|
หัวข้อข่าวปีที่ 3 ฉบับที่ 24 ประจำวันที่ 2002-07-15
ข่าวการศึกษา
หนุน นศ.ตั้งชมรมประกันคุณภาพ แนะเรียนภาษาจีนต้องสอบวัดระดับความรู้ ศธ.เดินหน้าหนุนการศึกษาคนพิการ จุฬาออกอาการแหยงขึ้น ศธ.ใหม่ กลัวบังคับรับ นศ.เกิน-คุณภาพตก ประธาน ทปอ.ยอมรับมหาวิทยาลัยหมกเม็ดดึง น.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาไม่ลงตัวยื้อนำร่องทั่ว ปท.-ช่วงเทอม 2 เด็กไทยคว้าเกีรตินิยมอันดับที่ 1 ที่ฮ่องกง
ข่าววิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี
พป.สร้างศูนย์วิจัยนิวเคลียร์องครักษ์ปลายปีนี้ อินโดฯหนุนไทยเจ้าภาพจัดตั้งสภาพลังงานเอเชีย
ข่าววิจัย/พัฒนา
องค์ประกอบทางเคมีอินทรีย์และฤทธิ์ในการกำจัดแมลงและศัตรูพืชของตะไคร้ ไบโอเทคทุ่ม 18 ล้านเปิดโครงการใหม่ ทุนส่งเสริมกลุ่มนักวิจัยอาชีพ ต้นจอกฆ่าเชื้อวัณโรค นักวิจัยอังฤกษ พบทางช่วยเหลือคนเป็นหมันมีบุตร เตือนวิจัยร่วมตปท. ระวังปัญหาทรัพย์สินทางปัญญา
ข่าวทั่วไป
ดันสร้างเครือข่ายนักวิจัยสุขภาพ อธิบายข้อเท็จจริงให้ประชาชนรับรู้ เคี้ยวถั่วเล่นประจำช่วยให้หนีห่างเป็นลมปัจจุบันเสียชีวิตกะทันหัน เหนื่อยกินน้ำเร็วเกินไปถึงตาย เกิดอาการน้ำเป็นพิษถึงสมองบวม สปส.ดัดหลังรพ.ให้คนไข้ยื่นบัตรหลังรักษา ขุดทองนอกได้ไม่คุ้มเสียปัญหาสังคมบาน
ข่าวการศึกษา
หนุน นศ.ตั้งชมรมประกันคุณภาพ
ศ.ร.ต.วรเดช จันทรศร ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะกรรมการมาตรฐานอุดมศึกษา
ทบวงฯ ได้หารือถึงการพัฒนามาตรฐานอุดมศึกษาที่ยังละเลยนำนิสิต นักศึกษาเข้าร่วม จึงเห็นควรให้เชิญนิสิต
นักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาสังกัดทบวงฯ สถาบันราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล กรมอาชีวศึกษาและ
รวมถึงนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ร่วมสัมมนาถึงการประกันคุณภาพการศึกษา สิทธิที่พึงได้รับจากการประกันการ
ศึกษา และการติดตามตรวจสอบการบริหารมหาวิทยาลัยที่ต้องมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ โดยแนวทางหนึ่ง
เห็นควรสนับสนุนให้นิสิต นักศึกษา ร่วมกันตั้งชมรมการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อเป็นเครือข่ายร่วมประเมิน
คุณภาพการจัดการศึกษาอีกส่วนหนึ่ง ไม่ใช่การประเมินโดยผู้บริหารเพียงฝ่ายเดียว เพราะถือว่านิสิต นักศึกษาคือ
ผู้บริโภคหรือลูกค้าที่ควรมีส่วนร่วมในการประเมินการจัดการศึกษาด้วย และนำเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งในรายงาน
ประจำปี ไม่ใช่ผู้บริหารประเมินและเขียนผลงานในรายงานประจำปีฝ่ายเดียว
(ไทยรัฐ วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม 2545 หน้า 15)
แนะเรียนภาษาจีนต้องสอบวัดระดับความรู้
ประธานคณะกรรมการปฏิบัติงาน โครงการจัดสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีน (HSK) เผยปัจจุบันคนเริ่มหันมาเรียนภาษาจีนมากขึ้น เนื่องจากเห็นถึงความสำคัญต่อการทำธุรกิจในอนาคต ระบุการสอบวัดความรู้ ถือเป็นเกณฑ์มาตรฐานสากลในการเทียบชั้นเรียนภาษาจีนสำหรับชาวต่างชาติ คล้ายกันการสอบ TOFEL ในภาษาอังกฤษ ศ.ดร.ปรีดี กล่าวว่า หลังจากทดสอบแล้ว ทางปักกิ่งจะนำข้อสอบทั้งหมดกลับไปตรวจ และยังผลการสอบมายัง OCA และผู้ผ่านการสอบจะได้รับใบรับรองจากคณะกรรมาธิการสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีน HSK แห่งชาติ ณ นครปักกิ่ง ทั้งนี้ ในการสอบจะแบ่งการทดสอบไปในระดับต่างๆ ได้แก่ ระดับพื้นฐาน ระดับต้น- กลาง และระดับสูง ซึ่งในแต่ละระดับจะมีแยกย่อยระดับขั้นอีกด้วย โดยระดับพื้นฐานจะเหมาะกับผู้ที่เรียนภาษาจีนประมาณ 100 800 ชั่วโมง ซึ่งผู้ที่สอบได้ระดับพื้นฐาน ขั้น 3 จะสามารถเทียงโอนความรู้เข้าเรียนในคณะต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยีในมหาวิทยาลัยของจีนได้ สำหรับระดับต้น- กลาง เหมาะสำหรับผู้เรียนภาษาจีน ประมาณ 400-2,000 ชั่วโมงผู้ที่สอบได้ระดับต้น- กลาง ขั้น 3 สามารถเทียบวุฒิเข้าเรียนชั้นปีที่ 2 ของภาคภาษาจีน สำหรับชาวต่างประเทศได้ และผู้ที่สอบได้ระดับต้น- กลาง ขั้น 6 สามารถเรียนคณะต่างๆ ทางศิลปศาสตร์ในมหาวิทยาลัยจีนหรือเข้าเรียนชั้นปีที่ 3 ของภาคภาษาจีนสำหรับชาวต่างประเทศ ส่วนระดับต้น- กลาง ขั้น 8 ผู้ที่สอบผ่านจะถือว่ามีทักษะในการใช้ภาษาจีนระดับสูง สามารถสมัครเข้าทำงานเป็นล่ามระดับต้นได้ ส่วนผู้สอบผ่านHSK ระดับสูง จะสามารถเข้าเป็นอาจารย์สอนภาษาจีนหรืองานแปลได้ และยังเป็นเกณฑ์มาตรฐานสำหรับ
ผู้ต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโทอีกด้วย(กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม 2545 หน้า 7)
ศธ.เดินหน้าหนุนการศึกษาคนพิการ
นางสิริกร มณีรินทร์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะ
กรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษาเพื่อคนพิการว่า ปัจจุบัน ศธ.มีบุคลากรด้านการศึกษาพิเศษ 21,622
คน ซึ่งในจำนวนดังกล่าว มีเพียงจำนวนน้อยที่มีวุฒิการศึกษา หรือผ่านการอบรมด้านการศึกษาพิเศษ
โดยตรง ดังนั้น ทาง ศธ.จึงจะเร่งรัดให้มีการอบรมหรือศึกษาต่อสำหรับผู้ที่ไม่ได้สำเร็จมาด้านนี้ รวมทั้ง
จะสนับสนุนให้ผู้บริหารและครูอาจารย์ด้านคนพิการได้พัฒนาการโดยใช้กระบวนการวิจัย ในส่วนของ
นักศึกษาครุศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ก็จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเบื้องต้น เกี่ยวกับคนพิการ และ ศธ.
จะเพิ่มเงินพิเศษให้กับครูด้านนี้
(กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม 2545 หน้า 8)
จุฬาออกอาการแหยงขึ้น ศธ.ใหม่ กลัวบังคับรับ นศ.เกิน-คุณภาพตก
นายธวัชชัย สุมิตร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในงานอธิการบดีพบประชาคมเรื่อง
การเตรียมการเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่มีการบริหารจัดการโดยอิสระ ว่า จุฬาฯมุ่งเน้นการเป็นมหาวิทยา-
ลัยวิจัย มีการเรียนการสอนที่พัฒนา เชื่อมโยงกับสังคม ผลิตบัณฑิตออกไปแข่งขันกับคนอื่นได้ และมีฐานะ
การเงินที่มั่งคง ซึ่งค่าใช้จ่ายของนิสิตขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการที่มีคุณภาพ โดยปัจจุบันนี้นิสิตรับผิดชอบ
เพียง 15% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด ดังนั้น ถ้าจะขึ้นค่าเล่าเรียนก็เพราะค่าครองชีพสูงขึ้น ไม่ใช่เพราะเป็นมหา-
วิทยาลัยในกำกับรัฐบาล ส่วนสถานภาพขององค์กรนั้นสภาจุฬาฯมีมติให้เป็นมหาวิทยาลัยอิสระ มี พ.ร.บ.
ของตัวเอง ได้รับสนับสนุนงบประมาณประจำปีจากรัฐ มีบัญชีเงินเดือนของตัวเอง และบุคลากรมีสถานภาพ
เป็นข้าราชการจุฬาฯ ทั้งนี้ จะต้องปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.ให้เสร็จภายในเดือนสิงหาคมนี้ ก่อนจะเสนอไปที่สำนัก-
งานคณะกรรมการกฤษฎีกา
(มติชนรายวัน วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม 2545 หน้า 20)
ประธาน ทปอ.ยอมรับมหาวิทยาลัยหมกเม็ดดึง น.ศ.
นายภาวิช ทองโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.) และประธานที่ประชุมอธิการบดี
แห่งประเทศไทย (ทปอ.) ให้สัมภาษณ์กรณีมีผู้วิจารณ์ปัจจุบันสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ แข่งกันเปิดหลักสูตร
ปริญญาโท เอก และหลักสูตรภาคพิเศษ โดยเน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ เพราะมุ่งหารายได้เป็นสำคัญว่า
การที่มหาวิทยาลัยเปิดหลักสูตรต่างๆ ก็เพราะมีความต้องการเข้าเรียนสูงมาก จะเห็นได้ว่าหลักสูตรต่างๆมี
ผู้เรียนเต็มทุกหลักสูตร ซึ่งถือเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาอีกทางหนึ่ง และถือเป็นหน้าที่ของมหาวิท
ยาลัยด้วย โดยที่สำคัญคือจะทำอย่างไรเพื่อให้คุณภาพคงอยู่ ยอมรับว่าการเรียนการสอนในเวลานี้มีรูปแบบ
หลากหลาย โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ซึ่งมหาวิทยาลัยไทยคงต้องพัฒนาไปในทิศทางนี้ เพียงแต่จะต้องมี
ระบบการจัดการที่ดี ส่วนที่วิจารณ์ว่ามหาวิทยาลัยมักโฆษณาในลักษณะชวนเชื่อว่าหลักสูตรนี้เรียนงาย ได้
ปริญญาเร็วนั้น ยอมรับว่ามีแนวโน้มเกิดขึ้นมากอย่างบางหลักสูตรของ มมส.เอง ก็มีการโฆษณาโดยเน้นว่า
ไม่ต้องทำวิทยานิพนธ์ เพื่อทำให้ดูเหมือนเรียนง่าย ซึ่งผมก็ต้องปรามเจ้าของหลักสูตรว่าไม่เหมาะสมเพราะว่า
หลักสูตรที่ไม่ต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่ได้หมายความว่าจบง่าย และบางหลักสูตรเรียนยากกว่าด้วยซ้ำ นาย
ภาวิช กล่าว
(มติชนรายวัน วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม 2545 หน้า 20)
เขตพื้นที่การศึกษาไม่ลงตัวยื้อนำร่องทั่ว ปท.-ช่วงเทอม 2
นายดิเรก พรสีมา ที่ปรึกษา ศธ. กล่าวเพิ่มเติมว่า ในที่ประชุมเสนอให้ศธ. จัดนำร่องเขตพื้นที่ใน
71 จังหวัด ที่เหลือด้วย ก่อนที่จะประกาศจำนวนเขตพื้นที่ ซึ่งตนจะนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ
ปฏิรูปการศึกษาของ ศธ. ในวันที่ 29 กรกฎาคมนี้ เพื่อพิจารณาว่าเห็นด้วยหรือไม่ แต่เบื้องต้นได้หารือ
กับนายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการ ศธ.แล้ว ไม่ขัดข้องและเห็นว่าเป็นเรื่องดี โดยหากจะจัดนำร่องจริง
สามารถดำเนินการได้ในช่วงภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2545 นี้ ซึ่งน่าจะทันกับการผ่านร่างกฏหมายหลัก
ทั้งร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในขั้นการพิจารณาของวุฒิสภาประ-
มาณเดือนพฤศจิกายน- ธันวาคม และจะทำให้สามารถสรุปจำนวนเขตพื้นที่ได้ทั้งหมด ทั้งนี้จำนวนเขต
พื้นที่ที่ทางสำนักนโยบายและแผนจะไปวิเคราะห์นั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่จะประกอบการตัดสินใจเท่านั้น(มติชนรายวัน วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม 2545 หน้า 20)
เด็กไทยคว้าเกีรตินิยมอันดับที่ 1 ที่ฮ่องกง
นางสิริกร มณีรินทร์ รมช.ศธ. เปิดเผยว่า ตนได้รับรายงานจากเลขาธิการคณะกรรมการการประถม-
ศึกษาแห่งชาติ (กปช.) ถึงผลการแข่งขันคณิตศาสตร์โลกระดับประถมศึกษาที่ฮ่องกง เมื่อวันที่ 12-18 กรกฎาคม
ที่ผ่านมา โดยมีประเทศต่างๆ ส่งนักเรียนเข้าแข่งขัน จำนวน 20 ประเทศ ซึ่งผลการแข่งขันประเภทคะแนนราย
บุคคล ปรากฎว่า ด.ช.ปพันธ์ เกียรติสกุลเดชา จาก ร.ร.อนุบาลราชบุรี สามารถคว้ารางวัลเกียตินิยมอันดับที่ 1
ได้ และยังมีนักเรียนในสังกัด สปช. ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 จำนวน 3 คน ส่วนผลการแข่งขันประเภท
คะแนนรวม ทีมนักเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน (สช.) คว้ารางวัลชมเชยมาได้
(กรุงเทพธุรกิจ วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม 2545 หน้า 8)
ข่าววิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี
พป.สร้างศูนย์วิจัยนิวเคลียร์องครักษ์ปลายปีนี้
นายเกรียงกร เพชรบุตร เลขาธิการสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (พป.) เปิดเผยความคืบหน้า
โครงการก่อสร้างศูนย์วิจัยนิวเคลียร์องครักษ์ จังหวัดนครนายกว่า ขณะนี้กำลังรอการอนุญาตก่อสร้างเครื่อง
ปฏิกรณ์นิวเคลียร์ จากคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ โดยอยู่ในการพิจารณาของคณะอนุกรรมการ
พิจารณาความปลอดภัยโรงงานนิวเคลียร์ ซึ่งตลอด 4 - 5 เดือนที่ผ่าน มีการประชุมของคณะอนุกรรมการกว่า10 ครั้ง และมีการเชิญคณะของบริษัท เจนเนอรอล อะตอมมิก บริษัทที่รับเหมาก่อสร้างเครื่องปฎิกรณ์มาชี้แจง
ข้อสงสัย คากว่าคณะอนุกรรมการฯจะใช้เวลาประชุมอีก 1-2 ครั้ง เพื่อพิจารณารายงานความปลอดภัยเบื้องต้น
แล้วจะสรุปอนุญาตให้ก่อสร้างเครื่องปฎิกรณ์นิวเคลียร์ คาดว่าภายในปลายปีนี้จะสามารถเริ่มดำเนินการก่อ-
สร้างเครื่องปฎิกรณ์นิวเคลียร์ได้
(กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม 2545 หน้า 9 )
อินโดฯหนุนไทยเจ้าภาพจัดตั้งสภาพลังงานเอเชีย
นายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธานกรรมาธิการการพลังงานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธาน
มูลนิธิสถาบันพลังงานทดแทนแห่งประเทศไทย กล่าวภายหลังจากที่ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับ
ดร.อาร์สชิต มูเลีย ผู้ก่อตั้งองค์กรส่งเสริมพลังงานสะอาดแห่งอินโดนีเซีย ว่าเป็นการลงนามเพื่อร่วมมือใน
การสนับสนุนและส่งเสริมการใช้พลังงานและชีวภาพแห่งเอเชียและแปซิฟิก เพื่อขยายความร่วมมือให้
กว้างขึ้น และอินโดฯพร้อมที่จะสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมว่าด้วยการพัฒนา
พลังงานทดแทนในภูมิภาคเอเชีย- แปซิฟิก เพื่อก่อตั้งสภาพลังงานด้วย
(สยามรัฐ วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม 2545 หน้า 3)
ข่าววิจัย/พัฒนา
องค์ประกอบทางเคมีอินทรีย์และฤทธิ์ในการกำจัดแมลงและศัตรูพืชของตะไคร้
สุรัตน์วดี จิวะจินดาและคณะ แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้เก็บรวบรวม
พืชตระกูลตะไคร้มาปลูกในแปลงทดลอง สกัดโดยใช้ตัวทำละลายและกลั่นด้วยไอน้ำ ตรวจวิเคราะห์องค์
ประกอบทางเคมีในส่วนต่างๆ ของพืขโดยเทคนิคโครมาโตกราฟ ศึกษาฤทธิ์และองค์ประกอบที่ออกฤทธิ์ต่อ
ยุงและแมลงศัตรูพืชบางชนิด และต่อเชื้อราสาเหตุโรคพืชบางชนิด รายงานพบว่าน้ำมันตะไคร้ สามารถใช้
ไล่แมลง เช่น ยุง แมลงสาบ แมลงในโรงเก็บผลผลิตทางการเกษตร ใช้เป็นยาฆ่าเหาในคน เห็บในวัว และ
ยังพบว่าเป็นสารยับยั้งการเจริญเติบโตของสารวัชพืช และยับยั้งการเจริญเติบโตของไวรัสบางชนิดใน
มันฝรั่ง
(เดลินิวส์ วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม 2545 หน้า 24)
ไบโอเทคทุ่ม 18 ล้านเปิดโครงการใหม่ ทุนส่งเสริมกลุ่มนักวิจัยอาชีพ
รศ.ดร.มรกต ตันติเจริญ ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ เปิดเผยว่า
โครงการทุนส่งเสริมนักวิจัยอาชีพ เป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมนักวิจัย นักวิทยา-
ศาสตร์ จากสถาบันต่างๆ ที่มีความสามารถและมีศักยภาพสูง ให้สามารถทุ่มเทเวลาและสติปัญญาในการวิจัย
และพัฒนาผลงานอย่างเต็มที่ โครงการทุนส่งเสริมกลุ่มนักวิจัยอาชีพจัดขึ้นปีนี้เป็นปีแรก มีมูลค่าทุนกว่า 18ล้านบาท กลุ่มนักวิจัยอาชีพที่ผ่านการพิจารณาในปีนี้เป็นกลุ่มนักวิจัยจากกลุ่มนักวิจัยจากสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
และมหาวิทยาลัยมหิดล นำทีมโดย รศ.ดร.ศกรณ์ มงคลสุข ในเรื่อง การนำองค์ความรู้ใหม่ทางวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีของกลุ่มวิจัยมาใช้ศึกษารายละเอียดและภาพรวมของผลกระทบต่อ Strees responses ในแบค-
ทีเรียก่อโรคพืช Xanthomonas ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) จะดำเนินการ
โครงการทุนส่งเสริมกลุ่มนักวิจัยอาชีพอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยไม่จำกัดสาขา หรือผลงานการวิจัย
กลุ่มนักวิจัยอาชีพทุกสังกัด ทุกสถาบัน สามารถขอรายละเอียดการเสนอผลงานโครงการเพื่อขอรับทุนโครง-
การได้ที่ ฝ่ายสนับสนุนการวิจัย พัฒนาและวิศวกรรม ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทร. 0-2564-6700 โทรสาร 0-2566-6703
(เดลินิวส์ วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม 2545 หน้า 24)
ต้นจอกฆ่าเชื้อวัณโรค
จันจิรา รุจิรวณิช หรือน้องแนน นักเรียนทุนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษ
ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.)
ที่เพิ่งจบชั้นม.6 จากโรงเรียนศรีบุณยานนท์และเพิ่งเข้าเรียนชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตร-
ศาสตร์ น้องแนนได้นำเอาต้นจอกนี้มาทำโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง การสกัด การแยก และทดสอบสาร
ออกฤทธิ์จากต้นจอกฆ่าเชื้อ Mycobacterium tiberculosis ซึ่งเป็นเชื้อวัณโรค โดยมี รศ. ดร.บุญส่ง คงคาทิพย์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อาจารย์สมพร อัครธีรานนท์และอาจารย์วินัย หิรัญศิริ หมวดวิทยาศาสตร์โรงเรียน
ศรีบุณยานนท์เป็นที่ปรึกษาด้วย
(เดลินิวส์ วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม 2545 หน้า 24)
นักวิจัยอังฤกษ พบทางช่วยเหลือคนเป็นหมันมีบุตร
ศาสตราจารย์โทนี ไหล และนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยแพทย์เวลส์ แห่งคาร์ดิฟ เปิดเผยว่าสามารถ
ค้นพบโมเลกุลในสเปิร์มหรือเชื้ออสุจิ ที่เป็นกุญแจสำคัญทำให้เกิดการปฎิสนธิ ซึ่งผลการวิจัยอาจช่วยให้
คู่สามีภรรยาที่มีบุตรยาก สามารถมีบุตรหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาโรคผ่านเทคโนโลยีโคลนนิง
ศาสตราจารย์ไหลให้รายละเอียดว่า ได้แยกยีนในสเปิร์ม ซึ่งเป็นตัวผลิตโปรตีนที่ทำให้ไข่แบ่งตัวและ
พัฒนาสู่การเป็นตัวอ่อนมนุษย์ โดยโปรตีนดังกล่าวซึ่งมีชื่อว่า พีแอลซีซีตา จะเข้าไปกระตุ้นเพิ่มระดับ
แคลเซียมในไข่ที่ปรากฎขึ้นระหว่างการปฏิสนธิ
(กรุงเทพธุรกิจ วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม 2545 หน้า 19)
เตือนวิจัยร่วมตปท. ระวังปัญหาทรัพย์สินทางปัญญา
นางมธุรส สุมิพันธ์ ผู้อำนวยการกองแปลและวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
กล่าวว่า ความร่วมมือสนับสนุนการวิจัยของ วช.มี 3 ลักษณะ คือ ความร่วมมือส่งเสริมและสนับสนุนการ
วิจัยกับต่างประเทศ การอนุญาตให้นักวิจัยต่างประเทศมาทำการวิจัยในประเทศไทยและกิจกรรมอื่นๆ นาง
นภาวรรณ นพรัตนราภรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและทรัพย์สินทางปัญหา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าว
ว่า สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการร่วมมือกับต่างประเทศในการวิจัยคือ ต้องบริหารจัดการให้เป็นไปตามที่มุ่งหวัง
ไว้ เพราะไม่มีใครในโลกนี้ให้อะไรฟรีๆ ต้องช่วยกันคิดและดำเนินการเพื่อไม่ให้เสียเปรียลและสิ่งที่ต้องคำนึง
ถึง คือ ประโยชน์ที่ได้รับซึ่งต้องมีการวิเคราะห์ในกลุ่มนักวิจัยด้วย ต้องเตรียมคนที่จะทำงานร่วมกัน เตรียม
งบประมาณ ต้องคำนึงถึงการแบ่งสรรทรัพย์สินทางปัญญาและสิทธิประโยชน์ที่เกิดจากการวิจัยร่วมซึ่งเป็น
สิ่งที่สำคัญมาก ต้องทำความตกลงกันแต่เริ่มแรกในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งกระบวนการต่างๆ ทั้ง
สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ ตำรา การถ่ายทอดความรู้ให้แก่กันและกัน
(มติชนรายวัน วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม 2545 หน้า 18)
ข่าวทั่วไป
ดันสร้างเครือข่ายนักวิจัยสุขภาพ อธิบายข้อเท็จจริงให้ประชาชนรับรู้
น.พ.วิพุธ พูลเจริญ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรสง.) กล่าวว่า ปัจจุบัน
ประเด็นเรื่องสุขภาพมีความซับซ้อนมากขึ้น จำเป็นต้องปรับปรุงการศึกษาและการวิเคราะห์สถานะ
สุขภาพให้สอดคล้องกับสถานการณ์แนวทางหนึ่งที่ความดำเนินการคือ การสร้างเครือข่ายนักวิจัย
สุขภาพเพื่อเชื่อมประสานนักวิจัยและนักวิชาการที่มีความสนใจในประเด็นสุขภาพ ให้ทำงานเป็น
เครือข่ายเพื่อจะได้ข้อมูลเชิงประจักษ์ นำไปสู่การแก้ไขปัญหาสุขภาพกำหนดนโยบายในระดับชาติ
และการกำกับให้บรรลุถึงเป้าหมายของนโยบายต่อไป สำหรับเครือข่ายนักวิจัยสถานะสุขภาพเป็น
โครงการหนึ่งในเครือข่ายพลังปัญญาทางสุขภาพ มีวัตถุประสงค์ในการเชื่อมประสานนัก
วิจัยและนักวิชาการที่ความสนใจเรื่องการวัดและประเมินสถานะสุขภาพของประชากร ซึ่งเครือข่ายนี้
ได้พัฒนาเครื่องมือชี้วัดสถานะสุขภาพของคนไทยที่จะนำไปใช้ในการประเมินผลด้านสุขภาพของแต่
ละพื้นที่เพื่อให้ได้ข้อมูลด้านสุขภาพที่สะท้อนสถานะสุขภาพและปัญหาสาธารณสุขของพื้นที่นั้นนำไปสู่การ
พัฒนาและแก้ปัญหาสุขภาพซึ่งสอดคล้องกับภาวะที่มีการปฏิรูประบบสุขภาพการกระจายอำนาจและ
การมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
(มติชนรายวัน วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม 2545 หน้า 18)
เคี้ยวถั่วเล่นประจำช่วยให้หนีห่างเป็นลมปัจจุบันเสียชีวิตกะทันหัน
ศาสตราจารย์ของโรงเรียนสาธารณสุขฮาร์วาร์ด แห่งอเมริกากล่าวแจ้งว่า การกินถั่วเล่นๆ
แต่ต้องระวังอย่าให้ถึงกับอ้วนขึ้นนั้น อาจจะเป็นหนทางช่วยป้องกันเสียชีวิตโดยกะทันหันด้วย
โรคหัวใจ ที่นับว่าปลอดภัยและประหยัดอย่างหนึ่ง รายงานการศึกษาซึ่งได้ทำในหมู่วงการแพทย์
ของสหรัฐฯ ได้พบว่า ผู้ที่กินถั่วอาทิตย์ละ 1-2 หน มีโอกาสจะหนีพ้นจากการเสียชีวิตโดยกะทันหัน
จากหัวใจวาย มากกว่าคนที่กินน้อยกว่าหรือไม่ได้กินเลยได้มากถึง 47 % การเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ
อย่างกะทันหันหมายถึงการเสียชีวิตลงในชั่วโมงแรกเมื่อเกิดมีอาการขึ้น นักวิจัยกล่าวว่า คุณประโยชน์
ของถั่ว อาจจะเนื่องมาจากการมีธาตุอาหารอยู่ในตัวอย่างอุดม เช่น วิตามินอี แมกนีเซียม โปแตสเซียม
และไขมันอยู่สูงนอกจากนั้น ถั่งบางชนิดยังมีกรดอัลฟาไลนาเคนิกอันเป็นกรดไขมัน ที่มีสรรพคุณช่วย
ลดอันตรายของการเสียชีวิตเนื่องจากโรคหัวใจโดยกะทันหันของคนไข้โรคหัวใจลงได้
(ไทยรัฐ วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม 2545 หน้า 7)
เหนื่อยกินน้ำเร็วเกินไปถึงตาย เกิดอาการน้ำเป็นพิษถึงสมองบวม
คณะวิจัยแพทย์ทหารของกองทัพบกสหรัฐฯ ได้ศึกษาทบทวนสาเหตุการเสียชีวิตของทหาร-
เกณฑ์ ในระหว่างการฝึกที่แล้วมา พบสาเหตุว่าบางรายเสียชีวิตเนื่องจากด่วนกินน้ำมากเกินไป จน
ร่างกายไม่อาจขับถ่ายน้ำได้ทัน ทำให้มีน้ำไปสะสมอยู่ในท้องเป็นปริมาณมาก และเป็นเหตุให้เกลือ
ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดนดูดไปอยู่รวมกันหมดจนเนื้อเยื่อพากันขาดเกลือพลอยทำให้น้ำในตัว
แปรปรวนมีผลทำให้สมองบวม ไปกดทับกะโหลกศีรษะเข้าจนสมองเสียหาย
(ไทยรัฐ วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม 2545 หน้า 7)
สปส.ดัดหลังรพ.ให้คนไข้ยื่นบัตรหลังรักษา
น.พ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ที่ปรึกษาด้านประสิทธิภาพประกันสังคม สำนักงานประกัน-สังคม(สปส.) กล่าวภายหลังการประชุมปฎิบัติการเรื่องการพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาลโครงการประกันสังคมว่า ขณะนี้ระบบบริการรักษาพยาบาลของระบบประกันสังคมจำเป็นต้องยกเครื่องใหม่โดยเฉพาะบัตรรับรองสิทธิของประกันสังคมที่ทำมา 12 ปีแล้ว แต่ผู้ประกันตนไม่ให้ความเชื่อถือเพราะมักถูกมองว่าเป็นการบริการชั้น2 น.พ.สมเกียรติ กล่าวอีกว่าหลังจากนี้ จะเปลี่ยนระบบการใช้บัตรประกันสังคมเสียใหม่ โดยจะให้ผู้ถือบัตรรับรองสิทธิเข้ารักษาเหมือนผู้ป่วยทั่วไปและแสดงบัตรประกันสังคมต่อเมื่อใช้บริการเสร็จแล้วหรือแสดงบัตรเมื่อรับยา ซึ่งจะช่วยให้ผู้ถือบัตรประกันสังคม
ได้รับบริการเหมือนกับผู้ป่วยทั่วไป และคาดว่าวิธีการนี้คงจะใช้ได้ในปี 2546 ซึ่งจะเป็นการพลิกโฉมระบบการให้บริการประกันสังคมกับผู้ประกันตนครั้งใหม่
(กรุงเทพธุรกิจ วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม 2545 หน้า 21
ขุดทองนอกได้ไม่คุ้มเสียปัญหาสังคมบาน
ศ.ดร.สุภางค์ จันทวานิช ผอ.สถาบันเอเชียศึกษากล่าวถึงโครงการวิจัยชุดเตรียมความพร้อมเพื่อคุ้มครองแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศหลังกลับมาว่า แรงงานไทยหลังจากหมดสัญญาจ้างงานจากการเดินทางไปทำงานต่างประเทศกำลังประสบปัญหาทางสังคม เนื่องจากความเครียด และปัญหาสุขภาพ เช่น การไม่มีงานทำและรายได้ที่เหมาะสมสัมพันธภาพในครอบครัวหย่าร้าง การปฏิสัมพันธ์ระหว่างชุมชนลดลง เป็นต้น ซึ่งการวิจัยสามารถบ่งชี้ถึงสภาพปัญหาและความต้องการของแรงงานไทยภายหลังจากกลับจากต่างประเทศ โดยการส่งข้อมูลแบบสอบถามให้กับแรงงานไทยที่กำลังทำงานในต่างประเทศ จำนวน 478 ชุด เช่น ฮ่องกง 134 ชุด ไต้หวัน 215 ชุด กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย 227 คน เพศหญิง 228 คน สถานภาพสมรส 204 คน เป็นโสดจำนวน 185 คน และอาชีพที่ต้องการกลับมาทำมากที่สุดคือ การค้าขาย โดยต้องการให้รัฐออกใบรับรองประสบการณ์การ
ทำงานต่างประเทศ และต้องการให้รัฐหาตลาดการเกษตรสมัยใหม่ โดยต้องการค่าจ้างเพิ่มขึ้นเมื่อกลับ
มาจากต่างประเทศ 8 พันถึง 1 หมื่นบาทต่อเดือน
(เดลินิวส์ วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม 2545 หน้า 6)
KMUTT
Digital Library
Contact Digital Library : info@lib.kmutt.ac.th
Tel : 0-2470-8215
|
|
|