หัวข้อข่าวปีที่ 4 ฉบับที่ 40 ประจำวันที่ 2003-11-04

ข่าวการศึกษา

‘MBA นิด้า’ ติดชาร์ต สอนเลิศในเอเซีย
ประชาพิจารณ์หลักสูตรใหม่ชงปรับเนื้อหา ม.4-6

ข่าววิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี

e-butlers เทคโนโลยีโรงแรม
อย่ามองฉันเป็นเพียงแค่หุ่นยนต์
กฟภ.รับซื้อกระแสไฟฟ้าจากขยะ
ขาเฝือกเทียม
ชั้นในฝังชิบตรวจหัวใจ
รพ.ปิยะเวทเปิดศูนย์นวัตกรรมโรคกระดูกถ่ายทอดวิธีผ่าตัดสมัยใหม่ใหแพทย์ไทย

ข่าววิจัย/พัฒนา

‘มูลช้าง’ สร้างเชื้อเพลิงเสริมทัศนียภาพให้ปางช้าง…น่าเที่ยว
นักวิจัยไทยฟันธง 3 ปัจจัย กุญแจสู่ความสำเร็จ SME

ข่าวทั่วไป

เชียงใหม่เล็งทำแผนของบฯหนุนไอซีทีซิตี้
เอ็มเอ็มไอสร้างโปรแกรมส่งข้อความทันใจ
จุฬาฯ เดินเครื่อง ‘วิถีใหม่ท้องถิ่น’ ลุยเฟ้นอบต. ตัวอย่างทั่วไทย/ผนึก ‘หมอประเวศ’ เพิ่มความแกร่ง
หอสมุดอนุรักษ์เอกสารโบราณจับใส่อินเทอร์เน็ต
เท 80 ล้านวิจัยข้าวสู้ศึกในตลาดโลก
นักสื่อสารชี้ไทยขาดนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์
ไขปริศนาเทคนิคมัมมี่อียิปต์พบน้ำมันไม้ซีดาร์รักษาศพไม่เน่าเปี่อย





ข่าวการศึกษา


‘MBA นิด้า’ ติดชาร์ต สอนเลิศในเอเซีย

จากการประเมินของนิตยสาร Asia Inc. แจ้งว่า โครงการMBA ของนิด้าถูกจัดอันดับว่าดีเป็นอันดับ 6 ของอาเซียนละนิด้าได้รับการคัดเลือกจาก Michael E. Porter ของ Harvard Business School ให้เป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวในประเทศไทย เปิดสอนวิชา Microeconomice of Competitivesess (MOC) (สยามรัฐ ศุกร์ที่ 17 ตุลาคม 2546 หน้า 7)





ประชาพิจารณ์หลักสูตรใหม่ชงปรับเนื้อหา ม.4-6

นางสิริกร มณีรินทร์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า การประชาพิจารณ์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งมี ครู.ผู้ปกครองและนักเรียนเข้าร่วมด้วยนั้น ขณะนี้ได้ดำเนินการครบ 5 จุดทั่วประเทศแล้ว โดยจัดประชุมที่กรุงเทพฯ เป็นจุดสุดท้ายนั้น ที่ประชุมมีความเป็นสรุปว่าหลักสูตรใหม่ 8 กลุ่มสาระนั้นมีความเหมาะสมดีแล้ว แต่มีข้อสังเกตว่าในช่วงชั้นที่ 4 ควรปรับให้เด็กได้เรียนตามความสนใจมากขึ้นไม่จำเป็นต้องเรียนครบทุกกลุ่มสาระขณะที่ผู้ร่วมประชุมบางส่วนก็เห็นว่าควรที่เรียนครบทุกกลุ่มสาระ แต่ให้เน้นหนัก-เบา ต่างกันตามสายการเรียน เช่น วิทยาศาสตร์ หรือศิลป์ นางสิริกร กล่าวอีกว่า เรื่องที่พูดถึงกันมากคือ วิธีการเรียนรู้ที่มีจำนวนนักเรียนต่อห้องมากเกินไป ทำให้กิจกรรมการเรียนรู้ได้ยาก อีกทั้งยังเน้นเนื้อหามากกว่ากิจกรรมการเรียนรู้ เห็นว่าครูต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนใหม่ ควรเน้นพัฒนาการทั้งสติปัญญา และอารมณ์ และครูที่สอนในระดับชั้นเดียวกันควรพบปะและประชุมร่วมกันให้มากขึ้น เพื่อบูรณการทั้งเนื้อหาการเรียนการสอน และการให้การบ้าน และโครงการที่จะมอบหมายให้นักเรียนทำ (กรุงเทพธุรกิจ ศุกร์ที่ 31 ตุลาคม 2546 หน้า 13)





ข่าววิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี


e-butlers เทคโนโลยีโรงแรม

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ขณะนี้โรงแรมชื่อดังในนิวยอร์กได้เปลี่ยนโฉมการให้บริการโรงแรมแบบใหม่ จากเดิมที่โรงแรมมีไว้เพียงนอนพักผ่อน เป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาผสมผสานกับศิลปะเพื่อให้เกิดความทันสมัยที่ลงตัว ด้วยการติดตั้งเทคโนโลยีสุดไฮเทคที่ใช้อำนวยความสะดวกไว้ในห้องพักอย่างครบครันอาทิ อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเทคโนโลยีไร้สาย จอพลาสม่าขนาด 42 นิ้ว วีดีโอเฟอรเรนซ์ เก้าอี้ที่สร้างจากเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งอาศัยการคำนวณหาความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายมนุษย์และเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองความสบาย รวมทั้งการเรียกใช้หรือข้อความช่วยเหลือจากพนักงานและแม่บ้านผ่านเทคโนโลยีได้ตลอด 24 ชม. หรือเรียกว่า อี-บริการ (e-butlers) (เดลินิวส์ พุธที่ 8 ตุลาคม 2546 หน้า 12)





อย่ามองฉันเป็นเพียงแค่หุ่นยนต์

ด้วยความร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญด้านหุ่นยนต์และนักจิตศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Vanderbilt แห่งเมือง Nash ville มลรัฐ Tennessee ประเทศสหรัฐอเมริกาก็ทำให้ความหวังในการพัฒนาหุ่นยนต์ที่มีความสามารถในการตัดสินใจได้ใกล้เคียงกับมนุษย์ รวมทั้งยังสามารถสื่อสารกับมนุษย์ได้ราวกับว่ามันมีชีวิตจริงๆ นักวิจัยจึงได้อาศัยระบบการจดจำลายมือและเสียงที่ได้รับการพัฒนากันมาเป็นสิบปีแล้วมาเป็นพื่นฐานเพื่อต่อยอดในการที่จะทำให้หุ่นยนต์แต่ละตัวสามารถเข้าใจและตอบสนองพฤติกรรมของมนุษย์แต่ละคนได้ในที่สุด (เดลินิวส์ พุธที่ 8 ตุลาคม 2546 หน้า 12)





กฟภ.รับซื้อกระแสไฟฟ้าจากขยะ

กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ได้อนุมัติเงินสนับสนุนเพิ่มเติมจำนวน 17.8 ล้านบาท เพื่อให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) เป็นค่าใช้จ่ายในโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้ก๊าซชีวภาพจากหลุมขยะ บนพื้นที่ฝังกลบขยะกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ซึ่งพบว่าปริมาณก๊าซที่เกิดขึ้นมีคุณภาพและใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ โดยสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ราว 2.8 ล้านหน่วยต่อปี โครงการนี้ นอกจากจะแปรสิ่งของเหลือทิ้งให้เป็นประโยชน์ ช่วยแก้ปัญหาเรือนกระจกแล้ว ยังถือเป็นโครงการต้นแบบขยายผลไปสู่แหล่งฝังกลบขยะอื่นๆ ได้อีกด้วย (เดลินิวส์ อาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม 2546 หน้า 35)





ขาเฝือกเทียม

กฤตพล วัฒนาศิลป์ชัย บัณฑิตจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยถึงที่มาของการประดิษฐ์ “ขาเฝือกเทียม” ว่าเป็นวิทยานิพนธ์ก่อนจบการศึกษาปริญญาตรี ซึ่งสาเหตุที่เลือกการประดิษฐ์สิ่งนี้ เพราะเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อคนที่ใช้ขาเฝือกมาก การออกแบบมีจุดประสงค์เพื่อเป็นการช่วยคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับเฝือกแล้วยังเป็นการช่วยคนด้อยโอกาส /คนยากจนที่ประสบอุบัติเหตุ และพิการ ซึ่งอาจจะเป็นปัญหาสังคมในที่สุดด้วยและได้จดสิทธิบัตรแล้ว (เดลินิวส์ อาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม 2546 หน้า 26)





ชั้นในฝังชิบตรวจหัวใจ

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า นักวิจัยของบริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าฟิลิปส์ เนเธอร์แลนด์ ได้ค้นพบชุดชั้นในฝังชิบที่สามารถจับจังหวะการเต้นของหัวใจด้วยการใช้ระบบเซ็นเซอร์ผ่านกระแสไฟฟ้าภายในร่างกายหากพบผิดปกติสามารถแจ้งเหตุฉุกเฉินถึงรถพยาบาลได้ โดยชิบดังกล่าวจะเก็บข้อมูลการเต้นของหัวใจ โดยเชื่อมต่อการทำงานและแสดงผลผ่านทางหน้าจอมอนิเตอร์ โดยจะมีการพัฒนาให้สามารถเชื่อมต่อการทำงานเข้ากับอุปกรณ์ไร้สายอื่นๆ รวมถึงโทรศัพท์มือถือได้ (เดลินิวส์ ศุกร์ที่ 17 ตุลาคม 2546 หน้า 16)





รพ.ปิยะเวทเปิดศูนย์นวัตกรรมโรคกระดูกถ่ายทอดวิธีผ่าตัดสมัยใหม่ใหแพทย์ไทย

น.พ.ประดิษฐ์ สัตย์ธรรม หัวหน้าแผนกศัลยกรรมกระดูก โรงพยาบาลปิยะเวท เปิดเผยว่าโรงพยาบาลมีโครงการเปิดศูนย์ศัลยกรรมกระดูกสมัยใหม่ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ในการผ่าตัดรักษษโรคข้อและกระดูกให้แพทย์ไทย โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากโรงเรียนแทพย์ต่างประเทศทำให้ศัลยแพทย์ไม่ต้องเดินทางไปรับการอบรมถึงต่างประเทศโดยขณะนี้อยู่ระหว่างจัดเตรียมหลักสูตรการอบรมและการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คาดว่าจะเปิดบริการได้ในปี 2547 โรคข้อและกระดูกเสื่อมพบบ่อยในผู้สูงอายุโดยเฉพาะโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมและกร่อนหายไป มีผลให้ข้อกระดูกสันหลังเลื่อนออกมา และกดทับเส้นประสาท คนไข้จะมีอาการปวดหลังอย่างมากโดยปวดร้าวลงมาที่ขาทั้ง 2 ข้าง ทำให้สูญเสียคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่สามารถดำเนินกิจวัตรประจำวัน อย่างไรก็ตาม แพทย์สามารถผ่าตัดส่องกล้องเพื่อรักษาอาการหมอนรองกระดูกเสื่อมรวมถึงการใช้หมอนเทียมแทนที่หมอนจริง ซึ่งเป็นเทคนิคใหม่ที่ริเริ่มในสหรัฐอเมริกาเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้วและในไทยเพิ่งมีการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้รักษาคนไทยในปีนี้ ที่โรงพยาบาลปิยะเวชเป็นแห่งแรก โดยแพทย์คนไทยที่ทำงานในสหรัฐมาร่วม 20 ปี (กรุงเทพธุรกิจ พุธที่ 29 ตุลาคม 2546 หน้า 8)





ข่าววิจัย/พัฒนา


‘มูลช้าง’ สร้างเชื้อเพลิงเสริมทัศนียภาพให้ปางช้าง…น่าเที่ยว

การแปลงมูลช้างเป็นพลังงานเชื้อเพลิง กำลังเป็นที่น่าสนใจของปางช้างหลายแห่งเวลานี้ สัมพันธ์ เสียงเสนาะ หัวหน้าสำนักงานพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน พื้นที่ 4 กล่าวว่า กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้นำตัวอย่างบ่อก๊าซชีวภาพมาจากลำปาง เพื่อแสดงให้เห็นขั้นตอนการดำเนินงาน ก๊าซชีวภาพจากมูลช้างและมูลสัตว์เลี้ยงอื่นๆ เป็นหนึ่งในแผนพัฒนาพลังงานทดแทนที่กำลังถ่ายทอดเทคโนโลยีเหล่านี้สู่ชุมชนที่สนใจเพื่อให้เป็นไปตามแผนแม่บทการวิจัย พัฒนาและส่งเสริมพลังงานทดแทน พ.ศ. 2545-2549 เพื่อทดแทนการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทันที (เดลินิวส์ อาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม 2546 หน้า 35)





นักวิจัยไทยฟันธง 3 ปัจจัย กุญแจสู่ความสำเร็จ SME

นางจิรวรรณ ฉายสุวรรณ รองคณบดี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ทำการวิจัยเรื่อง “ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการสร้างสินค้าไทยให้เข้มแข็ง” โดยได้รับความสนับสนุน ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อศึกษาข้อมูลใน 5 บริษัทชั้นนำของไทยในการผลิตเครื่องอุปโภค บริโภค มาวิเคราห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จ พบว่าปัจจัยในการทำให้ตราสินค้าได้รับการยอมรับคือ ตัวเจ้าของกิจการ การบริหาร และการตลาดเจ้าของกิจการต้องเป็นคนมีวิสัยทัศน์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ บริหารมืออาชีพรู้เรารู้เขา มีการดำเนินการ การตลาดและการสื่อสารการตลาดอย่างต่อเนื่องเหมาะสมกับสถานการณ์ในช่วงนั้นๆ จนทำให้ผู้ใช้เกิดการยอมรับ (สยามรัฐ ศุกร์ที่ 24 ตุลาคม 2546 หน้า 16)





ข่าวทั่วไป


เชียงใหม่เล็งทำแผนของบฯหนุนไอซีทีซิตี้

น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอซีที) เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมหน่วยงานราชการ และองค์กรธุรกิจในจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ 29 ต.ค.ที่ผ่านมาว่า จังหวัดเชียงใหม่มีความพร้อมที่จะก้าวสู่การเป็นเมืองไอซีที หรือไอซีทีซิตี้ โดยเชื่อมโยงโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคมกับผู้ให้บริการทั้งสามรายอยู่แล้ว คือ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จึงหมดปัญหาในเรื่องนี้ เหลือเพียงการเชื่อมต่อเข้าสู่อาคารหรือบ้านเรือนประชาชนเท่านั้น ส่วนการเตรียมพร้อมด้านบุคลากรนั้น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้เสนอให้บุคลากรเพื่อสนับสนุนการเป็นเมืองไอซีทีอย่างเต็มที่จึงให้เวลาทางจังหวัดไปจัดทำแผนปฏิบัติการ (แอ็คชั่นแพลน) เพื่อเสนอของบประมาณสนับสนุนให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์ (กรุงเทพธุรกิจ ศุกร์ที่ 31 ตุลาคม 2546 หน้า 7)





เอ็มเอ็มไอสร้างโปรแกรมส่งข้อความทันใจ

นายอนุสนธิ์ อติลักษณธ กรรมการผู้จัดการบริษัท เอ็มเอ็มไอ เทคโนโลยี จำกัด บริษัทน้องใหม่ผู้พัฒนาโปรแกรมส่งข้อความทันใจ (IM: Instant Messace) ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือกล่าวว่า บริษัทลงทุนหลักล้านพัฒนาโปรแกรมเอ็มไอเอ็ม (MIM) ภายใต้ชื่อเอ็มไอเอ็ม แมสเซ็นเจอร์ (MIM Messenger) โดยเน้นใช้งานด้านธุรกิจเป็นหลัก เพื่อเจาะตลาดกลุ่มองค์กรในไทย ภายหลังจากบริษัทพัฒนาโปรแกรมไทยพลัส (Thai Plus) ที่มีคุณสมบัติรับส่งข้อความโทรศัพท์มือถือระบบภาษาไทยให้ผู้ผลิตค่ายโซนี้-อีริคลันไปก่อนหน้านี้ โดยโปรแกรมเอ็มไอเอ็มที่บริษัทพัฒนาขึ้น ถือเป็นทางเลือกใหม่ในโลกยุคปัจจุบันที่ทำให้ผู้ใช้บริการติดต่อสื่อสารกันได้ ไม่จำกัดอยู่ในเครือข่ายระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์มือถือด้วยกัน หรือระหว่างผู้ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ตเท่านั้นแต่จะเปิดช่องทางให้ผู้ใช้บริการของทั้งสองเครือข่ายติดต่อสื่อสารกันได้สะดวกถือเป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายโทรมือถือ และเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ตเข้าด้วยกัน และผู้ใช้โปรแกรมเอ็มไอเอ็ม ยังเชื่อมต่อกับผู้ใช้ในเครือข่ายของโปรแกรมไอซีคิวเอ็มเอสเอ็น และยาฮูได้ด้วย ทั้งนี้ การพัฒนาโปรแกรมดังกล่าวแบ่งเป็น 3 เฟส ขณะนี้ เฟสแรกเสร็จแล้วหลังจากใช้เวลาพัฒนา 7-8 เดือน วันที่ 1 พ.ย.นี้ จะแสดงต่อสาธารณชนครั้งแรกในงานสมาร์ทโมบาย ร่วมกับโทรศัพท์มือถือโนเกีย (กรุงเทพธุรกิจ ศุกร์ที่ 31 ตุลาคม 2546 หน้า 7)





จุฬาฯ เดินเครื่อง ‘วิถีใหม่ท้องถิ่น’ ลุยเฟ้นอบต. ตัวอย่างทั่วไทย/ผนึก ‘หมอประเวศ’ เพิ่มความแกร่ง

ดร.จรัส สุวรรณเวลา อาจารย์ประจำ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดเผยว่า โครงการวิถีใหม่ท้องถิ่น เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก สกว.ให้มาทำการวิจัย โดยเป้าหมายเพื่อประมวลประสบการณ์ของท้องถิ่นที่ได้คิดริเริ่มทำโครงการของตัวเองที่อยากทำ และเกิดประโยชน์กับคนในท้องถิ่นอย่างชัดเจน แสะสามารถเก็บเป็นประสบการณ์ให้ท้องถิ่นอื่นได้เป็นบทเรียน โดยเก็บข้อมูลตัวอย่าง อบต.ดีเด่น 500 แห่ง ทั่วประเทศและร่วมมือกับ 12 สถาบันในภูมิภาค วางเป้าหมาย ตั้งกับสถาบันวิถีใหม่ท้องถิ่นร่วมในเครือข่ายหมอประเวศ คาดว่าจะสรุปได้ทันกำหนด ส.ค.47 นี้(สยามรัฐ พุธที่ 15 ตุลาคม 2546 หน้า 23)





หอสมุดอนุรักษ์เอกสารโบราณจับใส่อินเทอร์เน็ต

นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยความคืบหน้าในการปรับปรุงการบริการของหอสมุดแห่งชาติ เพื่อเพิ่มความสะดวกในการสืบค้นข้อมูลหรือเอกสารต่างๆ ให้รวดเร็วมากกว่าที่ผ่านมาว่า ขณะนี้ทางหอสมุดแห่งชาติกำลังดำเนินการรวบรวมเอกสารและหนังสือโบราณที่อยู่ในสภาพทรุดโทรม ซึ่งมีอายุกว่า 80 ปี จำนวน 200 เล่ม มาถ่ายสำเนาและบรรจุข้อมูลไว้ในอินเทอร์เน็ตโดยมีจำนวนหน้ารวมประมาณ 30,000 หน้า ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเอกสารประเภทแถลงการณ์ของรัฐบาลในยุคต่างๆ และหนังสือแบบเรียนเร็วเป็นต้น (เดลินิวส์ เสาร์ที่ 18 ตุลาคม 2546 หน้า 22)





เท 80 ล้านวิจัยข้าวสู้ศึกในตลาดโลก

รศ.ดร.ศรัณย์ วรรรธนัจริยา กรรมการและเลขานุการเกษตรศาสตร์และชีววิทยา สำนักงานคณะกรรมการ วิจัยแห่งชาติ (วช.) เปิดเผยว่า วช.เตรียมจัดสรร งบประมาณ 80 ล้านบาท สำหรับวิจัยเชิงบูรณาการสินค้าเกษตร ด้านข้าวทั้งระบบ 10 ทางวิจัย ทั้งด้านผลิต และการแปรรูปครบวงจร เพื่อจะมีส่วนช่วยให้ ขยายตลาดส่งออกเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะ สิงค์โปร์ จีน และญี่ปุ่น ซึ่งมีความต้องการข้าวไทย เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (สยามรัฐ เสาร์ที่ 25 ตุลาคม 2546 หน้า 20)





นักสื่อสารชี้ไทยขาดนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์

นายบำรุง ไตรมนตรี นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ดีเด่น ในฐานะที่ปรึกษาชมรมนักเขียนและผู้จัดทำหนังสือวิทยาศาสตร์ (นจวท.) สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า นักเขียนหรือผู้จัดทำหนังสือวิทยาศาสตร์ หรือสื่อวิทยาศาสตร์มีความสำคัญที่จะผลิตข่าวสาร และเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์แต่ผู้เขียนเรื่องทางวิทยาศาสตร์เพื่อเผยแพร่ยังมีไม่เพียงพอ นักเขียนหนังสือวิทยาศาสตร์ความสำคัญในการเผยแพร่เรื่องความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆ ให้สาธารณชนได้รับและรู้จักโลกวิทยาศาสตร์มากขึ้นแต่ไทยยังขาดแคลนผู้จัดทำสื่อวิทยาศาสตร์ฝีมือดีอีกมาก ดร.สายวรุฬ ชัยวานิชศิริ ประธานชมรม นจวท. กล่าวว่า ชมรมร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพระนครศรีอยุธยา หันตรา จ.พระนครศรีอยุธยา จึงจัดสัมมนาและปฏิบัติการ “การเขียนเรื่องวิทยาศาสตร์เผยแพร่สู่สาธารณชน” เพื่อให้ครูอาจารย์และผู้สนใจทั่วไปได้ฝึกและพัฒนาการเขียนโดยสามารถเขียนเรื่องทางวิทยาศาสตร์ออกเผยแพร่สู่สาธารณขนในวงกว้าง สัมมนาครั้งนี้มีนักเขียนเป็นวิทยากรหลายท่าน อาทิ ดร.ครรชิต มาลัยวงศ์ ผู้เขียนหนังสือชื่อจากลูกคิดสู่คอมพิวเตอร์ รศ.ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล นักเขียนเรื่องวิทยาศาสตร์ชื่อดัง คุณรำไพพรรณ แก้วสุริยะ จาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ผศ.ดร.มานิต รุจิวโรดม กรรมการผู้จัดการ สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณสิทธิชัย จันทรศิลปิน นักวิชาการศึกษาจากท้องฟ้าจำลอง (กรุงเทพธุรกิจ จันทร์ที่ 26 ตุลาคม 2546 หน้า 8)





ไขปริศนาเทคนิคมัมมี่อียิปต์พบน้ำมันไม้ซีดาร์รักษาศพไม่เน่าเปี่อย

นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันค้นพบว่า ชาวอียิปต์โบราณใช้น้ำมันจากไม้ซีดาร์รักษาซากศพมัมมี่เหตุเพราะมีสารเคมีคุณสมบัติพิเศษรักษาศพให้ยาวนานโดยไม่เน่าเปื่อย กลุ่มนักวิจัยด้านเคมี จากมหาวิทยาลัยทูบินเจนในสถาบันดูเนอร์ ในมิวนิค ประเทศเยอรมนี ประสบความสำเร็จในการค้นคว้าหาความลับของมัมมี่อียิปต์โบราณโดยพบว่าน้ำมันจากไม้ซีดาร์ช่วยรักษาซากศพมัมมี่ให้อยู่ได้นานหลายพันปีโดยไม่เน่าเปื่อยสบายกลายเป็นปุ๋ย นักวิจัยได้จำลองวิธีการรักษาพยาบาลด้วยไม้ซีดาร์แบบโบราณและพบสารเคมีที่ชื่อว่า “กัวเอียโคล” สารเคมีมีคุณสมบัติในการทำลายแบคทีเรียได้เป็นอย่างดีโดยไมส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อ ทีมงานได้ทดสอบสารเคมีที่พบนี้กับซีโครงหมูพบว่าช่วยรักษาซี่โครงหมูและซากศพมัมมี่ไม่ให้เน่าเปื่อยพุพัง “ในที่สุดวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้ช่วยไขความลับที่ว่าทำไมมัมมี่ถึงได้รักษาสภาพศพได้นานนับพันปี” นักวิจัยกล่าว (กรุงเทพธุรกิจ พุธที่ 29 ตุลาคม 2546 หน้า 8)






KMUTT Digital Library
Contact Digital Library : info@lib.kmutt.ac.th
Tel : 0-2470-8215