หัวข้อข่าวปีที่ 3 ฉบับที่ 25 ประจำวันที่ 2002-07-22

ข่าวการศึกษา

เด็กไทยชื่อกระฉ่อนอีกซิวเหรียญทองแรก ‘ฟิสิกส์โอลิมปิก’โลก
แพทย์ศิริราชเปิดมิติใหม่หาวิธีรับรับนักศึกษาสกัดนักท่องจำ
คอมพิวเตอร์เด็กได้ฤกษ์ทดสอบระบบ
เด็กไทยชื่อกระฉ่อนอีกซิวเหรียญทองแรก ‘ฟิสิกส์โอลิมปิก’โลก
‘รถไอที’หอบความรู้สู่ชนบท
6อธิการบดีก้าวขึ้นเป็นซี10
ยกอธิการบดีเทียบอธิบดี
ทบวงของบหนุนงานวิจัยรุ่นใหม่
ลุ้นปรับเอ็นทรานซ์ แก้ นร.ฮิตกวดวิชา
ศธ. เสนอปรับหลักเกณฑ์เงินกู้ยืมเรียน
แฉปธ. สภาอจ. บางม. เบี่ยวมติปอมท.
จี้ ศธ. เสนอกลั่นกรอง 4 ชี้ขาดค่าใช้จ่ายเรียนฟรี 12 ปี
กศน. คว้ารางวัลเกียรติยศยูเนสโก

ข่าววิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี

แมลงเล็กพิชิตโรคร้าย…
พป.สร้างศูนย์วิจัยนิวเคลียร์องครักษ์ปลายปีนี้
อินโดฯหนุนไทยเจ้าภาพจัดตั้งสภาพลังงานเอเชีย
กรมอุตุฯปรับแผนข้อมูลมิติใหม่
ทำไมมือถือต้องมีจาวา
อาร์เอฟไอดี (RFID) ฉลากพูดได้
พบอีกอุกกาบาตใหม่ระทึก
เผยโฉมห้องน้ำอัจฉริยะ
กว่าจะมาเป็นพืช GMOs ต้องผ่านการทดสอบอย่างไรบ้าง…

ข่าววิจัย/พัฒนา

‘วัคซึนเอดส์ระยะ3’ โครงการเพื่อมวลมนุษยชาติ
‘ถ่าน’จากซังข้าวโพดประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้
กระถางรักษาความชื้น
ยุติทดลองฮอร์โมนอันตราย พบสตรีเสี่ยงมะเร็งเต้านม
พัฒนาข้าวหอมมะลิพันธุ์ใหม่สำเร็จ ปลูกในน้ำลึกได้ให้ผลผลิตสูง
ทูลเกล้าฯถวายรางวัลนักวิจัยดีเด่น
เครื่องตัดหญ้าไร้มลพิษ

ข่าวทั่วไป

แพทย์สภาร่วมมือกับมูลนิธิไฟเซอร์เปิดโครงการศึกษาต่อเนื่องแพทย์-เภสัชกร
ประทับใจนอร์เวย์
ออกก.ม.คุ้มหัวคนงานไทยประจำเรือทะเล
นิ่ม’ กำจัดปลวก





ข่าวการศึกษา


เด็กไทยชื่อกระฉ่อนอีกซิวเหรียญทองแรก ‘ฟิสิกส์โอลิมปิก’โลก

ปีนี้ ฟิสิกส์โอลิมปิกวิชาการจัดให้มีการแข่งขันขึ้น ที่ เมืองบาหลีประเทศอินโดนีเซียระหว่างวันที่ 21-31 กรกฎาคม 2545 นับเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง หลังจากรอมานานถึง 13 ปี เมื่อ 1 ใน 5 ผู้แทนประเทศไทยสามารถพิชิตเหรียญทองเหรียญแรก และเป็นเหรียญประวัติศาสตร์มาคล้องคอได้สำเร็จ แถมมาด้วย 1 เหรียญเงิน 1 เหรียญทองแดง และ 1 เกียรติคุณประกาศโดยเหรียญทองได้แก่ วีรพงษ์ ผดุงศักดิ์อนันต์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เหรียญเงิน ได้แก่ ธเนศ พฤทธิวรสิน โรงเรียนเซนต์คาเบรียล และ สินิทธ์ วิธวาศิริโรงเรียนจิตรลดา เหรียญทองแดง ได้แก่ ปวิธ แสงจันทร์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ส่วน เกียรติคุณประกาศได้แก่ มนต์สิทธิ์ ธนสิทธิโกศล โรงเรียนวัดสุทธิวราราม (สยามรัฐ อังคารที่ 30 กรกฎาคม 2545 หน้า 4)





แพทย์ศิริราชเปิดมิติใหม่หาวิธีรับรับนักศึกษาสกัดนักท่องจำ

ศ.คลีนิก น.พ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร คณะบดีคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยา ลัยมหิดล เปิดเผยว่า ปัจจุบันการคัดเลือกนักศึกษาส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญต่อคะแนนสอบเนื้อหาวิชาต่างๆ โดยใช้ข้อสอบแบบปรนัยที่เน้นการท่องจำจึงส่งผลให้การสอนในโรงเรียนเน้นให้นักเรียนจำเนื้อหาให้ได้มากที่สุด จนละเลยการพัฒนาความสามารถและทักษะสำคัญอื่นๆ เช่น การฟัง การอ่าน หรือ การคิดวิเคราะห์ ทั้งที่ทักษะเหล่านั้นเป็นทักษะที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ในระยะยาวหรือตลอดชีวิต และยังเป็นคุณสมบัติที่สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาอีกด้วย มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้อนุมัติให้คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการรับนักศึกษาแพทย์ทั้งหมดใหม่ด้วยวิธีการจัดสอบพิเศษ โดยเน้นทักษะมากขึ้น ซึ่งข้อสอบจะเป็นปรนัยควบคู่ไปกับ อัตนัยเพื่อวัดทักษะการเรียนด้านการฟัง อ่าน จับใจความสำคัญ การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ เป็นต้นการคัดเลื่อกแบบใหม่นี้จะเริ่มใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 นอกจากนี้ทางมหาวิทยาลัยยังมีนโยบายขยายการคัดเลือกด้วยแนวทางดังกล่าวให้ครอบคลุมคณะวิชาและสาขาวิชาอื่นๆ อีกด้วย ซึ่งผู้สนใจดูรายละเอียดได้ที่ www.si.mahidol.ac.th/entrance หรือโทร.0-2412-8674 คณะบดีแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าว. (เดลินิวส์ อังคารที่ 30 กรกฎาคม 2545 หน้า 14)





คอมพิวเตอร์เด็กได้ฤกษ์ทดสอบระบบ

นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รองปลัด กทม.เปิดเผยว่า กทม.ได้ฤกษ์กำหนดวันทดสอบเครื่องสำรองไฟ โครงการคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา 7-8 สิงหาคมนี้ ถ้าผ่านทดสอบประสิทธิภาพเครื่องติดต่อกัน 7 วัน วันที่ 16-24 สิงหาคม กำหนดเปิดซอง 27 ส.ค. โดย กทม.ได้แจ้งไปยังภาควิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อขอความร่วมมือให้เป็นผู้ตรวจสอบคุณสมบัติเครื่องสำรองไฟ (เดลินิวส์ พุธที่ 30 กรกฎาคม 2545 หน้า 34)





เด็กไทยชื่อกระฉ่อนอีกซิวเหรียญทองแรก ‘ฟิสิกส์โอลิมปิก’โลก

ปีนี้ ฟิสิกส์โอลิมปิกวิชาการจัดให้มีการแข่งขันขึ้น ที่ เมืองบาหลีประเทศอินโดนีเซียระหว่างวันที่ 21-31 กรกฎาคม 2545 นับเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง หลังจากรอมานานถึง 13 ปี เมื่อ 1 ใน 5 ผู้แทนประเทศไทยสามารถพิชิตเหรียญทองเหรียญแรก และเป็นเหรียญประวัติศาสตร์มาคล้องคอได้สำเร็จ แถมมาด้วย 1 เหรียญเงิน 1 เหรียญทองแดง และ 1 เกียรติคุณประกาศโดยเหรียญทองได้แก่ วีรพงษ์ ผดุงศักดิ์อนันต์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เหรียญเงิน ได้แก่ ธเนศ พฤทธิวรสิน โรงเรียนเซนต์คาเบรียล และ สินิทธ์ วิธวาศิริโรงเรียนจิตรลดา เหรียญทองแดง ได้แก่ ปวิธ แสงจันทร์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ส่วน เกียรติคุณประกาศได้แก่ มนต์สิทธิ์ ธนสิทธิโกศล โรงเรียนวัดสุทธิวราราม (สยามรัฐ อังคารที่ 30 กรกฎาคม 2545 หน้า 4)





‘รถไอที’หอบความรู้สู่ชนบท

ห้องเรียนเคลื่อนที่ผ่านดาวเทียมนำความรู้สู่ชนบทคันแรกของไทยเกิดแล้ว พร้อมจะตระเวนไปในทุกพื้นที่ไม่หวั่นความกันดาร ทั้งยังให้ภาพคมชัดทุกสถานการณ์ ฝีมือคนไทยล้วนๆ ม.รามฯ นายสุชาติ กิจธนะเสรี ผู้อำนวยการสถาบันคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เปิดเผยว่า รถห้องเรียนเคลื่อนที่ หรือไอที โมบาย สามารถรับ-ส่งภาพได้จากทุกพื้นที่ของประเทศไทย ไม่หวั่นต่อความทุรกันดาร หรือสภาพดินฟ้าอากาศที่แปรปรวนเนื่องจากทำการรับ-ส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมไทยคมในย่านความถี่ C-Band ทริปแรกของรถไอทีจะเริ่มต้นที่ จ.กระบี่ ในงานมหกรรมเอกลักษณ์ไทยเมืองกระบี่ วันที่ 7-9 ส.ค. นี้ พร้อมด้วยความรู้เบื้องต้นในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต งานนี้ ผอ.สุชาติ บอกพี่น้องชาวกระบี่จ่อคิวเข้าเรียนแล้วราว 2,000 คน หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด หรือสถาบันการศึกษาใดสนใจสามารถติดต่อเพื่อยื่นขอมาได้ที่ ม.รามคำแหง โทร.0-2310-8800 (เดลินิวส์ อังคารที่ 30 กรกฎาคม 2545 หน้า 16)





6อธิการบดีก้าวขึ้นเป็นซี10

นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รมว.ทบวงมหาวิทยาลัย เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย (ก.ม.) เมื่อวันที่ 29 ก.ค.ว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้อธิการบดีที่มีตำแหน่งทางวิชาการระดับรองศาสตราจารย์ (รศ.) และมีเงินเดือนระดับ 9 ถึงขั้นต่อระดับ 10 แล้วให้สามารถเลื่อนเป็นระดับ 10 ได้ทันที ทั้งนี้เพราะตำแหน่งอธิการบดีเป็นตำแหน่งบริหารที่สำคัญมีความเสียสละอย่างมาก และมีความรับผิดชอบต่องานในการดูแลพัฒนาคนและมหาวิทยาลัย ที่ประชุมยังเห็นชอบโครงการทุนพัฒนาศักยภาพในการวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ จำนวน 3,000 คนในระยะ 10 ปีตั้งแต่ปี 2547-2557 ในวงเงิน 1,575 ล้านบาท เนื่องจากเห็นว่าผลงานวิจัยในระดับอุดมศึกษาของไทยมีน้อยมาก และในระยะ 5 ปี จะมีอาจารย์เกษียณทั้งหมด 2,981 คน ซึ่งเป็นอาจารย์ปริญญาเอกถึง 767 คน ส่วนศาสตราจารย์ (ศ.) ที่ปัจจุบันมีอยู่ 296 คน ก็จะเกษียณถึง 108 คน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพการเรียนการสอน ดังนั้นในปีแรกว่าจะเสนอของบฯ 157.5 ล้านบาทจัดสรรให้นักวิจัยรุ่นแรกจำนวน 300 ทุน ๆ ละประมาณ 5 แสนบาท โดยจะจัดสรรให้ทั้งมหาวิทยาลัยรัฐ เอกชน สถาบันราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และนักวิจัยในทุกสาขาวิชาระดับปริญญาเอก เพื่อยกระบบงานวิจัยของชาติให้มีศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศซึ่งโครงการนี้จะเสนอต่อครม.ต่อไป (เดลินิวส์ อังคารที่ 30 กรกฎาคม 2545 หน้า 14)





ยกอธิการบดีเทียบอธิบดี

นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย(ก.ม.) โดยมีนายปองพล อดิเรกสาร รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานว่า ที่ประชุมได้พิจารณาถึงเรื่องที่ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยเสนอขอให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยพิจารณาเลื่อนระดับตำแหน่งของอธิการบดีเฉพาะผู้ที่ดำรงตำแหน่งรองศาสราจารย์ ระดับบ9 ซึ่งได้รับเงินเดือนเต็มขั้น โดยให้เลื่อนขั้นขึ้นเป็นระดับ 10 ทั้งนี้ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบเนื่องจากพิจารณาแล้วเห็นว่า ตำแหน่งอธิการบดีนั้นเทียบได้กับหัวหน้าส่วนราชการคืออธิบดี ซึ่งมีภารกิจด้านการบริหารทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยพิจารณาเห็นว่า ข้อเสนอดังกล่าวไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงหลักการแต่อย่างได แต่จะต้องมีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งและให้นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยอีกครั้ง (สยามรัฐ อังคารที่ 30 กรกฎาคม 2545 หน้า 7)





ทบวงของบหนุนงานวิจัยรุ่นใหม่

นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รมว.ทบวงมหาวิทยาลัย กล่าวในพิธีเปิดการสัมมนาเรื่องความเป็นสากลของการอุดมศึกษาไทย สู่ความเป็นศูนย์กลางการศึกษานานาชาติว่า ความเป็นสากลและมาตรฐานด้านการอุดมศึกษานั้นเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ซึ่งไทยสามารถจะพัฒนาสู่ความเป็นสากลได้ โดยการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนด้วยการนำเทคโนโลยีสื่อสารเพื่อการศึกษา(ICT) มาใช้ ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพอาจารย์ และการวิจัยต่างๆ ยังกล่าวถึงผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย(ก.ม.) ซึ่งมีมติเห็นชอบโครงการทุนพัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่โดยจะเสนอขออนุมัติเงินงบประมาณเพื่อดำเนินงานโครงการประมาณ 1,575 ล้านบาท เพื่อจัดสรรทุนให้แก่อาจารย์รุ่นใหม่จำนวน 3,000 ทุน ในระยะ 10 ปี (2547-2556) โดยจะกำหนดหลักเกณฑ์อีกครั้งเมื่อผ่านมติคณะรัฐมนตรีแล้ว (สยามรัฐ พุธที่ 30 กรกฎาคม 2545 หน้า 7)





ลุ้นปรับเอ็นทรานซ์ แก้ นร.ฮิตกวดวิชา

ดร.สิริกร มณีรินทร์ รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า การเรียนกวดวิชากลายเป็นค่านิยม ทำให้เด็กจำนวน มากเห็นเป็นความจำเป็น แม้ต้องจ่ายค่าเล่าเรียนมากก็ยอม ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากความมุ่งหวังที่จะเอ็นทรานซ์ เข้ามหาวิทยาลัย และคิดว่าการเรียนในห้องเรียนอย่างเดียวคงไม่พอ ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการพยายาม ที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องกวดวิชาส่วนหนึ่งคงต้องทำความเข้าใจกับผู้ปกครองว่าการเรียนกวดวิชาไม่ใช่ความจำเป็น ขณะเดียวกันคงต้องแก้ที่ระบบเอ็นทรานซ์ด้วย โดยเฉพาะข้อสอบ เพราะถ้าตราบใดที่ข้อสอบวัดความรู้ยังเน้น ที่เรื่องวิชาการอย่างเดียว ผู้ปกครองและเด็กคงต้องหันหน้าเข้าพึ่งระบบกวดวิชา นอกจากนี้ต้องมีการสำรวจ คุณภาพของครูว่ามีการเตรียมแผนการสอนหรือไม่ เพื่อเป็นการติดตามคุณภาพ ส่วนการจัดให้เด็กเรียนกวดวิชาในโรงเรียนก็เป็นแนวทางหนึ่งที่หลายโรงเรียนพยายามช่วยเหลือผู้ปกครองในภาวะเศรษฐกิจไม่ค่อยดี ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของโรงเรียนที่จะจัด รวมถึงเด็กและผู้ปกครองว่าจะเรียนหรือไม่ ไม่มีใครบังคับ (ไทยรัฐ วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม 2545 หน้า 15)





ศธ. เสนอปรับหลักเกณฑ์เงินกู้ยืมเรียน

นายอภิชาติ จีระวุฒิ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการ บัญชีจ่ายที่หนึ่ง กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีนักเรียน นักศึกษาจำนวนมากได้สอบถามเกี่ยว กับกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาว่าเหตุใดปีนี้ ศธ.จึงจัดสรรเงินลดลงทั้งที่เด็กมีความต้องการมาก สาเหตุที่ ปีนี้จัดเงินให้กู้ลดลง เพราะผู้กู้รุ่นแรกไม่มาชำระเงินคืน รัฐไม่มีเงินหมุนเวียนไปให้เด็กรุ่นหลังได้กู้ อาจเป็น เพราะจบไปแล้วไม่มีงานทำ กลุ่มที่สองมีงานทำแล้วมีรายได้ไม่พอส่ง และกลุ่มสุดท้าย ได้ทำงานมีเงินพอที่จะ ชำระแต่ไม่ยอมส่ง ซึ่งเด็กในแต่ละกลุ่มมีสภาพปัญหาที่ต่างกัน ดังนั้นจึงต้องหาทางแก้ปัญหาแต่ละกลุ่มเป็น การเฉพาะ (ไทยรัฐ วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม 2545 หน้า 15)





แฉปธ. สภาอจ. บางม. เบี่ยวมติปอมท.

น.พ.พิศิษฐ์ โจทย์กิ่ง ประธานสภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) และผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์นโยบาย และแผนของที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ (ปอมท.) เปิดเผยว่า การประชุมปอมท. ระหว่างวันที่ 20-21 กรกฎาคม ที่วิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา ศูนย์พัทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้หารือเรื่องการจัดประชุมสัมมนาวิชาการเรื่องสถาบันอุดมศึกษา: รูปแบบที่พึงประสงค์เพื่อแก้วิกฤตชาติ ใน วันที่ 31 กรกฎาคม ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี รับจะเป็นประธานใน พิธี โดยวันดังกล่าว ปอมท. จะเสนอผลการวิจัยครั้งล่าสุดเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลที่ได้สำรวจความคิด- เห็นของนิสิต นักศึกษากว่า 2,000 คน ผู้ปกครอง นักเรียนมัธยมศึกษา และประชาชนทั่วไป รวม 4,000 กว่าคนพบ ไม่ถึง 20% รู้เรื่องมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลจริง ไม่รู้รูปแบบ แนวคิด และผลกระทบ 90% อยากมีส่วนร่วมและ80% อยากมีส่วนร่วมในการลงมติ นอกจากนี้ จะเสนอผลงานวิจัยเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2544 ที่สำรวจประชากรในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ 10,000 กว่าคน ซึ่งกว่า 80% อยากให้บุคลากรมีสถานภาพเป็น “ข้าราชการมหาวิทยาลัย” แทน“พนักงานมหาวิทยาลัย” (มติชนรายวัน วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม 2545 หน้า 20)





จี้ ศธ. เสนอกลั่นกรอง 4 ชี้ขาดค่าใช้จ่ายเรียนฟรี 12 ปี

นายปองพล อดิเรกสาร รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (กกศ.) ว่า ตนได้เร่งรัดให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นำแผนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี เสนอต่อที่ ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอ ครม. คณะที่ 4 โดยเร็ว ซึ่งล่าช้าเนื่องจากอยู่ในระหว่างรอฟัง ความเห็นจากหน่วยงานต่างๆ ตนจึงนำเรื่องเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองฯทันที หากหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องมีความเห็นอย่างไรก็ให้เสนอในที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองฯ เพราะเรื่องนี้มีความสำคัญต่อ การตัดสินใจเรื่องค่าใช้จ่ายและยังต้องมีการตีความกันให้รอบคอบ โดยเฉพาะการให้เงินอุดหนุนสถานศึกษา เอกชน เพราะมีผู้ค้านว่า การศึกษาของเอกชนไม่ใช่ของรัฐ ดังนั้น จึงต้องดูว่าถ้าให้การอุดหนุนเอกชนอย่างไร ซึ่งในเบื้องต้น ศธ.ได้เสนอทางเลือกการให้เงินอุดหนุนเอกชนมา 4 ทางเลือก และทุกทางเลือกก็ใช้เงินเพิ่ม ขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งคณะกรรมการกลั่นกรองฯจะพิจารณาให้เหลือทางเลือกเดียวเพื่อเสนอ ครม. (ไทยรัฐ วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม 2545 หน้า 15)





กศน. คว้ารางวัลเกียรติยศยูเนสโก

ดร.อาทร จันทวิมล อธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) เปิดเผยว่า เนื่องในโอกาสการเฉลิมฉลองวันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือขององค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ในวันที่ 8 กันยายน ของทุกปี ซึ่งทางยูเนสโกจะทำการมอบรางวัลให้แก่โครงการต่างๆ ของประเทศสมาชิกที่สนับสนุนงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตลอดชีวิต โดยเน้นงานที่ไม่ได้อยู่ในระบบโรงเรียน และมีผลงานที่เด่นชัดด้วยวิธีการที่แปลกใหม่ในการแก้ไขปัญหาการรู้หนังสือ ซึ่งในปี 2545 นี้ “โครงการ กศน.หลังช้าง” ของกรมการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ได้เป็นหนึ่งในโครงการที่ได้รับรางวัลเกียรติยศด้านการรู้หนังสือ Noma Prize เพราะถือว่าเป็นโครงการแปลกใหม่ที่ทำงานในพื้นที่ห่างไกลของประเทศ การคมนาคมไม่สะดวกโดยต้องใช้ช้างเป็นพาหนะในการขนส่งอุปกรณ์การเรียนการสอนเข้าไปและยังเป็นการทำงานร่วมกับชุมชนในการสอนผู้ไม่รู้หนังสืออีกด้วย (เดลินิวส์ วันพุธที่ 24 กรกฎาคม 2545 หน้า 11)





ข่าววิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี


แมลงเล็กพิชิตโรคร้าย…

Entocosm Pty Ltd ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในออสเตรเลียที่ทำการวิจัยค้นคว้ายารักษาโรคได้เริ่มต้นโครงการที่จะวิจัยยารักษาโรคจากแมลงกันอย่างจริงจัง โดยที่นักวิทยาศาสตร์ส่วนหนึ่งก็เคยทำงานให้กับสถาบัน CSIRO (Cmmonwealth Scientific & Industrial Research Organization) มาก่อน แมลงเกือบแสนสปีชีส์ในออสเตรเลียทวีปที่เต็มไปด้วยความหลากหลายและความมีเอกลักษณ์ทางชีวภาพจึงเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญสำหรับยารักษาโรคชนิดใหม่ที่เพียงแต่รอที่จะดึงศักยภาพที่มีอยู่มาใช้ให้ได้อย่างเต็มที่เพียงเท่านั้น เราสามารถพบสารประกอบหลายชนิดที่คุณสมบัติที่น่าสนใจบางชนิดก็เป็นโมเลกุลที่มีความสามารถในการฆ่าเซลล์มะเร็งได้ (เมื่อทำการทดลองในห้องปฏิบัติการ)โปรตีนบางชนิดจากแมลงก็สามารถยับยั้งการแข็งตัวของเลือดได้และบางชนิดก็สามารถเรืองแสงในที่มืดและป้องกันพิษจากแบคทีเรียบางชนิด (เดลินิวส์ พุธที่ 31 กรกฎาคม 2545 หน้า 16)





พป.สร้างศูนย์วิจัยนิวเคลียร์องครักษ์ปลายปีนี้

นายเกรียงกร เพชรบุตร เลขาธิการสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (พป.) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการก่อสร้างศูนย์วิจัยนิวเคลียร์องครักษ์ จังหวัดนครนายกว่า ขณะนี้กำลังรอการอนุญาตก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ จากคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ โดยอยู่ในการพิจารณาของคณะอนุกรรมการพิจารณาความปลอดภัยโรงงานนิวเคลียร์ ซึ่งตลอด 4 - 5 เดือนที่ผ่าน มีการประชุมของคณะอนุกรรมการกว่า10 ครั้ง และมีการเชิญคณะของบริษัท เจนเนอรอล อะตอมมิก บริษัทที่รับเหมาก่อสร้างเครื่องปฎิกรณ์มาชี้แจงข้อสงสัย คากว่าคณะอนุกรรมการฯจะใช้เวลาประชุมอีก 1-2 ครั้ง เพื่อพิจารณารายงานความปลอดภัยเบื้องต้นแล้วจะสรุปอนุญาตให้ก่อสร้างเครื่องปฎิกรณ์นิวเคลียร์ คาดว่าภายในปลายปีนี้จะสามารถเริ่มดำเนินการก่อสร้างเครื่องปฎิกรณ์นิวเคลียร์ได้ (กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม 2545 หน้า 9 )





อินโดฯหนุนไทยเจ้าภาพจัดตั้งสภาพลังงานเอเชีย

นายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธานกรรมาธิการการพลังงานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธาน มูลนิธิสถาบันพลังงานทดแทนแห่งประเทศไทย กล่าวภายหลังจากที่ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับ ดร.อาร์สชิต มูเลีย ผู้ก่อตั้งองค์กรส่งเสริมพลังงานสะอาดแห่งอินโดนีเซีย ว่าเป็นการลงนามเพื่อร่วมมือใน การสนับสนุนและส่งเสริมการใช้พลังงานและชีวภาพแห่งเอเชียและแปซิฟิก เพื่อขยายความร่วมมือให้ กว้างขึ้น และอินโดฯพร้อมที่จะสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมว่าด้วยการพัฒนา พลังงานทดแทนในภูมิภาคเอเชีย- แปซิฟิก เพื่อก่อตั้งสภาพลังงานด้วย (สยามรัฐ วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม 2545 หน้า 3)





กรมอุตุฯปรับแผนข้อมูลมิติใหม่

นายประพันธ์ศักดิ์ บูรณะประภา อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยถึงการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับ แผนการดำเนินงานของกรมอุตุนิยมวิทยา หลังจากที่แยกตัวไปอยู่ในสังกัดกระทรวงเทคโนโลยีและสารสน- เทศ หรือกระทรวงไอทีว่า ตามแผนการแบ่งกระทรวงในเบื้องต้นทราบว่ากระทรวงไอทีอาจจะมีโครงสร้าง ของกรมอยู่เพียงกรมเดียวคือ กรมอุตุนิยมวิทยา และมีแนวโน้มว่ากระทรวงไอทีอาจจะต้องใช้ตึกของกรม อุตุนิยมวิทยาบางนา เนื่องจากมีความพร้อมในเรื่องเครื่องไม้เครื่องมือหลายอย่าง การจัดทำแผนของกรม อุตุนิยมวิทยาใหม่หลายอย่าง โดยเฉพาะในเรื่องการพยากรณ์อากาศจะต้องมีการเน้นหนักในเรื่องการเพิ่ม ความถี่ในการออกอากาศและเผยแพร่ข่าวสารมากขึ้น โดยจะมีการกำหนดพื้นที่การพยากรณ์อากาศใหม่ ที่ จากเดิมจะพยากรณ์อากาศเป็นแต่ละภาค แต่ต่อไปจะมีการแยกรายละเอียดลึกลงไปอีก (สยามรัฐ วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม 2545 หน้า 9)





ทำไมมือถือต้องมีจาวา

ปัจจุบันภาษาจาวาได้เข้าไปมีบทบาทในการเขียนโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้ามากขึ้น รวมถึงการนำมาใช้กับอุปกรณ์ไร้สาย อย่างเช่น มือถือที่ค่ายผู้ผลิตต้องเร่งแข่งขันออกผลิตภัณฑ์และสร้างแอพลิเคชั่นใหม่ๆ ออกมาให้บริการ และในปัจจุบันมีผู้ผลิตแอพลิเคชั่นกว่า 2 ล้านคนทั่วโลก ที่กำลังคิดค้นแอพลิเคชั่นจาวาสำหรับมือถือเพื่อให้โทรศัพท์มือถือไม่เป็นเพียงอุปกรณ์ ในการพูดคุยหรือสื่อสารด้วยเสียงเท่านั้น แต่ได้ขยายการใช้งานไปสู่การเป็นสื่อมัลติมีเดีย ห้ความบันเทิงและเก็บข้อมูลส่วนบุคคลได้อีกด้วย จุดเด่นของจาวา นอกจากทำให้เข้าถึงแอพลิเคชั่นที่สนุกสนานมากขึ้น เพราะแอพลิเคชั่นสนุกๆ ที่เขียนด้วยเทคโนโลยีจาวาจะมีรูปภาพกราฟิกที่ละเอียดและสามารถที่จะโต้ตอบได้อย่างรวดเร็วขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การดาวน์โหลดแผนที่ การประมูลตั๋วแบบอินเทอร์แอคทีฟ เล่นกมส์ออนไลน์แล้วยังทำงานได้แม้ไม่มีคลื่นสัญญาณหรือไม่ได้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และมีความปลอดภัยสูงอีกด้วย (เดลินิวส์ วันพุธที่ 24 กรกฎาคม 2545 หน้า 12)





อาร์เอฟไอดี (RFID) ฉลากพูดได้

เทคโนโลยีใหม่ในวงการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จากนิตยสารฟอร์จูน (Fortune) ซึ่งมีฉลาก (Label) สำหรับติดสินค้าหรือวัตถุหรืออะไรก็ได้ ทำให้สามารถรู้ได้ตลอดกาลว่าขณะนี้สินค้านั้นอยู่ที่ไหน จำนวน เท่าไรโดยไม่ต้องใช้เครื่องสแกนหรือใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ดไปส่องแสง ขณะนี้เนื่องจากเทคโนโลยีทางด้าน ไร้สาย (wireless) และระบบอินเทอร์เน็ตร่วมกัน เขาสามารถที่จะใช้แถบที่เรียกว่า อาร์เอฟไอดี (RFID Radio Frequency Identifition Device) เพื่อติดกับสินค้าหรือวัตถุอะไรก็ตามก็สามารถทำการส่งสัญญาณ บันทึก และส่งข้อมูลเกี่ยวกับตัวเองไปยังผู้ควบคุมดูแลได้ โดยใช้สัญญาณคลื่นวิทยุที่ติดไปด้วย ขณะนี้โครงการวิจัย ของ RFID ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทขนาดยักษ์กว่า 50 บริษัท ถ้าหารสำเร็จใน 2-3 ปีข้างหน้า ระบบการ ขนส่ง การจำหน่าย การจัดระบบสินค้าจะก้าวไปสู่อีกยุคหนึ่งกันเลย (เดลินิวส์ วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2545 หน้า 12)





พบอีกอุกกาบาตใหม่ระทึก

นักดาราศาสตร์เผยเจออุกกาบาตลูกใหม่ซึ่งอาจพุ่งเข้าชนโลกได้อีกสิบปีข้างหน้า โดยอุกกาบาต ซึ่งถูกตั้งชื่อว่า “2002 เอ็นที7” มีขนาดใหญ่ราว 2 กิโลเมตร ซึ่งประเมินว่าอาจมีวิถีพุ่งชนโลก ถูกพบตั้งแต่ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม จากโครงการวิจัยอุกกาบาตใกล้โลกเมืองลินคอล์น ในรัฐนิวเม็กซิโก ของสหรัฐและ นักวิทยาศาสตร์กำลังจับตาตรวจสอบอย่างใกล้ชิดโดยนาซาวิเคราะห์ว่า อุกกาบาตนี้อาจผ่านเข้ายังวิถีวง โคจรของโลกได้และพุ่งชนโลกในปี 2019 ทว่านักดาราศาสตร์ยังชี้ว่าการวิเคราะห์ดังกล่าวยังเป็นการ ประเมินการณ์ล่วงหน้าและยังถือว่ามีภัยคุกคามน้อยมาก และยังต้อมมีการตรวจสอบความเคลื่อนไหวของ อุกกาบาตนี้ต่อไปอีกหลายเดือน (สยามรัฐ วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2545 หน้า 15)





เผยโฉมห้องน้ำอัจฉริยะ

www.t3.co.uk รายงานว่า บริษัทมัตซูซิตะ ได้พัฒนาห้องน้ำที่สามารถใช้งานได้เหนือชั้นกว่าห้องน้ำปกติ ธรรมดาทั่วไป ชื่อว่า Hi-Ho Diet Navigator โดยติดตั้งระบบประมวลผลที่ทรงพลังไว้ที่โถส้วม ระบบชักโครก ตั้งแต่การวัดน้ำหนักตัว คำนวณปริมาณไขมันในร่างกาย ตรวจน้ำตาลในปัสสาวะ และการวิเคราะห์อุจจาระ ทั้ง มีคำแนะนำในการดูแลสุขภาพหลังจากประมวลผลเรียบร้อย(เดลินิวส์ วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม 2545 หน้า 16)





กว่าจะมาเป็นพืช GMOs ต้องผ่านการทดสอบอย่างไรบ้าง…

ดร.ศิรศักดิ์ เทพาคำ นักวิชาการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ได้กล่าวถึง กระบวนการทดสอบ เพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพของพืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรมว่า จะต้อง ผ่านขั้นตอน 3 ขั้นตอน คือ 1. ฤดูปลูกว่าจะไม่มีผลในทางลบต่อทรัพยากรชีวภาพมนุษย์สัตว์และสิ่งแวด- ล้อม 2 . การศึกษาในแปลงทดลอง ใช้เวลาอย่างน้อย 3 เดือน และ 3. การศึกษาทดลองในสภาพไร่ โดยนำ พืช GMOs ที่ผ่านจากขั้นที่ 1 และ2 ไปจำหน่ายจ่ายแจก เพื่อให้ทดลองในสภาพไร่ ใช้เวลาอย่างน้อย 3 เดือนและดำเนินการไม่น้อยกว่า 2 ท้องที่ ทั้งนี้เป็นการทดสอบเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) ของพืช ในธรรมชาติสิ่งมีชีวิตมีการแลกเปลี่ยนยีนกันในสายพันธุ์เป็นปกติอยู่แล้ว แต่ไม่ได้ข้ามสายพันธุ์ และจากการทดลองที่ผ่านมาโดยองค์การอาหารและยา (อย.) ในหลายประเทศพบว่าไม่มีสารพิษ และมี ความปลอดภัยต่อผู้บริโภค (เดลินิวส์ วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม 2545 หน้า 24)





ข่าววิจัย/พัฒนา


‘วัคซึนเอดส์ระยะ3’ โครงการเพื่อมวลมนุษยชาติ

ความพยายามในการค้นคิดศึกษาวัคซีนเอดส์ ทดลองของโครงการศึกษาวัคซีนเอดส์ทดลองระยะที่ 3 กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุขกำลังกลายเป็นความหวังของผู้ป่วยโรคเอดส์ในประเทศไทย โดยเฉพาะระยะนี้มีการออกข่าวเป็นระยะๆ ถึงความสำเร็จภายใต้การควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดของกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ศุภชัย ฤกษ์งาม ผู้อำนวยการโครงการฯกล่าว “นับว่าเป็นโครงการศึกษา วัคซีนเอดส์ทดลองที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา และรู้สึกภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่โครงการนี้จะดำเนินการขึ้นในประเทศไทย เรามีการเตรียมความพร้อมรวมเป็นระยะเวลาเกือบ 10 ปี โดยได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากนักวิชาการด้านสาธารณสุขของไทย รัฐบาลไทย โครงการวิจัยเอชไอวีแห่งกองทัพสหรัฐอเมริกาและบริษัทผู้ผลิตวัคซีนเอดส์ ซึ่งวัคซีนเอดส์ทดลองทั้งสองชนิดที่นำมาใช้ในการทดสอบครั้งนี้ได้ผ่านการทดสอบอย่างละเอียดและรอบคอบในหลายประเทศทั่วโลกและได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีความปลอดภัยอย่างยิ่งโดยวัคซีนเอดส์ทดลองทั้งสองสองชนิดสังเคราะห์มาจากกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์ เพื่อช่วยป้องกันอาสาสมัครจากการติดเชื้อเอชไอวี จากการติดเชื้อเอชไอวีที่พบมากที่สุดในประเทศไทยและประชาชนชาวไทยโดยตรง (สยามรัฐ อังคารที่ 30 กรกฎาคม 2545 หน้า 23)





‘ถ่าน’จากซังข้าวโพดประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้

นายเอกชัย ไชยสาร ชาวบ้าน อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา เป็นผู้หนึ่งที่ผลิต “ถ่านเศรษฐกิจ” จากวัสดุเหลือใช้ออกจำหน่าย และขายดีเสียด้วย เนื่องจากถ่านของเขามีคุณภาพดีกว่าถ่านไม้ธรรมดา ติดไฟทนนานให้ความร้อนคงที่สม่ำเสมอเป็นเวลานานโดยเฉพาะใช้กับการปิ้งย่างได้ดี ได้รับคำแนะนำจาก “อาจารย์ณัฐวุฒิ บุญเรียบ” แห่งสถาบันวิจัยแห่งชาติ เครื่องนี้จึงใช้เวลาในการประดิษฐ์ 1 ปี และได้ใช้มาจนถึงปัจจุบัน สนใจเรื่องการผลิตถ่านเศรษฐกิจ ติดต่อเอกชัย ไชยสาร ได้ที่บ้านเลขที่34 หมู่ 5 บ้านสันป่าหนาด ต.ดอกคำใต้ อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา 56120 โทร.0-9853-406,0-5440-1088. (เดลินิวส์ อาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม 2545 หน้า 24)





กระถางรักษาความชื้น

เมธี จันทร์ส่งเสริม ผู้ประดิษฐ์กระถางรักษาความชื้นคงที่เป็นผลงานชิ้นที่ 4 ที่ได้รับสิทธิบัตร เมธี บอกว่า กระถางนี้จะใช้แผ่นตระแกรงแบ่งกระถางออกเป็น 2 ส่วน วางทแยงมุม ด้านบนขวาใส่ดินและต้นไม้ ส่วนด้านล่างซ้ายจะว่างไว้ เป็นโพรงอากาศ (เดลินิวส์ อาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม 2545 หน้า 24)





ยุติทดลองฮอร์โมนอันตราย พบสตรีเสี่ยงมะเร็งเต้านม

สถาบันหัวใจปอดและเลือดแห่งชาติ สถาบันสาธารณสุขแห่งชาติ ได้ยุติการทดลองใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนร่วมกับโปรเจสตินในกลุ่มสตรีวัยหมดประจำเดือนเนื่องจากพบว่ามีผลกระทบก่อให้เกิดมะเร็งเต้านม มีรายงานพบว่าคนไข้ที่รับฮอร์โมนดังกล่าวมีอาการหลอดเลือดแดงตีบตัน หัวใจวายและโรคหลอดเลือดในปอดเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียงกับสตรีที่รับประทานยาหลอด แต่กระนั้นการรับฮอร์โมนเอสโตรเจนร่วมกับโปรเจสตินก็ยังมีประโยชน์ต่อการลดอุบัติการโรคกระดูกสะโพกหัก ร่วมทั้งลดอุบัติการต่อการเกิดมะเร็งในลำไส้ใหญ่ อย่างไรก็ตามการรับฮอร์โมนดังกล่าวให้ความเสี่ยงต่อโรคดังกล่าวมากกว่าผลดีที่ได้รับ จึงทำให้การวิจัยที่มีกำหนดการทดลองไปจนถึงปี 2005 ต้อง ยุติลงหลังจากที่ทำการทดลองติดตามผลมานานกว่า 5 ปี (สยามรัฐ วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2545 หน้า 23)





พัฒนาข้าวหอมมะลิพันธุ์ใหม่สำเร็จ ปลูกในน้ำลึกได้ให้ผลผลิตสูง

นายสุเทพ ลิ้มทองกุล รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ขณะนี้ศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ คือ สายพันธุ์ PCR 89151-27-9 ซึ่งเป็นข้าวหอมน้ำลึกสาย พันธุ์ดีเด่น ที่มีความหอม เมล็ดใสสวย หุงขึ้นหม้อคล้ายกับข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 แต่ให้ผลผลิตสูงถึง 520 กก./ไร่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการปลูกประเมินผลการยอมรับของเกษตรกร จำนวน 20 แปลงในพื้นที่จังหวัดนครนายกและปราจีนบุรี คาดว่าจะเสนอขอเป็นพันธุ์รับรองจากกรมวิชาการเกษตรและนำเมล็ดพันธุ์เผยแพรีให้เกษตรกรปลูกได้ภายในต้นปี 2546 แน่นอน (เดลินิวส์ วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2545 หน้า 22)





ทูลเกล้าฯถวายรางวัลนักวิจัยดีเด่น

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาจิ นำโดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะ ประธานสภาวิจัยแห่งชาติจะนำคณะเจ้าหน้าที่สภาวิจัยแห่งชาติเข้าเฝ้าฯสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2544 อันประกอบด้วยเหรียญทองคำน้ำหนัก 4 บาท พร้อมเงินรางวัลจำนวน 500,000 บาท ในวันที่ 11 กันยายน 2545 เวลา 09.00 น. ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา เนื่องจากพิจารณาเห็นว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระวิริยะอุตสาหะบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนา- นัปการ เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่พสกนิกรตลอดมา ทรงพระปรีชาสามารถยอดยิ่งในด้านการวิจัยเป็นอย่างมาก ผลงานวิจัยของพระองค์ เรื่องการศึกษาความถูกต้องของแผ่นที่การใช้ที่ดินจากภาพถ่ายดาวเทียมรายละเอียดสูงจำแนกโดยคอมพิวเตอร์ ที่บริเวณจังหวัดนราธิวาส ยังได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่นในกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ประจำปีพุทธศักราช 2533 จากสภาวิจัยด้วย นอกจากนี้ยังทรงมีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่องและหลากหลายสาขาทั้งสาขาปรัชญา สาขาสังคมวิทยา สาขาการศึกษาสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา สาขานิติศาสตร์ สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สาขาเศรษศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ และสาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย (เดลินิวส์ วันพุธที่ 24 กรกฎาคม 2545 หน้า 15)





เครื่องตัดหญ้าไร้มลพิษ

พลพงษ์ พิกุลสวัสดิ์ ผู้ประดิษฐ์เครื่องตัดหญ้าไร้มลพิษ โดยใช้เวลาคิดและร่างแบบขึ้นมาในช่วงปี2533-2534 ซึ่งเป็นเครื่องตัดหญ้าที่ใช้คันโยก ไม่มีเครื่องยนต์ ไม่มีควัน ไม่มีเสียง แต่มีข้อเสียตรงที่น้ำหนักมากไป คือ 10.5 กิโลกรัม ภายหลังได้รับคำแนะนำไปปรับปรุงให้มีน้ำหนักเบาลง คือ 5 กิโลกรัมซึ่งสำหรับใช้ในไร่นา และหมู่บ้าน และทุกคนสามารถใช้ได้โดยไม่มีอันตราย ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการดำเนินการทางธุรกิจ และได้จดสิทธิบัตรแล้ว (เดลินิวส์ วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม 2545 หน้า 25)





ข่าวทั่วไป


แพทย์สภาร่วมมือกับมูลนิธิไฟเซอร์เปิดโครงการศึกษาต่อเนื่องแพทย์-เภสัชกร

ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทย์สภา กล่าวถึงโครงการศึกษาต่อเนื่องของแพทย์และเภสัชกรนับว่าเป็นการริเริ่มครั้งแรกในประเทศไทยที่มุ่งหวังจะขยายฐานความรู้ของชุมชนแพทย์ เพราะวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วควบคู่กับการค้นพบใหม่เพิ่มขึ้นทางด้านการแพทย์ มีการค้นพบเชื้อโรคและการรักษาใหม่ทุกวัน ความก้าวหน้าทางพันธุกรรม และพันธุวิศวกรรม ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนาวิธีการในการวินิจฉัยและรักษาโรคให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม จนถึงขั้นสามารถขจัดโรคที่อาจเกิดขึ้นในคนไข้ ซึ่งถ้าหากเราไม่ติดตามความรู้เหล่านี้เราอาจกลายเป็นคนล้าหลังไป ภายใต้สัญญา มูลนิธิไฟเซอร์จะจัดหาเงินทุนและให้การสนับสนุนด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ กับเว็บไซต์โครงการการศึกษาต่อเนื่องของแพทยสภาและสภาเภสัชกรรม ที่ได้สร้างขึ้นและเปิดเรียบร้อยแล้ว จะเป็นศูนย์กลางข่าวสารทางการแพทย์ ซึ่งแพทย์และเภสัชกรไทยสามารถผ่านเข้าไปเยี่ยมชมได้ทางอินเตอร์เน็ต ศูนย์ข้อมูลนี้เป็นแหล่งข้อมูลทางการแพทย์และสุขภาพ ที่มีข้อมูลต่างๆ มากมายและมีการเชื่อมไปยังเว็บไซต์อื่นๆ ซึ่งให้ข้อมูลด้านสาธารณสุขหรืออื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น การแพทยสภาราชวิทยาลัยอายุรแพทย์และสถาบันทางการแพทย์ที่สำคัญอื่นๆ ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องยังเป็นศูนย์ทดสอบสำหรับแพทย์และเภสัชที่ให้แพทย์และเภสัชใช้ระบบออนไลน์เก็บคะแนนหน่วยกิตทางวิชาชีพได้





ประทับใจนอร์เวย์

ยูเอ็นดีพี หรือโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ จะเผยแพร่รายงานดัชนีการพัฒนามนุษย์ของชาติต่างๆ ในโลกเป็นประจำทุกปี การจัดอันดับคุณภาพชีวิต ครั้งล่าสุดพิจารณาจาก 145 ประเทศ ทั่วโลก ปรากฏผลออกมาดังนี้ อันดับหนึ่ง คือ นอร์เวย์ อันดับสอง คือ สวีเดน อันดับสาม คือ แคนาดา อันดับสี่ คือ เบลเยียม อันดับห้าคือ ออสเตรเลีย อันดับหกคือ สหรัฐอเมริกา อันดับสุดสุดท้าย คือ บังกลาเทศ ส่วนไทย อยู่อันดับ 70 แพ้ฮ่องกาง สิงคโปร์ เกาหลีใต้ บรูไน และมาเลเซีย แต่ชนะ ฟิลิปปินส์ จีน เวียดนาม และอินโดนีเซีย (เดลินิวส์ จันทร์ที่ 29 กรกฎาคม 2545 หน้า 7)





ออกก.ม.คุ้มหัวคนงานไทยประจำเรือทะเล

นางอัญชลี เสรีรักษ์ ผอ.กองนิติการ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เปิดเผยว่า กรม สวัสดิการฯ ได้ยกร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานคนประจำเรือขึ้น ผอ.กองนิติการกล่าวอีกว่า โดยนำมาตราฐานแรงงานระหว่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคนประจำเรือซึ่งกำหนดโดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และมาตราฐานการเดินเรือระหว่างประเทศขององค์การกิจการเดินเรือระหว่างประเทศ (IMO) เป็นแนวทางในการยกร่างกฎหมายเพื่อให้ความคุ้มครองแรงงานในงานเรือเดินทะเลของประเทศไทยทั้งนี้การดำเนินการร่างกฎหมายได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเอกชนทำการวิจัยโครงการการคุ้มครองแรงงานในงานเดินเรือทะเลซึ่งจะศึกษาเฉพาะแรงงานในงานเรือเดินทะเลด้านการขนส่งสินค้าเพื่อการพาณิชย์ และงานเดินเรือเดินทะเลด้านการขนส่งคนโดยสารที่มีสักษณะเป็นเรือสำราญ (เดลินิวส์ อาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม 2545 หน้า 6)





นิ่ม’ กำจัดปลวก

นิ่มเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ที่ระบุไว้ในมาตรา 19 และ 20 ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดมีไว้ครอบครองและทำการค้าสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ซากของสัตว์ป่าสงวน ซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง ว่ากันว่ามีรสชาติอร่อย ส่วนเกล็ดและเลือดนั้นนำมาทำเป็นยาจีนได้เช่นเดียวกับนอแรด และกระดูกเสือ และนิ่มจึงเป็นสัตว์นักกำจัดปลวกตัวฉกาจ นั่นคือ คุณค่าของตัวนิ่ม (เดลินิวส์ อาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม 2545 หน้า 3)






KMUTT Digital Library
Contact Digital Library : info@lib.kmutt.ac.th
Tel : 0-2470-8215