หัวข้อข่าวปีที่ 3 ฉบับที่ 22 ประจำวันที่ 2002-06-30

ข่าวการศึกษา

ตลาดหลักทรัพย์ร่วมททท. ดึงเยาวชนจัดโครงการเรียนรู้ธุรกิจท่องเที่ยวไทย
ปอมท.ล่า 5 หมื่นชื่อค้าน ม. นอกระบบหลังรัฐเมิน
ผู้ประกอบการแนะมหาวิทยาลัยสอนปรัชญาธุรกิจ
ห้ามเด็ก ม.ปลายเรียนควบ-เอ็นท์ป่วน หาทางคิด “จีพีเอ” หลักสูตรเก่า-ใหม่
ระดมสมองสร้างสื่อกันลืมหนังสือ
“นักวิทย์โนเบล” รับเป็นอาจารย์พิเศษที่มหิดล
เผย 3 แนวประกันชีวิตนร.ไทย กรมการประกันภัยชี้หากทำมากเบี้ยประกันน้อย
เผยเด็กไทยเรียนนอก ออสเตรเลียขึ้นอันดับ 1
อเมริกาช่วยไทยพัฒนาโรงเรียนสองภาษา

ข่าววิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี

เด็กไทยคว้ารางวัลโชว์ “ถ่านดิน” ได้ที่ 2

ข่าววิจัย/พัฒนา

นักวิจัยไทยสำแดงฝีมือ พัฒนาหุ่นยนต์หนัก 30 ตัน
ไทยวิจัยโครงสร้างต้านเอดส์สำเร็จ
ทบวงฯหนุนอาจารย์ทำวิจัยใช้เองเผยงานวิจัยชั้นดีเมืองไทยมีน้อย
งานวิจัยชี้คลื่นรังสี “มือถือ” ทำเส้นเลือดสมอง “หดตัว”
หนุนเอกชนผลิตแบคทีเรียกำจัดยุง
ฝีมือคนไทยพริ้นเตอร์อักษรเบรลล์
การศึกษาวิธีลดความชื้นก่อนสี ของข้าวเปลือกที่มีคุณภาพการสีของข้าว
การพัฒนาสารออกฤทธิ์จากว่านน้ำเพื่อใช้ควบคุมโรคผลเน่าของมะม่วงเพื่อการส่งออก
หมออังกฤษเผย เทคนิคใหม่รู้น้ำหนักลูก
เครื่องดักจับแมลง
ภิญโญ ชัยพรประภากิจ เจ้าของความคิดเครื่องดักจับแมลงได้บอกว่า ได้ไปเฝ้าสังเกตแมลง
ค้นพบสาร รักษาโรค “รูมาตอยด์”






ข่าวการศึกษา


ตลาดหลักทรัพย์ร่วมททท. ดึงเยาวชนจัดโครงการเรียนรู้ธุรกิจท่องเที่ยวไทย

นางกรุณา อักษราวุธ ผู้อำนวยการโครงการพัฒนาเยาวชน SET- JAT ตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย เปิดเผยว่า ทางตลาดหลักทรัพย์ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและอเมริกันเอ็ก- เพรส และสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย จัดโครงการ TTBiz (Traval & Tpurism Bu siness) ขึ้น โดยเป็นโครงการส่งเสริมให้เยาวชนได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำแผนธุรกิจ ที่ เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวพร้อมทั้งได้ทดลองดำเนินการตามแผนธุรกิจที่จัดทำขึ้น สำหรับรูปแบบการ เรียนรู้ผ่านกิจกรรมเป็นหลัก โดยเด็กจะต้องลงไปทำงานในภาคสนามจริง และที่สำคัญจะต้องเรียนรู้เรื่องการทำงานเป็นทีม ทั้งนี้เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการจะแบ่งออกเปกลุ่มๆ ละ 3 คน โดยจะเปิดการอบรมครั้งแรกที่สำนัก งานอเมริกัน เอ็กซ์เพรส อาคารไอบีเอ็มพหลโยธิน กทม. ซึ่งจะแบ่งการอบรมออกเป็น 3 ครั้ง โดยทีมที่ชนะเลิศจะได้ไปดูงานท่องเที่ยวที่ประเทศญี่ปุ่น ส่วนรองชนะเลิศก็จะได้แพ็คเก็จทัวร์ในประเทศ สำหรับผู้สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายสื่อสารองค์กรตลาดหลักทรัพย์(กรุงเทพธุรกิจ วันพฤหับดีที่ 20 มิถุนายน 2545 หน้า 7)





ปอมท.ล่า 5 หมื่นชื่อค้าน ม. นอกระบบหลังรัฐเมิน

น.พ.พิศิษฐ์ โจทย์กิ่ง ประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) และผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์แผนและนโยบายของที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ (ปอมท.)เปิดเผยว่า เมื่อต้นสัปดาห์ นายวิชิต แสงทอง ประธานคลังสมองฝ่ายสังคม ด้านสังคมจิตวิทยาของ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) ได้เชิญนายสุชาติ เมืองแก้ว รองปลัดทบวงมหาวิทยาลัย รองอธิการบดี มข. และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เข้าพบ เพื่อให้ข้อมูลนโยบายมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลโดย นายวิชิต ได้ตั้งข้อสังเกตว่าการเปลี่ยนสภาพจะลดโอกาสการเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัย รัฐมีแนวทางแก้ไขอย่างไรกรณีที่มหาวิทยาลัยต้องหารายได้ส่วนหนึ่ง มีแผนงานอย่างไรเพื่อไม่ให้กระทบกับค่าเล่าเรียน การสร้างความสำนึกในการรักชาติของนักศึกษา และถ้าเป็นลูกจ้างมหาวิทยาลัยแล้วจะชี้นำนโยบายรัฐหรือไม่ ซึ่งทางผู้บริหารดังกล่าวกลับตอบได้ไม่ชัดเจน เพียงแต่บอกว่าจะทำให้เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำมีอันดับที่ดีขึ้น ซึ่งทาง วปอ. จะเชิญประชุมคลังสมองชุดใหญ่เพื่อเสนอแนะรัฐบาลต่อไป(มติชนรายวัน วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน 2545 หน้า 20)





ผู้ประกอบการแนะมหาวิทยาลัยสอนปรัชญาธุรกิจ

นายสายัณห์ จันทรวิภาสวงศ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท เอ็กซ์เซลเล้นท์บิสเนส คอร์ปเรชั่น อินเตอร์แนชชั่นแนล จำกัด กล่าวในการอภิปรายเรื่อง จุดเปลี่ยนแนวคิดในการผลิตบัณฑิตยุคใหม่ เพื่อการแข่งขันในระดับสากลว่า บัณฑิตที่จบออกมาจะมี 2 ประเภท คือ พวกที่เป็นผู้ตามขาดความ คิดริเริ่ม หัวหน้าสั่งอะไรก็ทำตามหมดและพวกที่มั่นใจในตัวเองสูงเกินไป ทั้งนี้ เป็นเพราะมหาวิท- ยาลัยไม่ได้ให้ความรู้ในการวางตัวระหว่างสมัครงานและการทำงานให้บัณฑิตซึ่งตนเห็นด้วยกับ โครงการสหกิจศึกษาที่ทบวงจัดทำอยู่ แต่ขอเสนอให้มีการทำความเข้าใจกับเจ้าของสถานประกอบ การและฝ่ายบุคคลให้เข้าใจก่อนว่าโครงการสหกิจศึกษาคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร ส่วนสถาน ประกอบการเมื่อรับนักศึกษาเข้าไปแล้วก็จะต้องจัดพี่เลี้ยงดูแลให้คำแนะนำนักศึกษาด้วย และตนก็ อยากเห็นโครงการสหกิจศึกษาเหมือนกับโครงการฝากฝึกงาน ในการอบรมด้านช่างของกรมพัฒนา ฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ที่นำเด็กมัธยมศึกษามาอยู่ในโครงการประมาณ 2 ปี มีหอพักให้ โดยเด็กจะไม่มีข้อผูกพันใดๆ กับสถานประกอบการเลย เมื่อเด็กจบออกมาจะรู้จริง ในอาชีพที่ทำ เป็นเด็กสุภาพเรียบร้อยและขยันขันแข็ง และโครงการสหกิจศึกษานั้นควรจะเพิ่มระยะ เวลาในการทำงานมากขึ้นอย่างน้อยเป็น 6 เดือน(กรุงเทพธุรกิจ (วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน 2545 หน้า 8)





ห้ามเด็ก ม.ปลายเรียนควบ-เอ็นท์ป่วน หาทางคิด “จีพีเอ” หลักสูตรเก่า-ใหม่

นายจรูญ ชูลาภ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยผลประชุมคณะกรรมการร่วม ศธ.และทบวง มหาวิทยาลัยดำเนินงานการใช้ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม ม.ปลาย(จีพีเอ) เพื่อประกอบการสอบเอ็นทรานซ์ ว่าได้รับทราบผลการดำเนินงานเป็นปีที่ 3 แล้วไม่พบปัญหา ยกเว้นกรณีนักเรียนจบปีการศึกษา 2544 พร้อมกันมากกว่า 1 หลักสูตร ซึ่งมีจำนวนหนึ่งเกิดปัญหาว่าไม่รู้จะนำผลการเรียนของหลักสูตรใดไป ใช้บันทึกในฐานข้อมูลของเด็ก นอกจากนี้ยังเป็นปัญหาการตัดสิทธินักเรียนคนอื่นที่สมควรได้เข้าเรียน ในสถานศึกษาแห่งนั้น และเท่ากับรัฐต้องอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัวของเด็กคนเดียวใน 2 สถานศึกษา รวมถึงจะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของเด็กในระยะยาวด้วย ซึ่งเป็นสิ่งไม่สมควร ที่ประชุมจึงเห็นชอบให้กรม วิชาการทำหนังสือเสนอ ศธ. เพื่อแจ้งสถานศึกษาทุกสังกัดห้ามนักเรียนเรียน 2 หลักสูตรพร้อมกัน รวม ถึงขอให้ทางโรงเรียนตรวจสอบว่านักเรียนที่สมัครลงทะเบียนได้สมัครเรียนในหลักสูตรอื่นในสถาน ศึกษาแห่งนั้น หรือสมัครเรียนในต่างสถานศึกษาหรือไม่ โดยขอให้นักเรียนได้ทำบันทึกให้ข้อมูลด้วย (มติชนรายวัน วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน 2545 หน้า 15)





ระดมสมองสร้างสื่อกันลืมหนังสือ

นายชีวิต อุจวาที ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออก (ศนภอ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีประชากรอีกจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นชนกลุ่มน้อยที่อยู่ตามแนวชายแดน คนด้อยโอกาส คน เร่ร่อน ฯลฯ เหล่านี้ยังพลาดโอกาสทีจะได้รับการศึกษา โดยเฉพาะทักษะด้านการอ่าน- เขียนภาษาไทย ซึ่งเป็นภาษาประจำชาติ และ กศน. ได้จัดการให้มีการรณรงค์ เพื่อการรู้หนังสือแห่งชาติ ตั้งแต่ปี 2526 เพื่อลดจำนวนผู้ไม่รู้หนังสือ ซึ่งประสบผลสำเร็จอย่างดี แต่ก็ยังมีผู้ไม่รู้หนังสือที่ยังตกค้างกับคนที่ไม่ได้ ศึกษาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดภาวะการลืม และได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ จัดทำสื่อเพื่อส่งเสริม การรู้หนังสือโดยอิงสภาพของท้องถิ่น และหลักสูตรป้องกันการลืมหนังสือขึ้น เมื่อวันที่ 20 – 21 มิถุนายนที่ผ่านมา มีบุคคลากรตัวแทนจาก ศนจ. 9 จังหวัด ในภาคตะวันออก ร่วมเป็นคณะทำงานและ คาดหวังว่า สื่อและหลักสูตรที่ร่วมกันจัดทำขึ้น จะสามารถนำไปเผยแพร่ ให้ความรู้แก่ประชาชนกลุ่ม เป้าหมาย ในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ปัจเจกบุคคล และการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นพื้นฐานในการแสวง หาความรู้ด้วยตนเอง ให้สามารถดำเนินชีวิตในชุมชน และสังคมได้อย่างมีความสุข เป็นพลเมืองดีของ ชาติต่อไป(มติชนรายวัน วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน 2545 หน้า 21)





“นักวิทย์โนเบล” รับเป็นอาจารย์พิเศษที่มหิดล

ศ.นพ.ดร.พรชัย มาตังคสมบัติ อธิการบดี ม.มหิดลกล่าวว่า ขณะนี้มหาวิทยาลัยได้รับการตอบ รับอย่างเป็นทางการจาก ศ.ดร.วิลเลี่ยม นัน ลิปส์คอม นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล สาขาเคมีปี ค.ศ.1976 ในการเข้ามารับตำแหน่งนักวิจัยเกียรติยศ “ศาสตราจารย์เกียรติยศ สตางค์ มงคลสุข” เป็นคนแรก ใน การเข้ามาปฏิบัติงานที่คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 15 มิ.ย. – 15 ก.ย. นี้ โดย นับเป็นครั้งแรกของมหาวิทยาลัยไทย ที่จะมีนักวิทยาศาสตร์โนเบลในระดับโลกเข้ามาอยู่ประจำใน มหาวิทยาลัย ซึ่งก็หวังว่าจะเป็นการกระตุ้นให้สังคมไทยเกิดความตื่นตัวทางด้านวิทยาศาสตร์มากขึ้น โดยเฉพาะในนักเรียนมัธยมปลายในเขต กทม. ซึ่ง ศ.ดร.ลิปส์คอม มีโปรแกรมที่จะบรรยายเกี่ยวกับด้านโครงสร้างโปรตีนและโมเลกุล นอกจากนี้ยังจะให้คำปรึกษางานวิจัยในสาขาเคมีและชีวเคมีกับนักศึกษาในระดับปริญญาโท และปริญญาเอกของสถาบันการศึกษาต่างๆทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.ขอนแก่น ม.เชียงใหม่ ม.เกษตรศาสตร์ ม. เทคโนโลยีสุรนารี เป็นต้น(ไทยรัฐ วันพุธที่ 26 มิถุนายน 2545 หน้า 15)





เผย 3 แนวประกันชีวิตนร.ไทย กรมการประกันภัยชี้หากทำมากเบี้ยประกันน้อย

นางกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา อธิบดีกรมสามัญศึกษา เปิดเผยว่าตามที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว. ศึกษาธิการ ได้มอบให้กรมสามัญศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.) เร่งหาแนวทางการทำประกันชีวิตให้แก่นักเรียนนั้น ตนได้เชิญผู้แทนจาก สปช.และกรมการประกันภัย มาหารือร่วมกัน โดยขณะนี้ได้ข้อสรุปในเบื้องต้นเพื่อนำเสนอ รมว.ศึกษาธิการ แล้วใน 3 แนวทาง ได้แก่ แนวทางที่ 1 การประกันชีวิตพื้นฐานเฉพาะกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพในวงเงินคุ้มครองไม่เกินคนละ 30,000 บาท โดยไม่รวมค่ารักษาพยาบาล แนวทางที่ 2 จะเป็นทางเลือกให้กับผู้ปกครอง หรือโรงเรียนที่ต้องการความคุ้มครองซึ่งครอบคลุมมากขึ้น โดยอาจจะใช้ความคุ้มครองที่เป็นมาตรฐาน คือ ระดับมัธยมจ่ายเบี้ยประกันหัวละ 150 บาทต่อปี ระดับประถม 120 บาทต่อปีโดยได้รับความคุ้มครอง กรณีเสียชีวิต 50,000 บาท และการเจ็บป่วย 5,000 บาท ส่วนแนวทางที่ 3 เป็นลักษณะกองทุน เพื่อดูแล เรื่องการชดเชยอุบัติเหตุให้กับนักเรียน โดยคาดว่าวงเงินขั้นต่ำที่จะใช้ตั้งกองทุนมีไม่น้อยกว่า 300 ล้าน บาท รัฐจะออกคนละครึ่งกับผู้ปกครอง อีกทางเลือกแบบวงเงินคุ้มครอง เบี้ยประกันแพงหน่อย มัธยม 150ประถม 120 สุดท้ายแบบกองทุนช่วยเหลือ แต่ต้องยกร่าง พ.ร.บ. จัดตั้งกองทุน คาดว่าต้องใช้ไม่ น้อยกว่า 300 ล. กรมสามัญเผยแนวทางประกันชีวิตนักเรียนไทย ก่อนเสนอ รมว.ศึกษาธิการแบบประกัน ชีวิตพื้นฐานเสนอให้นักเรียนทำทุกคน(มติชนรายวัน วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน 2545 หน้า 7)





เผยเด็กไทยเรียนนอก ออสเตรเลียขึ้นอันดับ 1

ศ.ดร. วรเดช จันทรเดช ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้ร่วมเดินทางไป ประเทศออสเตรเลียกับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ดร. สุรเกียรติ เสถียรไทย รมว.ต่างประ- เทศและคณะ เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีกับประเทศออสเตรเลีย ซึ่งจากการเดินทางได้สรุปข้อมูลการศึกษา ในต่างประเทศพบว่าที่ผ่านมาคนไทยมักจะส่งบุตรหลานไปเรียนในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับที่ หนึ่ง รองลงมาคือ อังกฤษ แต่เวลานี้สถานการณ์ได้เปลี่ยนไปทำให้คนไทยส่วนใหญ่หันมาสนใจส่งบุตร หลานไปเรียนที่ประเทศออสเตรเลียมากขึ้นถือเป็นอันดับหนึ่งก็ได้ในขณะนี้ จนทำให้ประเทศไทยต้อง สูญเสียเงินให้กับประเทศออสเตรเลียไปกับเรื่องการศึกษาถึง 130 ล้านเหรียญออสเตรเลียต่อปี อย่างไร ก็ตามในขณะนี้ประเทสไทยมีโครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศออสเตรเลีย ถึง 173 โครงการ ซึ่งในการหารือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ทางนายกรัฐมนตรีอยากเห็นความร่วมมือแบบ สหกิจศึกษา รวมทั้งการแลกเปลี่ยนมาตรฐานอุดมศึกษามากขึ้นด้วย(เดลินิวส์ วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน 2545 หน้า 14)





อเมริกาช่วยไทยพัฒนาโรงเรียนสองภาษา

ดร.สิริกร มณีรินทร์ รมช. ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า กระทรวงศึกษาธิการได้ขอความร่วมมือจาก หน่วยสันติภาพสหรัฐอเมริกา ( Peace Corps) ในการพัฒนาคุณภาพวิชาการภาษาอังกฤษในโรงเรียน มัธยมศึกษาโดยเฉพาะโรงเรียนสอนภาษา ซึ่งจะเน้นไปที่การพัฒนาบุคลากร หลักสูตรและสื่อการ เรียนการสอน เนื่องจากปัจจุบันโรงเรียนสองภาษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เปิดทำการเรียนการสอน ทั้งหมด 7 แห่ง มีปัญหาขาดแคลนครูผู้สอนที่มีความรู้ในการใช้ภาษาอังกฤษ รวมถึงขาดแคลนอาจารย์ ชาวต่างประเทศด้วย นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องของหลักสูตรการเรียนการสอน ทั้งนี้ตนเห็นว่าหากเรา สามารถขยายโรงเรียนสองภาษาให้เพิ่มมากขึ้นในทุกภูมิภาคได้ก็จะเป็นการยกระดับการเรียรภาษาอังกฤษให้มีคุณภาพได้เช่นกัน(เดลินิวส์ วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน 2545 หน้า 11)





ข่าววิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี


เด็กไทยคว้ารางวัลโชว์ “ถ่านดิน” ได้ที่ 2

นายเทิดศักดิ์ ศุภโสภณ ผอ.โรงเรียนสงวนหญิง จังหวัดสุพรรณบุรีสังกัดกรมสามัญศึกษาได้ เปิดเผยว่า จากการที่โรงเรียนได้รับคัดเลือกจากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปภัมภ์ ให้เป็นตัวแทนประเทศเข้าร่วมแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ ณ เมืองไทเป ประเทศไต้หวันโดยส่งนางสาวกุลวดี จุสมใจ และนางสาวธัญพินิจ รัศมีธงชัย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 เข้าร่วมแข่งขันในโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องถ่านดิน พลังงานทดแทนในอนาคต (Tharn – Din Aiternative Energy Sorce of The Future) นั้น ผลการแข่งขันปรากฏว่านักเรียนทั้ง 2 สามารถคว้ารางวัล Second Award 2002 Taiwan International Science Fair) โครงงานถ่านดินฯมุ่งศึกษาชนิดของดินที่สามารถประสานกับเนื้อไม้ได้ดี ซึ่งผลจากการทดลองพบว่า ดินที่ประสานได้ดีคือ ดินโคลนผสมกับเศษไม้และเหมาะสำหรับผลิตเป็นถ่านมากที่สุด อีกทั้งยังให้พลังงานความร้อนดีกว่าเชื้อเพลิงอย่างอื่นเมื่อเทียบน้ำหนักส่วนผสมเท่ากัน (สยามรัฐ วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน 2545 หน้า 6)





ข่าววิจัย/พัฒนา


นักวิจัยไทยสำแดงฝีมือ พัฒนาหุ่นยนต์หนัก 30 ตัน

ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ผู้อำนวยการศูนย์การพัฒนาหุ่นยนต์ภาคสนามหรือ ฟีโบ้ (FIBO) มหา- วิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวถึงความสำเร็จในการพัฒนาหุ่นยนต์สำหรับการใช้งานจริงใน ภาคอุตสาหกรรมว่า ฟีโบ้ได้ร่วมกับบริษัทสยามโยโมโตะบริษัทผลิตเหล็กรายใหญ่ในจังหวัดระยอง พัฒนาหุ่นยนต์จัดเก็บหางเหล็กอุณหภูมิสูงและนำมาใช้งานจริงได้สำเร็จ ทีมพัฒนาจากฟีโบ้ ประกอบ ด้วยนักศึกษา อาจารย์ และนักวิจัย ทำหน้าที่เป็นผู้ออกแบบ และวิจัย โดยมีทีมวิศวกรของบริษัทสยาม โยโมโตะ ให้คำแนะนำในการสร้า รวมถึงชี้แนะจุดบกพร่อง จนกระทั่งได้หุ่นยนต์ซึ่งมีน้ำหนัก 30,000 กิโลกรัม ( 30 ตัน) ความสูง 10 เมตร ทำหน้าที่เก็บหางเหล็กร้อนน้ำหนัก 300 กิโลกรัม และมีอุณหภูมิ ถึง 900 อาศาเซลเซียศได้ ซึ่งเป็นงานที่หุ่นยนต์โดยทั่วไปไม่สามารถทำได้ (ไทยรัฐ วันอังคารที่ 25 มิถุนายน 2545 หน้า 7)





ไทยวิจัยโครงสร้างต้านเอดส์สำเร็จ

ผศ.ดร. สุภา หารหนองบัว อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ใน ฐานะนักวิจัยของสำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)เปิดเผยว่า จากผลการวิจัยด้วยการนำยาเนวิรา- ฟีนเข้าไปทำปฏิกิริยากับเอนไซม์ที่มีการจำลองแบบโปรตี และสร้างแบบจำลองโครงสร้างของเอนไซม์ ไว้พบว่ามีบางโครงสร้างที่คณะวิจัยได้ออกแบบไว้หลายร้อยโครงสร้างมีความสามารถในการยับยั้งสูง กว่าเนวิราฟีน และยังสามารถยับยั้งเอนไซม์ได้ดีกว่า ซึ่งรวมไปถึงเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ที่มีทั้งการกลายพันธุ์ผศ.ดร. สุภา หารหนองบัว อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ใน ฐานะนักวิจัยของสำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)เปิดเผยว่า จากผลการวิจัยด้วยการนำยาเนวิรา- ฟีนเข้าไปทำปฏิกิริยากับเอนไซม์ที่มีการจำลองแบบโปรตี และสร้างแบบจำลองโครงสร้างของเอนไซม์ ไว้พบว่ามีบางโครงสร้างที่คณะวิจัยได้ออกแบบไว้หลายร้อยโครงสร้างมีความสามารถในการยับยั้งสูง กว่าเนวิราฟีน และยังสามารถยับยั้งเอนไซม์ได้ดีกว่า ซึ่งรวมไปถึงเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ที่มีทั้งการกลายพันธุ์ ผศ.ดร. สุภา หารหนองบัว อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ใน ฐานะนักวิจัยของสำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)เปิดเผยว่า จากผลการวิจัยด้วยการนำยาเนวิรา- ฟีนเข้าไปทำปฏิกิริยากับเอนไซม์ที่มีการจำลองแบบโปรตี และสร้างแบบจำลองโครงสร้างของเอนไซม์ ไว้พบว่ามีบางโครงสร้างที่คณะวิจัยได้ออกแบบไว้หลายร้อยโครงสร้างมีความสามารถในการยับยั้งสูง กว่าเนวิราฟีน และยังสามารถยับยั้งเอนไซม์ได้ดีกว่า ซึ่งรวมไปถึงเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ที่มีทั้งการกลายพันธุ์ ผศ.ดร. สุภา หารหนองบัว อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ใน ฐานะนักวิจัยของสำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)เปิดเผยว่า จากผลการวิจัยด้วยการนำยาเนวิรา- ฟีนเข้าไปทำปฏิกิริยากับเอนไซม์ที่มีการจำลองแบบโปรตี และสร้างแบบจำลองโครงสร้างของเอนไซม์ ไว้พบว่ามีบางโครงสร้างที่คณะวิจัยได้ออกแบบไว้หลายร้อยโครงสร้างมีความสามารถในการยับยั้งสูง กว่าเนวิราฟีน และยังสามารถยับยั้งเอนไซม์ได้ดีกว่า ซึ่งรวมไปถึงเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ที่มีทั้งการกลายพันธุ์





ทบวงฯหนุนอาจารย์ทำวิจัยใช้เองเผยงานวิจัยชั้นดีเมืองไทยมีน้อย

รศ.น.สพ.สงคราม เหลืองทองคำ รองปลัดทบวงมหาวิทยาลัย กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของทุนวิจัย หลังปริญญาเอก ว่าทบวงฯมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมให้อาจารย์ทำงานวิจัยเพื่อจะได้นำความรู้ใหม่มาปรับใช้ใน การเรียนการสอน และเพื่อนำมาเขียนเป็นตำรา ซึ่งจากการประเมินการวิจัยของคนไทย ในระยะ 10 ปี ที่ผ่านมา พบว่างานวิจัยที่อยู่ในเกณฑ์ดีมีเพียง 5.6 % ของงานวิจัยทั้งหมด ส่วนงานวิจัยที่อยู่ในเกณฑ์ดี- มากมีไม่เกิน 1% ดังนั้น ทบวงฯจึงมีความหวังว่าคนรุ่นใหม่จะหันมาทำงานวิจัยกันมากขึ้นโดยไม่อยาก ให้ไปมุ่งแต่งานบริหารมากนัก เพราะเชื่อว่าการวิจัยจะนำไปสู่ความเป็นเลิศทางการศึกษาและนำประเทศ ให้พ้นภาวะวิกฤติได้(เดลินิวส์ วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน 2545 หน้า 14 )





งานวิจัยชี้คลื่นรังสี “มือถือ” ทำเส้นเลือดสมอง “หดตัว”

นักวิทยาศาสตร์ฟินแลนด์ ได้ข้อสรุปจากงานวิจัยเรื่องความปลอดภัยในการใช้โทรศัพท์มือถือว่า คลื่นรังสีที่แผ่ออกมาระหว่างการใช้โทรศัพท์มือถืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพเนื่องจากคลื่นรังสีทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงในสมอง ข้อสรุปการวิจยดังกล่าวนับเป็นครั้งแรกที่ชี้ชัดออกมาหลังจากที่นักวิทยาศาสตร์ แห่งสถาบันความปลอดภัยจากรังสีและนิวเคลียร์ ใช้เวลาศึกษา 2 ปีเต็ม โดยระบุว่า คลื่นรังสีของโทรศัพท์ มือถือแม้จะแผ่ออกมาในระดับต่ำแต่ก็มีผลกระทบต่อเส้นเลือดในสมอง คลื่นรังสีจะทำให้เซลล์ในผนังเส้น เลือดหดตัวลงมีผลให้โมเลกุลของสารอันตรายบางชนิดหลุดเข้าไปในเนื้อเยื่อสมอง (มติชนรายวัน วันอังคารที่ 25 มิถุนายน 2545 หน้า 19)





หนุนเอกชนผลิตแบคทีเรียกำจัดยุง

น.พ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า การควบคุมแมลง โดยเฉพาะยุงด้วยชีววิธีเป็นการควบคุมปริมาณของยุงโดยอาศัยศัตรูตามธรรมชาติ หรือ ใช้แบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคกับลูกน้ำชนิดต่างๆ น.พ. ณรงค์ศักดิ์กล่าวว่า นักวิจัยของกรมได้ติดตามศึกษา การใช้แบคทีเรียกำจัดลูกน้ำยุงมาอย่างต่อเนื่อง และได้ร่วมกับองค์การอนามัยโลกทดสอบประสิทธิภาพ แบคทีเรียชนิดต่างๆ และพบว่าแบคทีเรียชนิด Bacillus เป็นชนิดที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดลูกน้ำยุงได้ และยังพบอีกว่าแบคทีเรียชนิดดังกล่าวในประเทศไทย เช่น Bacillus Thuringiensis สายพันธุ์จากจังหวัดแพร่ สามารถกำจัดลูกน้ำยุงลายและBacillus sphaericus สายพันธุ์จากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สามารถกำจัด ลูกน้ำยุงรำคาญได้ดีและมีประสิทธิภาพเทียบเท่าแบคทีเรียสายพันธุ์จากต่างประเทศ ซึ่งหากมีการส่งเสริมให้ภาคเอกชนไทยผลิตแบคทีเรียดังกล่าว ในระดับอุตสาหกรรมก็จะเป็นการประหยัดงบประมาณและอาจ เป็นสินค้าส่งออกอีกชนิดหนึ่งที่สร้างรายได้ให้กับประเทศ (มติชนรายวัน วันพุธที่ 26 มิถุนายน 2545 หน้า 18)





ฝีมือคนไทยพริ้นเตอร์อักษรเบรลล์

ชุดควบคุมเครื่องพิมพ์อักษรเบรลล์และโปรแกรมแปลงอักษรเบรลล์ ซึ่งเป็นผลงานปริญญา- นิพนธ์ของนายสมพร หมานมาและนายสุกฤษฏิ์ เทกระโทก นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (สจพ.) สำหรับชุดพิมพ์อักษรเบรลล์ผลงานนักศึกษา สจพ. เพียงแต่ป้อนงานเอกสารที่เป็นตัวหนังสือลงไปทั้ง ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งการคิดคำนวณ จากนั้นโปรแกรมจะแปลงให้เป็นอักษรเบรลล์ หาก ต้องการพิมพ์ก็เพียงแต่นำเครื่องพิมพ์ดีดอักษรเบรลล์มาวางให้ตรงกับก้านของเครื่องพิมพ์ ก็จะได้งาน พิมพ์ที่เป็นอักษรเบรลล์ทันที(เดลินิวส์ วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน 2545 หน้า 16)





การศึกษาวิธีลดความชื้นก่อนสี ของข้าวเปลือกที่มีคุณภาพการสีของข้าว

การกำหนดราคาซื้อขายข้าวของพ่อค้าคนกลางหรือโรงสีจะกำหนดจากความชื้นของข้าวเปลือก และคุณภาพของข้าวสารพิจารณาจากเปอร์เซ็นต์ ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือการลดความชื้นดังนั้นจึงมีงานวิจัย โดย ใจทิพย์ วานิชชัง คณะเกษตรศาสตร์บางพระ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ผู้ทำการวิจัยได้ให้ข้อ เสนอแนะว่าข้าวเปลือกที่มีความชื้นสูงเริ่มต้นสูง จะใช้เวลาในลดการลดความชื้นนาน และเมื่อลดให้เหลือ ความชื้นสุดท้ายต่ำต้องใช้เวลานาน ส่วนข้าวเปลือกที่ 20 % ควรลดความชื้นโดยใช้อุณหภูมิต่ำ ส่วนที่เริ่ม จาก 25 – 30 % ควรลดความชื้นโดยใช้อุณหภูมิสูง มีแนวโน้มที่ให้ข้าวขาวลดลงแต่ความชื้นที่ 16, 15, 14 ไม่มีผลต่อปริมาณเริ่มต้น(เดลินิวส์ วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน 2545 หน้า 24 )





การพัฒนาสารออกฤทธิ์จากว่านน้ำเพื่อใช้ควบคุมโรคผลเน่าของมะม่วงเพื่อการส่งออก

รศ. วิชัย ก่อประดิษฐ์สกุล และคณะ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทำการวิจัย การพัฒนาสารออกฤทธิ์จากว่านน้ำเพื่อใช้ควบคุมโรคผลเน่าของมะม่วงเพื่อการส่งออก โดยการสกัดสาร ออกฤทธิ์จากส่วนเหง้าของว่านน้ำด้วยแอลกอฮอล์ เอทิลอะซิเตทและน้ำ ตามขั้นตอนต่างๆ พบว่าสาร สกัดในส่วนของเอทิลอะซิเตทมีฤทธิ์ยับยั้งที่ดีที่สุด(เดลินิวส์ วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน 2545 หน้า 24 )





หมออังกฤษเผย เทคนิคใหม่รู้น้ำหนักลูก

ผู้เชี่ยวชาญแห่งมหาวิทยาลัย “แคมบริจด์” ของอังกฤษเปิดเผยผลการวิจัยล่าสุดระบุว่า การตรวจ เลือดของมารดาผู้ตั้งครรภ์สามารถทราบน้ำหนักของทารกที่จะคลอดออกมาได้หลังจากทำการวิจัยกับผู้หญิง อังกฤษกว่า 4,200 คน ซึ่งประเมินว่า โปรตีน “พีเอพีพีเอ” มีบทบาทควบคุมต่อน้ำหนักตัวของทารกซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการมีโปรตีนดังกล่าวในมารดา ขณะที่ผลการวิจัยของผู้เชี่ยวชาญอังกฤษอีกรายชี้ด้วยว่า การเติบโตของทารกยังขึ้นอยู่กับบิดา ซึ่งจะถ่ายทอดยีนบางตัวที่จะมีส่วนในการสร้างความเติบโตแก่ตัวอ่อน ทารกในครรภ์หญิงด้วย(สยามรัฐ วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน 2545 หน้า 15)





เครื่องดักจับแมลง

ภิญโญ ชัยพรประภากิจ เจ้าของความคิดเครื่องดักจับแมลงได้บอกว่า ได้ไปเฝ้าสังเกตแมลง ต่างๆ และนกที่ต้องอาศัยในโพรงไม้ เห็นว่าแมลงพวกนั้นมุดเข้า-ออกเป็นประจำ จึงคิดว่าการดักแมลง ที่ถูกต้อง จะต้องทำแบบนี้ แต่ใช้ผลไม้ น้ำผึ้งเป็นตัวล่อให้แมลงมาเกาะ ภิญโญ ใช้เวลาในการประดิษฐ์ เพียง 2-3 วัน ก็ออกมาเป็นรูปเป็นร่าง จากนั้นจึงนำไปจดสิทธิบัตร เพราะเกรงว่าจะถูกก๊อบปี้ความคิด และอีกไม่นานเราคงจะได้เห็นสินค้าตัวนี้ออกมาวางขายในท้องตลาด (เดลินิวส์ วันอาทิตย์ 30 มิถุนายน 2545 หน้า 25)





ภิญโญ ชัยพรประภากิจ เจ้าของความคิดเครื่องดักจับแมลงได้บอกว่า ได้ไปเฝ้าสังเกตแมลง

ภิญโญ ชัยพรประภากิจ เจ้าของความคิดเครื่องดักจับแมลงได้บอกว่า ได้ไปเฝ้าสังเกตแมลง ต่างๆ และนกที่ต้องอาศัยในโพรงไม้ เห็นว่าแมลงพวกนั้นมุดเข้า-ออกเป็นประจำ จึงคิดว่าการดักแมลง ที่ถูกต้อง จะต้องทำแบบนี้ แต่ใช้ผลไม้ น้ำผึ้งเป็นตัวล่อให้แมลงมาเกาะ ภิญโญ ใช้เวลาในการประดิษฐ์ เพียง 2-3 วัน ก็ออกมาเป็นรูปเป็นร่าง จากนั้นจึงนำไปจดสิทธิบัตร เพราะเกรงว่าจะถูกก๊อบปี้ความคิด และอีกไม่นานเราคงจะได้เห็นสินค้าตัวนี้ออกมาวางขายในท้องตลาด (เดลินิวส์ วันอาทิตย์ 30 มิถุนายน 2545 หน้า 25)





ค้นพบสาร รักษาโรค “รูมาตอยด์”

อังคนันท์ อังกุรรัตน์ นักวิจัยของกองผลิตไอโซโทป สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (พบ.) ของ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม นักผลิตไอโซโทปสามารถคิดค้นวิจัยนำสารที่มีชื่อว่า “ ซามาเรียม- 153 ไฮดรอกซีอะปาไตต์” มาใช้ในการรักษาโรครูมาตอยด์ หรือโรคเยื่อหุ้มไขข้ออักเสบ ได้สำเร็จ ขณะนี้อังคนันท์ อังกุรรัตน์และทีมงาน ยังอยู่ระหว่างการวิจัยเพิ่มเติมว่าทำอย่างไรจึงจะไม่ให้ สารนี้ตกตะกอน ซึ่งล่าสุดเธอได้รับทุนจาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติด้วย (เดลินิวส์ วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน 2545 หน้า 22)







KMUTT Digital Library
Contact Digital Library : info@lib.kmutt.ac.th
Tel : 0-2470-8215