ตราสัญลักษณ์
งานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในโอกาสที่ วันพระบรมราชสมภพ ครบ ๒๐๐ ปี
๑๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗





ความหมายสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในโอกาสที่ วันพระบรมราชสมภพ ครบ ๒๐๐ ปี


--------------------------------

แนวคิด  การออกแบบได้นำพระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แก่ พระมหาพิชัย
มงกุฎ และฉัตร ๕ ชั้น มาออกแบบผสมกับพระปรมาภิไธย  ม.ป.ร.  มาจากด้านหลังของดวงตรามหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
และเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔

แบบสัญลักษณ์ ประกอบด้วย
 
พระปรมาภิไธย ม.ป.ร. สีแสดขอบทอง (สีวันพระบรมราชสมภพวันพฤหัสบดี) อยู่ตรงกลางมีเส้นโค้ง ๙
เส้น สีทองเชื่อมต่อกันเป็นวงกลมล้อมรอบพระปรมาภิไธย ม.ป.ร. พื้นสีน้ำเงิน (สีสถาบันพระมหากษัตริย์) ด้านบนเป็น
พระมหาพิชัยมงกุฎมีรัศมี เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธยว่า "มงกุฎ" ซึ่งเป็นศิราภรณ์สำคัญของ
พระมหากษัตริย์อยู่ในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ ภายในพระมหาพิชัยมงกุฎเป็นเลข ๙ อุณาโลมมีฉัตรบริวาร ๕ ชั้น
ขนาบข้างทั้ง ๒ ข้าง มีแถบแพรผ้าสีเหลืองโอบโดยรอบสองข้างพระปรมาภิไธย บอกชื่องาน ครบ ๒๐๐ ปี แห่งการ
พระบรมราชสมภพ ๑๘ ต.ค. ๒๕๔๗ โดยมีเลข ๒๐๐ ปี อยู่ตรงกลาง


 
ออกแบบโดย
นายสุเมธ  พุฒพวง
   
นักวิชาการช่างศิลป์ ๗
   
กลุ่มงานศิลปประยุกต์ กลุ่มจิตรกรรมและศิลปประยุกต์
   
สำนักสถาปัตยกรรมและหัตถศิลป์  กรมศิลปากร