หัวข้อข่าวปีที่ 4 ฉบับที่ 45 ประจำวันที่ 2003-12-09

ข่าวการศึกษา

รภ.สนองรัฐบาลรับตรงน.ศ.100% /ร่างกม. ‘ม.ราชภัฏ’ ผ่านขั้นตอนสภาแล้ว
สอศ.เดินหน้าใช้สื่อไฮเทคสอน น.ศ.
ราชภัฏนครสวรรค์จับมือ ม.เจ้าพระยา
ปฏิรูปการเรียนรู้คณิตศาสตร์ แค่ ‘ใช้ให้เป็นรู้จักบูรณาการ’
จับตา 4 ผู้นำเยาวชนไทยถกทิศทางพัฒนาเอเชีย 2004
เผยอาจสอบวัดความรู้ปีละครั้ง
‘อดิศัย’ไม่ยอมให้ผลิตตำราเรียนเสรี
สภาสถาบันราชภัฎอนุมัติ 35 ราชภัฏรับเด็กไม่ต้องสอบ

ข่าววิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี

ดูโทรทัศน์บนมือถือแบบเรียลไทม์
3 ล้านพิกเซล
รัฐตั้งเป้าปี 54 ใช้พลังงานหมุนเวียน 0.8%
สวทช.ชวนเฟ้น 10 ข่าวดังวิทย์
เครือข่ายสารสนเทศดาราศาสตร์ มิติใหม่ การศึกษาอวกาศและดวงดาว
หุ่นยนต์แมวน้ำดูแลเด็ก

ข่าววิจัย/พัฒนา

‘ไบโอเทคถ่ายทอดผลิต ‘จุลินทรีย์’ ให้รัฐ
มะเขือเทศเนรเทศมะเร็งต่อมลูกหมากต้องกินส่วนประกอบให้ได้ครบถ้วน
สหรัฐเตรียมทดลองวัคซีน ‘อีโบลา’ สกัดไวรัสร้ายคนเสียชีวิต 50-90%
มอนซานโต้ เปิดผลวิจัยข้าวโพดจีเอ็มโอ
กว่าจะเป็นน้ำมันงา
เครื่องผลิตสมุนไพรสกัดผง’ ผีมือไทยทำไทยใช้จาก ‘มจธ.’
คนเป็นโรคหัวใจยิ้ม ‘ทุ่นใช้จ่าย’ อื้อ ‘แอสไพริน’ ถูก-ประสิทธิภาพเยี่ยม
พบเทคนิคตรวจรู้โรคสมองเสื่อมก่อนอาการปรากฏขึ้นนานแรมปี

ข่าวทั่วไป

หมอชี้อัมพฤกษ์-อัมพาตคร่าชีวิตอันดับ 3
เตือนอาหารเสริมลดน้ำหนักเสี่ยงโรคหัวใจถึงขั้นตายได้
ตรวจอาหารหน้าโรงเรียนไม่มีอย.อื้อ
ศิลปินแห่งชาติ





ข่าวการศึกษา


รภ.สนองรัฐบาลรับตรงน.ศ.100% /ร่างกม. ‘ม.ราชภัฏ’ ผ่านขั้นตอนสภาแล้ว

เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน นายพลสัณห์ โพธิ์ศรีทอง รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กอ.) เปิดเผยว่า จากกรณีนายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีนโยบายให้สถาบันอุดมศึกษารับนักศึกษาในพื้นที่เข้าเรียนมากขึ้น โดยไม่มีการสอบนั้น เมื่อเร็วๆ นี้ ในที่ประชุมอธิการบดีสถาบันราชภัฏ (รภ.) 41 แห่ง ได้หารือเรื่องนี้และมีมติชัดเจนจะสนองคุณแผ่นดินและสนองนโยบายรัฐบาล โดย รภ.ทุกแห่ง ยกเว้นใน กทม. จะรับตรงเด็กในพื้นที่ 100 % เช่น รภ. กาญจนบุรี จะดูแลเด็กในพื้นที่ จ.กาญจนบุรี และสุพรรณบุรี หากเรียนจบ ม.6 ใน 2 จังหวัดนี้และต้อการเรียนใน รภ.กาญจนบุรี ก็จะรับตรงทั้งหมด ส่วนการเปิดสอบคัดเลือกนั้น จะเปิดสอบเฉพาะผู้เรียนที่จบการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) และผู้เทียบเท่า หรือตกค้าง ซึ่งมีจำนวนน้อย อย่างไรก็ตาม การรับตรง 100% ดังกล่าวมีเงื่อนไขว่าจะรับตามโปรแกรมที่กำลังปรับใหม่ที่คิดว่าจะสนองต่อท้องถิ่นและความต้องการของสังคม ตลอดจนโยบายรัฐบาล หากโปรแกรมที่เด็กต้องการเรียนเต็ม ทางสถาบันก็จะเปลี่ยนไปยังโปรแกรมวิชาอื่นที่ยังไม่เต็ม หรือสถาบันใกล้เคียงในกลุ่มเดียวกันแทน (มติชน ศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2546 หน้า 20)





สอศ.เดินหน้าใช้สื่อไฮเทคสอน น.ศ.

นายประสิทธิ์ จันทร์ดา รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ให้สัมภาษณ์ว่า ได้สั่งการให้สถานศึกษาในสังกัด สอศ.ทั้ง 412 แห่งและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนวิทยาลัยสารพัดช่างวังไกลกังวล ที่รับผิดชอบการออกอากาศ ที่สถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษาไทยคม วังไกลกังวล หัวหินเตรียมความพร้อมในการจัดการศึกษาโดยยึดหลักการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยเชื่อมโยงเครือข่ายการจัดการศึกษาทางไกลไปสู่กลุ่มเป้าหมายของสถานศึกษาในสังกัด สอศ. ในการตั้งเป้าหมายโดยใช้รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาผ่านดาวเทียมตามหลักสูตร สอศ. ให้แก่นักศึกษาทั่วประเทศในปีการศึกษา 1/2547 และจัดการศึกษาทางไกลในลักษณะเสริมหลักสูตรให้กับนักศึกษาระบบ DVT และระบบ TVQ ของ สอศ.ทั่วประเทศ (มติชน ศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2546 หน้า 21)





ราชภัฏนครสวรรค์จับมือ ม.เจ้าพระยา

นายประเทือง ภูมิภัทราคม อธิการบดีสถาบันราชภัฏนครสวรรค์ เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา นครสวรรค์ ได้ทำพิธีลงนามกับสถาบันราชภัฏนครสวรรค์ ในการร่วมมือทางวิชาการ เพื่อจะส่งเสริม สร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ และเป็นครั้งแรกที่สถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชนมีการทำสัญญาร่วมกัน นายประเทืองกล่าวอีกว่า สถาบันราชภัฎนครสวรรค์ได้ลงทุนจำนวนมากในด้านอุปกรณ์และเครื่องมือทางการศึกษาและหวังว่ามหาวิทยาลัยเอกชนอีกหลายแห่งจะเข้าร่วมโครงการนี้ ตนอยากเห็นความร่วมมือทางวิชาการที่ขยายจำนวนสถาบันและจังหวัดให้กว้างต่อไปเรื่อยๆ และเป็นช่วงที่กฎหมายกำลังเข้าสู่วุฒิสภาพิจารณาในการยกระดับฐานะสถาบันราชภัฏให้เป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ แต่ยังไม่มีผลสรุปที่แน่นอน อย่างไรก็ตาม แนวนโยบายที่สนับสนุนให้สถาอุดมศึกษาอื่นมาร่วมมือกันระหว่างสถานศึกษาในด้านวิชาการจะไม่เปลี่ยนแปลง (มติชน ศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2546 หน้า 21)





ปฏิรูปการเรียนรู้คณิตศาสตร์ แค่ ‘ใช้ให้เป็นรู้จักบูรณาการ’

สถาบันราชภัฏนครราชสีมา เป็นเจ้าภาพจัดงาน ประชุมทางวิชาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ในโรงเรียนครั้งที่ 13 ร่วมกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้จัดอภิปราย หัวข้อ “การปฏิรูปการเรียนรู้คณิตศาสตร์” โดยมีครูคณิตศาสตร์ แกนนำจากโรงเรียนต่างๆ ร่วมอภิปราย กล่าวถึง “การบูรณาการ” หมายถึงการนำไปใช้เชื่อมโยงกับวิชาอื่น และเชื่อมโยงกับสภาพชีวิตอย่างประจำวันอย่างเป็นจริง การบูรณาการมีหลายแบบ ครูผู้สอนจะต้องวางแผนร่วมกันว่า จะนำเนื้อหามาจัดการเรียนการสอนอะไรได้บ้าง สสวท.ได้จัดทำตัวอย่างบทเรียนให้สอดคล้องกับหลักสูตรใหม่ซึ่งได้นำไปทดสอบใช้ใจ 15 โรงเรียน ได้คัดเลือกจากบทเรียนที่มีครูเป็นวิทยากรแกนนำวิชาคณิตศาสตร์ของ สสวท. สนใจศึกษาดูได้ที่เว็บไซต์ของ สสวท. www.ipst.ac.th (สยามรัฐ เสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2546 หน้า 7)





จับตา 4 ผู้นำเยาวชนไทยถกทิศทางพัฒนาเอเชีย 2004

ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพ จัดกิจกรรมโครงการผู้นำเยาวชนฮิตาชิระหว่างวันที่ 8-12 ธันวาคม นี้ ภายใต้แนวคิด “cgarting a New Course for Asia” โดยเยาวชนผู้นำฮิตาชิ ได้แก่ 4 คนจะร่วมอภิปรายใน 3 ประเด็นที่เป็นปัญหาระดับชาติของเอเชียในปัจจุบัน ดังนี้ ldentifying Asia’s Engines for Economic Growth (การกำหนดกลไกขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของเอเชีย), Managing Asia’s Rapid Urbanisation for Socias Progress (การบริหารการจัดการขยายตัวอย่างรวดเร็วเพื่อความก้าวหน้าของสังคมในเมืองใหญ่) และ Balancing Asia’s Growth and Environmental Sustainability (การสร้างสมดุลของการเติบโตและความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมในเอเชีย) ธมาธา มาสะกี นักศึกษาสาวจากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วรลักษณ์ จิโรจโชติชัย นักศึกษาเอกบัญชีและการเงิน จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อัชฒา ปิยะธนัง นักศึกษาเอกภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โกบินทร์ รัตติวรากร นักศึกษาเอกคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (สยามรัฐ จันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2546 หน้า 7)





เผยอาจสอบวัดความรู้ปีละครั้ง

ดร.อดิศัย โพธารามิก รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ตนได้รับรายงานจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เกี่ยวกับการสอบวัดความรู้ของนักเรียนในเดือนตุลาคมและเดือนมีนาคม ซึ่งเด็กที่สอบเอนทรานซ์ได้ส่วนใหญ่จะใช้คะแนนในเดือนมีนาคม ส่วนกรใช้น้ำหนักคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA) และคะแนนลำดับที่ (PR) ขณะนี้โรงเรียนเกิน 90% ก็มีมาตรฐานใกล้เคียงกันแล้ว ดังนั้นตนจะให้เลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา ทบทวนว่าการสอบวัดผลในเดือนตุลาคมมีความจำเป็นหรือไม่ และควรเพิ่ม GPA และ PR มากกว่า 10% เท่าใดซึ่งตัวเลขต้องขยับเพิ่มในปีการศึกษา 2547 นี้ ไม่ใช่อีก 3 ปีข้างหน้า เพราะจะไม่รอให้สถานศึกษาดีเท่ากันหมดเป็นไปไม่ได้ (เดลินิวส์ อังคารที่ 25 พฤศจิกายน 2546 หน้า 27)





‘อดิศัย’ไม่ยอมให้ผลิตตำราเรียนเสรี

ดร.อดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศกึษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เมื่อวันที่ 24 พ.ย.ว่า ตนได้ติดตามนโยบายที่มอบหมายให้ สพฐ. ทำการปรับปรุงหลักสูตร ซึ่งในเร็วๆ นี้ตนจะลงนามในคำสั่งให้ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนใหม่ โดยยึดถือ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และเพิ่มสังคม ดนตรี รวมทั้งศิลปะ ทั้งนี้หากมีการเรียนวิชาหลัก 70% ส่วนที่เหลืออีก 30% จะเป็นเรื่องดนตรีกีฬา ที่ประชุมยังได้หารือถึงเรื่องตำราเรียน โดยมอบหมายให้ สพฐ.ไปกำหนดกรอบมาตรฐานตำราเรียนให้ชัดเจนขึ้น เช่นเนื้อหาต้องครอบคลุมหลักสูตรทั้งหมด รวมทั้งขนาดและรูปเล่ม เป็นต้น ไม่ใช่ปล่อยเสรีหมดทุกอย่างโดย ศธ. จะทำตำราเรียนต้นแบบขั้นพื้นฐานออกมาแล้วเปิดให้สำนักพิมพ์ต่างๆมีการประมูลราคาเพื่อทำาการพิมพ์ (เดลินิวส์ อังคารที่ 25 พฤศจิกายน 2546 หน้า 27)





สภาสถาบันราชภัฎอนุมัติ 35 ราชภัฏรับเด็กไม่ต้องสอบ

ดร.อดิศัย โพธารามิก รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการสภาสถาบันราชภัฏ (คสส.) เมื่อวันที่ 24 พ.ย. ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการให้สถาบันราชภัฏ (รภ.) 35 แห่ง ยกเว้นในกรุงเทพฯ 6 แห่ง ให้รับนักศึกษาในปีการศึกษา 2547 ด้วยวิธีรับตรง โดยจะมีการตั้งคณะกรรมการร่วมกันระหว่าง รภ. ในแต่ภูมิภาค ซึ่ง รภ. แต่ละแห่งจะกำหนดคุณสมบัติการรับนักศึกษาในแต่ละสาขาได้เอง เพราะต้องยอมรับว่าในบางสาขามีนักเรียนเข้ามาสมัครเรียนเป็นจำนวนมาก คงไม่สามารถรับนักเรียนได้ทั้งหมด แต่ยืนยันว่าจะไม่มีการสอบคัดเลือก ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนในท้องถิ่นได้เข้าเรียนสถาบันอุดมศึกษาใกล้บ้าน (เดลินิวส์ อังคารที่ 25 พฤศจิกายน 2546 หน้า 27)





ข่าววิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี


ดูโทรทัศน์บนมือถือแบบเรียลไทม์

บริษัท sprint ได้เพิ่มบริการเสริมให้กับโทรทัศน์มือถือในรูปแบบของโทรทัศน์สีโดยใช้ระบบ Real-time Tv หรือเรียกบริการนี้ว่า Mobi Tv ผู้ใช้ต้องเสียค่าบริการเดือนละ 15 ดอลลาร์สหรัฐ เว็บไซต์ cnn.com รายงานว่า ประสิทธิภาพของบริการ Mobi Tv สามารถเล่นภาพได้ต่อเนื่อง จากเดิมซึ่งใช้ระบบ Full-Motion Video ให้ภาพ 1-2 ภาพต่อวินาที แต่ Mobi Tv สามารถแสดงภาพต่อเนื่องได้มากกว่า 20 ภาพต่อวินาที โดยโปรแกรมส่วนใหญ่ของช่อง Mobi Tv จะมีโปรแกรมการเล่นตรงกันกับช่องเคเบิล แม้ว่าอาจจะล่าช้าไปบ้าง เนื่องจากจะต้องผ่านขั้นตอน และถ่ายทอดไปยังกระบวนการแบบไร้สาย (เดลินิวส์ ศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2546 หน้า 16)





3 ล้านพิกเซล

บริษัทมิตซูบิชิญี่ปุ่น กำลังจะนำโทรศัพท์มือถือจอสีความละเอียด 2-3 ล้านพิกเซลออกมาจำหน่ายในเร็วๆนี้ จอภาพคุณภาพสูงดังกล่าว ผลิตออกมาเพื่อรองรับความต้องการถ่ายภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง และดูรายการโทรทัศน์แบบเรียลไทม์ บริษัทผู้ผลิตโทรทัพท์มือถือต่างสำรวจความต้องการของผู้ใช้ก่อนจะผลิตออกมาวางจำหน่าย จึงพยายามรวมความต้องการต่างๆ ผนวกไว้ที่มือถือเพียงเครื่องเดียวให้มนุษย์ไม่ต้องพกอุปกรณ์มากมายเหมือนแต่ก่อน (เดลินิวส์ ศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2546 หน้า 16)





รัฐตั้งเป้าปี 54 ใช้พลังงานหมุนเวียน 0.8%

วานนี้ (27) นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวในงานสัมมนา “ก้าวต่อไปของนโยบายพลังงานเวียน” จัดโดยศูนย์ส่งเสริมพลังงานชีวมวล มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม หน้าศูนย์ประชุม องค์การสหประชาชาติว่าขณะนี้รัฐบาลเตรียมพัฒนาพลังงานหมุนเวียนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะการนำมาผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งไทยยังมีพลังงานทางเลือกอื่นๆใช้ได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการของประชาชนในประเทศพร้อมทั้งมั่นใจว่าราคาจะไม่แพงขึ้นและไม่สร้างผลกระทบรุนแรงด้านราคาให้กับผู้ใช้พลังงานอย่างเด็ดขาด โดยวางเป้าไว้ว่าในปี 2554 จะต้องมีพลังงานหมุนเวียนใช้เพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 0.5% เป็น 0.8% (กรุงเทพธุรกิจ ศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2546 หน้า 19)





สวทช.ชวนเฟ้น 10 ข่าวดังวิทย์

ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ผอ.สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สวทช.คัดเลือกหัวข้อข่าวที่เข้ารอบจัดอันดับ 10 ข่าวดังอาทิ นิติวิทยาศาสตร์ มิติใหม่ของคดีสอบสวน, ผวา “ไข้หวัดมรณะ” รู้จัก Pseudallescherisa boydii รามรณะในสมองบิ๊ก ดีทูบี, คลอดเด็กโคลนนิ่งรายแรกของโลก, นักวิชาการไทยเจ๋งสกัดเบนซินจากพืช, พบกล้วยไม้พันธุ์ใหม่โล “สิรินธรเนีย” กระสวยอวกาศโคลัมเบียบึ้มกลางเวหา, ค้นพบบรรพบุรุษอุรังอุตังในประเทศไทย, หมอชี้เกินจริงโฆษณาในเน็ตอ้างผ้าอนามัยรักษา “ริดสีดวง” เด็กไทยประกาศความสามารถในเวทีโอลิมปิกวิชาการ, ก.วิทย์ ตั้งกล้องชวนชม “ดาวอังคาร” โหรชี้ราหูทับดวงเมืองระวังเหตุร้าย, พบซากปลาโบราณพันธุ์ใหม่ของโลกอายุ 65 ล้านปีที่ภูน้ำจั้น จ.กาฬสินธุ์, นาซ่าปิดฉากกาลิเลโอ 14 ปีแห่งการผจญภัย, ก.วิทย์ไขปริศนาบั้งไฟพญานาคชี้ปรากฏการณ์ธรรมชาติ “ลึกลับ” ทั้งนี้ สวทช.ได้เปิดให้ประชาชนร่วมลงประชามติผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต http://www.nstda.or.th หรือ Call Center 02-564-8000 หมดเขตรับสมัครการลงประชามติวันที่ 18 ธ.ค. ประกาศผล 19 ธ.ค.นี้ จับรางวัลและประกาศรายชื่อผู้โชคดีที่ได้รับรางวัล วันที่ 9 ม.ค. 2547 (ไทยรัฐ เสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2546 หน้า 15)





เครือข่ายสารสนเทศดาราศาสตร์ มิติใหม่ การศึกษาอวกาศและดวงดาว

สถาบันส่งเสริมาการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้ร่วมมือกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดทำ “โครงการเครือข่ายสารสนเทศดาราศาสตร์สำหรับโรงเรียน” โดยจัดทำโครงการเครือข่ายสารสนเทศที่เหมาะสมกับการนำไปใช้ในการจัดการการเรียนการสอน ได้ครูสามารถนำหัวข้อและเนื้อหาไปจัดทำหลักสูตร เพื่อระบายวิชาการตามแนวมาตรฐานะสาระการเรียนรู้ในแช่วงชั้นได้ ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการเผยแพร่องค์ความรู้ทางดาศาสตร์ สู่โรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพของสัมฤทธิผล โดยจุดเด่นที่สำคัญ ในเครือข่ายสารสนเทศและดาราศาสตร์ที่ครบถ้วนและสมบูรณ์ ที่สามารถค้นหาได้อย่างสะดวก และสามารถทำความเข้าใจได้ง่าย หากไม่สะดวกที่จะเดินทางมาดูดาวด้วยตนเอง ครูผู้สอนและนักเรียนก็สามารถดูดาวได้สดๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต ที่เชื่อมต่อกับกล้องดูดาวขนาดใหญ่ในหอดูดาวสิรินธร (อังคารที่ 25 พฤศจิกายน 2546 หน้า 16)





หุ่นยนต์แมวน้ำดูแลเด็ก

สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูงของญี่ปุ่น สร้างหุ่นยนต์ขนปุยสีขาวเหมือนแมวน้ำ ชื่อ ปาโระ สำหรับดูแลเด็กป่วยในโรงพยาบาล สำหรับหุ่นยนต์ปาโระนั้น บริเวณใบหน้าได้รับการติดตั้งเซ็นเซอร์เพื่อใหเคลื่อนไหวร่างกายและตอบโต้กับมนุษย์ได้ จากการทดลองพบว่า ผู้ป่วยและเด็กๆ ในโรงพยาบาลและสถานเลี้ยงเด็กชอบพูดคุยกับหุ่นยนต์ ซึ่งส่งผลดีต่อการรักษาพยาบาล (เดลินิวส์ พุธที่ 26 พฤศจิกายน 2546 หน้า 16)





ข่าววิจัย/พัฒนา


‘ไบโอเทคถ่ายทอดผลิต ‘จุลินทรีย์’ ให้รัฐ

วันที่ 20 ธค. 46 ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) กรมวิชาการเกษตร และบริษัท อะโกรไบโอเมท จำกัด ร่วมลงนามถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเชื้อจุลินทรีย์ “Bacillusthuringiensis” หรือบีที วัตถุประสงค์เพื่อทดแทนการใช้สารเคมี และลดการนำเข้าเชื้อบีทีจากต่างประเทศ นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาลมีนโยบายลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเนื่องจากมีสารพิษตกค้างอยู่ในพืชผักสูงเกินค่าความปลอดภัย ทางกรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาวิธีการป้องกัน กำจัดศัตรูพืช โดยการผลิตเชื้อบีทีมาใช้ทดแทนสารเคมีซึ่งที่ผ่านมาไทยนำเข้าเชื้อบีทีร้อยละ 95 ของทั้งหมด น.ส.อัจฉรา ตันติโชดา นักกีฏวิทยากลุ่มงานวิจัยการปราบศัตรูพืชทางชีวภาพกรมวิชาการเกษตร ผู้ทำการวิจัยการผลิตเชื้อบีที กล่าวว่า เชื้อบีทีนี้สายพันธุ์ภายในประเทศไทย ที่มีความเฉพาะเจาะจงต่อแมลงศัตรูพืชเป้าหมาย ปลอดภัยต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งไม่ทำลายแมลงศัตรูธรรมชาติและแมลงที่มีประโยชน์ ทั้งยังไม่มีสารพิษตกค้างในพืชผลอีกด้วย (กรุงเทพธุรกิจ ศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2546 หน้า 8)





มะเขือเทศเนรเทศมะเร็งต่อมลูกหมากต้องกินส่วนประกอบให้ได้ครบถ้วน

งานวิจัยชี้ว่า ไลโคฟินเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้นที่มีส่วนในการช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากนอกจากนี้ นักวิจัยยังบอกว่า การได้รับไลโคฟินในรูปของอาหารเสริมอาจไม่ให้ผลในการป้องกันเทียบเท่าการรับประทานมะเขือเทศทั้งผล ซึ่งอาจผสมอยู่ในพาสต้า สลัด น้ำมะเขือ หรือแม้แต่พิซซ่าก็ตาม ใช้ได้ทั้งนั้น นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่พบว่า การมีระดับไลโคพีนในเลือดสูง มีส่วนลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้ ไลโคพีนเป็นสารที่ทำให้มะเขือเทศเป็นสีแดง เป็นสารต้านอนุมลอิสระ ซึ่งสารอนุมูลอิสระเป็นตัวที่สามารถทำลายเนื้อเยื่อของร่างกายได้ (ไทยรัฐ ศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2546 หน้า 7)





สหรัฐเตรียมทดลองวัคซีน ‘อีโบลา’ สกัดไวรัสร้ายคนเสียชีวิต 50-90%

สถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อของสหรัฐ (NIAID) จะทำการทดลองฉีดวัคซีนที่ผลิตโดย บริษัท ซานดิเดโก เบส ไวคอล จำกัด (San Diego-based Vical Inc.) ให้กับอาสาสมัคร 27 คน โดยวัคซีนดังกล่าวพัฒนาขึ้นมาจากชิ้นส่วนดีเอ็นเอของไวรัสอีโบลา ซึ่งจะสร้างภูมิคุ้มกันเชื้อนี้ขึ้นมาในร่างกายมนุษย์ นักวิจัยเชื่อว่า หากผลการทดลองนี้ประสบความสำเร็จ นอกจากจะส่งผลดีกับการป้องกันรักษาโรคนี้ในประเทศที่มีการเกิดของโรคตามธรรมชาติอยู่แล้ว ยังจะสามารถนำไปใช้ป้องกันอาวุธเชื้อโรคจากไวรัสอีโบลาได้อีกด้วย และองค์การอนามัยโลกเองก็เรียกร้องให้ทุกประเทศหาวัคซีนเพื่อช่วยเหลือรประเทศคองโกซี่งเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุด โดยอาการของผู้ที่ติดเชื้อนี้คือมีอาการช็อกและเลือดออกภายในโดยไวัรัสชนิดนี้ถูกพบครั้งแรกในปี 1976 ที่คองโกและมีการระบาดครั้งใหญ่เมื่อปี 1995 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 250 คน (มติชน ศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2546 หน้า 18)





มอนซานโต้ เปิดผลวิจัยข้าวโพดจีเอ็มโอ

ผศ.ประวิตร พุทธานนท์ ภาควิชาพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และคณะ ได้ทำการวิจัย เกี่ยวกับข้าวโพด จี เอ็ม โอ 2 เรื่อง เรื่องแรกเป็นการประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพทางด้านสัณฐานวิทยาของข้าวโพดต้านสารกำจัดวัชพืช ราวด์อัพ NK 603 ในสภาพโรงเรือนทดลอง และเรื่องที่ 2 เรืองผลกระทบของข้าวโพดต้านทานสารกำจัดวัชพืชราว อั้พ NK603 ที่มีต่อผึ้งพันธุ์ในสภาพเรือนทดลอง ผลการวิจัยทั้ง 2 ชิ้นไม่พบความแตกต่างระหว่างข่าวโพดธรรมดากับข้าวโพดต้านทานสารกำจัดวัชพืชราวอัพ NK603 แต่อย่างใด (เดลินิวส์ เสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2546 หน้า 36)





กว่าจะเป็นน้ำมันงา

กลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์ บ้านสมเด็จ จ.แม่ฮ่องสอน มีโรงเรือนผลิตน้ำมันงาโดยวิธีธรรมชาติ พลังน้ำ เพื่อให้ได้น้ำมันงานบริสุทธิ์ปราศจากสารเคมี หรือ สิ่งปลอมปน โดยไม่มีสารเร่งน้ำมัน จะสกัดน้ำมันงาในระดับอุณหภูมิ 7องศา เป็นการผลิตกรรมวิธีโบราณทำให้ได้น้ำมันที่มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วน (เดลินิวส์ เสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2546 หน้า 36)





เครื่องผลิตสมุนไพรสกัดผง’ ผีมือไทยทำไทยใช้จาก ‘มจธ.’

ผศ.วีระชัย แก่นทรัพย์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ออกแบบและสร้างเครื่องผลิตสมุนไพรสกัดผลโดยไม่ใช้น้ำตาลสำหรับกลุ่มแม่บ้าน หลักการทำงานของการผลิตสมุนไพรสกัดผงนี้ คือการใช้สภาวะสุญญากาศ ลดจุดเดือดของสารสกัดลงโดยไม่ทำให้รส และสีเปลี่ยนไปจากเดิมมาก และที่สำคัญผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานสามารถบริโภคได้ ผู้ประกอบการที่สนใจ ติดต่อได้ที่ ผศ.วีระชัย แก่นทรัพย์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มจธ.โทร 0-2470-9125, 0-1513-1012 (สยามรัฐ เสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2546 หน้า 7)





คนเป็นโรคหัวใจยิ้ม ‘ทุ่นใช้จ่าย’ อื้อ ‘แอสไพริน’ ถูก-ประสิทธิภาพเยี่ยม

นายทอม มาร์แชล นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ ได้เผยผลการศึกษาเกี่ยวกับตัวยาป้องกันโรคหัวใจ ระบุว่าจากการศึกษาวิเคราะห์พบว่า ยาแอสไพรินในปริมาณน้อยมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคหัวใจได้ดีกว่าและยังมีราคาถูกกว่าตัวยา “สแตตติน” ที่ใช้ลดคอเลศเตอรอลในเลือดและป้องกันโรคหัวใจ หรือตัวยา “โคลปิโดเกรล” ตัวยาที่ทำให้เลือดกระจายตัวที่ขายภายใต้ชื่อทางการค้าว่า “พลาวิกซ์” ซึ่งนิยมใช้ในวงการแพทย์ การศึกษาวิเคราะห์ยาป้องกันโรคหัวใจของนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม พยายามชี้ให้เห็นว่าวงการแพทย์สามารถใช้ตัวยาที่มีประสิทธิผลดีเยี่ยมแต่มีราคาถูกกว่า เพื่อผู้ป่วยจะสามารถลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้ (มติชน เสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2546 หน้า 5)





พบเทคนิคตรวจรู้โรคสมองเสื่อมก่อนอาการปรากฏขึ้นนานแรมปี

นักวิจัยของโรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยนิวยอร์กแห่งสหรัฐฯ กล่าวแจ้งว่า ผู้ใหญ่เต็มตัว ที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมตอนบั้นปลายกว่าจะตรวจรู้อาการที่ปรากฏขึ้นก่อนหน้าหลายปี จะตรวจพบว่าขนาดสมองจะมีขนาดเล็กลง ดร.เฮนรี รุสิเนก นักวิจัยโรคสมอง ของโรงเรียนแพทย์กล่าวว่าได้พบในการทดลองว่า เทคนิคการตรวจด้วยการวัดปริมาตรของสมองส่วนที่อยู่ด้านขมับ ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำและการเรียนรู้มีความแม่นยำเกือบถึง 905 อย่างไรก็ตาม ยังจะต้องศึกษาต่อไปว่า มันจะยังคงตรวจพบได้แม่ยำเมื่อใช้กับคนไข้จำนวนมากๆ อยู่หรือไม่ โรคสมองเสื่อมในผู้ป่วยสูงอายุ ทำให้มีอาการขี้ลืม งกๆเงิ่นๆ จำวันจำเวลาไม่ได้ จำว่ากินข้าวหรือยัง จำทางกลับบ้านไม่ได้ ขนาดสมองจะเล็กลง เกิดกับผู้หญิงมากกว่าชาย ต้นเหตุเกิดจากสารหลั่งในสมองเกิดผิดปกติ กลับไปทำลายเซลล์ในสมองเสียเอง (ไทยรัฐ เสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2546 หน้า 7)





ข่าวทั่วไป


หมอชี้อัมพฤกษ์-อัมพาตคร่าชีวิตอันดับ 3

ศ.นพ.นิพนธ พวงวรินทร์ นายกสมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย เปิดเผยว่า โรคอัมพฤกษ์อัมพาตหรือโรคหลอดเลือดสมอง เป็นภัยเงียบที่ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจเฉพาะค่ารักษาพยาบาลสูงถึงปีละ 5 หมื่นล้านบาท แต่เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ หากดูแลสุขภาพดี จะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคดังกล่าวได้ถึงร้อยละ 47 ปัจจุบัน โรคนี้พบมากในผู้ป่วยที่มีอายุเกิน 60 ปี ทั้งชายและหญิง และเป็นที่น่าวิตกว่าเริ่มจะพบผู้ป่วยอัมพาตอัมพฤกษ์ในช่วงอายุที่ลดน้อยลงไปเรื่อยๆ “สาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออัมพาตอัมพฤกษ์ คือโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งหลายคนอาจจะไม่ทราบว่าความดันสูงนั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดโรคนี้ นอกเหนือไปจากปัจจัยอื่นๆ เช่น เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจหรือการสูบบุหรี่ โดยจะมีอาการเตือนที่สำคัญ คือ อ่อนแรง ครึ่งซีก ชาครึ่งซีก พูดไม่ชัด ตามัวและเดินเซ หากเกิดขึ้นและหายไปในเวลาอันรวดเร็ว ควรไปพบแพทย์โดยด่วน” ศ.นพ.นิพนธ์ กล่าว สาเหตุการตายจากอัมพฤกษ์ อัมพาตของประชากรสูงสุดเป็นอันดับ 3 รองจากโรคหัวใจและโรคมะเร็ง ขณะที่ในไทยผู้ป่วยอัมพาตมีโอกาสเสียชีวิตร้อยละ 15-25 ของผู้ป่วยทั้งหมด และผู้ที่รอดชีวิตร้อยละ 60-65 มักพิการ มีเพียงไม่เกินร้อยละ 30 ที่กลับเป็นปกติ (กรุงเทพธุรกิจ ศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2546 หน้า 19)





เตือนอาหารเสริมลดน้ำหนักเสี่ยงโรคหัวใจถึงขั้นตายได้

รอยเตอร์รายงานจากกรุงวอชิงตันว่า เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน กลุ่มแพทย์ทางเลือกของสหรัฐ หรือพีซีอาร์เอ็ม ได้ออกโรงเรียกร้องให้ศูนย์ควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดแห่งชาติสหรัฐ หรือซีดีซี ตรวจสอบผลกระทบของอาหารเสริมลดน้ำหนัก “แอ็ตกินส์” ที่กำลังได้รับความนิยมจากชาวอเมริกันอย่างแพร่หลายในขณะนี้ ว่าอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคหัวใจและอาจเป็นสาเหตุการตายของกลุ่มวัยรุ่นที่รับประทานอาหารเสริมชนิดนี้หรือไม่ หลังจากที่สมาชิกแพทย์ในกลุ่มได้พบว่าเป็นไปได้ที่อาหารเสริมดังกล่าวอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้บริโภคหลายรายที่รับประทานอาหารเสริม “แอ็ตกินส์” มีอาการคล้ายกัน คือหลอดเลือดแดงตีบ คอเลสเตอรอลสูง ปริมาณแคลเซียมและโพแตสเซียมในร่างกายต่ำมาก ขณะที่มีบางรายเสียชีวิต อย่างไรก็ดี ทางบริษัท แอ็ดกินส์ นูทริแนลส์ ผู้ผลิตยืนยันว่า อาหารเสริมแอ็ดกินส์เป็นอาหารลดน้ำหนักที่ปลอดภัย (มติชน เสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2546 หน้า 5)





ตรวจอาหารหน้าโรงเรียนไม่มีอย.อื้อ

นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย น.พ.สถาพร วงษ์เจริญ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และเจ้าหน้าที่อาหารจาก อย.ได้เดินทางไปตรวจคุณภาพอาหารและสารปนเปื้อนที่บริเวณหน้าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ ซึ่งจากการตรวจสอบอาหารในครั้งนี้ ได้ตรวจสอบที่ร้านค้า แผงลอย และรถเข็นจำนวน 12 แห่ง เก็บตัวอย่างจำนวน 24 ตัวอย่างทั้งเครื่องดื่ม ไส้กรอกลูกชิ้นปลา ลูกชิ้นหมู หมูยอ หมูบด ปลาหมึกและหอยดอง เห็ดหูหนู และทับทิมกรอบ การตรวจเบื้องต้นไม่พบสารที่เป็นอันตราย แต่ในลูกอม ขนมขบเคี้ยว พบว่าแสดงฉลากไม่ถูกต้องตามกฎหมายโดยเฉพาะไม่มีชื่อผู้ผลิต สถานที่ผลิต ไม่มีเครื่องหมาย อย. เจ้าหน้าที่จึงได้ตักเตือนและนำไปให้ผู้จำหน่ายระมัดระวังการนำอาหารมาจำหน่าย (มติชน เสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2546 หน้า 16)





ศิลปินแห่งชาติ

รายชื่อศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2546 ได้แก่ 1.พร้อม บุญฤทธิ์ สาขาศิลปะการแสดง (หนังตะลุง) 2.กรุณา กุศลาสัย สาขาวรรณศิลป์ 3.พิชัย สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) และ น.ส.วนิดา พึ่งสุนทร สาขาสถาปัตยกรรม (แบบประเพณี) (สยามรัฐ อังคารที่ 25 พฤศจิกายน 2546 หน้า 1)






KMUTT Digital Library
Contact Digital Library : info@lib.kmutt.ac.th
Tel : 0-2470-8215