หัวข้อข่าวปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำวันที่ 2001-03-13

ข่าวการศึกษา

มหิดลเร่งชี้แจงการออกนอกระบบ
ศธ.เตรียมชงของบฯหนุนสคูลเน็ต
วิทยาลัยไอทีแห่งแรกเปิดรับนศ.
เพิ่มโทษ 2 เท่า ค้ายาบ้าใน ร.ร. จัดตั้งคณะกรรมการการรักษาความปลอดภัยผู้บริหาร
สาธิตเกษตรเปิดใหม่ค่าเรียนหูฉี่
เผย 3 พันธกิจแผนพัฒนาศึกษาฉบับ 9
จุฬาฯรับสมัครป.โทการจัดการทางวัฒนธรรม
วิศวะมก.เปิดป.โทสาขาความปลอดภัย
ทบวงฯคลอดโปรแกรมเทียบคะแนนเอ็นทรานซ์
เผยเว็บไซต์โหลดข้อมูลคิดคะแนนเอ็นทรานซ์
คณาจารย์มข.ลงประชามติ 90% ค้านนำมหา’ลัยออกนอกระบบ
พระเทพฯทรงเปิด ‘สคูลเน็ตเดย์’ ปาฐกถาพิเศษ ‘ไอทีกับการศึกษา’
อธิการฯรุมฝากงาน ‘สุธรรม’ เพียบเพิ่มงบ-ขาดอจ.-ดันม.นอกระบบ
วิทยาลัยไอทีแห่งแรกเปิดรับนศ.
วิทยาลัยไอทีแห่งแรกเปิดรับนศ.
เงินเดือนใหม่อจ.มหา’ลัยลงตัว
มร.ดึงตำราลงเวบ เปิดโอกาส ‘กศ.’ ประชาชนทั่วไป
วิทยาลัยชุมชน ‘ลงตัว’ รับแต่ ม. 6
พ่อแม่ได้เฮ! ‘ศธ’ เพิ่มงบฯหนุน ‘ม.1-6’
คณาจารย์มข.ลงประชามติ 90% ค้านนำมหา’ลัยออกนอกระบบ

ข่าววิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี

อนุรักษ์พันธุกรรมพืช จังหวัดกาญจนบุรี ที่บ้านลิ่นถิ่น อ.ทองผาภูมิ เป็นที่ตั้งของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
นโยบายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
รัสเซียกำหนดฌาปนกิจ สถานีอวกาศ "เมียร์"
จัดงานมหกรรมเทคโนโลยีหนุนกำจัดขยะ
ส้วมอวกาศของตาย!
กรมทรัพย์สินฯเชิญประกวดร่วมค้นหา ‘ภูมิปัญญาไทย’

ข่าววิจัย/พัฒนา

บัลลาสต์ ประหยัดพลังงานของ จุฬาฯ
รถพลังงานแสงอาทิตย์ ปลอดภัย-ประหยัดกว่า
เพาะส้มตัดแต่งยีนแค่ปีเดียวได้กินลูก
วิศวกรรมโยธาม.รังสิต คว้าแชมป์คอนกรีตพลังสูง
เร่งถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตสารสกัดโลติ๊น
วช.วาง 5 ภารกิจหลัก รับบทบาทใหม่ปี48
พบโปรตีน ‘วีจีอีเอฟ’ ช่วยขนดก คนหัวล้านเสนอตัวทดลอง

ข่าวทั่วไป

ยาบ้าทำลายสมองถึงพิการตลอดชาติ
ขุดอุโมงค์รถไฟใต้ดินเสร็จแล้ว
จอกหูหนูยักษ์..มหันตภัยตัวใหม่ที่แซงผักตบฯ
เก็บขยะแบบใหม่ นำร่อง 9 เขตก.ค.นี้





ข่าวการศึกษา


มหิดลเร่งชี้แจงการออกนอกระบบ

ศ.ดร. พรชัย มาตังคสมบัติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า นักศึกษาส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่า การออกนอกระบบ ค่าหน่วยกิตจะขึ้นซึ่งเรื่องนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการออกนอกระบบ แต่เป็นเรื่องของความเป็นธรรมในสังคม และการออกนอกระบบไม่ได้หมายความว่า มหาวิทยาลัยจะเปลี่ยนเป็นเอกชน ยังคงเป็นของรัฐ จะเปลี่ยนที่ระบบบริหารให้มีความเป็นอิสระคล่องตัว และรัฐยังสนับสนุนงบประมาณอยู่ (เดลินิวส์ จันทร์ที่ 5 มีนาคม 2544 หน้า 12)





ศธ.เตรียมชงของบฯหนุนสคูลเน็ต

นายพนม พงษ์ไพบูลย์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงต่างๆ เพื่อรับนโยบาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และให้ความสำคัญกับการใช้อินเตอร์เน็ตในระดับตำบล ซึ่งประเด็นนี้นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลด้านการศึกษาได้เน้นย้ำให้ตนทำโครงการสคูลเน็ต หรืออินเตอร์เน็ตในโรงเรียน จึงนำเสนอให้รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง และค่าบริการแทนนักเรียนและโรงเรียน (มติชน อังคารที่ 6 มีนาคม 2544 หน้า 10)





วิทยาลัยไอทีแห่งแรกเปิดรับนศ.

นายสิทธิพร ประวัติรุ่งเรือง รองอธิการบดีวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ เปิดเผยว่า วิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ได้รับการตั้งขึ้นเพื่อเป็นสถาบันการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านบริหารธุรกิจโดยเฉพาะ ซึ่งจะผสมผสานเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ ตลอดจนภาษาต่างประเทศในการเรียนการสอนอย่างเต็มรูปแบบจะเปิดรับสมัคร ตั้งแต่กลางเดือน มีนาคมนี้ ประมาณ 900 คน (เดลินิวส์ พฤหัสบดี ที่ 8 มีนาคม 2544 หน้า 16)





เพิ่มโทษ 2 เท่า ค้ายาบ้าใน ร.ร. จัดตั้งคณะกรรมการการรักษาความปลอดภัยผู้บริหาร

นายจำลอง ครุฑขุนทด รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยถึงการประชุมนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพย์ติดในสถานศึกษา เมื่อวานนี้ (5 มี.ค. 44) ผลสรุปการแก้ไขปัญหายาเสพย์ติดในสถานศึกษาที่ผ่านมายังไม่ประสบผลสำเร็จเพราะว่า ยังขาดการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขาดการดูแลความปลอดภัยให้บุคลากร ผู้บริหาร ตลอดจนเล่ห์เหลี่ยมของพ่อค้ายาเสพย์ติดซับซ้อนมากขึ้น ตนจะเสนอปัญหานี้ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในการพิจารณาแก้ปัญหายาเสพย์ติด ที่จังหวัดเชียงราย ในวันที่ 10-11 มีนาคมนี้ ให้เพิ่มโทษผู้ค้ายาเสพย์ติดในสถานศึกษาเป็น 2 เท่า ส่วนขอบเขตที่ถือว่าเป็นสถานศึกษานั้นตนจะเสนอให้พื้นที่รอบโรงเรียนภายในรัศมี 1-2 กิโลเมตรถือว่าเป็นเขตสถานศึกษา และจะจัดให้มีคณะกรรมการจากหลายฝ่ายให้ดูแลความปลอดภัยให้บุคลากรผู้จ้างงานและผู้บริหารด้วย นอกจากนี้นายจำลองกล่าวว่า การแก้ปัญหาจะต้องชวนนักเรียนให้เข้ามาสนใจเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมใช้การศึกษา ศาสนา และกีฬาเข้ามาช่วยควบคู่ไปด้วย (สยามรัฐ อังคารที่ 6 มีนาคม 2544 หน้า 20)





สาธิตเกษตรเปิดใหม่ค่าเรียนหูฉี่

นายธีระ สูตบุตร อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยถึงนโยบายรับเด็กของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ว่า ปีการศึกษา 2544 นี้ โรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัยรับเด็กระดับชั้นประถม 1 จำนวน 260 คน แบ่งเป็นประเภททั่วไป 100 คน อีก 100 คนเป็นลูกหลานของข้าราชการและบุคลากรของมหาวิทยาลัย ส่วนที่เหลืออีก 60 คน จะรับผู้ที่ทำคุณประโยชน์ด้านการศึกษาให้กับสังคมและประเทศชาติ นายธีระ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ตนยังได้ทำโครงการจัดตั้งโรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัยขึ้นมาใหม่ที่ อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเด็กไทยให้มีความรู้และทักษะในด้านภาษาต่างประเทศ อาทิ ภาษาอังกฤษ จีน และญี่ปุ่น ค่าเล่าเรียนคาดว่าจะอยู่ระหว่าง 40,000 -50,000 บาทต่อภาคเรียน ในเบื้องต้นจะรับเด็กชั้น ป.1 จำนวน 100 คนก่อน ในปีการศึกษา 2544 (เสาร์ที่ 3 มีนาคม 2544 หน้า 20 สยามรัฐ)





เผย 3 พันธกิจแผนพัฒนาศึกษาฉบับ 9

เมื่อวันที่ 1 มีนาคม นายอำรุง จันทวานิช รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ระยะที่ 9 พ.ศ.2545-2549 ได้เห็นขอบร่างแผนพัฒนาฯระยะที่9 ตามที่คณะทำงานเสนอ โดยจะมี 3 พันธกิจ 8 ยุทธศาสตร์ และ 12 แผนงานดังนี้ 1.พัฒนาการจัดการบริการการศึกษาให้ทั่วถึง มีมาตรฐาน และเกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยยึดหลักการศึกษาสร้างชาติ สร้างคน สร้างงาน ซึ่งผู้เรียนต้องสามารถบูรณาการการเรียนรู้ ค้นคว้าการเรียนรู้จากชุมชนได้ 2.พัฒนากิจการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมให้เข็มแข็ง สามารถสร้างภูมิคุ้มกันและดำรงไว้ซึ่งวิถีชีวิตไทย ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยจะใช้ยุทธศาสตร์การเผยแผ่ศาสนธรรมสู่การปฏิบัติ และการใช้มิติทางวัฒนธรรมให้เอื้อต่อการพัฒนาวิถีชีวิต พันธกิจสุดท้าย คือ พัฒนาการบริหารจัดการให้เกิดคุณภาพ ประสิทธิภาพ และเสมอภาค โดยใช้ยุทธศาสตร์มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน การระดมทรัพยากรและการลงทุนการส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติงานได้เหมาะสมกับวิชาชีพ และการเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิต พัฒนาและใช้เทคโนโลยีการศึกษา เครือข่ายสารสนเทศ ทั้งนี้ การนำแผนไปสู่การปฏิบัติได้กำหนดให้มีกลไกประสานการดำเนินงานการจัดทำแผนปฏิบัติ การระดมความร่วมมือ และการกำกับ ติดตาม ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง ศธ.จะนำร่างแผนดังกล่าวเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาต่อไป (มติชน ศุกร์ที่ 2 มีนาคม 2544 หน้า 10)





จุฬาฯรับสมัครป.โทการจัดการทางวัฒนธรรม

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดรับสมัครนิสิตเข้าศึกษาในระดับปริญญาโท สาขา "การจัดการทางวัฒนธรรม" ซึ่งเป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษ (ภาคค่ำ) สำหรับภาคต้น ปีการศึกษา 2544 มี 3 สาขาคือ การจัดการศิลปะการแสดงและการละคร, การจัดการทางทัศนศิลป์, การจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ผู้สำเร็จการศึกษาต้องมีผลสอบภาษาอังกฤษ TOEFL และ CU-TEP ไม่ต่ำกว่า 560 คะแนน ผู้สนใจสามารถซื้อใบสมัครที่ บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ฯ ภายใน 31 มีนาคม 2544 (กรุงเทพธุรกิจ ศุกร์ที่ 9 มีนาคม 2544 หน้า 11)





วิศวะมก.เปิดป.โทสาขาความปลอดภัย

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดรับสมัครผู้สำเร็จ ป.ตรี เข้าศึกษาในระดับปริญญาโท สาขาวิศวกรรมความปลอดภัยจำนวน 30 คน ซึ่งเปิดสอนเป็นแห่งแรกในไทย จะเปิดสอนนอกเวลาราชการในวันศุกร์ เวลา 18.00-21.00 น. และเสาร์-อาทิตย์ 09.00-16.00 น. ผู้สนใจติดต่อซื้อใบสมัครที่ หน่วยทะเบียนและประเมินผลการศึกษา (อาคาร 3) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งแต่บัดนี้ จนถึง 10 เมษายน 2544 (กรุงเทพธุรกิจ ศุกร์ที่ 9 มีนาคม 2544 หน้า 11)





ทบวงฯคลอดโปรแกรมเทียบคะแนนเอ็นทรานซ์

นายสุชาติ เมืองแก้ว รองปลัดทบวงมหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า สำนักทดสอบกลาง ทบวงฯ ได้พัฒนาโปรแกรมเพื่อแปลงคะแนนผลการเรียนเฉลี่ยระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (GPA) และตำแหน่งลำดับที่ (PR) เป็นคะแนนในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งผู้ใช้โปรแกรมจะสามารถทราบคะแนนที่ตนได้รับใกล้เคียงกับคะแนนที่ทบวงฯจะใช้คัดเลือกเอ็นทรานซ์ประจำปีการศึกษา 2544 โดยผู้สมัครต้องบันทึกข้อมูลประกอบด้วยคะแนนในรายวิชาต่างๆ ที่ได้รับจากการสอบวัดความรู้ รวมทั้งค่า GPA และ PR ทั้งนี้ จะสามารถเทียบกับข้อมูลคะแนนสูงสุดและต่ำสุดในปีที่ผ่านมาได้ด้วย ซึ่งจะช่วยประกอบการตัดสินใจเลือกคณะ / ประเภทวิชาได้ โดยทบวงฯจะมอบโปรแกรมดังกล่าวให้แก่กระทรวงศึกษาฯ ในวันที่ 7 มี.ค. นี้ ที่หอประชุมโรงเรียนสตรีวิทยา นอกจากนี้จะมอบให้ศูนย์รับสมัครเอ็นทรานซ์ 15 ศูนย์ทั่วประเทศนำไปให้บริการผู้สมัครในการสมัครเอ็นทรานซ์ประจำปีการศึกษา 2544 ระหว่างวันที่ 8-11 เม.ย. นี้ (ไทยรัฐ พุธที่ 7 มีนาคม 2544 หน้า 15)





เผยเว็บไซต์โหลดข้อมูลคิดคะแนนเอ็นทรานซ์

ดร.กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา อธิบดีกรมสามัญศึกษา กล่าวว่า จำนวนนักเรียนที่จบชั้น ม.6 จากโรงเรียนมัธยมในสังกัดกรมสามัญฯ ซึ่งคาดว่าจะเข้าสู่ระบบเอนทรานซ์ในปีนี้จำนวน 297,935 คน โดยนักเรียนสามารถใช้โปรแกรมคำนวณคะแนนการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา เพื่อจะได้นำผลคะแนนของตัวเองมาประกอบการคัดเลือกคณะที่เหมาะสม ซึ่งนักเรียนและโรงเรียนสามารถดาวน์โหลดโปรแกรมดังกล่าวได้จากโฮมเพจของกรมวิชาการคือ http://gened.moe.go.th และทบวงฯคือ www.entranceinfo.mua.go.th ได้ตั้งแต่บัดนี้ ส่วนข้อมูลจีพีเอ 6 ภาคเรียน นักเรียนสามารถเปิดดูได้ที่โฮมเพจ http://gened.moe.go.th ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน เป็นต้นไป (ไทยรัฐ พฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม 2544 หน้า 16)





คณาจารย์มข.ลงประชามติ 90% ค้านนำมหา’ลัยออกนอกระบบ

น.พ.พิศิษฐ์ โจทย์กิ่ง ประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) เปิดเผยถึงผลการลงประชามติของคณาจารย์ มข. เกี่ยวกับการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการว่า จากการกำหนดนโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมา กรณีการให้มหาวิทยาลัยของรัฐ ต้องปรับเปลี่ยนสถานะไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐภายในปี 2545 ซึ่งในหลายมหาวิทยาลัยต้องมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหาร ทั้งทางด้านการบริหารทรัพย์สิน การเงิน การบริหารงานบุคคล ตลอดจนการบริหารการจัดการด้านต่างๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาของชาติ และวิถีชีวิตของคณาจารย์และบุคลากรที่ทำงานอยู่ในมหาวิทยาลัยจนเกิดเป็นประเด็นโต้แย้งกันในหลายมหาวิทยาลัยถึงข้อดี ข้อเสีย และความพร้อมในการปรับเปลี่ยนสถานะมหาวิทยาลัยของรัฐ สภาคณาจารย์ มข. จึงได้จัดให้มีการลงประชามติของคณาจารย์ในเรื่องดังกล่าวขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ว่า เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับการจะนำ มข. ไปบริหารในรูปแบบของมหาวิทยาลัยนอกระบบราชการภายในปี 2545 ซึ่งผลการลงประชามติปรากฏว่า คณาจารย์จำนวน 89.75% ไม่เห็นด้วยในการที่ มข. จะบริหารในรูปแบบมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐภายในปี 2545 ขณะที่อาจารย์ 8.28% เห็นด้วย ส่วนบัตรเสียมีจำนวน 1.97% (มติชน จันทร์ที่ 5 มีนาคม 2544 หน้า 11)





พระเทพฯทรงเปิด ‘สคูลเน็ตเดย์’ ปาฐกถาพิเศษ ‘ไอทีกับการศึกษา’

นายทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ กล่าวถึงการจัดโครงการสคูลเน็ต เดย์ (School Net Day) โดยร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐและเอกชนว่า เนคเทคเห็นความสำคัญของการศึกษาเยาวชนในยุคใหม่ ในการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาโดยเน้นให้พัฒนาความรู้แก่บุคลากรครู ทั้งนี้ในวันที่ 16-18 มีนาคม สำหรับในวันที่ 16 มีนาคม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเป็นองค์ประธานเปิดงานและเป็นองค์ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการศึกษาในโรงเรียน เวลา 10.15-10.45 น. นอกจากนี้ยังมีการสัมมนาทางวิชาการ เปิดให้ทดลองใช้คอมพิวเตอร์รวมทั้งจำหน่ายสินค้าคอมพิวเตอร์ (มติชน ศุกร์ที่ 2 มีนาคม 2544 หน้า 11)





อธิการฯรุมฝากงาน ‘สุธรรม’ เพียบเพิ่มงบ-ขาดอจ.-ดันม.นอกระบบ

เมื่อวันที่ 2 มีนาคม นายสุธรรม แสงประทุม รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย กล่าวมอบนโยบายให้อธิการบดีมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนทั่วประเทศว่า สถาบันอุดมศึกษาจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ต้องการเห็นการศึกษาเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง และเพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นระบบจึงได้จัดการบริหารในลักษณะของคณะรัฐมนตรีด้านการศึกษา เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพให้งานลุล่วงภายใน 1 ปี 6 เดือนก่อนต้องยุบทบวงฯรวมตั้งกระทรวงใหม่ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสุธรรมได้เปิดโอกาสให้อธิการบดีเสนอความคิดเห็น ซึ่งนางสุมณฑา พรหมบุญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ระบุว่าปัญหาสำคัญคือ การขาดแคลนบุคลากรที่มีคุณวุฒิสูง บางแห่งจะเกษียณหมดภายใน 5-10 ปี นางสมพร เรืองผกา รองอธิการบดีฝ่ายนโยบายแผนงานและงบประมาณ มหาวิทยาลัยมหิดล เสนอให้ช่วยผลักดันงบฯ ที่ถูกปรับลดมาก ส่วนนายภาวิช ทองโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เสนอให้แบ่งงบฯจากมหาวิทยาลัยระดับ ‘ซูเปอร์’ มาให้กลุ่มที่เกิดหลังปี 2537 ที่มีปัญหาขาดแคลนบุคลากรและงบฯบ้าง (มติชน เสาร์ที่ 3 มีนาคม 2544 หน้า 10)





วิทยาลัยไอทีแห่งแรกเปิดรับนศ.

นายสิทธิพร ประวัติรุ่งเรือง รองอธิการบดีวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ เปิดเผยว่า วิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ได้รับการตั้งขึ้นเพื่อเป็นสถาบันการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านบริหารธุรกิจโดยเฉพาะ ซึ่งจะผสมผสานเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ ตลอดจนภาษาต่างประเทศในการเรียนการสอนอย่างเต็มรูปแบบจะเปิดรับสมัคร ตั้งแต่กลางเดือน มีนาคมนี้ ประมาณ 900 คน (เดลินิวส์ พฤหัสบดี ที่ 8 มีนาคม 2544 หน้า 16)





วิทยาลัยไอทีแห่งแรกเปิดรับนศ.

นายสิทธิพร ประวัติรุ่งเรือง รองอธิการบดีวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ เปิดเผยว่า วิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ได้รับการตั้งขึ้นเพื่อเป็นสถาบันการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านบริหารธุรกิจโดยเฉพาะ ซึ่งจะผสมผสานเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ ตลอดจนภาษาต่างประเทศในการเรียนการสอนอย่างเต็มรูปแบบจะเปิดรับสมัคร ตั้งแต่กลางเดือน มีนาคมนี้ ประมาณ 900 คน (เดลินิวส์ พฤหัสบดี ที่ 8 มีนาคม 2544 หน้า 16)





เงินเดือนใหม่อจ.มหา’ลัยลงตัว

นายสมศักดิ์ จักรไพวงศ์ รองปลัดทบวงมหาวิทยาลัย เปิดเผย่า อนุกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย (อ.ก.ม.) วิสามัญเฉพาะกิจได้ข้อสรุปโครงสร้างบัญชีเงินเดือนข้าราชการตำแหน่งวิชาการในมหาวิทยาลัยของรัฐแล้ว ดังนี้ อาจารย์ 6,360-29,810 บาท จำนวน 35 ขั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (ผศ.) 12,400-42,170 บาท จำนวน 30 ขั้น รองศาสตราจารย์ (ร.ศ.) 18,720-44,930 บาท จำนวน 22 ขั้น ศาสตราจารย์ (ศ.) 25,370-53,130 บาท จำนวน 19 ขั้น และศ.ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ 31,360-59,090 บาท จำนวน 16 ขั้น ทั้งนี้ได้กำหนดค่าตอบแทนเพิ่มพิเศษตามผลการปฏิบัติงาน ซึ่งไม่นำไปคิดบำเหน็จบำนาญ 4 ประเภทคือ 1.ค่าตอบแทนเพิ่มพิเศษด้านคุณภาพเพื่อประกันคุณภาพคนและงาน สำหรับอาจารย์ที่ยังไม่มีตำแหน่งทางวิชาการ แบ่งเป็นปริญญาเอก 3,000 บาท 3 ปี ปริญญาโท 2,500 บาท 5 ปี และปริญญาตรี 2,000 บาท 5 ปี โดยภายในจำนวนปีที่กำหนด แต่ละระดับจะต้องทำ ผศ.ให้ได้ ทั้งนี้มหาวิทยาลัยไม่มีนโยบายรับวุฒิปริญญาตรี 2.ค่าตอบแทนสาขาวิชาชีพที่จำเป็นต่อพันธกิจอุดมศึกษาให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย (ก.ม.) เป็นผู้กำหนดสาขาวิชา รวมทั้งค่าตอบแทนในแต่ละสาขาด้วย 3.เงินประจำตำแหน่งทางวิชาการ จะยึดตามผลงานแทนการยึดขั้นเงินเดือน และ 4.ตำแหน่งทางวิชาการแบ่งเป็น ผศ. รศ. ศ. และ ศ.ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ โดยเบื้องต้นอาจารย์ใหม่วุฒิปริญญาตรีจะได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือน 7,380 บาท จากเดิม 6,360 บาท สูงกว่าอัตราของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) 3 ขั้น ปริญญาโท 9,040 บาท จากเดิม 8,190 บาท สูงกว่า 2 ขั้น และปริญญาเอก 11,120 บาท จากเดิม 10,600 บาท สูงกว่า 2 ขั้น เมื่อบวกกับเงินค่าตอบแทนพิเศษ 4 ประเภท หลังจากที่ผ่านการทดลองปฏิบัติงานในตำแหน่งอาจารย์แล้ว จะทำให้อาจารย์วุฒิปริญญาเอกได้ค่าตอบแทนเพิ่มประมาณ 10,000 บาท ปริญญาโท 10,000-15,000 บาท รวมไม่ต่ำกว่า 20,000 บาทต่อเดือน (มติชน ศุกร์ที่ 2 มีนาคม 2544 หน้า 10)





มร.ดึงตำราลงเวบ เปิดโอกาส ‘กศ.’ ประชาชนทั่วไป

รศ. รังสรรค์ แสงสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง เปิดเผยว่า มร.กำลังจัดทำตำรา อิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-book โดยจะนำเนื้อหาของตำราทุกวิชาจำนวน 1,629 วิชา เผยแพร่ลงอินเตอร์เน็ต ผ่านทางเว็บไซต์ www.ru.ac.th/e-book (กรุงเทพธุรกิจ ศุกร์ที่ 9 มีนาคม 2544 หน้า 11)





วิทยาลัยชุมชน ‘ลงตัว’ รับแต่ ม. 6

นายพนม พงษ์ไพบูลย์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวภายหลังการหารือคณะทำงานเพื่อเตรียมการจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนว่า รูปแบบการจัดตั้ง จะแตกต่างจากรูปแบบที่กรมการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) เสนอให้ปรับสภาพศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเป็นวิทยาลัยชุมชน โดยวิทยาลัยชุมชนตามนโยบายรัฐบาลจะรับผู้จบ ม.ปลายและมีการการจัดการศึกษาใน 2 ลักษณะ คือ 1. มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ด้านวิชาชีพ สามารถออกไปประกอบวิชาชีพได้ โดยจัดเป็นหลักสูตร 2 ปี รวมทั้งหลักสูตรระยะสั้น 2. เป็นการศึกษาเพื่อเตรียมการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยสามารถนำผลการเรียนระดับอนุปริญญานี้ไปศึกษาต่อได้ทันที ทั้งนี้ การบริการจะมีความหลากหลายและสอดคล้องกับความต้องการของคนในชุมชนท้องถิ่น โดยสถานที่ตั้งตามนโยบายจะอยู่ในพื้นที่ห่างไกลที่ยังไม่มีสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาอื่นตั้งอยู่ ซึ่งในการจัดตั้งอาจจะพัฒนาจากวิทยาลัยการอาชีพ หรือวิทยาเขตของสถาบันราชภัฏบางแห่งได้ โดยจะเริ่มปรับงบประมาณปี 2544 มาในการจัดตั้งบางส่วนก่อน และขอตั้งงบประมาณปี 2545 มาสมทบเพื่อให้สามารถจัดตั้งได้ 10 แห่งในระยะแรกนี้ (ศุกร์ที่ 9 มีนาคม 2544 ไทยโพสต์ หน้า 9)





พ่อแม่ได้เฮ! ‘ศธ’ เพิ่มงบฯหนุน ‘ม.1-6’

นายสุวัตน์ ศักดิ์ตรีศูล ผู้อำนวยการกองแผนงาน กรมสามัญศึกษา เปิดเผยถึงการขอตั้งงบประมาณปี 2545 ในส่วนของเงินอุดหนุนบำรุงการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2544 ว่าในเบื้องต้นกรมสามัญฯ ได้ตัวเลขค่าใช้จ่ายรายหัวนักเรียนที่จะเสนอขอรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลแล้ว โดยในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตั้งแต่ชั้น ม.1-ม.3 จะขอรับเงินอุดหนุนจำนวน 2,044 บาทต่อคนต่อปี เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าตัว และชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ตั้งแต่ชั้น ม.4-ม.6 จำนวน 2,166 บาทต่อคนต่อปี จากเดิมได้ 1,400 บาทต่อคนต่อปี ซึ่งตัวเลขนี้หากได้รับความเห็นชอบจากสำนักงบประมาณและรัฐสภาจะสามารถนำมาใช้ได้ตั้งแต่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2544 (ไทยโพสต์ พุธที่ 7 มีนาคม 2544 หน้า 9 )





คณาจารย์มข.ลงประชามติ 90% ค้านนำมหา’ลัยออกนอกระบบ

น.พ.พิศิษฐ์ โจทย์กิ่ง ประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) เปิดเผยถึงผลการลงประชามติของคณาจารย์ มข. เกี่ยวกับการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการว่า จากการกำหนดนโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมา กรณีการให้มหาวิทยาลัยของรัฐ ต้องปรับเปลี่ยนสถานะไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐภายในปี 2545 ซึ่งในหลายมหาวิทยาลัยต้องมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหาร ทั้งทางด้านการบริหารทรัพย์สิน การเงิน การบริหารงานบุคคล ตลอดจนการบริหารการจัดการด้านต่างๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาของชาติ และวิถีชีวิตของคณาจารย์และบุคลากรที่ทำงานอยู่ในมหาวิทยาลัยจนเกิดเป็นประเด็นโต้แย้งกันในหลายมหาวิทยาลัยถึงข้อดี ข้อเสีย และความพร้อมในการปรับเปลี่ยนสถานะมหาวิทยาลัยของรัฐ สภาคณาจารย์ มข. จึงได้จัดให้มีการลงประชามติของคณาจารย์ในเรื่องดังกล่าวขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ว่า เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับการจะนำ มข. ไปบริหารในรูปแบบของมหาวิทยาลัยนอกระบบราชการภายในปี 2545 ซึ่งผลการลงประชามติปรากฏว่า คณาจารย์จำนวน 89.75% ไม่เห็นด้วยในการที่ มข. จะบริหารในรูปแบบมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐภายในปี 2545 ขณะที่อาจารย์ 8.28% เห็นด้วย ส่วนบัตรเสียมีจำนวน 1.97% (มติชน จันทร์ที่ 5 มีนาคม 2544 หน้า 11)





ข่าววิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี


อนุรักษ์พันธุกรรมพืช จังหวัดกาญจนบุรี ที่บ้านลิ่นถิ่น อ.ทองผาภูมิ เป็นที่ตั้งของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช

อันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีกิจกรรมหลักคือ การปกปักรักษาพันธุกรรมพืช โดยเน้นที่การรักษาป่าดั้งเดิม สำรวจพันธุกรรมพืช อนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช เก็บตัวอย่างพืชที่อยู่ในเขตประเทศเพื่อนบ้าน มาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งถือเป็นวิธีการรักษาพันธุกรรมพืชที่ดีที่สุด (เดลินิวส์ เสาร์ที่ 10 มีนาคม 2544 หน้า 28)





นโยบายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

นโยบายรัฐบาลใหม่เรื่อง การส่งเสริมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่จำเป็นจะต้องมี 2 เรื่องใหญ่ คือ เรื่องแรกออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งต้องมีพระราชบัญญัติ 3 ฉบับคือ 1.พ.ร.บ.ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้พิจารณาเมื่อรัฐบาลชุดที่แล้ว อยู่ระหว่างการพิจารณาของวุฒิสภา 2.พ.ร.บ.การถ่ายโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ร.บ.นี้ได้ผ่านสภาผู้แทนราษฎรแล้ว เปลี่ยนชื่อเป็น พ.ร.บ.ข้อมูลเครดิต พ.ศ.2543 3.พ.ร.บ.อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เรื่องที่สองการปรับพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศ เช่น การขยายโทรศัพท์ การวางเครือข่ายด้านอินเตอร์เน็ตให้ทั่วถึงทุกตำบล และการปรับความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้ประชาชนไทยทั่วไป (เดลินิวส์ อังคารที่ 6 มีนาคม 2544 หน้า 16)





รัสเซียกำหนดฌาปนกิจ สถานีอวกาศ "เมียร์"

โฆษกศูนย์อวกาศรัสเซีย แจ้งว่า จะทำลายสถานีอวกาศเมียร์ ประมาณวันที่ 7-12 มีนาคม เนื่องจากมีอายุนานถึง 15 ปี และได้เกิดอุบัติเหตุขัดข้องใหญ่น้อยกว่า 1,500 ครั้ง สำหรับวิธีทำลาย รัสเซียได้ส่งยานขนส่งลำหนึ่งขึ้นไปประกบติดเพื่อทยอยติดเครื่องยนต์ 4 ครั้ง บังคับให้ค่อยๆ ตกลงในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ กึ่งกลางระหว่างออสเตรเลียและชิลี โดยกำหนดพื้นที่ที่ชิ้นส่วนจะตกไว้กว้าง 193 กม. ยาว 5,790 กม. (ไทยรัฐ พฤหัสบดี ที่ 8 มีนาคม 2544 หน้า 7)





จัดงานมหกรรมเทคโนโลยีหนุนกำจัดขยะ

นายสนธยา คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ได้กล่าวในระหว่างบรรยายพิเศษเรื่อง "การจัดการขยะมูลฝอยมิติใหม่" เนื่องในโอกาสเป็นประธานเปิดงานมหกรรมเทคโนโลยีและการจัดการขยะมูลฝอย ที่ห้องบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลลาดพร้าว เมื่อเร็วๆ นี้ว่า ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นจากชุมชนทั่วประเทศ ในปี 2542 มีปริมาณราว 13.8 ล้านตัน หรือ 37,880 ตันต่อวัน รัฐบาลมีเป้าหมายที่จะลดปริมาณขยะมูลฝอย และเพิ่มการใช้ประโยชน์ขยะให้มากขึ้น แต่อัตราการนำขยะมาใช้ประโยชน์หรือรีไซเคิลยังไม่ถึงร้อยละ 15 ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก เพราะประเทศที่มีการบริหารจัดการขยะมูลฝอยที่สมบูรณ์สามารถนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ได้ถึง 100% อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เริ่มมีบริษัทเอกชนเห็นถึงค่าของขยะทำธุรกิจรีไซเคิลขยะมากขึ้น สำหรับมิติใหม่ในการจัดการขยะ คือควบคุมการผลิตขยะของประชาชนให้น้อยลง สนับสนุนงบประมาณให้ท้องถิ่นจัดการขยะแบบครบวงจร มีการคัดแยกขยะกลับมาใช้ใหม่ ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมมือกันเพื่อจัดการขยะแบบศูนย์รวม ออกเกณฑ์มาตรฐานในการจัดการขยะที่เหมาะสม เพื่อให้ท้องถิ่นสามารถจัดการขยะได้ตามหลักสุขาภิบาล และเน้นในการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาขยะตั้งแต่เริ่มต้น (มติชน จันทร์ที่ 5 มีนาคม 2544 หน้า 7)





ส้วมอวกาศของตาย!

ปัสสาวะของนักบินอวกาศจะถูกนำมาผ่านกระบวนการกลั่นเอาไปใช้ใหม่ ให้กลายเป็นน้ำแล้วเก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉิน น้ำที่ผ่านการกลั่นจากฉี่ถูกเก็บเอาไปไว้ใช้ในกระบวนการแยกอิเล็กตรอนด้วยไฟฟ้าที่เรียกว่า อิเล็กตรอน ยูนิต ทำหน้าที่ผลิตไฟฟ้าด้วย โดยผ่านน้ำ โดยจะมีกระบวนการแยกน้ำออกเป็นไฮโดรเจนและออกซิเจน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของน้ำ ไฮโดรเจนนี้จะเป็นสารที่ถูกปล่อยทิ้งเป็นของเสียไป แต่ออกซิเจนที่ได้มาจะถูกส่งเข้าไปเพิ่มในบรรยากาศของสถานีอวกาศ หมายความว่า ฉี่ของนักบินอวกาศนั้นเอาไว้หายใจได้ (มติชน ศุกร์ที่ 2 มีนาคม 2544 หน้า 22)





กรมทรัพย์สินฯเชิญประกวดร่วมค้นหา ‘ภูมิปัญญาไทย’

นายวิฑูร สุขพูล พาณิชย์จังหวัดราชบุรี เปิดเผยว่า คนไทยมีความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้น สร้างสรรค์ผลงานต่างๆ แต่ขาดความรู้เรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศไทย กรมทรัพย์สินทางปัญญาจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการออกแบบผลิตภัณฑ์ดีเด่นของคนไทย โดยใช้ชื่อว่า “ร่วมค้นหาภูมิปัญญาไทย 2001” ให้นักเรียนนักศึกษาและประชาชนส่งผลงานเข้าประกวด ผู้สนใจขอทราบรายละเอียดได้ที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ หรือที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2544 (เดลินิวส์ พฤหัสบดี ที่ 8 มีนาคม 2544 หน้า 32)





ข่าววิจัย/พัฒนา


บัลลาสต์ ประหยัดพลังงานของ จุฬาฯ

รศ. ดร. ยุทธนา กุลวิทิต อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และคณะได้ประดิษฐ์คิดค้นและพัฒนา "บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับหลอดฟลูออเรสเซนต์เพื่อประหยัดพลังงานไฟฟ้า ทดแทนการใช้บัลลาสต์แบบลวดทองแดงพันกับแกนเหล็กที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้นนั้นเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับหลอดฟลูออเรสเซนต์ ซึ่งข้อดีของบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์มีหลายประการ เช่น ช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 25 % ลดการนำเข้าพลังงานของประเทศ สามารถช่วยแก้ปัญหาไฟตกที่มักเกิดขึ้นในเขตชานเมืองและชนบท สามารถจุดหลอดไฟได้เมื่อแรงดันลดลงมากกว่า 30 % นอกจากนี้ยังให้แสงที่นุ่มนวล เหมาะสำหรับการอ่านหนังสือ และงานที่ต้องใช้สายตามาก สามารถเปิด-ปิดได้โดยไม่กระพริบหลายหนและไม่กระพริบเมื่อหลอดเสื่อม ผลงานการวิจัยนี้เป็นหนึ่งใน 80 โครงการที่จุฬาฯ จะนำเสนอในนิทรรศการผลงานวิจัย วิชาการของจุฬาฯระหว่างวันที่ 25-26 มีนาคม 2544 ที่ศาลาพระเกี้ยวในโอกาสฉลองครบรอบ 84 ปี แห่งการสถาปนา ผู้สนใจสามารถเข้าชมฟรี สอบถามรายละเอียดได้ที่สำนักงานสารนิเทศ จุฬาฯ โทร 218-3364-6 (พฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม 2544 หน้า 20 สยามรัฐ)





รถพลังงานแสงอาทิตย์ ปลอดภัย-ประหยัดกว่า

นายนฤมิต คงมนต์ นายทนงศักดิ์ หาญเหี้ยม นางคเณศร์ เอกฉัตร นายชาญฤทธิ์ วงษ์นุช นายทองสุข เพิ่มสำราญ และนางสาวนุชจรีย์ คงเจริญ นักศึกษาชั้น ปวส.ปีที่ 2 แผนกอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยอิเล็กทรอนิกส์นครนายก โดยมีอาจารย์ไพฑูรย์ บุญมั่ง อาจารย์ไพโรจน์ สุขนิคม อาจารย์ประพันธ์ สุกสว่าง อาจารย์เหมือน พร้อมสินทรัพย์ และอาจารย์ชุมพร แก้วพวง เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ร่วมกันผลิต "รถพลังงานแสงอาทิตย์" ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับสอง ประเภทอุปกรณ์ เพื่อสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทน จากการประกวดสิ่งประดิษฐ์คนรุ่นใหม่ในระดับภาคตะวันออก ของกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ รถพลังงานแสงอาทิตย์นี้ ไม่ต้องกลัวปัญหาเรื่องเวลาแดดไม่ออกแล้วรถจะวิ่งไม่ได้ เพราะจะสามารถชาร์ตแบตเตอรี่จากไฟบ้านเก็บไว้ได้ วิ่งได้ประมาณ 20 กม./ชม. มีระบบเซ็นเซอร์ในตัว เมื่อเจอสิ่งกีดขวางจะมีเสียงเตือนในระยะ 1 เมตร ถ้ายิ่งขับรถเข้าใกล้ชิดสิ่งกีดขวางอีก ระบบการขับเคลื่อนจะถูกตัดไปเอง เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการชนสิ่งกีดขวาง ส่วนงบประมาณในการประดิษฐ์รถคันนี้มีราคา 33,000 บาท เท่านั้น (พุธที่ 7 มีนาคม 2544 หน้า 20 สยามรัฐ)





เพาะส้มตัดแต่งยีนแค่ปีเดียวได้กินลูก

วิศวกรรมพันธุกรรมหรือยีนของสถาบันเยอรมัน แจ้งว่า ได้ถ่ายพันธุ์หรือยีนของต้นไม้ชนิดหนึ่งผสมไว้ในต้นส้ม ทำให้ต้นส้มเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ออกผลได้ภายใน 1 ปีเท่านั้น ในขณะที่ต้นส้มธรรมดาต้องรอถึง 5-6 ปี (ไทยรัฐ พฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม 2544 หน้า 7)





วิศวกรรมโยธาม.รังสิต คว้าแชมป์คอนกรีตพลังสูง

เหล่านักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา จากสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ 17 แห่ง ต่างส่งผลงานร่วมแข่งขันค้นหาเทคนิคการทำคอนกรีตให้ได้กำลังอัดสูงสุด ซึ่งจัดโดยปูนซีเมนต์ไทยอุตสาหกรรม จำกัด ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในโครงการแข่งขัน "คอนกรีตพลังช้าง" ปรากฏว่าทีมจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยรังสิต คว้ารางวัลชนะเลิศทั้งทีม ประกอบด้วยนักศึกษาปี 4 นายชูเกียรติ โสถติสุพร นายเดชชนะ บุญนารักษ์ นายกฤษฎา สุวรรณไตร โดยมีอาจารย์ประเสริฐ รุจิโรจน์อำไพ เป็นที่ปรึกษากับ นายอัษฎา อินทรโกเศศ (มติชน ศุกร์ที่ 2 มีนาคม 2544 หน้า 14)





เร่งถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตสารสกัดโลติ๊น

นายอารมย์ แสงวนิชย์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสารธรรมชาติ กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ได้ประสบผลสำเร็จในการวิจัยเทคโนโลยีการผลิต สารสกัดโลติ๊นในเชิงพาณิชย์ ซึ่งมีคุณสมบัติในการกำจัดแมลงศัตรูพืชที่ไม่เป็นอันตรายต่อเกษตรกร และสิ่งแวดล้อม ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนสุดท้าย ก่อนที่จะผลิตมาจำหน่าย (เดลินิวส์ พฤหัสบดี ที่ 8 มีนาคม 2544 หน้า 27)





วช.วาง 5 ภารกิจหลัก รับบทบาทใหม่ปี48

นายจิรพันธ์ อรรถจินดา เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวถึง บทบาทและวิสัยทัศน์ใหม่ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ว่า ในปี 2548 วช. จะเป็นที่ปรึกษาด้านการวิจัยของรัฐบาล และเป็นองค์กรกลางในการบริหารการวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยกำหนดภารกิจหลักคือ 1.การวิจัยของชาติเพื่อเป็นกรอบและทิศทางในการวิจัยของประเทศ 2.นำแผนการวิจัยไปสู่การปฏิบัติและกำหนดกรอบวงเงินงบประมาณการวิจัยของประเทศ วิเคราะห์ตรวจสอบแผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัยของทุกหน่วยงานภาครัฐ 3.ติดตามและประเมินผลการวิจัยของประเทศ 4.สำรวจศึกษาวิเคราะห์และจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการวิจัยของประเทศ และต่างประเทศเพื่อเป็นศูนย์กลางด้านข้อมูลและสารสนเทศ การวิจัยของประเทศ และ 5.เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาที่สำคัญหรือเร่งด่วนของประเทศด้วยผลงานวิจัยแก่รัฐบาล (มติชน จันทร์ที่ 5 มีนาคม 2544 หน้า 7)





พบโปรตีน ‘วีจีอีเอฟ’ ช่วยขนดก คนหัวล้านเสนอตัวทดลอง

ดร.ไมเคิล เต็ตมาร์ แห่งโรงพยาบาลแมสซาชูเซตต์ และวิทยาลัยแพทยศาสตร์ฮาร์เวิร์ด หัวหน้าทีมวิจัยอธิบายว่า จาการทดลองกับหนูที่ตัดต่อดัดแปลงยีนให้เซลล์รูขุมขนของมันผลิตโปรตีนวีจีอีเอฟออกมามากขึ้นนั้น ดูเหมือนว่าโปรตีนดังกล่าวจะทำให้หลอดเลือดบริเวณรูขุมขนขยายใหญ่ขึ้น ทำให้มีสารอาหารไปหล่อเลี้ยงได้ขนงอกขึ้นมาได้เต็มที่ ช่วยให้รากผมใหญ่ขึ้นและขนขึ้นดกและหนากว่าปกติถึง 70% นอกจากนี้ยังพบว่า เมื่อโกนขนหนูทิ้งไปขนเส้นใหม่ก็งอกขึ้นมาแทนที่เร็วขึ้นด้วย จึงต้องการทดสอบต่อไปว่ากลไกเดียวกันนี้จะใช้ได้ผลในการปลูกผมให้คนได้หรือไม่ ขณะนี้ได้รับโทรศัพท์และอีเมล์ติดต่อจากคนจำนวนมากทั่วโลก ซึ่งต้องการเสนอตัวเข้ารับการทดลอง (มติชน ศุกร์ที่ 2 มีนาคม 2544 หน้า 7)





ข่าวทั่วไป


ยาบ้าทำลายสมองถึงพิการตลอดชาติ

รายงานการศึกษาพิษภัยของยาบ้า เปิดเผยในวารสาร "วิทยาโรคจิต" ของสหรัฐฯ กล่าวว่า ยาบ้าเป็นของอันตราย มีฤทธิ์ทำให้เกิดความผิดแปลกในสารเคมีในสมองขึ้นได้โดยตรงและการทำหน้าที่ในพฤติกรรมต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป "ได้พบในการตรวจผู้ที่ติดยาว่า มีระดับของสารเคมีโดพามีน อันมีหน้าที่เป็นสื่อประสาทในสมองส่วนสำคัญส่วนหนึ่ง ลดต่ำลงถึง 24 เปอร์เซ็นต์ ยิ่งมีน้อยเท่าใด การทำหน้าที่เคลื่อนไหว และที่หนักกว่านั้นคือการเรียนรู้ถ้อยคำสำหรับใช้ในการจดจำยิ่งกระทบกระเทือนหนักเท่านั้น" (ไทยรัฐ พุธที่ 7 มีนาคม 2544 หน้า 7)





ขุดอุโมงค์รถไฟใต้ดินเสร็จแล้ว

คุณสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานพิธีฉลองความสำเร็จการขุดเจาะอุโมงค์รถไฟใต้ดิน เชื่อมต่อระหว่างสถานีพระราม 9 - หัวลำโพง เป็นการสิ้นสุดการขุดเจาะอุโมงค์รถไฟใต้ดินสายเฉลิมรัชมงคล ระยะทาง 20 กิโลเมตร ส่วนแรกของรถไฟใต้ดินจะเปิดใช้ในเดือน ธันวาคม 2545 (เดลินิวส์ พุธที่ 7 มีนาคม 2544 หน้า34)





จอกหูหนูยักษ์..มหันตภัยตัวใหม่ที่แซงผักตบฯ

ประเทศสหรัฐอเมริกาและไทย ได้ประกาศให้ต้นเฟิร์นน้ำซาลวิเนีย เป็นสิ่งต้องห้ามทำการซื้อขายหรือเป็นเจ้าของ ถ้าผู้ใดมีต้นเฟิร์นดังกล่าวในครอบครอง ให้รีบทำลายโดยการนำไปตากแห้งและเผาทำลาย เพราะต้นเฟิร์นน้ำซาลวิเนีย หรือจอกหูหนูยักษ์ เป็นวัชพืชที่ร้ายแรงชนิดหนึ่ง มีการเจริญเติบโตรวดเร็วมากประมาณ 5 เท่าของผักตบชวา หากเกิดในนาข้าวจะทำให้ผลผลิตข้าวลดลง อีกทั้งยังทำให้คลองชลประทานอุดตัน อ่างเก็บน้ำตื้นเขิน กีดขวางการจราจรทางน้ำและทำให้น้ำเน่าเสียและเป็นเหตุให้สัตว์ในน้ำตาย (ไทยรัฐ พุธที่ 7 มีนาคม 2544 )





เก็บขยะแบบใหม่ นำร่อง 9 เขตก.ค.นี้

นายมุตตาฝ้า หมันงะ รองผู้ว่าฯ กทม. เปิดเผยว่า การเก็บขยะรูแบบใหม่ คือใช้แผนที่ทางภูมิศาสตร์มาทำรายการกำหนดรัศมีความรับผิดชอบของรถเก็บ/ขนขยะ โดยจะเริ่มเก็บขยะแบบใหม่ เดือนกรกฎาคมนี้ใน 9 เขต คือ เขตคลองสาน บางรัก ปทุมวัน ป้อมปราบฯ พญาไท พระนคร ราชเทวี สัมพันธวงศ์ และสาทร ส่วนอัตราค่าเก็บขยะยังใช้อัตราเดิมคือ ปีละ 100 บาท ต่อหลังคาเรือน (เดลินิวส์ พุธที่ 7 มีนาคม 2544 หน้า 34)






KMUTT Digital Library
Contact Digital Library : info@lib.kmutt.ac.th
Tel : 0-2470-8215