต์ที่มีการกำหนดเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรมไว้แล้ว เนื่องจากการทำงานวิจัยด้วยความอยากรู้ จะช่วยให้งานวิจัยที่ได้มีคุณภาพดีกว่า ศ.ลิปสคอมป์ กล่าวว่า เรื่องที่มักจะมีคนถามว่าคนไทยจะมีโอกาสได้รับรางวัลโนเบลบ้างหรือไม่ ไม่สามารถตอบได้ เพราะรางวัลโนเบลจะมอบให้กับผู้ที่มีผลงานการค้นพบที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์อันยิ่งใหญ่ ที่ทำให้คนต้องหันมาเริ่มคิดใหม่ ซึ่งนักเรียนไทยกับอเมริกาก็มีความรู้ไม่ต่างกัน แต่สิ่งที่ต่างกันคือการสนับสนุนและสภาพแวดล้อม ดังนั้นนักวิจัยไทยไม่ควรหยุดตัวเองอยู่ที่การต่อยอดงานวิจัยพื้นฐาน แต่ควรทำงานวิจัยพื้นฐานขึ้นมาเองด้วย รวมทั้งผลักดันให้เอกชนกับนักวิจัยได้เข้ามาพบกันเพื่อก่อให้เกิดการสนับสนุนงานวิจัย ศ.ลิปสคอมป์ กล่าวด้วยว่า การทำงานวิจัยที่ดีนักวิจัยต้องพร้อมรับกับความล้มเหลว เพราะหากนักวิจัยทำวิจัยแล้วประสบความสำเร็จอยู่เสมอจะไม่ก่อให้เกิดผลงานทางวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุด เคล็ดลับการทำงานวิจัยของตนตลอด 60 ปีที่ผ่านมาคือ เมื่อทำงานแล้วต้องนอนวันละ 9 ชั่วโมง และดูโทรทัศน์แค่วันละครึ่งชั่วโมง จะได้มีเวลาสำหรับออกกำลังกายและคิดค้นผลงานวิจัยมากๆ (มติชน ศุกร์ที่ 13 กันยายน 2545 หน้า 18)





ข่าวทั่วไป


ชี้ยอดอัลไซเมอร์อีก 30 ปีเพิ่มสูง 5 แสนราย

พ.ญ.สิรินทร ฉันศิริกาญจน์ นายกสมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม เปิดเผยว่า ในวันที่ 21 ก.ย. ถือเป็นวันอัลไซเมอร์โลก จากผลการสำรวจในต่างประเทศพบว่า โรคอัลไซต์เมอร์เป็นปัญหาสำคัญของผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุจะมีภาวะสมองเสื่อมประมาณ 1% ในอายุ 60 ปี และเพิ่มเป็น 2 เท่า เมื่ออายุเพิ่มทุก 5 ปี ซึ่งหมายความว่า 1 ปีใน 3 คนของผู้ที่มีอายุ 85 ปีมีภาวะสมองเสื่อม ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงมาก แต่สำหรับในประเทศไทยนั้นยังมีสถิติที่ไม่แน่นอน แต่คาดการณ์ว่ามีประมาณ 2-10% และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นประมาณ 3.3 เท่าของปัจจุบัน (เดลินิวส์ เสาร์ที่ 14 กันยายน 2545 หน้า 27)





อย่ามองข้ามปัญหา คลื่นเซาะ “ชายฝั่งบางขุนเทียน”

พื้นที่ชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน ซึ่งเขตชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยประมาณ 4.7 กิโลเมตร ลักษณะพื้นที่มีการกัดเซาะอย่างรุนแรงตลอดชายฝั่ง หน่วยงานต่างๆ ได้มีความพยายามศึกษาแนวทางในการป้องกันพื้นที่ดังกล่าวมาโดยตลอด นับตั้งแต่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้จำแนกพื้นที่ป่าชายเลนบางขุนเทียน จำนวน 2,735 ไร่ ออกจากที่ดินป่าสงวนแห่งชาติโดยกรมป่าไม้ได้มอบหมายให้กรุงเทพมหานคร ดำเนินการพัฒนาพื้นที่เพื่อป้องกันการพังทลายของชายฝั่งทะเลและปลูกสร้างสวนป่าเพื่อเป็นการพักผ่อนหย่อนในแก่ประชาชน และเป็นที่น่ายินดีที่เจ้าหน้าที่และหน่วยงานราชการเห็นด้วยพร้อมมีแนวความคิดในการฟื้นฟูเพื่อให้พื้นแผ่นดินบริเวณชายฝั่งทะเลซึ่งถูกกัดเซาะกว่า 3,000 ไร่ กลับคืนเช่นเดิม (เดลินิวส์ พุธที่ 18 กันยายน 2545 หน้า 23)





องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์เตรียมสร้าง รพ.ศูนย์มะเร็ง

วันที่ 24 กันยายน ของทุกปีเป็นวันมหิดล สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี องค์ปรานจัดหารายได้ “วันมหิดล” ประจำปี 2545 ทรงพระกรุณาดปรดเกล้าเสด็จไปบันทึกแถบวีดีทัศน์พระราชทานสัมภาษณ์ ในรายการพิเศษเนื่องใน “วันมหิดล” เรื่อง “วิจัยช่วยหยุดยั้งโรคมะเร็ง” ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 พระองค์ได้ทรงหารือกับสถาบัน M.D.Anderson Cancel Center Texas เพื่อสร้าง รพ.ศูนย์มะเร็ง ขึ้น แต่ไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อแข่งขันกับสถาบันมะเร็งแห่งชาติ แต่จะรวมกันมากกว่า เพราะคนไข้มีจำนวนมาก สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์จะทำการวิจัยควบคู่ไปกับการรักษา ซึ่งอาจจะได้วิธีใหม่ในการรักษาต่อไปด้วย เมื่อกราบทูลถึงความคืบหน้าในเรื่องสมุนไพรหยุดยั้งโรคมะเร็ง และกรณีศึกษาที่จะทรงรับเข้ารักษาในศูนย์มะเร็งแห่งใหม่ องค์ประธานจัดหารายได้ทรงรับสั่งว่า การวิจัยเรื่องนี้ขั้นตอนวิธีใช้เวลามาก จากขั้นแรกที่มีการสกัดจากสารสมุนไพร แล้วถึงนำมาทดลองกับเซลล์มะเร็งต่างๆ ถ้าได้ผลดีถึงได้นำไปทดลองกับสัตว์ ซึ่งความแน่นอนอาจไม่มีเสมอไป (สยามรัฐ เสาร์ที่ 21 กันยายน 2545 หน้า 19)





ยาแผนโบราณอีสานตื่นตัวเปิดอบรมอนุรักษ์ภูมิปัญญามุ่งพัฒนาคุณภาพ

ภญ.ลักษณา ลือประเสริญ ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ขอนแก่น กล่าวกับสยามรัฐว่า ทางศูนย์ฯเล็งเห็นความสำคัญของการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพยาแผนโบราณและผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย จึงได้อบรมฟื้นฟูความรู้ให้กับผู้ผลิตในจังหวัดขอนแก่นรวม 50 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในการผลิตและควบคุมคุณภาพทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการผลิตและสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ผลิตและผู้บริโภคว่า ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมีคุณภาพปลอดภัยและได้มาตรฐาน โดยการอบรมประกอบด้วยการบรรยายความรู้ เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพ ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการผลิตและสร้างความเชื่อมั่น และได้มาตรฐาน วัตถุดิบที่เป็นสมุนไพรในการผลิตเพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากสารพิษตกค้าง (สยามรัฐ พฤหัสบดีที่ 19 กันยายน 2545 หน้า 23)





ระวังภาวะแทรกซ้อนหลังทำเลสิก

นางนิตยา จันทร์เรือง มหาผล โฆษกกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีผู้แก้ไขปัญหาสายตาผิดปกติด้วยวีธีการทำเลสิกเป็นจำนวนมาก ขณะนี้มีศูนยูเลสิกในประเทศไทยทั้งที่เป็นของรัฐและเอกชนรวม 12 แห่ง และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เฉลี่ยแล้วมีการผ่าตัดด้วยวิธีนี้กว่า 700 รายต่อเดือน หลายคนเข้าใจผิดว่าการทำเลสิกซึ่งเป็นการผ่าตัดด้วยเครื่องแยกขั้นกระจกและแสงเลเซอร์ประกอบกัน เป็นหนทางเดียวในการรักษาภาวะสายตาผิดปกติ ทั้งที่ยังมีวีการอื่นอีกหลายวิธีเช่น การใส่แว่นตาและการใส่คอนแท็กต์เลนส์ น.พ.ปานเนตร ปานพุฒิพงศ์ จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญประจำโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) กล่าวเพิ่มเติมว่า ถึงแม้ว่าการทำผ่าตัดด้วยวิธีเลสิกมีความปลอดภัยสูงกว่า 90% แต่การทำเลสิกอาจมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ ที่สำคัญไม่ควรคาดหวังว่าการผ่าตัดด้วยวีเลสิกทำให้มีการมองเห็นที่ดีกว่าการใส่แว่น เพราะการทำเลสิกเป็นเพียงการช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องใส่แว่นตาหรือคอนแท็กต์เลนส์ให้ยุ่งยากเท่านั้น ส่วนผลหลังจากการผ่าตัดแล้วจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับการประเมินสภาพสายตาก่อนการผ่าตัด การคำนวณค่าสายตาและความชำนาญของจักษุแพทย์ รวมทั้งการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยด้วย (มติชน พฤหัสบดีที่ 12 กันยายน 2545 หน้า 18)





ยอดมะเร็งปากมดลูกภาคเหนือสูง

น.พ.เสรี ตู้จินดา อธิบดีกรมการแพทย์เปิดเผยหลังจากเป็นประธาน การเปิดประชุมโครงการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูกครบวงจร ที่ รพ.นครพิงค์ จ.เชียงใหม่ว่า มะเร็งที่พบในหญิงไทยเป็นอันดับหนึ่งคือ มะเร็งปากมดลูก และโรคนี้นั้นสามารถรักษาให้หายขาดได้ หากตรวจพบก่อนระยะที่ลุกลาม ฉะนั้นกรมการแพทย์โดยสถาบันโรคมะเร็งแห่งชาติร่วมมือกับสถาบันพยาธิวิทยา จัดการประชุมเพื่อฟื้นความรู้ ความเข้าใจและทักษะด้านการตรวจคัดกรองเซลล์มะเร็งในอวัยวะสืบพันธุ์สตรีแก่บุคคลด้านเซลล์วิทยา โดยจัดการประชุมให้แก่บุคลากรทางสาธารณสุขจาก 8 จังหวัดทางภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แม่ฮ่องสอน แพร่ และน่าน (มติชน พฤหัสบดีที่ 12 กันยายน 2545 หน้า 18)






KMUTT Digital Library
Contact Digital Library : info@lib.kmutt.ac.th
Tel : 0-2470-8215