หัวข้อข่าวปีที่ 5 ฉบับที่ 2 ประจำวันที่ 2004-01-13

ข่าวการศึกษา

ดึงนิสิตช่วยสอนแก้ขาดครู
นักเรียนมาแตร์คว้ารางวัลนานาชาติ ประกวดบทความด้านสังคมศาสตร์

ข่าววิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี

จากนักพัฒนาสู่ผู้ทดสอบ..แอพพลิเคชั่นบนมือถือ
สานฝันนักวิทย์-คณิตรุ่นเยาว์
เซิร์ฟเวอร์อัจฉริยะ
อาคารต้านระเบิด…
โปสการ์ดจากดาวแดง
ไอเดีย… ‘จักรยานพลังงานแบตเตอรี่’ สิ่งประดิษฐ์จากภูมิปัญญาคนเก่ง ‘นครพนม’
ปฎิรูป Lab วิทย์

ข่าววิจัย/พัฒนา

‘ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น 4 ภาค’ งานวิจัยเด่น สกว.ปี 46
ไข่แอนติบอดี’ ผลงานวิจัยของนิสิตม.เกษตรฯ

ข่าวทั่วไป

รถไฟใต้ดิน…รวดเร็ว ปลอดภัย
ใช้ศิริราชทำศูนย์แพทย์เอเชีย
ฮือฮาฟอสซิลหอย ‘แม่เมาะ’ มีอายุ 13 ล้านปี
คิดใหม่ทำ ‘พิพิธภัณฑ์’ ใหม่
กทม.เพิ่มศักยภาพคนกรุง เปิด 30 กิจกรรมเรียนฟรี
สนข.เตรียมไฟเขียวก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าใต้ดินถึงบางแค





ข่าวการศึกษา


ดึงนิสิตช่วยสอนแก้ขาดครู

ศ.ดร.วรเดช จันทรศร เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กอ.) เปิดเผยผลการประชุมหารือเรื่องการผลิตและพัฒนาครู เมื่อวันที่ 5 ม.ค.ว่า ที่ประชุมได้หารือถึงปัญหาการขาดแคลนครูในโรงเรียนขั้นพื้นฐาน และเห็นชอบให้มีมาตรการแก้ปัญหาเร่งด่วน โดยเปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ชั้นปีที่ 3-4 และนิสิตนักศึกษาคณะดังกล่าวที่จบการศึกษาไปแล้วมาสมัครเป็นพนักงานของรัฐเพื่อช่วยสอนในโรงเรียนขั้นพื้นฐานทั่วประเทศที่ขาดแคลนครู โดยจะเริ่มดำเนินการช่วยสอนประมาณเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นเวลา 1 ภาคเรียน หรือ 1 ปี (เดลินิวส์ อังคารที่ 6 มกราคม 2546 หน้า 23)





นักเรียนมาแตร์คว้ารางวัลนานาชาติ ประกวดบทความด้านสังคมศาสตร์

ณิชาพัชร วลัยพัชรา นักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 6 จากโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประกวดบทความด้านสังคมศาสตร์ และมนุษย์ศาสตร์ประจำภาคพื้นเอเซียแปซิฟิกขององค์การยูเนสโก (UNESCO’S Regional Unit for Social and Human Sciences in Asia and the Pacific) ในหัวข้อ “Leading or Good life Amidst Temptation” (สยามรัฐ เสาร์ที่ 10 มกราคม 2547 หน้า 19)





ข่าววิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี


จากนักพัฒนาสู่ผู้ทดสอบ..แอพพลิเคชั่นบนมือถือ

นายอัจฉริยะ ดาโรจน์ อายุ 21 ปี นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ม.ขอนแก่น นักพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนมือถือผ่านสนามประลองมานับครั้งไม่ถ้วน ล่าสุดได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดออกแบบแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ จากเวที Sun Nokia Wireless Java ประจำภาคอีสาน (เดลินิวส์ จันทร์ที่ 5 มกราคม 2546 หน้า 16)





สานฝันนักวิทย์-คณิตรุ่นเยาว์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้คัดเลือกนักเรียน ในระดับ ป.4-ม.1 เด็กหัวกะทิด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศจำนวน 37 คนเข้าค่าย “วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์” ประจำปี พ.ศ.2546 ในโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (เดลินิวส์ อังคารที่ 6 มกราคม 2547 หน้า 12)





เซิร์ฟเวอร์อัจฉริยะ

สำนักข่าวเอพีรายงานว่า บริษัท มิร์รา (Mirra Inc.) ได้ประดิษฐ์ เซิร์ฟเวอร์ส่วนบุคคลมิร์รา ที่มาพร้อมคุณสมบัติเด่น สามารถแชร์ข้อมูลและการทำงานผ่านอินเทอร์เน็ต เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ที่อยู่ทั่วโลกทั้งที่บ้านและที่ทำงานได้ ที่สำคัญเซิร์ฟเวอร์ดังกล่าวยังทำสำเนาข้อมูลงานของผู้ใช้ไว้ด้วยเพื่อป้องกันการสูญหาย (เดลินิวส์ พุธที่ 7 มกราคม 2547 หน้า 12)





อาคารต้านระเบิด…

University of California, San Diego (UCSD) ได้สร้างห้องปฏิบัติการแห่งแรกที่ใช้ทดสอบการระเบิดและจำลองผลกระทบจากการระเบิดต่อโครงสร้างของอาคาร ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนกับเทคโนโลยีทางด้านวัสดุศาสตร์ของทางมหาวิทยาลัยที่ได้มีการค้นคว้าวิจัยเพื่อนำมาใช้กับโครงการสร้างส่วนต่างๆของอาคารด้วย ห้องปฏิบัติการแห่งนี้เพียบพร้อมไปด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ระบบไฮดรอลิกที่ทรงพลังจะจำลองการเกิดของ Shock wave ซึ่งเกิดจากการที่มวลของอาคารถูกทำให้เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงอันเนื่องมาจากแรงอัดจากการระเบิด (เดลินิวส์ พุธที่ 7 มกราคม 2547 หน้า 12)





โปสการ์ดจากดาวแดง

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ หรือนาซา เผยแพร่ภาพถ่ายสีที่ยานสำรวจ “สปิริต” ส่งมาจากดาวอังคาร รายละเอียดบนภาพแสดงให้เห็นถึงสภาพพื้นผิวสีส้มของดาวเคราะห์ยักษ์ที่แห้งแล้งและเต็มไปด้วยก้อนหินสีน้ำเงินปนเทาขนาดต่างๆ กันโดยผิวหินรอบบริเวณที่ยานสปิริตร่อนลงจอดในจุดที่เรียกว่า “กูเซฟ เครเทอร์” นาซาตั้งชื่อภาพถ่ายนี้ว่า “โปรสการ์ดจากดาวอังคาร” จะตั้งชื่อจุดที่ยานลงจอดว่า โคลัมเบีย เมมโมเรียล สเตชั่น เพื่อเป็นเกียรติแก่มนุษย์อวกาศ 7 คนของยานโคลัมเบียที่เสียชีวิตจากโศกนาฏกรรมยานแชลเลนเจอร์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปีที่แล้ว (เดลินิวส์ ศุกร์ที่ 9 มกราคม 2547 หน้า 16)





ไอเดีย… ‘จักรยานพลังงานแบตเตอรี่’ สิ่งประดิษฐ์จากภูมิปัญญาคนเก่ง ‘นครพนม’

นายก้องเกียรติ ก้องเกียรติกมล อยู่ที่ 164 ถ.นิตโย้ จ.นครพนม เจ้าของสิ่งประดิษฐ์ “จักรยานยนต์พลังงานแบตเตอรี่” โดยสร้างโครงรถจักยาน จากเหล็กแป๊บ และซื้อแบตเตอรี่ที่เป็นของเก่าแต่สภาพยังใช้งานได้ดีราคาถูก นำมาต่อแบบผสม เพื่อให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้า นอกจากนี้เขายังประดิษฐ์เครื่องมือต่างๆอีก เช่น รอกไฟฟ้า ลิฟต์ไฟฟ้าใช้ขนของขึ้นสู่ที่สูง และประดิษฐ์สามล้อมพลังงานแบตเตอรี่ หากผู้ใดต้องการคำปรึกษาในการสร้างหรือประดิษฐ์อุปกรณ์ดังกล่าวก็พร้อมที่จะถ่ายทอดให้เป็นวิทยาทาน (สยามรัฐ เสาร์ที่ 10 มกราคม 2547 หน้า 22)





ปฎิรูป Lab วิทย์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้จัดทำ “คู่มือการจัดห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์” ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อให้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ของทุกโรงเรียน มีมาตรฐานเดียวกัน คู่มือมีแนวทางจากการศึกษาของเอกสารและข้อมูลทั้งในและต่างประเทศ เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรม และอาคารที่ใช้ทางการศึกษา รวมทั้งข้อมูลจากนักวิชาการ, ครูผู้สอน และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ด้านห้องปฏิบัติการ โดยมีข้อแนะนำเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวก และความปลอดภัยในการใช้ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ (เดลินิวส์ เสาร์ที่ 10 มกราคม 2547 หน้า 17)





ข่าววิจัย/พัฒนา


‘ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น 4 ภาค’ งานวิจัยเด่น สกว.ปี 46

ดร.ลีลาภรณ์ บัวสาย ผู้อำนวยการฝ่ายชุมชนและสังคม สำนักงานกองทุรนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กล่าวว่า ผลงานวิจัยชุด “โครงการวิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น 4 ภาค” นี้ได้ทำการศึกษาทั้งใน ภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคใต้และภาคเหนือ ซึ่งประกอบด้วยเรื่องเศรษฐกิจ, การทำมาหากิน, ทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ ป่า คน ในเมือง วิถีชีวิตของคนในพื้นที่นั้น ชุดโครงการจึงได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 19 โครงการวิจัยเด่น สกว.ประจำปี 2546 จะเป็นหัวใจของการศึกษา วิจัยของสังคมไทยต่อไปในอนาคต (สยามรัฐ จันทร์ที่ 5 มกราคม 2547 หน้า 7)





ไข่แอนติบอดี’ ผลงานวิจัยของนิสิตม.เกษตรฯ

นายสรรชัย จันทะจร และนายธนายุทธ์ จิรัฐพงศ์ นิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โดยมี ผศ.ดร.รัชนี ฮงประยูร และดร.สุรัตน์วดี จิวะจินดา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ได้ทำการวิจัยไข่แอนติบอดีหรือเรียกง่ายๆ ว่า การกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในในไข่ โดยใช้สารสกัดจากกะเพราแดงของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 3 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ได้รับถ้วยพระราชทานจาก สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์เงินรางวัล 100,000 บาท และไปดูงานต่างประเทศ 1 สัปดาห์ (เดลินิวส์ อังคารที่ 6 มกราคม 2547 หน้า 10)





ข่าวทั่วไป


รถไฟใต้ดิน…รวดเร็ว ปลอดภัย

รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้นำรถไฟฟ้าขบวนแรกทดลองวิ่งเพื่อทดสอบความพร้อมในเดือน เมษายน นี้ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน สายแรกของประเทศไทย ชื่อรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล และจะเปิดตัวเป็นทางการในเดือนสิงหาคมนี้ จุดเริ่มต้นที่สถานีรถไฟหัวลำโพง สิ้นสุดที่สถานีรถไฟฟ้าบางซื่อรวมระยะทางทั้งสิ้น 20 กิโลเมตร มีสถานีรถไฟใต้ดิน 18 สถานี (สยามรัฐ จันทร์ที่ 5 มกราคม 2546 หน้า 9)





ใช้ศิริราชทำศูนย์แพทย์เอเชีย

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวตอนหนึ่งระหว่างเป็นประธานรับมอบพื้นที่สถานีรถไฟธนบุรีริมแม่น้ำเจ้าพระยาเนื้อที่ 33 ไร่ พร้อมอาคารซึ่งอยู่ใกล้โรงพยาบาลศิริราชเพื่อมาพัฒนาให้เป็นสถาบันการแพทย์ชั้นเลิศในภูมิภาคว่า สิ่งที่อยากเห็นคือให้โรงพยาบาลศิริราชเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ชั้นเลิศ อย่าว่าแต่ในเอเชียอาคเนย์เลยในภูมิภาคเอเชียก็เชื่อว่าเป็นไปได้ไม่มีอะไรเกินมือและสมองคนไทย รัฐบาลจะสนับสนุนเต็มที่โดยศูนย์แห่งนี้จะสร้างเสร็จภายใน 5 ปี (เดลินิวส์ อังคารที่ 6 มกราคม 2547 หน้า 3)





ฮือฮาฟอสซิลหอย ‘แม่เมาะ’ มีอายุ 13 ล้านปี

คนไทยตื่นดีใจ พบซากฟอสซิลหอยโบราณดึกดำบรรพ์เก่าแก่กว่า 13 ล้านปี นายสมศักดิ์ โพธิสัตย์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี เป็นประธานพิธีกล่าวเปิดงานและแถลงผลงาน พร้อมเปิดเผยว่า ล่าสุดนี้มีการค้นพบซากฟอสซิลหอยขมน้ำจืดรวมตัวกันที่หนาและใหญ่ที่สุดในโลกอายุประมาณ 13 ล้านปี ที่เหมืองแม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง โดยบังเอิญขณะที่เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยทำการขุดเจาะเหมือง ทั้งนี้เตรียมเสนอรายงานให้นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ รมว.ทรัพยากรฯ ทราบและประสานกระทรวงอุตสาหกรรม ให้ยกเลิกเขตสัมปทานดังกล่าว เพื่อเสนอเป็นพื้นที่มรดกโลกและพิพิธภัณฑ์ ให้เด็กและเยาวชนได้ศึกษาและประกาศให้ทั่วโลกรับทราบ (เดลินิวส์ ศุกร์ที่ 9 มกราคม 2547 หน้า 1,2)





คิดใหม่ทำ ‘พิพิธภัณฑ์’ ใหม่

นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ประกาศว่าจะสร้างพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ จะเรียกว่า “สมิธโซเนียไทย” ให้เป็นพิพิธภัณฑ์ยุคใหม่จัดแสดงหุ่นจำลองจากของจริงชัดเจน แจ่มใสให้คนรู้จักตนเอง และรู้เท่าทันโลก โดยสำนึกลึกซึ้งว่า “รู้เขา-รู้เรา-รู้โลก และสิ่งแวดล้อม” ด้วยวิธีเล่าเรื่อง (Story Telling) ประกอบด้วย 7 ผลิตภัณฑ์ คือ 1.พิพิธภัณฑ์ศักยภาพคนไทยกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง 2.พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาไทยและการพัฒนาเทคโนโลยี 3.พิพิธภัณฑ์ศิลปะและวัฒนธรรมไทย 4.พิพิธภัณฑ์ระบบความเชื่อกับคนไทย 5.พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์ในประเทศไทย 6.พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ชาติไทย 7.พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติและนิเวศวิทยาเขตร้อนของไทย (สยามรัฐ ศุกร์ที่ 9 มกราคม 2547 หน้า 6)





กทม.เพิ่มศักยภาพคนกรุง เปิด 30 กิจกรรมเรียนฟรี

นายนิคม ไวยรัชพานิช ผู้อำนวยการสำนักสวัสดิการสังคม เปิดเผยว่าศูนย์เยาวชน กทม. (ไทย-ญี่ปุ่น) ได้เพิ่มทางเลือกให้เด็กและเยาวชน โดยจัดกิจกรรมเรียนกีฬาและนันทนาการ ขึ้นพื้นฐาน ประจำปี 47 จำนวน 4 รุ่นๆละ 3 เดือน เพื่อส่งเสริมให้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ห่างไกลจากยาเสพติด โดยเปิดสอน นาฏศิลป์ไทย-สากล ดนตรีไทย-สากล ศิลป คหกรรม ภาษาอังกฤษ เบื้องต้น และกีฬาต่างๆ ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ 02-245-4743-7 ต่อ 20,33,44 และทางเว็บไซต์ http:/203.144.180.217/office/swdi หรือ www.bma.go.th คลิกไปที่ศูนย์เยาวชน กทม. (สยามรัฐ เสาร์ที่ 10 มกราคม 2547 หน้า 10)





สนข.เตรียมไฟเขียวก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าใต้ดินถึงบางแค

นายคำรบลักขิ์ สุรัสวดี ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า จะมีการประชุมหารือ ถึงการก่อสร้างระบบ รางรถไฟฟ้าในส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-ท่าพระ-บางหว้าง-บางแค) เพื่อจะนำเสนอ กระทรวงคมนาคม และคณะกรรมการ จัดระบบการจราจรทางบกเพื่อพิจารณาขออนุมัติต่อไป นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบรายละเอียดการก่อสร้างระบบรางรถไฟฟ้า ในส่วนของ บางซื่อ-พระนั่งเกล้า และบางกะปิ ราษฎรบูรณะ สำหรับในส่วนของรถไฟลอยฟ้า จะมีการต่อขยาย ทางอ่อนนุช-สมุทรปราการ ที่จะรองรับการเดินทางไปสนามบินสุวรรณภูมิ (สยามรัฐ เสาร์ที่ 10 มกราคม 2547 หน้า 9)






KMUTT Digital Library
Contact Digital Library : info@lib.kmutt.ac.th
Tel : 0-2470-8215