หัวข้อข่าวปีที่ 4 ฉบับที่ 46 ประจำวันที่ 2003-12-16

ข่าวการศึกษา

สอน “ธรรมมะ” เด็กอาชีวะ 18 สถาบัน
ฟุ้งบัณฑิตรม.เข้าตลาดงานอื้อ
จุฬาฯชี้หมดยุคเรียนนอก การศึกษาไทยคุณภาพเจ๋ง
สถาบันคีนันฯ หนุนปั้นเถ้าแก่น้อย
เด็กนาฏศิลป์หวั่นไม่ได้ต่อป.ตรีเหตุวุฒิต่างจากหลักสูตรของ ศธ.
‘อดิศัย’ หนุนใช้ National Test คัดนักเรียนใหม่เริ่มปีหน้า
สพฐ.เผยนร.แห่เรียนผ่านเน็ตซัมเมอร์นี้จัดทดลองระบบในร.ร.ใหญ่
ยุติเอนทรานซ์’ 47เพิ่มจีพีเอ10% ทปอ.หนุนปี48เพิ่มอีก25% ล้มค่าพีอาร์ทันที
นิสิตสาวจุฬาฯคว้าสองรางวัลทรงเกียรติ
‘อดิศัย’ ชม.สงขลารับนักศึกษาถูกทาง
ร.ร.ในฝันกทม.เขต2ขึ้นเกรดเอ
รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ปี’46 นักวิจัยชาวาจีน-แพทย์ชาวอเมริกัน

ข่าววิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี

สวทช.ตั้งค่ายวิทย์ถาวรสร้างเด็กไทย ‘อัจฉริยะ’
จีนกับอินเดียชิงดีชิงเด่นด้านอวกาศต่างแข่งกันส่งยานพิชิตดวงจันทร์
เอกชนไทยคิดค้นรถ ‘ออลอินวัน’ มอเตอร์ไซด์-จักรยานในคันเดียวกัน
จีนหมายตาดวงจันทร์
สร้างสรรค์ไอเดีย ด้วยปูนซีเมนต์ขาว
นักวิทย์นาซา ยกนิ้วเด็กไทยเจ๋งจริงวิจัยดินแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม
อเมริกาจะกลับสู่ดวงจันทร์

ข่าววิจัย/พัฒนา

อานุภาพของดนตรีบันดาลให้คนไข้คลายอาการเจ็บปวดลงมาก
เทคนิคใหม่หลอมพลาสติกรีไซเคิลลดต้นทุน-ไม่เสื่อมคุณภาพ
มก.วิจัยทำไข่สุขภาพ
ไบโอเทคจัดทำสื่อและอุปกรณ์เพื่อการเรียนรู้เรื่องพืชจีเอ็มโอและความปลอดภัยทางชีวภาพ
มก.รับ17ล.ผันขยะเป็นไฟฟ้า
แพทย์เตือน ‘วัยรุ่นอ้วน’ ระวังตับอักเสบ

ข่าวทั่วไป

เผยอีก2ปีฝั่งธนฯมีเรดาร์จับฝนเสริมประสิทธิภาพรายงานเกาะติดเมฆทุกก้อน
ผู้พิการไทยเจ๋งคว้า 4 เหรียญทองแดง
หมอโต้เย็บกระเพาะลดอ้วนเสี่ยงน้อย
อย.สั่งปิด 30 วัน น้ำดื่ม ‘กระแสสินธุ์’
ติวเข้มการปกครองท้องถิ่นอีกหนึ่งบทบาทมหาวิทยาลัยศิลปากร
ย้ายคลังน้ำมันพ้นกทม.ดีเดย์เดือนก.พ.ปีหน้า/ ยกเว้นปตท.-บางจาก
สวทช.ร่วมเอกชนผลิตอาหารกุ้งจากสาหร่ายสไปรูลินา





ข่าวการศึกษา


สอน “ธรรมมะ” เด็กอาชีวะ 18 สถาบัน

พระพรหมวชิรญาณ เจ้าอาวาสวัดยานนาวาในฐานะ ผอ.ศูนย์พระสงฆ์นักเผยแผ่ธรรมเพื่อพัฒนาสังคม เปิดเผยว่า ขณะนี้ศูนย์ฯ มีพระครูวิสุทธินพคุณ ผช.เจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ เป็นประธาน ได้ร่วมกับสำนักเสริมการศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการเผยแผ่หลักพุทธธรรม ปลูกฝังศีลธรรม คุณธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์แก่นักเรียนในสถานศึกษาระดับอาชีวะ ผอ.ศูนย์พระสงฆ์นักเผยแผ่ฯ กล่าวต่อว่าโครงการสอนธรรมศึกษานักเรียนอาชีวศึกษา เริ่มนำร่องใน 4 สถาบันคือ พณิชยการราชดำเนิน-ธนบุรีเทคโนโลยีสยาม กุลศิริเทคโนโลยีและวิบูลย์บริหารธุรกิจ มีนักเรียนให้ความสนใจเข้าเรียนและสอบธรรมศึกษาทั้งชั้นตรี โท เอกจำนวนมาก โดยในปีนี้ได้ขยายอีก 14 แห่ง ประกอบด้วยพณิชยการสุโขทัย เทคนิควิมลบริหารธุรกิจ พณิชยการเจ้าพระยา มิตรพลพณิชยการ ชิโนรสวิทยาลัย พระรามหกเทคโนโลยี เทคโนโลยีหมู่บ้านครู หมู่บ้านครูบริหารธุรกิจ ภาษานุสรณ์ พณิชยการภาษานุสรณ์ ไชยฉิมพลีวิทยาคม ภาษานุสรณ์ธนบุรี ประถมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาและมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยจะใช้พระสงฆ์จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 130 รูป ดำเนินการจัดการเรียนการสอน(ไทยรัฐ จันทร์ที่ 1 ธันวาคม 2546 หน้า 15)





ฟุ้งบัณฑิตรม.เข้าตลาดงานอื้อ

น.ส.ปราณี พรรณวิเชียร รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล (รม.) กล่าวว่า จากการสำรวจสภาวะการหางานทำของบัณฑิตที่เก็บข้อมูลในวันซ้อมรับพระราชทานปริญญาบัตรปี 2546 ปรากฏว่าบัณฑิตนักปฏิบัติจากราชมงคลเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานค่อนข้างสูง พิสูจน์ได้จากสถิติที่น่าพอใจจากจำนวนบัณฑิต 14,774 คน พบว่าบัณฑิตมีงานทำแล้วถึง 10,589 คนคิดเป็นร้อยละ 71.82 ที่เหลือส่วนใหญ่กำลังรอคำตอบจากหน่วยงานต่างๆ และวางแผนศึกษาต่อ โดยเฉพาะสายวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี พบว่าบัณฑิตสายสถาปัตยกรรมศาสตร์มีงานทำมากที่สุดถึงร้อยละ 89.92 รองลงมาสายวิศวกรรมศาสตร์มีงานทำร้อยละ 69.36 และสายวิทยาศาสตร์มีงานทำร้อยละ 66.53 นอกจากนี้ในเรื่องเงินเดือนหรือค่าตอบแทนที่ได้รับเฉลี่ยต่อเดือนนั้นสูงถึง 10,00-15,000 บาท จากสถิติดังกล่าวพิสูจน์ได้ว่า ไม่ว่าจะจบจากสายอาชีวะ สายสามัญ สามารถต่อยอดความรู้และเข้าสู่ตลาดแรงงานได้ โดยในปี 47 รม.กำหนดรับสมัครนักศึกษาปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถึง 38,007 คน และระดับ ปวส. 20,000 คน (ไทยรัฐ จันทร์ที่ 1 ธันวาคม 2546 หน้า 15)





จุฬาฯชี้หมดยุคเรียนนอก การศึกษาไทยคุณภาพเจ๋ง

ศ.ดร.วรเดช จันทรศร เลขาธิการคณะกรรมการอุดมศึกษา (กอ.) กล่าวในการประชุม 11 “การประกันคุณภาพอุดมศึกษาในอาเซียนและสหภาพยุโรป” เมื่อวันที่ 1 ธ.ค.ว่า ในการประเมินคุณภาพการศึกษานั้น ตนเห็นว่าควรให้นักศึกษา ในฐานะผู้ได้รับประโยชน์โดยตรง มีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพ รศ.ดร.ธัชชัย สุมิตร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากการประเมินคุณภาพการศึกษา พบว่า เราไม่ด้อยกว่าต่างชาติ แต่คนไทยก็ยังคิดว่าควรจะส่งบุตรหลานไปเรียนต่างประเทศซึ่งตนมองว่าการไปเรียนต่างประเทศเป็นเพียงแค่ไปเรียนรู้โลกใหม่ และได้พัฒนาภาษาเท่านั้น แต่ถ้าเราดึงให้เด็กอยู่เรียนต่อในประเทศได้มากขึ้น นอกจากผู้ปกครองจะประหยัดค่าใช่จ่ายแล้ว ยังเป็นการปลุกจิตสำนึกให้เด็กรักท้องถิ่นมากยิ่งขึ้นด้วย (เดลินิวส์ พุธที่ 3 ธันวาคม 2546 หน้า 7)





สถาบันคีนันฯ หนุนปั้นเถ้าแก่น้อย

นายวีระศักดิ์ วงษ์สมบัติ เลขาธิการคณะกรรมการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยภายหลังลงนามความร่วมมือระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาว่า ตามนโยบายของรัฐบาล และนายอดิศัย โพธารามิก รมว.กระทรวงศึกษาธิการ ที่ต้องการเห็นเด็กที่เรียนสายอาชีพจบออกไปแล้ว สามารถเป็นผู้ประกอบการใหม่ได้ สอศ.จะจัดตั้งศูนย์บ่มเพาะธุรกิจขึ้นในสถาบันการอาชีวศึกษา โดยสถาบันคีนันฯ จะเข้ามาให้การสนับสนุนด้านนวัตกรรมใหม่ทางธุรกิจ สถาบันคีนันฯ เป็นสถาบันที่มีประสบการณ์ในการให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการใหม่ หรือทำธุรกิจขนาดย่อม (สยามรัฐ อังคารที่ 2 ธันวาคม 2546 หน้า 7)





เด็กนาฏศิลป์หวั่นไม่ได้ต่อป.ตรีเหตุวุฒิต่างจากหลักสูตรของ ศธ.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 1 ธค. 46 ผู้ปกครองของนักเรียนวิทยาลัยนาฏศิลป์ กรุงเทพฯ รายหนึ่งเข้าร้องทุกข์กับนายอนุรักษ์ จุรีมาศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ว่าตนได้หารือกับอาจารย์ประจำชั้นของบุตร ซึ่งเรียนอยู่ชั้นต้นปีที่ 2 (เทียบเท่า ม.2) สาขาการละคร เรื่องการศึกษาต่อหลังจากเรียนจบชั้น ม.3 แต่ได้รับคำตอบว่า ขณะนี้ไม่มีความชัดเจนว่าวุฒิ ม.3 จะสามารถนำไปสมัครเรียนต่อที่อื่นได้หรือไม่ เนื่องจากหลักสูตรของวิทยาลัยเน้นปฏิบัติ ในขณะที่หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กำหนดให้ต้องผ่านวิชาการ 8 กลุ่มสาระ และหากเรียนจบ ม.6 ก็ไม่แน่ใจว่า วุฒิที่ได้จะใช้สอบเอนทรานซ์และสอบเข้าสถาบันราชภัฏได้หรือไม่ (กรุงเทพธุรกิจ อังคารที่ 2 ธันวาคม 2546 หน้า 9)





‘อดิศัย’ หนุนใช้ National Test คัดนักเรียนใหม่เริ่มปีหน้า

ดร.อดิศัย โพธารามิก รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า คุณหญิง กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ได้เข้าพบเพื่อรายงานเกี่ยวกับ แนวทางการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อ ชั้น ป.1 และ ม.1 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมาการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีความเห็นว่าให้ยกเลิกการสอบ แต่จะให้พิจารณาจากผลการประเมิน คุณภาพการศึกษาระดับชาติ (National Test) หรือ NT แทน ตนได้ขอร้องให้ สพฐ. ไปทำรายงายละเอียดวิธีการรับแต่ละช่วงชั้น โดยเพิ่มชั้น ม.4 ด้วย กำหนดเวลาในการับ รวมวิธีการสอบ NT ว่าควรจะมีการสอบก่อนเพื่อให้เด็กทราบผลและเลือกโรงเรียนได้ทั้งในเขตพื้นที่และข้ามเขตคาดว่าจะมีการสอบในเดือน ก.พ.2547 (เดลินิวส์ ศุกร์ที่ 5 ธันวาคม 2546 หน้า 27)





สพฐ.เผยนร.แห่เรียนผ่านเน็ตซัมเมอร์นี้จัดทดลองระบบในร.ร.ใหญ่

นายเจริญ ภักดีวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่าจากการสำรวจข้อมูลการจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี ของสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พบว่า นักเรียนบางส่วนเรียนโดยไม่ได้รับความรู้ตามที่หลักสูตรใหม่กำหนดอย่างเต็มที่ให้ฝ่ายวิชาการโรงเรียน วิเคราะห์วิชาหลังพบองค์ความรู้ตามหลักสูตรใหม่ตกหล่น เผยนร.ต่างจังหวัดสนใจลงทะเบียนเรียนผ่านอินเตอร์เน็ตพร้อมนำร่อง 26 โรงเรียนทั่วไทย (สยามรัฐ จันทร์ที่ 8 ธันวาคม 2546 หน้า 7)





ยุติเอนทรานซ์’ 47เพิ่มจีพีเอ10% ทปอ.หนุนปี48เพิ่มอีก25% ล้มค่าพีอาร์ทันที

นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาหรือเอนทรานซ์ว่าถ้ายังให้มีการสอบคัดเลือกและสอบวัดความรู้ในช่วงเดือนตุลาคมต่อไป จะเป็นการสร้างแรงกดดันให้เด็กเพราะเดือนตุลาคมเด็กยังเรียนไม่จบหลักสูตร ก็ต้องไปเรียนกวดวิชาเพื่อให้สอบได้ ซึ่งถือเป็นความสิ้นเปลืองมหาศาล นายอดิศัย โพธารามิก มั่นใจจะทำให้ปัญหากวดวิชาเพราะนักเรียนขยันเรียนในห้องเรียนมากขึ้น พร้อมให้โรงเรียนจัดทดสอบทุกเดือนให้เด็กรอบรู้ตลอดเวลาไม่ใช่รอสอบไล่ ส่วนข้อสอบวัดความรู้ดึงผู้แทนจาก สพฐ.ร่วมออกด้วยตัดปัญหาข้อสอบนอกหลักสูตร นายอดิศัย กล่าวต่อว่า ตนได้หารือกับ ศ.วรเดช จันทรศร เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กอ.) เกี่ยวกับการเพิ่มค่าคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับ ม.ปลาย (GPA) และค่าตำแหน่งลำดับที่ (PR) ว่า ปีการศึกษา 2547 จะให้ใช้ค่า GPA เพิ่มเป็น 10% และค่า PR 5% รวมเป็น 15% (สยามรัฐ อังคารที่ 9 ธันวาคม 2546 หน้า 7)





นิสิตสาวจุฬาฯคว้าสองรางวัลทรงเกียรติ

หงษ์นภา ชาน นิสิตสาว ชั้นปีที่ 3 คณะพณิชการศาสตร์และการบัญชี (สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือผู้ได้รับสองรางวัลอันทรงเกียรติ รางวัลเยาวชนดีเด่นแห่งชาติปี 2546 สาขาพัฒนาเยาวชน บำเพ็ญประโยชน์ อาสาสมัคร สวัสดิการและประสานงาน รางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร เนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติ (20 ก.ย.2546) และรางวัลเยาวชนอาสาสมัครตัวอย่างแห่งชาติ สาขาผู้ทำคุณประโยชน์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคม จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เนื่องในวันอาสาสมัครแห่งชาติ (30 ต.ค.2546)(สยามรัฐ เสาร์ที่ 13 ธันวาคม 2546 หน้า 7)





‘อดิศัย’ ชม.สงขลารับนักศึกษาถูกทาง

นายอดิศัย โพธารามิก รมว.กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ตรวจเยี่ยมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) จ.สงขลา เมื่อเร็วๆ นี้โดย รศ.ดร.ประเสริฐ ชิตพงศ์ อธิการบดี มอ.ได้แนวทางการรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีปี 2547 ว่ามี 3 วิธีคือ การคัดเลือกโดยวิธีรับตรงจากนักเรียนในภาคใต้ร้อยละ 50 รับโครงการพิเศษต่างๆ ร้อยละ 10 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียนในภาคใต้ และคัดเลือกผ่านส่วนกลางร้อยละ 40 จากนักเรียนทั่วประเทศ สำหรับวิธีรับตรงมีการกระจายโอกาสทางการศึกษาให้โควตาอำเภอ โดยต้องมีนักเรียนจากทุกอำเภอในภาคใต้ได้ที่นั่งเรียนน้อยอำเภอละ 2 คนโดยไม่ซ้ำโรงเรียนกัน สำหรับปีการศึกษา 2547 จะรับนักศึกษาวิธีรับตรง 3,498 คนรับผ่านส่วนกลาง 2,882 คนและรับโดยวิธีพิเศษ 640 คน รวม 7,020 คน (สยามรัฐ เสาร์ที่ 13 ธันวาคม 2546 หน้า 7)





ร.ร.ในฝันกทม.เขต2ขึ้นเกรดเอ

นายนิวัตร นาคะเวช ที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กล่าวว่า โครงการ “หนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน” เป็นนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) โดยมีเป้าหมายสร้างโรงเรียนในฝันระยะแรกจำนวน 921 โรงเรียนทั่วประเทศ และจะขยายผลทุกตำบลและทุกโรงเรียนเพื่อสกัดไม่ให้เด็กไหลเข้ามาเรียนในอำเภอและสร้างเด็กให้มีคุณภาพทั้งทักษะการดำรงชีวิต การคิดวิเคราะห์และมีคุณธรรมจริยธรรม โดยการดำเนินการโรงเรียนในฝันนี้ได้แบ่งออกเป็น 3 เกรด คือ เกรด A จะดำเนินการให้สำเร็จภายใน 1 ปี เกรด B จะดำเนินการให้สำเร็จภายใจ 2 ปีและเกรด C จะดำเนินการให้สำเร็จภายใน 3 ปี ซึ่งโรงเรียนในสังกัด สพท.กทม.เขต 2 จะจัดอยู่ในเกรด A เพราะมีความพร้อมเกือบทุกด้านตามแผนงานหลักโครงการ “หนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน” (สยามรัฐ เสาร์ที่ 13 ธันวาคม 2546 หน้า 7)





รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ปี’46 นักวิจัยชาวาจีน-แพทย์ชาวอเมริกัน

มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานพิจารณาตัดสินขั้นสุดท้าย ผลปรากฏว่ารางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2546 ในสาขาการแพทย์ได้แก่ กลุ่มคณะวิจัยสมุนไพรหรืออาร์เทมิซีนีน พัฒนาเป็นยารักษาโรคไข้มาเลเรีย ส่วนรางวัลในสาขา การสาธารณสุข ได้แก่ ศ.น.พ.เฮอร์เบร์ด แอลนีด เดิ้ลแวน ศาสตราจารย์จิตเวชศาสตร์ และกุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ ม.ฟิตส์เอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ค้นพบว่าการได้รับสารเคมีในปริมาณน้อย แต่เป็นเวลานานจะส่งผลกระทบต่อสมอง และระบบประสาทของเด็ก ผู้ที่ได้รับรางวัลครั้งนี้จะได้รับเหรียญรางวัล, ประกาศนียบัตร และเงินรางวัล 2,000,000 โดยได้เข้ารับพระราชทานรางวัลจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 29 มกราคม 2547 ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบรมราชวัง (เดลินิวส์ จันทร์ที่ 1 ธันวาคม 2546 หน้า 26)





ข่าววิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี


สวทช.ตั้งค่ายวิทย์ถาวรสร้างเด็กไทย ‘อัจฉริยะ’

นางฤทัย จงสฤษดิ์ เลขานุการโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยความคืบหน้าในการสร้างค่ายวิทยาศาสตร์ถาวร ว่า ขณะนี้ ได้ออกแบบค่ายบนพื้นที่ประมาณ 10 ไร่ติดกับอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยเสร็จเรียบร้อยแล้ว “หลังจากที่ตัวแทนเด็กและเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษเข้าพบ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 พ.ย.ที่ผ่านมา ปรากฏว่านายกรัฐมนตรีได้ให้แนวคิดว่าอยากให้เด็กและเยาวชนที่จะเข้ามาใช้ประโยชน์จากค่ายถาวรเป็นเป็นผู้แสดงความคิดเห็นทั้งในเรื่องของค่ายถาวรในฝันที่เด็กอยากเห็น รวมทั้งรูปแบบกิจกรรมและสิ่งที่เด็กคาดหวังที่จะได้รับจากค่ายถาวรนี้ เพื่อจะได้แนวทางที่เหมาะสมในการตั้งค่ายวิทยาศาสตร์มากขึ้น” นางฤทัย กล่าวและเสริมว่า ในวันที่ 29 พ.ย.นี้ โครงการจะนำเด็กจำนวน 50 คนเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อทำเป็นข้อสรุปเสนอนายกรัฐมนตรีต่อไป (กรุงเทพธุรกิจ จันทร์ที่ 1 ธันวาคม 2546 หน้า 8)





จีนกับอินเดียชิงดีชิงเด่นด้านอวกาศต่างแข่งกันส่งยานพิชิตดวงจันทร์

องค์การอวกาศของจีน ได้ประกาศทางสถานีโทรทัศน์รัฐบาลว่า ได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะส่งยานอวกาศโดยไม่มีมนุษย์อวกาศเดินทางไปด้วย ไปลงบนดวงจันทร์ในปี พ.ศ.2553 หลังจากที่จีนเพิ่งได้เข้าร่วมสโมสรชาติมหาอำนาจทางอวกาศ เมื่อเพิ่งสามารถส่งมนุษย์อวกาศ ขึ้นเดินทางในวงโคจรรอบโลกไป 14 รอบได้สำเร็จเมื่อเดือนก่อนนี้ การอวดพลังอวกาศของจีน ได้ปลุกให้เกิดการแข่งขันของชาติใหญ่ของทวีปเอเซียขึ้น เมื่อทางอินเดียได้บอกไว้เหมือนกันว่า จะส่งยานอวกาศเดินทางไปยังดวงจันทร์ให้ได้ในปี พ.ศ.2551 นี้ ซึ่งจะตัดหน้าจีนได้ก่อน 2 ปี (ไทยรัฐ จันทร์ที่ 1 ธันวาคม 2546 หน้า 7)





เอกชนไทยคิดค้นรถ ‘ออลอินวัน’ มอเตอร์ไซด์-จักรยานในคันเดียวกัน

นายเผด็จ เสนานคร ผู้จัดการธุรการฝ่ายขาย เปิดเผยว่า “รถอีโคแบรนด์” ถือกำ เนิดขึ้นครั้งแรกเมื่อประมาณปี 2542 โดยผลิตรถจักรยานไฟฟ้าขึ้นมาเป็นอย่างแรก ก่อนจะตามมาด้วยการผลิตรถสกุตเตอร์ไฟฟ้า และรถที่เป็นทั้งสกุตเตอร์และจักรยานในคนเดียวกัน “แนวความคิดของการสร้างรถพลังงานไฟฟ้าขึ้นมาก็เห็นความสำคัญของการลดมลพิษทางอากาศโดยผลิตรถใช้พลังงานไฟฟ้าแทนการใช้พลังงานเชื้อเพลิงหรือใช้น้ำมันและยังช่วยประหยัดพลังงานของประเทศได้ด้วย โดยทำการออกแบบด้วยคนไทย แตมีการนำเข้ามอเตอร์ไฟฟ้าจากประเทศไต้หวันและนำเข้าแบตเตอรี่แห้งหรือแบตเตอรี่แบบลิเธียม ไอออน จากประเทศฮ่องกง ด้วยเหตุผลทางเทคนิคบางอย่างที่บริษัทพิจารณาเห็นแล้วว่าสมควรนำเข้าจากต่างประเทศมากกว่าการสั่งซื้อในประเทศ” นายเผด็จกล่าว และรถดับกล่าวหากผู้ใช้ต้องการชาร์ตไฟบ้านเข้าตัวรถก็เพียงดึงสายที่อยู่ในตัวรถไปเสียบกับตัวรถได้ทันทีโดยการชาร์ต 4-6 ชั่วโมงต่อ 1 ครั้ง จะวิ่งได้ระยะทางไกล 50-60 กิโลเมตร ด้วยอัตราเร็วต่ำสุด 20 กิโลเมตร และสูงสุด 40 กิโลเมตรแตกต่างกันไปสนแต่ละรุ่น (กรุงเทพธุรกิจ อังคารที่ 2 ธันวาคม 2546 หน้า 8)





จีนหมายตาดวงจันทร์

จีนตั้งเป้าว่าจะส่งยานอวกาศไปยังดวงจันทร์ และดาวเทียมโคจรรอบดวงจันทร์เพื่อสำรวจทรัพยากรธรรมชาติของดวงจันทร์และนำเอาทรัพยากรเหล่านั้นมาใช้ยังพื้นโลก ทรัพยากรที่ว่า เช่น ฮีเลียม-3, เหล็ก, ไทเทเนียม และน้ำแข็ง นอกจากนั้นยังทำแผนที่ภูมิศาสตร์ และสภาพแวดล้อมบนดวงจันทร์ โดยจะทำให้ได้ก่อนปี 2010 หรือ 2553 (เดลินิวส์ พฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม 2546 หน้า 20)





สร้างสรรค์ไอเดีย ด้วยปูนซีเมนต์ขาว

การประกวดออกแบบภายใต้โครงการ “White Cement Design Contest 2003” ที่จัดขึ้นโดยบริษัท สยามปูนซีเมนต์ขาว จำกัด และสมาคมสถาปนิกสยามฯ เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนมีความรู้ความสามารถในการนำปูนซีเมนต์ขาวไปออกแบบร่วมกับวัสดุอื่นๆ ในงานก่อสร้าง และงานตกแต่ง การประกวดแบ่งเป็น 2 หัวข้อคือ “Contemporary styke of living room” และ “Look at my yard” สำหรับการประกวดครั้งนี้คณะกรรมการได้ตัดสินรางวัลที่ 3 และรางวัลชมเชยเท่านั้น เนื่องจากเห็นว่า ความคิดริเริ่มและการออกแบบยังไม่มีมาตรฐานเพียงพอที่จะให้เป็นรางวัลที่ 1 และ 2 โดยผู้ที่ชนะอันดับ 3 คือ นายเอกพล เรืองกิจจานุวัฒน์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ตนเลือกหัวข้อ “Look at my yard” ใช้ชื่อชิ้นงานว่า “The white earth and natural” โดยมีแนวคิดเกี่ยวกับการแสดงเนื้อแท้ของวัสดุ ซึ่งให้ความสวยงามและเป็นธรรมชาติ ส่วน นายจิรายุ คุ้มทรัพย์ จากคณะมัณฑศิลป์ ม.ศิลปากร เจ้าของรางวัลชมเชย กล่าวว่า เลือกหัวข้อการออกแบบ “Contemporary style of living room” ใช้ชื่อชิ้นงานว่า “ตั่ง” ตนได้นำเอารูปแบบเครื่องเรือนไทยมาสร้างแนวคิดใหม่โดยมีการนำเอา เอา form ของตั่งมาใช้ และออกแบบให้ดูทันสมัยสามารถนำไปใช้ตกแต่งงานภายในร่วมกับฟอร์นิเจอร์อื่นๆ ได้อย่างลงตัว (เดลินิวส์ อาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม 2546 หน้า 18)





นักวิทย์นาซา ยกนิ้วเด็กไทยเจ๋งจริงวิจัยดินแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้นำคณะครูและนักเรียนโครงการ GLOBE จากโรงเรียนบ้านยางสูง จ.กาญจนบุรี และโรงเรียนดาราวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการประชุมการศึกษาค้นคว้าวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมเพื่อสิ่งแวดล้อมโลก (GLOBE Learning Expedition, GLE) ณ เมืองซิเบนิค ประเทศโครเอเชีย ร่วมกับนักเรียนอีก 24 ประเทศทั่วโลก เสนอผลงานวิจัยในหัวข้อ “ผลของสมบัติทางกายภาพของดินที่มีต่อการระบายน้ำในดิน” โดยคณะนักเรียนผู้ทำการวิจัยประกอบด้วย อภิชัย ตันเจริญ, พรชัย ดิลกโชคบำรุง และวรรณภา บำรุงเขต จากโรงเรียนบ้านยางสูง กฤษฎิ์พงษ์พันธุ์ พงษ์สุวรรณ, พัชริดา บุญโคตร และพงศธร หงษ์ทองคำ จากโรงเรียนดาราวิทยาลัย (สยามรัฐ จันทร์ที่ 8 ธันวาคม 2546 หน้า 7)





อเมริกาจะกลับสู่ดวงจันทร์

ที่ปรึกษาประธานาธิบดีบุช แห่งสหรัฐอเมริกาได้เตรียมเสนอแผนระยะยาวที่จะยื่นข้อเสนอสำหรับการมุ่งสู่อวกาศ สำหรับข้อเสนอที่ทางกลุ่มที่ปรึกษาเสนอเกี่ยวกับโครงการอวกาศนั้นมี 5 ข้อ คือหนึ่งเสนอที่จะยุบ เลิกสถานีอวกาศที่เริ่มหมดอายุแล้วทั้งหลาย สองเสนอแผนที่จะค่อยๆ ถอนตัวออกจากโครงการอวกาศนานาชาติ คือจะไม่ร่วมกับประเทศอื่นๆ สามจะสร้างยานอวกาศชนิดใหม่ที่สามารถให้มนุษย์ขึ้นไปได้ สี่จะต้องมีการถกถึงการคุ้มทุนในการที่จะสร้างสถานีฐานถาวรบนดวงจันทร์และห้าจะต้องมีข้อเสนอที่จะมีพันธกิจที่จะมุ่งสู่ดาวอังคารอย่างชัดเจน (เดลินิวส์ พฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม 2546 หน้า 16)





ข่าววิจัย/พัฒนา


อานุภาพของดนตรีบันดาลให้คนไข้คลายอาการเจ็บปวดลงมาก

นักวิจัยรายงานผลการศึกษาในวารสาร “การพยาบาล” ว่า ได้ศึกษากับคนไข้ชราโรคข้อเสื่อมจำนวน 68 คนโดยให้คนไข้ครึ่งหนึ่ง เข้าฟังเพลงวันละ 20 นาที เป็นเวลานานสองอาทิตย์ ส่วนที่เหลือไม่ได้ให้ฟังหลังจากนั้นได้ตรวจอาการเจ็บปวดชองคนไข้ทั้งสองพวก ปรากฏว่าพวกคนไข้ที่ได้ฟังเพลง ต่างรู้สึกหายปวดลงมาก ความเจ็บปวดคลายลงไปได้เกือบครึ่ง ศาสตราจารย์รูธ แมคคาฟฟรีย์ แห่งมหาวิทยาลัยการพยาบาลมหาวิทยาลัยแอนแลนติก ฟลอริดา กล่าวบอกว่า “เป็นเพราะดนตรีมีอานุภาพให้สมองหลั่งฮอร์โมนเอนดอร์ฟินส์ อันเป็นฮอร์โมนของความสุขออกมาได้ ช่วยบรรเทาอาการปวด ความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจอัตราการหายใจ และการบริโภคออกซิเจนให้ต่ำลง” พร้อมกับชี้ว่าการบำบัดด้วยดนตรี นับว่าเป็นการบำบัดที่สะดวก เพราะสามารถทำเองที่บ้านก็ได้ ทางโฆษกชองสมาคมรณรงค์วิจัยโรคข้ออักเสบของอังกฤษ ได้ออกความเห็นว่า “ดนตรีมีส่วนช่วยทำให้รู้สึกเย็นใจ เบาใจ และอาจทำให้เคลิ้มจนลืมความรู้สึกเจ็บปวดได้ชั่วครั่งชั่วคราว แต่การอ้างว่า มันช่วยให้ความเจ็บปวดด้วยโรคข้อเสื่อมบรรเทาลงได้ตั้งครึ่ง อาจจะเกินไปหน่อย ไม่ควรจะถือเป็นเรื่องจริงจังเกินไปนัก” (ไทยรัฐ จันทร์ที่ 1 ธันวาคม 2546 หน้า 7)





เทคนิคใหม่หลอมพลาสติกรีไซเคิลลดต้นทุน-ไม่เสื่อมคุณภาพ

การขึ้นรูปแม่พิมพ์พลาสติกโดยทั่วไปมักจะใช้ความร้อนที่ระดับ 200 องศาเซลเซียส หรือกว่านั้นแต่หากเป็นพลาสติกที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว และนำมาหลอมและขึ้นรูปใหม่ด้วยความร้อนคุณภาพของพลาสติกที่ได้จะลดระดับลงไปดังนั้นยิ่งนำพลาสติกกลับมารีไซเคิลมากครั้งเท่าใดคุณภาพที่ได้ก็จะลดลงเรื่อยๆ จนถึงระดับที่ใช้การไม่ได้ แต่นักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซสต์ (เอ็มไอที) พบวิธีใหม่ที่สามารถหลอมพลาสติกและนำไปขึ้นรูปได้ใหม่โดยที่ไม่ต้องใช้พลังงานความร้อนสูง นั้นหมายความว่าคุณสมบัติของโมเลกุลที่มีอยู่ก็จะไม่ได้รับความเสียหายไปด้วย งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการตีพิมพ์แล้วในวารสารเนเจอร์ คณะทำงานเลือกใช้ผลพลาสติก 2 ชนิดที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน ได้แก่ “โพลีสไตรีน” พลาสติก แบบแข็ง และ “โพลีบิวทิล อะคลิเลต” พลาสติกแบบอ่อน มาผสมเข้าด้วยกันโดยใช้ความดันเป็นตัวช่วยในการขึ้นรูป จะเห็นได้ว่าส่วนประกอบท่แข็งกว่าจะหลอมละลายเข้าเป็นเนื้อเดียวกันกับส่วนที่อ่อนกว่าในระดับนาโนเมตร ส่งผลให้กระบวนการขึ้นรูปเป็นไปอย่างง่ายดาย (กรุงเทพธุรกิจ จันทร์ที 1 ธันวาคม 2546 หน้า 8)





มก.วิจัยทำไข่สุขภาพ

ผศ.ดร.ชัยภูมิ บัญชาศักดิ์ หัวหน้าโครงการวิจัยทำไข่สุขภาพ พร้อมทีมงาน รศ.อังคณา หาญบรรจง จากภาควิชา สัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ดร.อมรรัตน์ พรหมบุญ จากภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำลังทำการวิจัยพัฒนา ไข่ไก่ เรื่องการเพิ่มโพเลท และวิตามิน บี 12 ในไข่ เพื่อสุขภาพของผู้บริโภค โดยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัย Cerebos Award ของบริษัทเซเรมอส จำกัด โครงการวิจัยนี้ ไม่ได้มุ่งที่จะเสริมโพเลท และวิตามิน บี 12 ในไข่ให้สูงขึ้นเป็นหลัก แต่ต้องการให้สารทั้ง 2 ช่วยกระตุ้นให้การสร้างหรือยับยั้งสารที่เราต้องการ เช่น เพิ่มเลซิติน หรือลด ไตรกลีเซอไรด์ เป็นต้น โดยให้ตัวแม่ไก่เป็นโรงงานสร้างอาหารที่มีประโยชน์ต่อผู้บริโภค (เดลินิวส์ ศุกร์ที่ 5 ธันวาคม 2546 หน้า





ไบโอเทคจัดทำสื่อและอุปกรณ์เพื่อการเรียนรู้เรื่องพืชจีเอ็มโอและความปลอดภัยทางชีวภาพ

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ร่วมกับสถาบันราชภัฏจัดทำต้นแบบสื่อและอุปกรณ์เพื่อการเรียนรู้ เรื่องสิ่งมีชีวิตดัดแปรงพันธุกรรมและความปลอดภัยทางชีวภาพ เตรียมมอบให้กระทรวงศึกษาธิการไปผลิตใช้ในโรงเรียนต่างๆ นางดรุณี เอ็ดเวิร์ดส ประธานคณะทำงานการให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเกี่ยวกับจีเอ็มโอและความปลอดภัยทางชีวภาพ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าวว่า การจัดทำสื่อและอุปกรณ์การเรียนรู้ในครั้งนี้ เพื่อต้องการให้เด็กนักเรียนได้เห็นภาพของพันธุวิศวกรรมได้ชัดเจนขึ้นไม่ต้องจำและอาศัยภาพในหนังสือแบบเดิม การให้เด็กนักเรียนได้จับต้อง ได้เห็นความแตกต่าง ได้สัมผัสใกล้เคียงกับของจริง จะเป็นการกระตุ้นความคิดของเด็กได้ดีขึ้น เชื่อว่าการที่เด็กได้เจอกับของจริงจะช่วยให้การอธิบายเรื่องยากๆ ทำได้ง่ายขึ้น สื่อและอุปกรณ์การเรียนรู้ที่ทางไบโอเทคจัดทำขึ้นในครั้งนี้ ประกอบไปด้วย 4 อุปกรณ์ได้แก่ แบบจำลองโครงสร้างภายในเซลล์ แบบจำลองโครงสร้างดีเอ็นเอ แบบจำลองเครื่องยิงอนุภาคในการทำวิจัยพันธุวิศวกรรม แบบจำลองการทดสอบความปลอดภัยทางชีวภาพต่อสิ่งแวดล้อม (เดลินิวส์ เสาร์ที่ 13 ธันวาคม 2546 หน้า 34)





มก.รับ17ล.ผันขยะเป็นไฟฟ้า

ดร.กนกศักดิ์ เอียมโอกาส รองคณบดีฝ่ายวิชาการ วิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตรื มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม เปิดเผยว่า ในแต่ละวันจะมีปริมาณขยะมูลฝอยจากกรุงเทพฯ ถูกนำไปทิ้งที่แหล่งฝังกลบมูลฝอย อ.กำแพงแสน ไม่ต่ำกว่า 5,000 ตันต่อวันและแม้จะได้รับการฝังกลบอย่างถูกวิธี แต่การย่อยสลายของอินทรีวัตถุ ประเภทเศษอาหาร เศษผลไม้ ภาคใต้สภาวะไรอากาศนั้นจะก่อให้เกิดก๊าซชีวภาพ ประเภทก๊าซมีเทน มก.จึงได้ทำการศึกษาวิจัยที่จะนำก๊าซดังกล่าวที่พัฒนาเป็นพลังงานทดแทนทั้งในรูปแบบความร้อนและการผลิตไฟฟ้าโดยจัดเป็นโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้ก๊าซชีวภาพมาใช้ประโยชน์เป็นพลังงานทดแทนในรูปแบบการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อป้อนให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (สยามรัฐ เสาร์ที่ 13 ธันวาคม 2546 หน้า 7)





แพทย์เตือน ‘วัยรุ่นอ้วน’ ระวังตับอักเสบ

พ.ญ.นลินี จงวิริยะพันธุ์ หน่วยโภชนาการ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดเผยว่า ตามที่ ร.พ.รามาฯ ได้จัดโครงการดูแลและรักษาวัยรุ่นที่เป็นโรคอ้วนปานกลางถึงรุนแรง โดยคัดเลือกนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการรณรงค์รูปร่างดีไม่มีขาย แต่มีน้ำหนักตัวเกิน เข้าโครงการและอยู่ภายใต้การติดตามของเจ้าหน้าที่มาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ตั้งเป้าให้วัยรุ่นที่อ้วนปานกลางและอ้วนรุนแรงให้ลดน้ำหนักได้ 20% ของน้ำหนักตัว ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2547 จะให้เวลาควบคุมน้ำหนัก ปรับพฤติกรรมการกิจ ออกกำลังกายและประกาศผลการแข่งขันในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ซึ่ง ร.พ.รามาฯ ถือว่าเป็นวัน “วัยรุ่น” พ.ญ.นลินีกล่าวว่า วัยรุ่นอ้วน คือวัยรุ่นที่มีน้ำหนักต่อส่วนสูงมากกว่า 120% ของเกณฑ์มาตรฐาน โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สำรวจการเจริญเติบโตของเด็กอายุ 5-18 ปีทั่วประเทศ คำนวณเป็นเกณฑ์มาตรฐานสำหรับวัยรุ่น ส่วนวัยรุ่นที่อ้วนปานกลางคือวัยรุ่นที่มีน้ำหนักต่อส่วนสูงมากกว่า 140% ของเกณฑ์มาตรฐาน วัยรุ่นที่อ้วนรุนแรง คือคนที่มีน้ำหนักต่อส่วนสูงเท่ากับหรือมากกว่า 160% ของเกณฑ์มาตรฐาน (มติชน จันทร์ที่ 1 ธันวาคม 2546 หน้า 18)





ข่าวทั่วไป


เผยอีก2ปีฝั่งธนฯมีเรดาร์จับฝนเสริมประสิทธิภาพรายงานเกาะติดเมฆทุกก้อน

ดร.สหัส บัณฑิตกุล รองผู้ว่าฯ กทม.เปิดเผยว่า กทม.ได้เตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม โดยเริ่มดำเนินงานตั้งแต่ ธ.ค. ถึง ส.ค. ของทุกปีจะลอกคลองให้ได้ 95 คลอง รวมกับกองทัพบกจะช่วยอีก 87 คลอง นอกจากนี้ กทม.ได้บำรุงรักษาเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องสูบน้ำ อาคารบังคับน้ำประตูระบายน้ำ วิทยุสื่อสาร ซึ่งในปีงบฯ 47 กทม.จะติดตั้งเรดาร์เสริมประสิทธิาภาพในการรายงานติดตามสภาวะฝนที่สถานีตรวจวัดย่านฝั่งธนบุรี (สยามรัฐ พฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม





ผู้พิการไทยเจ๋งคว้า 4 เหรียญทองแดง

นายสุรินทร์ จิรวิศิษฐ์ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน แถลงว่า จากการแข่งขันฝีมือแรงงาน คนพิการนานชาติ ครั้งที่ 6 ที่กรุงนิวเดลลี ประเทศอินเดีย ระหว่างวันที่ 23-29 พ.ย.46 ซึ่งมี 32 ประเทศ ส่งคนพิการเข้าร่วมแข่งขัน 1,500 คน ปรากฏว่าตัวแทนคนพิการจากประเทศไทย สามารถคว้ารางวัลมาได้ 4 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน และ 2 เหรียญทองแดง โดย 4 เหรียญทองได้จากสาขาประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์งานจากวัสดุเหลือใช้ การสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และการใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างงาน (เดลินิวส์ จันทร์ที่ 1 ธันวาคม 2546 หน้า 3)





หมอโต้เย็บกระเพาะลดอ้วนเสี่ยงน้อย

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม สำนักข่าวเอพีรายงานว่า การผ่าตัดเย็บกระเพาะเพื่อลดน้ำหนักในกลุ่มคนอ้วน ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในสหรัฐอเมริกา กลายเป็นเรื่องหวาดวิตกถึงอันตรายที่จะได้รับจากการผ่าตัด หลังจากที่มีผู้เข้ารับการผ่าตัด 2 คน ในนิวอิงแลนด์ เสียชีวิตระหว่างการผ่าตัดเย็บกระเพาะให้เล็กลง อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญการรักษาโรคอ้วนหลายคน กล่าวว่า กระบวนการผ่าตัดในปัจจุบันนั้นปลอดภัยกว่าที่ผ่านมามาก และผู้ป่วยส่วนใหญ่เห็นว่าการไม่เข้ารับการผ่าตัดกลับจะมีอันตรายมากกว่า โดยนายแพทย์เจนีย์ แพรตต์ ศัลยแพทย์แห่งโรงพยาบาลควบคุมน้ำหนักในเมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า การผ่าตัดเย็บกระเพาะถือเป็นการรักษาผู้ป่วยไม่ใช่เพื่อเสริมความงาม นอกจากนี้ ยงมีผู้ป่วยที่เสียชีวิตระหว่างรอการผ่าตัดเพราะโรคที่เกิดจากความอ้วนมากกว่าที่เสียชีวิตระหว่างการผ่าตัดเสียอีก ทั้งนี้การผ่าตัดเย็บให้กระเพาะเล็กลง จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อ กระเพาะรั่วและมีโอกาสที่จะเสียชีวิตเนื่องจากเส้นเลือดตีบได้ ขณะที่สมาคมศัลยแพทย์อเมริกัน ระบุว่า เมื่อปี 2541 มีคนอ้วนที่เข้ารับการผ่าตัดเย็บกระเพาะให้เล็กลงราว 25,800 คน และปีนี้คาดว่าจะมีผู้เข้ารับการผ่าตัดเย็บกระเพาะทั้งหมดราว 103,200 คน (มติชน อังคารที่ 2 ธันวาคม 2546 หน้า 10)





อย.สั่งปิด 30 วัน น้ำดื่ม ‘กระแสสินธุ์’

เมื่อวันที่ 3 ธ.ค.2546 นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รมว.สาธารณสุข พร้อมด้วย น.ส.สถาพร วงษ์เจริญ รองเลขาธิการ คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้เข้าตรวจโรงงาน ผลิตน้ำดื่มยี่ห้อกระแสสินธุ์ ของบริษัท เอ็น.เค. อุตสาหกรรมน้ำดื่ม ซอยจันทรเกษม บางซื่อ จากการตรวจสอบพบว่าโรงงานไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน GMP 5 หมวด จึงไดสั่งจึงได้สั่งปิดภายใน 30 วัน เพื่อปรับปรุงกิจการ (เดลินิวส์ พฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม 2546 หน้า 20)





ติวเข้มการปกครองท้องถิ่นอีกหนึ่งบทบาทมหาวิทยาลัยศิลปากร

มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีผลิตบุคลากรคุณภาพสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รองศาสตราจารย์ ดร.ชำนาญ ณ สงขลา หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการชุมชนคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตสารสนเทศ เพชรบุรี เปิดเผยว่า ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ในมาตรา 78 และ 79 ได้กำหนดให้รัฐกระจายอำนาจ ให้การปกครองท้องถิ่นได้เอง โดยท้องถิ่นมีอิสระในการ กำหนดนโยบายการพัฒนาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมการวางผังเมือง การปกครอง การบริหารองค์กร การบริหารบุคคล การเงินการคลังมีอำนาจหน้าที่ของตนเอง โดยมีกฎหมายรองรับในรูปขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ที่เกี่ยวข้องกับการปกครองท้องถิ่นประมาณ 6,746 แห่ง มีบุคลากร





ย้ายคลังน้ำมันพ้นกทม.ดีเดย์เดือนก.พ.ปีหน้า/ ยกเว้นปตท.-บางจาก

นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รมว.พลังงานเปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารถึงแนวทางการย้ายคลังน้ำมันออกจากพื้นที่กรุงเทพฯ ว่าจากการประชุมคณะกรรมการวางแผนและกำหนดมาตรการระยะยาวในการย้ายคลังน้ำมันเชื้อเพลิงย่านคลองเตย ร่วมกับบริษัทผู้ค้าน้ำมัน 7 ราย เมื่อวันที่ 2 ธ.ค.และ 9 ธ.ค.46 ที่ผ่านมามีข้อสรุปเป็นข้อเสนอให้ย้ายคลังน้ำมันทั้งหมดออกไปไว้ที่รอบนอกของกรุงเทพฯ แทนยกเว้นคลังน้ำมันของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และบางจากปิโตเลียม จำกัด (มหาชน) ที่ตั้งอยู่ในเขตพระโขนง เพื่อใช้เป็นคลังน้ำมันร่วม ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือน ก.พ.47 เป็นต้นไป (สยามรัฐ ศุกร์ที่ 12 ธันวาคม 2546 หน้า 9)





สวทช.ร่วมเอกชนผลิตอาหารกุ้งจากสาหร่ายสไปรูลินา

สวทช.ร่ามกับบริษัท เฟิร์สไลน์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ร่วมพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลินาด้วยน้ำหนัก หรือน้ำมูลสัตว์ สำหรับผลิตเป็นอาหารสัตว์ โดยเฉพาะกุ้งกุลาดำ เหตุเป็นอาหารเสริมที่โปรตีนสูง และสามารถประหยัดต้นทุนในการเลี้ยงกว่าการใช้อาหารเสริมชนิดอื่นๆ (เดลินิวส์ เสาร์ที่ 13 ธันวาคม 2546 หน้า 34)






KMUTT Digital Library
Contact Digital Library : info@lib.kmutt.ac.th
Tel : 0-2470-8215