นานาทัศนะเกี่ยวกับภาพยนต์ "ANNA AND THE KING"








 

 

 

แฉ 33 ประเด็น "แอนนาฯ"

เบือนประวัติศาสตร์

 

 

 

 





            เมื่อวันที่ 29 ธันวาคมที่ผ่านมา รายงานข่าวจากบริษัททเว็นตี้ เซ็นจูรี่ ฟ็อกซ์ (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า หลังจากคณะกรรมการ
พิจารณาภาพยนตร์ ไม่อนุมัติให้ "แอนนา แอนด์ เดอะ คิง" เข้ามาฉายในไทย ทางบริษัทจะหารือเรื่องการยื่นอุทธรณ์ให้แผนกพิจารณา
ภาพยนตร์ กองทะเบียน กรมตำรวจ ตรวจภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวใหม่ไปยังบริษัทแม่คือ ทเว็นตี้ เซ็นจูรี่ ฟ็อกซ์ ในสหรัฐอเมริกา
และ บริษัทฟ็อกซ์ 2000 ซึ่งเป็นผู้สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ก่อนตัดสินใจ


            รายงานข่าวจากทีมงานชาวไทยในกองถ่ายทำภาพยนตร์ "แอนนา แอนด์ เดอะ คิง" เปิดเผยด้วยว่า ที่คณะกรรมการระบุว่า
ภาพยนตร์เรื่องนี้บิดเบือนประวัติศาสตร์นั้น ต้องยอมรับว่าหลายตอนข้อมูลไม่ถูกต้องจริงๆ "อย่างตอนยกทัพไปพม่า แล้วไปออกด่านทาง
จ. หนองคาย ซึ่งความจริงเป็นไปไม่ได้ เพราะหนองคาย คือทางไปลาว แต่พวกเขาบอกว่า ชอบเสียงคำว่าหนองคายฟังแล้วเพราะมาก
ออกเสียงแล้วเพราะกว่าจังหวัดอื่นๆ ของเรา แล้วเรื่องนี้จะมีแค่คนไทย 60 ล้านคน เท่านั้นที่รู้ คนดูคนอื่นๆ ไม่รู้หรอก"
ด้านนายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักประวัติศาสตร์หนึ่งในคณะกรรมการให้สัมภาษณ์ว่า ถ้าอนุญาตให้ฉายเนื้อหาสาระในเรื่องนี้
ต้องตัดออกกว่า 33 ตอน มีดังนี้ ฉากที่

            1. เปิดเรื่องกล้องซูมให้เห็นประตูพระบรมมหาราชวังที่เป็นประตูทองทั้งหมด แต่ความจริงประตูทาสีแดง
            2. แอนนากับลูกนั่งรถลากจากท่าเรือมาที่พระบรมมหาราชวัง ผ่านมาที่โบสถ์วัดพระแก้ว ซึ่งตามปกติแม้แต่พระมหากษัตริย์เองก็ไม่สามารถ
            ที่จะนั่งรถผ่านหน้าพระอุโบสถได้
            3. ในเรื่องพยายามบอกว่า วัดพระแก้วมีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่
            4. คำพูดของหลุยส์ที่พักในตำหนักค่อนข้างจะดูถูกรัชกาลที่ 4 โดยการนำเอาไปเปรียบเทียบกับพ่อ
            5. รัชกาลที่ 4 เปิดประตูให้แหม่มแอนนา ซึ่งตามธรรมเนียมในวังต้องมีเจ้าหน้าที่คอยเปิดให้
            6. จำนวนพระโอรสกับพระราชธิดาในเรื่องไม่ตรงกับความจริง ในเรื่องมี 68 คน ความจริงมี 82 พระองค์ หรือเจ้าจอมมารดาเที่ยง
            ถูกทำให้ด้อยกว่าแอนนาตลอดเรื่อง รวมทั้งพระโอรส ธิดา ดูต่ำกว่าแอนนา
            7. การทะเลาะกันระหว่างเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์กับหลุยส์ บุตรของแอนนา ขณะชกต่อย แอนนากำลังอธิบายรูปแผนที่ประเทศสยาม
            รูปนั้นคือพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 4 พอเห็นลูกทะเลาะกันแอนนาก็โยนรูปทิ้ง
            8. เจ้าจอมทับทิมถวายตัวในห้องพระบรรทม ฉากนี้มีพระพุทธรูป ที่มีการจุดเทียนบูชาอยู่ เหมือนให้พระพุทธรูปมองดูการกระทำ
            9. พระสงฆ์กวาดลานหน้าปราสาทเทพบิดร
            10. ฉากการว่าราชการระหว่างรัชกาลที่ 4 กับขุนนาง มีพระปิ่นเกล้า, อารัก แต่ปรากฏว่าฉากหลังมีบุ้งกี๋ วางอยู่หลังกำแพงแก้ว
            11. แหม่มแอนนากำลังสอนให้ข้าราชการข้างในรู้จักวิธีรินกาแฟ เทไวน์
            12. แอนนาไปหาเจ้าจอมทับทิมที่อยู่ในสภาพห่มจีวรเป็นพระภิกษุ โกนผม แต่ไม่โกนคิ้ว มีข้อความที่ว่า ความรักทำให้ต้องแปลงเป็น
            เพศบรรพชิต ตามพระปลัดไปอยู่ที่วัด
            13. รัชกาลที่ 4 ปัดพระมหาพิชัยมงกุฎล้ม
            14. รัชกาลที่ 4 พาแอนนานั่งเรืออนัตนาคราชไปส่งที่บ้าน มีการสบตาเหมือนพระเอกส่งนางเอก
            15. การเสด็จประพาสทำพิธีพืชมงคลให้สนมนั่งบนรถพร้อมแอนนา รัชกาลที่ 4 ทรงช้างหยิบซิการ์มาสูบ เหมือนหนังจีน มีบทสนทนา
            รัชกาลที่ 4 ชักชวนให้หลุยส์สูบบุหรี่ จึงถูกแอนนาต่อว่า
            16. ฉากที่อารักยิงพระปิ่นเกล้า และบอกจะโค่นล้มราชวงศ์
            17. การแสดงโขน แต่ดนตรีจีน
            18. ประหารชีวิต ตัดคอเจ้าจอมทับทิมหน้าโบสถ์วัดพระแก้ว
            19. รัชกาลที่ 4 ขอโทษแอนนาต่อหน้าขุนนาง
            20. พระปิ่นเกล้าถูกยิงที่หน้าผาก เลือดกระจาย
            21. เอาคนชาติอื่นแต่งเตัวเลียนแบบพระสงฆ์ และพระพูดภาษาไทยไม่ชัด
            22. บทสนทนาบางบทไม่สุภาพ อาทิรัชกาลที่ 5 พูดถึงรัชกาลที่ 4 ต้องใช้ทูลกระหม่อมแต่ในเรื่องใช้เสด็จพ่อเหมือนกับลิเก
            23. แสดงให้เห็นถึงรัชกาลที่ 4 มีความอ่อนแอ ต้องตามแอนนาตลอด ใครทำอะไรต้องผ่านแอนนา
            24. บทของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) สมุหกลาโหมให้ความเคารพแอนนามากเป็นพิเศษ แม้แต่รัชกาลที่ 5
            ตอนเด็ก รวมทั้งเจ้าจอมทั้งหลาย
            25. แอนนาสามารถอยู่ร่วมใต้กลดเดียวกับของรัชกาลที่ 4
            26. แอนนานั่งอยู่กับรัชกาลที่ 4 มีเจ้าพนักงานมาเชิญพัดโบกให้แอนนาเหมือนเป็นกษัตริย์
            27. "อารัก" พูดว่า ราชวงศ์นี้อ่อนแอ สู้พระเจ้าตากสินไม่ได้ พระเจ้าตากสินเข้มแข็งมากแต่ถูกทรยศ และโจว เหวิน ฟะ พูดว่าก็ทรยศจริงๆ
            28. รัชกาลที่ 4 ผูกระเบิดที่สะพาน ต่อสายฉนวนเอง แล้วห้อยตัวออกมาซึ่งความจริงกษัตริย์ทำอย่างนั้นไม่ได้
            29. แอนนาพูดถึงสามีตัวเอง ตอนมาลารัชกาลที่ 4 ว่าตอนนี้ไม่คิดถึงสามีตัวเองคล้ายๆ กับมารักท่านแล้ว และรัชกาลที่ 4 พูดว่า
            ทำไมเราถึงไม่ยอมให้เจ้าเป็นมเหสีตั้งนานแล้ว
            30. รัชกาลที่ 4 โอบกอดแอนนา พร้อมเอาหน้าผากมาแนบที่แก้ม ต่อหน้าสาธารณชน
            31. รัชกาลที่ 5 พูดว่า แผ่นดินสยามต้องขอบคุณแอนนา ที่ทำให้รอดพ้นจากอาณานิคม
            32. รัชกาลที่ 4 จูบปากพระราชธิดาต่อหน้าทูต
            33. ภาพรวมของหนังมีการกล่าวยกย่องแอนนาว่า ถ้าไม่มีแอนนา ประเทศสยามอาจตกเป็นอาณานิคมของประเทศอื่น






Truth of ANNA




            
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงมีพระสนมหลายคน ในจำนวนนี้ ๒๗ คนมีพระราชโอรสธิดา พระราชโอรสธิดามีจำนวนทั้งหมด ๘๒ พระองค์ การมีสนมเป็นจำนวนมากเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่า เป็นการสนุกสนานส่วนพระองค์ของพระราชาเท่านั้น แต่คล้ายกับพระอินทร์
เทพเจ้าผู้มีนางอัปสรเป็นจำนวนพัน ๆ บำรุงบำเรออยู่บนสวรรค์ ประเพณีก็สนับสนุนด้วยว่าพระราชาควรต้องมีสนมหลายคน
นอกจากนี้การมีสนมหลายคนก็เป็นเครื่องสนับสนุนทางด้านการเมืองด้วย พระราชา อาจผูกพันความซื่อสัตย์ ของเจ้าประเทศราช
และขุนนางผู้มีอำนาจได้โดยทรงรับธิดาของท่านเหล่านั้นมาเป็นเจ้าจอม นอกจากนี้พระมหากษัตริย์ก็สมควรที่จะมีผู้สามารถสืบราชสมบัติ
ต่อลงมาจากพระองค์อีกหลายองค์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงผนวชอยู่ถึง ๒๗ ปี ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของพระองค์ที่จะต้องทดแทน
เวลาที่เสียไป จึงทรงมีพระราชโอรสธิดาให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

            พระสนมของพระองค์แม้ว่าจะมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังน้อยกว่าในรัชกาลก่อนและนอกไปจากบางคนที่พระองค์โปรดปราน
เป็นพิเศษ แล้วส่วนใหญ่ พระองค์ก็ไม่ได้สนพระทัย ราษฎรของพระองค์ก็ต้องการที่จะได้พระองค์ เป็นบุตรเขย และอยากที่จะมีหลาน
เป็นเจ้าจึงพยายามที่จะ ถวายบุตรสาวแด่พระองค์ยิ่งกว่าที่พระองค์จะทรงยินดีรับ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ มีพระราชดำรัสอยู่เสมอว่าพระองค์ทรงมีพระสนม เกินพระราชประสงค์ และประกาศฉบับหนึ่งของพระองค์ก็วางกฎขึ้น เป็นพิเศษ
พระราชทานบรมราชานุญาต ให้สนมเหล่านี้กราบถวายบังคม ลาออกไปสมรสกับบุคคลสามัญได้

พระองค์ทรงตระหนักดีว่าเมื่อพระราชโอรสของพระองค์เจริญพระชนมายุขึ้นหลายพระองค์คงจะได้เข้ารับราชการในตำแน่งที่สำคัญ ๆ ดังนั้น
จึงมีพระราชประสงค์ที่จะให้พระโอรสเหล่านี้ได้ทรงรับการศึกษาตามแบบแผนใหม่ พระองค์ทรงเล็งเห็นความจำเป็นที่ว่าพระราชโอรสเหล่านี้
จะต้องทรงศึกษาภาษาอังกฤษตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ด้วยเหตุนั้นเมื่อภรรยาของหมอสอนศาสนาบางคนอาสาที่จะสอนถวายเจ้านายเหล่านั้น
พระองค์ก็ทรงยินดีรับ แต่ในที่สุดก็ตัดสินพระราชหฤทัยที่จะจ้างครูชาวอังกฤษเป็นพิเศษ สำหรับสอนภาษาอังกฤษแก่ พระราชโอรสธิดา
ดังนั้นใน พ.ศ. ๒๔๐๕ จึงทรงจ้างนางแอนนา ลิโอโนเวนส์ (Mrs. Anna Leonowens) เข้ามา

แต่การจ้างนางลิโอโนเวนส์นี้ก็เป็นสิ่งผิด เพราะเหตุว่าเธอไม่ประสบผลสำเร็จมากนักในการสอน และอีก ๕ ปีต่อมาก็เดินทางกลับ
ต่อมาเธอได้แต่งหนังสือขึ้น ๒ เล่ม คือ "ครูหญิงชาวอังกฤษ ณ ราชสำนักไทย (The English Governess at the siamese court)"
และ "ความรักในฮาเร็ม (The Romance of the Harem)" ทั้งสองเล่มกล่าวถึง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าไปในทางไม่ดี เนื่องจากหนังสือทั้ง ๒
เล่มนี้มีผู้นำมาเขียนขึ้นใหม่โดยได้รับความสำเร็จอย่างงดงาม รวมทั้งแต่งเป็นบทละคอนและเล่นเป็นภาพยนตร์ด้วย ดังนั้น จึงน่าที่จะสำรวจดู
นิสัยใจคอของนางลิโอโนเวนส์ และวิธีแต่งหนังสือของเธอไว้ ณ ที่นี้

นางลิโอโนเวนส์เป็นหม้ายแต่ยังสาว เหตุนั้นจึงต้องตกอยู่ในความยากลำบาก แต่ความยากลำบากนี้ก็ไม่ทำให้เธอท้อถอย เธอเป็นผู้หญิงที่กล้า
และความจริงแล้วก็กล้ากว่าที่ควร เพราะเหตุว่าบางครั้งความหวาดระแวงของเธอก็ไม่มีเหตุผลเลย เธอไม่ค่อยมองดูอะไรตามความเป็นจริง
แต่ชอบคิดฝัน ดังนั้นจึงเป็นผู้ที่ไม่ค่อยมีเหตุผล และชอบสร้างเรื่องราวขึ้นตามอารมณ์ ข้าพเจ้าคิดว่าลักษณะเช่นนี้เป็นนิสัยใจคอของ
นางลิโอโนเวนส์ ดังที่อาจจะเห็นได้จากข้อความบางตอนในหนังสือของเธอเอง

เมื่อเธอตั้งใจ เธอก็สามารถแสดงภาพของตัวเองได้อย่างบริสุทธิ์ผุดผ่อง ณ ที่นี้เธอเป็นผู้หญิงที่เสียสละ มีความงามชนิดที่อาจ
ก่อให้เกิดอันตรายได้ และค่อย ๆ ยกฐานะของชนชาติป่าเถื่อนขึ้นภาพของตัวเธอเอง เธอได้วาดขึ้นอย่างสูงส่ง และเต็มไปด้วยชีวิตจิตใจ
แต่ภาพเช่นนี้ก็ไม่ใช่ภาพที่เป็นจริง เธอเข้าใจพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ผิด พระองค์เพียงแต่ต้องการให้
เธอสอนภาษาอังกฤษเท่านั้น พระองค์ไม่ได้พยายามเกี้ยวพาราสีเธอ และไม่เอาพระทัยใส่ต่อการพยายามสั่งสอนศาสนาของเธอเลย
นางลิโอโนเวนส์สามารถแต่งหนังสือได้ดี ภาษาของเธอมีชีวิตจิตใจและส่วนใหญ่ก็พรรณนาอย่างง่าย ๆ เธอมีตาคมสำหรับสังเกตุ
ภาพภูมิประเทศ และเมื่อบรรยายถึงภาพประทับใจทางสายตาแล้วเธอก็ทำได้ดีที่สุด สำหรับผู้อ่านตามธรรมดา เราก็อาจมองข้าม
ความผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ และลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่สับสนของเธอไปได้ บทความตอนที่ดีที่สุดของเธอเกี่ยวกับพุทธศาสนา
ก็คัดลอกมาอย่างเงียบ ๆ จากนักเขียนสมัยเก่าว่า ความคิดเห็นของเธอเองเมื่อกล้าแสดงออกมาก็ไม่มีคุณค่าอะไร เธอไม่สามารถเข้าใจ
ได้ว่าเพราะเหตุใดในราชสำนักของพระราชาที่ทรงนับถือพุทธศาสนา จึงยังคงประกอบพิธีพราหมณ์อยู่ และเธอก็หลงผิด
เอาวัดที่มีชื่อเสียงที่สุดในกรุงเทพ ฯ วัดหนึ่งว่าเป็นโบสถ์พราหมณ์

เมื่อเธอวาดภาพด้วยการเยินยอเธอเอง ภาพของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ก็กลับกลายเป็นสิ่งที่ตรงกันข้าม จึงทำให้
ผู้อ่านหนังสือของเธอเข้าใจผิดเพราะเหตุว่าดูคล้ายกับว่าเธอกำลังพยายามที่จะบรรยายถึงนิสัยใจคอของบุคคลที่ที่ค่อนข้างสับสน
อย่างเป็นกลางและระมัดระวัง เธอชมเชยพระองค์ทางด้านความรู้ความเฉียบแหลมว่องไว ความรักใคร่ของพระองค์ต่อประชาราษฎร
และความมุ่งมั่นที่จะทรงเปลี่ยนแปลงประเทศให้ดีขึ้น ลักษณะเช่นนี้เธอได้ยกตัวอย่างอันเหมาะสมขึ้นประกอบอย่างมากมาย
แต่ในขณะเดียวกัน นางลิโอโนเวนส์ก็กล่าวขยายเกินความจริงเกี่ยวกับความโหดร้าย ความโมโหโทโส และตัณหาราคะ
ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ เธอสรุปว่า "แม้ว่าพระองค์จะโมโหร้ายและชอบแสดงอำนาจ แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ
ก็ยังเป็นเจ้าชายทางทิศตะวันออกที่น่าชมที่สุดในศตวรรษนั้น ทรงก้าวหน้ายิ่งกว่าพระมหากษัตริย์ทั้งหมดที่เคยปกครองประเทศไทยมา
พระองค์ทรงเลื่อมใสในปรัชญาชั้นสูงและคำสอนอันบริสุทธิ์ ของพระพุทธองค์ตราบจนเสด็จสวรรคต ทางด้านการปกครองบ้านเมือง
พระองค์ก็ทรงปกครองอย่างเฉลียวฉลาด ทรงสนพระทัย ในความเป็นอยู่ของราษฎร ทรงมีความเที่ยงธรรม เอาพระทัยใส่
ในขนบประเพณีอันบริสุทธิ์และถ้อยคำที่ใช้ในราชสำนัก พระองค์ทรงระมัดระวังที่จะแสดงให้เห็นพระราชอำนาจของพระองค์
ในประเทศไทย และพระเกียรติยศในนานาประเทศ นอกไปจากทางด้านชีวิตในครอบครัวแล้วพระองค์ก็เป็นนักปกครอง
ที่สามารถและเต็มไปด้วยคุณความดี

................................แต่ถ้าพูดทางด้านการเป็นสามีและหัวหน้าครอบครัวแล้วพระนิสัยของพระองค์ก็กลับกลายเป็นอีกอย่างหนึ่ง
ชนิดตรงกันข้าม การกลับหน้ามือเป็นหลังมือเช่นนี้ ระหว่างอัธยาศัยของพระองค์ในทางด้านการปกครอง และทางชีวิต
ส่วนพระองค์นั้นเป็นจริงหรือ แต่การปกครองประเทศของพระองค์ก็เป็นที่รู้จักกันดี จนนางลิโอโนเวนส์ไมาสามารถปฏิเสธได้
สำหรับด้านชีวิตในครองครัวของพระองค์ เมื่อเธอกล่าวถึงความไม่ดีต่างๆ จนไม่มีขอบเขตจำกัดถ้าพระองค์ทรงปฏิบัติต่อพระสนมอย่าง
โหดร้ายทารุณเช่นนั้น ก็คงจะมีพระสนมเป็นจำนวนมากที่กราบถวายบังคมลาออกตามประกาศที่พระองค์ทรงตั้งไว้ แต่นี่ตรงกันข้าม
จากเรื่องราวที่อาจทราบได้จากบรรดาผู้ที่สืบเชื้อสายลงมาจากพระสนมเหล่านั้น บรรดาพระสนมส่วนใหญ่ดูก็มีความจงรักภักดีต่อพระองค์
เป็นที่เห็นได้ชัดว่าส่วนใหญ่ก็มีความพึงพอใจในฐานะของตน

ไม่มีข้อสังสัยว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ จะทรงมีพระนิสัยฉุนเฉียวง่ายแต่ก็มีตัวอย่างแสดงอยู่บ่อย ๆ ว่าพระองค์
ไม่ได้ทรงพระพิโรธไปเป็นเวลานาน และพระองค์มักทรงยินดีพระราชทานอภัยแ ก่ผู้ที่ทำให้ทรงขุ่นเคืองคงจะเป็นด้วยทรงทราบดี
ีถึงพระนิสัยอันฉุนเฉียวง่ายของพระองค์นี้เอง ที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงสั่งสอนอยู่เสมอถึง "ความอดกลั้นไม่โกรธ"
และพระองค์ก็ทรงทราบดีถึงคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ที่ว่า "ถ้าบุคคลใดพูดใส่ร้ายตถาคตก็ไม่มีเหตุผลที่ท่านจะต้องโกรธบุคคลเหล่านั้น
ถ้าท่านโกรธ ท่านไม่เพียงแต่ขุ่นหมองใจเท่านั้น แต่ยังไม่สามารถพิจารณาได้ด้วยว่า คำกล่าวหาของเขาเหล่านั้นเป็นจริงหรือไม่"
นางลิโอโนเวนส์คงกล่าวถูกต้องเมื่อพูดว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงฉุนเฉียวง่ายแต่เธอก็ขยายลักษณะนี้ออกไปเกินเหตุผล
สำหรับพระนิสัยอันไม่ดีอื่น ๆ ของพระองค์ที่เธอกล่าวอ้างถึงนั้น เราก็อาจตัดออกเสียได้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ
ไม่โปรดทอดพระเนตรความเจ็บปวดของผู้อื่น แต่กลับทรงลดโทษที่มีอยู่อย่างรุนแรงแก่ผู้กระทำผิดลงมา พระองค์ไม่โปรดแม้แต่
ลงปรมาภิไธยประหารชีวิตผู้ร้ายฆ่าคน และเมื่อใดพระองค์ต้องทรงกระทำเช่นนั้น ก็มักประทับอยู่ตลอดคืนด้วยพระราชหฤทัย
อันขุ่นหมอง และทรงท่องบ่นข้อความต่าง ๆ จากคัมภีร์พระไตรปิฎก สำหรับสตรีชาวยุโรปในสมัยนั้นการมีภรรยาหลายคน
ก็เป็นเครื่องแสดงอย่างดีถึงตัณหาราคะอันไม่มีขีดขั้น แต่ถ้าเรามองดูในแง่ที่ถูกต้องแล้วก็ไม่ใช่เช่นนั้นเลย ผู้ที่รู้จัก
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯดี เล่าว่าพระองค์มักทรงอายเมื่ออยู่ต่อหน้าสุภาพสตรีชาววัง สิ่งนี้ก็ไม่น่าประหลาดใจ ถ้าเราคิดว่าพระองค์
ได้ทรงผนวชเป็นพระภิกษุอยู่เป็นเวลานาน

นางลิโอโนเวนส์ได้กล่าวอย่างค่อนข้างออกตัวในหนังสือเล่มแรกของเธอว่า "ข้าพเจ้าได้พยายามที่จะเล่าอย่างเต็มที่และตรงไปตรงมา
ถึงเหตุการณ์และลักษณะที่ค่อย ๆ ปรากฏขึ้นแก่ข้าพเจ้า ในขณะที่ข้าพเจ้าเริ่มจะเข้าใจภาษาที่ใช้พูดกัน" แต่ภาษาไทยก็เป็นภาษาที่
ต้องระมัดระวัง และปรากฏว่านางลิโอโนเวนส์เองก็ไม่สามารถทราบภาษานี้ได้ดี ดังในหนังสือของเธอก็มักมีประโยคและถ้อยคำต่างๆ
ที่สมมุติว่าเป็นภาษาไทย แต่ก็สับสนจับต้นชนปลายไม่ถูก และแม้จะพยายามสักเพียงไรก็ไม่สามารถทราบได้ว่าเธอหมายความว่ากระไร
เมื่อสุภาพสตรีชาววังหรือคนใช้ของท่านเหล่านั้นพยายามเล่าความจริงให้เธอฟังจึงน่าสงสัยว่านางลิโอโนเวนส์จะสามารถเข้าใจ
เรื่องเหล่านั้นได้เพียงใด แต่เมื่อเขาเหล่านั้นพยายามเล่าเรื่องเท็จ ไม่ว่าจะด้วยความตั้งใจ หรือเพื่อให้สนุกสนานเขาย่อมพยายามอย่าง
ที่สุด ที่จะให้เธอเข้าใจเรื่องที่กำลังเล่าอยู่นั้น อย่างไรก็ดี นางลิโอโนเวนส์คงใช้เรื่องราวเหล่านี้น้อยกว่าที่เธอตั้งใจให้เราเชื่อว่า
เป็นเช่นนั้น และคงใช้คำซุบซิบของชาวยุโรปในขณะนั้น ตลอดจนความนึกฝันของเธอเองมากกว่าบางครั้งบางคราวเธอคงจะอ่านหนังสือ
ที่มีผู้เขียนไว้ก่อน เกี่ยวกับประเทศไทยหรือประเทศข้างเคียง และเมื่อไปพบเรื่องแปลกประหลาดที่เธอสนใจ เธอก็จะยึดเอาเรื่องนั้น
หรืออาจจะยกเรื่องนั้นออกมาจากหนังสือที่เธออ่าน และเอามาใส่เข้าที่กรุงเทพ ฯ ในราว พ.ศ. ๒๔๐๕ และหลังจากไตร่ตรองอยู่ชั่วครู่
เธอก็จะเขียนเรื่องนั้นขึ้นใหม่พร้อมด้วยรายละเอียดของเหตุการณ์ที่แวดล้อมในระยะนั้น และมีประชาชนทั้งหญิงและชายในขณะนั้น
เป็นตัวเรื่อง

ลักษณะเช่นนี้คือท้องเรื่องของหนังสือ "ครูหญิงชาวอังกฤษ" เมื่อนางลิโอโนเวนส์แต่งหนังสือเรื่อง "ความรักในฮาเร็ม" นั้น
เธอออกจากประเทศไทยไปนานแล้ว และความจริงต่าง ๆ ที่เธอเคยรู้อยู่ก็เลือนลางลงไป ในหนังสือเล่มหลังนี้เธอคัดลอกมาจาก
หนังสืออื่น ๆ มากยิ่งขึ้น แต่ได้เปลี่ยนแปลงและปรับปรุงเสียจนคล้ายกับว่าเธอได้เห็นมาด้วยตนเองหรือได้ยินมาจากวงการที่ควร
เชื่อถือได้ เธอได้กล่าวไว้อย่างไม่อดสูในคำนำของเธอว่า "แม้ว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะเล่าต่อไปในหนังสือเล่มนี้บางเรื่องออกจะ
ดูแปลกประหลาดมากสำหรับผู้อ่านชาวตะวันตก แต่ข้าพเจ้าก็เห็นเป็นความจำเป็นที่จะต้องแถลงให้ทราบว่าเหตุการณ์เหล่านี้
เป็นเรื่องจริง" เป็นการน่าเบื่อหน่ายที่จะสำรวจดู "เหตุการณ์ที่แปลกประหลาด" เหล่านี้ดังที่เธอเหล่าไว้ จะขอยกตัวอย่างในที่น
ี้เพียง ๓ เรื่อง คือ

เรื่องที่ ๑ ซึ่งเราอาจละทิ้งไปได้อย่างรวดเร็ว เธอบอกว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงขังสุภาพสตรที่ไม่เชื่อฟังพระองค์
์ไว้ในคุกใต้ดินในพระบรมมหาราชวัง ท่านผู้ใดที่เคยอยู่ในกรุงเทพฯ ก็ย่อมทราบแล้วว่า ณ ที่นั้นไม่อาจมีห้องใต้ดินได้
แม้แต่ปัจจุบันก็ยังเป็นการยากลำบากที่จะสร้างห้องใต้ดิน ไม่ว่าแบบใดลงในพื้นที่ที่เต็มไปด้วยน้ำเช่นนั้นก่อนที่จะรู้จักการใช้
คอนกรีตเสริมเหล็ก ย่อมเป็นไปไม่ได้เลยที่จะสร้างคุกใต้ดินขึ้นในกรุงเทพฯ

เรื่องที่ ๒ เธอเล่าว่าเมื่อพระสนมคนหนึ่งหลบหนีออกไปกับพระสงฆ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ก็โปรดให้เผาคนทั้งสองเสีย
ทั้งเป็น เราอาจตั้งข้อสงสัยได้ว่าเมื่อนางลิโอโนเวนส์กล่าวว่าการเผาทั้งเป็นนี้ทำขึ้นต่อหน้าประชาชนทั้งกรุงเทพฯเหตุใดเรื่องนี้
จึงไม่ปรากฏในหนังสืออื่นๆ ที่เขียนขึ้น ไม่ว่าโดยชาวไทยหรือชาวยุโรปที่อยู่ ณ กรุงเทพฯ ในขณะนั้นนอกจากนี้นิยายเรื่องนี้
ก็ไม่ตรงกับบุคลิกลักษณะของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ เลย นางลิโอโนเวนส์ก็ต้องออกตัวไว้ในเรื่องนี้ ซึ่งเธอเขียนไว้ว่า
"เพื่อจะถวายความยุติธรรมแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ข้าพเจ้าต้องกล่าวไว้ ณ ที่นี้ว่า เนื่องจากพระองค์ได้เคยทรง
ดำรงภิกษุภาวะมาแล้ว พระองค์จึงได้รับการสั่งสอนให้แลเห็นว่าโทษที่บุคคลทั้งสองได้ประพฤติขึ้นนั้นเป็นโทษที่ชั่วช้าที่สุด
ที่บังอาจกระทำลงไปได้ "เธอกล่าวว่าพระองค์มีพระราชดำรัสว่า "กฎหมายของเราเข้มงวดมากสำหรับความผิดเช่นนี้"
แต่ความจริงเป็นเช่นนั้นหรือ กฎหมายเพียงแต่กล่าวว่าพระสงฆ์ที่ไม่บริสุทธิ์จำต้องสึก ถูกเฆี่ยน และส่งไปเป็นตะพุ่นหญ้าช้าง
ในคณะสงฆ์ที่มีอยู่เป็นจำนวนพัน ๆ รูป พระสงฆ์ที่ไม่บริสุทธิ์ก็ย่อมหาได้ง่ายและช้างก็ไม่อดหญ้า ถ้าการลงโทษมีจริงอย่างที่
นางลิโอโนเวนส์กล่าว การเผาคนทั้งเป็นเช่นนี้ก็ย่อมเป็นของธรรมดา หรือเราจะต้องเชื่อว่าโทษให้เผาทั้งเป็นนี้ใช้เฉพาะ
แก่พระสงฆ์ที่หนีไปกับสตรีชาววัง แม้ว่ากฎหมายเก่าจะลงโทษถึงตายก็จริง แต่ก็ไม่ใช่โดยการเผาทั้งเป็น และกฎหมายนี้
ก็ใช้ไม่ได้แล้วในขณะนั้น ความจริงมีจดหมายเหตุปรากฏอยู่ว่า ชายผู้หนึ่งที่หลบหนีไปกับสตรีชาววังของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ
ก็ถูกปล่อยตัวแต่โดนปรับเงินเป็นจำนวน ๑๒๐ บาท

เรื่องที่ ๓ กล่าวถึงประตูใหม่ของพระบรมมหาราชวังที่สร้างขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๐๘ นางลิโอโนเวนส์เล่าว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ
โปรดให้มีการบูชายัญมนุษย์ในโอกาสนั้นต่อหน้าข้าราชสำนักทั้งหมด คือผู้ไม่มีความผิดบางคนจะถูกจับ ฆ่าและฝังไว้ใต้เสาประตู
เพื่อว่าวิญญาณของเขาจะได้มาสิ่งสู่ ณ ที่นั้น และบอกข่าวให้รู้เมื่อจะมีอันตราย เรื่องนี้ไม่มีความจริงแม้แต่น้อยถึงแม้ว่าเราอาจผสมกิจการ
อันโหดร้ายและไม่มีเหตุผลเช่นนี้ ให้เข้าได้กับบุคลิกลักษณะของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ แต่ความจริงก็มีว่าไม่มีหนังสือเล่มใด
กล่าวอ้างถึงเหตุการณ์เช่นนี้เลย แต่เนื่องจากเรื่องนี้มีนักประวัติศาสตร์ชาวยุโรปสมัยใหม่เชื่อถือบ้าง จึงสมควรที่จะนำมากล่าวให้หมดจด
เป็นความจริงที่ว่าการบูชายัญมนุษย์ที่ประตูนี้ได้กระทำกันในสมัยโบราณทั้งในประเทศอินเดียและภาคเอเชียอาคเนย์
(ถ้าจะไม่กล่าวถึงในทวีปยุโรป) มีปรากฏอยู่ในชาดกเรื่องหนึ่ง ชาดกเหล่านี้ก็คือนิยายอันเก่าแก่ที่นำมาปรับปรุงใหม่เพื่อสอนธรรมจริยา
และเป็นที่แพร่หลายอย่างยิ่งในดินแดนที่นับถือพุทธศาสนา ประเพณีเช่นนี้จึงเป็นที่รู้จักกันดีในนิยายพื้นเมือง และแม้ว่าจะเลิกใช้มา
หลายร้อยปีแล้ว แต่ก็ยังฝังอยู่ในความทรงจำของประชาชน สิ่งเช่นนี้คงเป็นต้นเค้าของรายงานที่บาทหลวงฝรั่งเศษ คือ สังฆราชบรูกิแยร์
(Monseigneur Bruguiere) ได้เขียนขึ้นใน พ.ศ. ๒๓๗๔ ท่านได้ให้เรื่องราวละเอียดของการบูชายัญที่ประตู และบอกว่าเป็น "ประเพณี"
ซึ่งไม่กระทำแต่ เฉพาะเจ้านายเท่านั้น แต่บุคคลธรรมดาก็ประพฤติด้วย สังฆราชบรูกิแยร์ ได้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยเพียงประมาณ ๒ ปี
และคงเข้าใจผิด ท่านไม่ได้บอกว่าท่านได้เรื่องนี้มาจากแหล่งใด แต่คำบรรยายของท่านก็เป็นแบบกวีนิพนธ์จนไม่อาจเชื่อถือได้ว่า
เป็นความจริง และดูคล้ายกับว่าเป็นการแปลตามใจมาจากนิยายพื้นเมืองอันเก่าแก่ ท่านสังฆราชปัลลกัวส์ซึ่งเป็นผู้รู้เรื่องเมืองไทย
ดีกว่าได้คัดลอก รายงานฉบับนี้ไว้ในหนังสือของท่านชื่อ "คำพรรณนาเกี่ยวกับราชอาณาจักรไทย (Description du royaume thai)"
และได้กล่าวเพิ่มเติมไว้ว่าท่านเองก็ไม่สู้เชื่อถือรายงานนี้นัก เซอร์จอห์น บาวริง ก็ได้อ้างถึงรายงานฉบับนี้เช่นเดียวกันและกล่าวว่าท่าน
ไม่สามารถค้นพบถึงร่องรอยแห่งการใช้ประเพณีนี้ได้ เหตุนั้นจึงคง "เลิกใช้มานานแล้ว"

นางลิโอโนเวนส์ไม่ระมัดระวังเท่าท่านทั้งสอง ในขณะที่เราไม่สามารถอ้างหลักฐานของท่านสังฆราชบรูกิแยร์ได้เราก็อาจอ้างถึงหลักฐาน
ของเธอได ้ คือ เธอได้มาจากท่านสังฆราชบรูกิแยร์นั่นเอง เรารู้ว่าเธอได้อ่านหนังสือของสังฆราชปัลลกัวส์ เพราะเหตุว่ามีข้อความ
อยู่หลายตอนในหนังสือของเธอที่คัดลอกมาจากบทความของท่านสังฆราช โดยที่ไม่ได้กล่าวออกชื่อไว้ และผู้ใดที่ได้อ่านคำพรรณนา
ของนางลิโอโนเวนส์ เกี่ยวกับการบูชายัญที่ประตูเทียบเคียงกับรายงานของท่านสังฆราชบรูกิแยร์ในหนังสือของสังฆราชปัลลกัวส์แล้ว
จะเห็นว่ามีข้อความคล้ายคลึงกันอย่างน่าประหลาดใจ เธอให้รายละเอียดอย่างแปลกประหลาดเช่นเดียวกับท่านบรูกิแยร์
มีการใช้ประโยคที่เป็นแบบกวีเช่นเดียวกัน และแสดงข้อพิสูจน์ถึงการคัดลอกของเธอจากการแปลคำภาษาฝรั่งเศษว่า "cordes ( เชือก )"
เป็น "cords ( เชือกอย่างบาง ๆ ) แทนที่จะใช้คำว่า "ropes" เธอได้ใช้ถ้อยคำของสังฆราชบรูกิแยร์เป็นของเธอเอง และเลื่อนเหตุการณ์นี้
ลงไปใน พ.ศ. ๒๔๐๘ และกล่าวว่า กิจการนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงจัดทำขึ้น ทั้งนี้นับว่าตรงกันข้ามกับสามัญสำนึกและ
เหตุผลต่าง ๆ อย่างสิ้นเชิง

น่าประหลาดที่ว่าเรื่องการบูชายัญมนุษย์ที่ประตูนี้ แม้ว่าเป็นเรื่องที่นางลิโอโนเวนส์ได้กุขึ้นอย่างไม่อับอายก็ดี แต่ก็ปรากฏขึ้นในหนังสือ
เล่มแรกของเธอซึ่งไม่ค่อยโลดโผนเท่าเล่มที่สอง อย่างไรก็ดีไม่ช้าเธอก็ลืมเรื่องนี้เสีย และในบทต่อมา หลังจากที่ เธออ้างถึงลายพระหัตถเลขา
อันแสดงความเป็นมิตรที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงมีไปพระราชทานเธอจากชายทะเลในขณะที่ประทับอยู่กับพระราชโอรสธิดา
บางพระองค์แล้ว เธอก็กล่าวสรรเสริญว่าเธอรู้สึกปลาบปลื้มเพียงไรในการที่ไม่ได้นึกถึงพระราชาองค์นี้ว่าเป็นพระราชาแต่หากเป็น
"สุภาพบุรุษ สหาย บิดาผู้กำลังพักผ่อนหย่อนใจของเขา ท่ามกลางความกรุณาอย่างง่าย ๆ และความรักอย่างอิสระ" เราจะคิดอย่างไร
กับผู้หญิงที่มีความรู้สึกเช่นนี้กับบุรุษซึ่งเธอกล่าวหาว่าเป็นผู้ร้ายฆ่าคน เราอาจเห็นได้ชัดว่าเธอเป็นหญิงที่มีอารมณ์ไม่แน่นอน
แต่เธอก็มีเหตุผลอย่างแท้จริงสำหรับนวนิยายของเธอด้วย หลายปีต่อมาในกรุงลอนดอน เมื่อราชทูตไทยได้ติเตียนเธอว่าใส่ความแด่
ผู้ที่เคยว่าจ้างเธอมาก่อน เธอก็แก้ตัวว่าผู้อ่านต้องการเรื่องที่โลดโผนเกี่ยวกับทางทิศตะวันออก และเธอก็ต้องจัดให้มีขึ้น
เพื่อให้เป็นที่พอใจแก่สำนักพิมพ์สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ทำให้นักประวัติศาสตร์อย่างแท้จริงแค้นเคืองหนังสือของเธอ

แม้ว่าหนังสือของนางลิโอโนเวนส์ จะมีสิ่งดี ๆ อยู่เป็นอันมาก แต่ก็ไม่มีประโยชน์ เพราะเหตุว่าเราไม่อาจยอมรับข้อความตอนใด ได้ว่าเป็นความจริงถ้าไม่มีหลักฐานยืนยันจากที่อื่น การวิจัยย่อมแสดง ให้เห็นว่าวิธีแต่งหนังสือของเธอนั้นใช้ไม่ได้ ชาวตะวันตก
มักเชื่อกันว่าความดีใด ๆ ที่พระราชวงศ์จักรีของไทยได้ทรงบำเพ็ญหลังจากนางลิโอโนเวนส์เดินทางเข้ามานั้นเป็น เพราะเธอได้นำเอา อุดมคติตามศาสนาคริสเตียนมาฝังไว้ให้ แต่ความดีเหล่านี้ก็เป็นที่รู้จักกันมานานแล้วในประเทศไทยก่อนที่เธอ จะเข้ามาถึง
และความชาเย็นที่ปรากฏอยู่ก็แสดงว่านางลิโอโนเวนส์ไม่ได้มีอิทธิพลนัก ทั้งแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ และพระราชธิดาของพระองค์

คัดลอกข้อความจาก " กริสโวลด์, เอ.บี. "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว". แปลโดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล. หนังสือที่ระลึกรอบ 100 ปี แห่งวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและวันเสวยราชย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, ๒๕๑๑. (ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทาน วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๑๑). "