หัวข้อข่าวปีที่ 1 ฉบับที่ 3 ประจำวันที่ 2000-04-01

ข่าวการศึกษา

การจัดอันดับสถาบันการศึกษา
ระบบเทียบโอนผลการศึกษา
การบรรจุนักเรียนทุนกระทรวงสาธารณสุข
มสธ.พร้อมนอกระบบ
อธิการบดีคนใหม่ของสถาบันราชมงคล
รร.วิทยาศาสตร์
หลักสูตรเภสัชศาสตร์ 6 ปีแห่งแรกในเอเชีย
มศว เตรียมออกนอกระบบ
การร้องเรียนของผู้ปกครอง
ข้อร้องเรียนของอาจารย์ผู้สอนใน ม.มหานคร
การกำหนดเขตพื้นที่การศึกษา
โรงเรียนผู้ใหญ่พระดาบส
การเพิกถอนกรรมการออกข้อสอบ และตรวจข้อสอบ
ประกาศผลเอ็นทรานซ์ได้ 9 พ.ค.
27 โรงเรียนเอกชน ผ่านการรับรองมาตรฐาน
สถาบันราชภัฏงดรับเด็กฝาก
การจัดตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ
แจ้งผลเอ็นทรานซ์ผ่านเว็บไซต์
สถาบันยอดนิยม
อันดับคณะและภาควิชาที่ได้รับความนิยม
สำนักงานปฏิรูปการศึกษา
การฝากเด็กผิดรัฐธรรมนูญ
แนวทางการปฏิรูปการศึกษาของกรมอาชีวฯ
สาธิตมก.ปรับปรุงเกณฑ์รับนักเรียน
มหาวิทยาลัยอิเล็คโทรนิคส์

ข่าววิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี

ครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์ – วิศวกรรมศาสตร์ผิดสเป๊ก
ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพด้านการแพทย์ และสาธารณสุข
พระราชดำรัสของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
เทคนิคการแทนกระดูกเก่า
การสร้างพืชจีเอ็มโอ

ข่าววิจัย/พัฒนา

การแปรรูปอาหารของไบโอเทค
โครงการเกษตรพอเพียงจากภูมิปัญญาชาวบ้าน
ผลการวิจัยเรื่องนโยบายการศึกษาของพรรคการเมืองในต่างประเทศ
การออกใบรับรองพืชปลอด GMOs
น้ำส้มมีสารต่อต้านมะเร็ง
ญี่ปุ่นให้ทุนวิจัยมลภาวะในกทม.
บุหรี่ไม่ได้ช่วยชะลอสมองเสื่อม
อาหารกากใยสูง ไม่ช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้
หัวหอมต้านกระดูกผุบาง

ข่าวทั่วไป

องคมนตรีห่วงเด็กไทย
ระบบนิเวศเสื่อมทำให้ทากระบาด
ปัญหาการขาดแคลนน้ำ





ข่าวการศึกษา


การจัดอันดับสถาบันการศึกษา

สภาคณบดีคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย ได้สมัครใจที่นำร่อง การจัดระดับคณะครุศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ทั้ง 55 แห่งทั่วประเทศ การแต่งตั้งคณะทำงาน จัดอันดับคณะวิจัย ที่สนใจให้เสนอ โครงการวิจัยมายัง สำนักโครงการปฎิรูปอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ และจะประกาศจัดอันดับภายในเดือน ก.พ. 2544 อย่างไรก็ตาม การจัดอันดับดังกล่าว ไม่ใช่เป็นการจัดอันดับ เพื่อการแข่งขันเพื่อให ้ สถาบันอุดมศึกษา ได้ช่วยพัฒนา คุณภาพของตนเอง





ระบบเทียบโอนผลการศึกษา

ดร.กล้า สมตระกูล ประธานคณะอนุกรรมการ ดำเนินการปฏิรูปการเทียบโอนผลการศึกษาทุกระดับการศึกษากระทรวงศึกษาฯ กล่าวว่า ขณะนี้คณะกรรมการฯ ได้ยกร่างกรอบ แนวคิด การเทียบโอน ผลการศึกษาสำเร็จ เรียบร้อยแล้ว มีวิธีเทียบโอน 2 วิธี พิจารณาจาก หลักฐานการศึกษา และจากผลการศึกษา ผลการเรียนรู้ ทักษะและประสบการณ์ อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการฯ จะทำประพิจารณ์ รับฟังความคิดเห็นและ ข้อเสนอแนะ ก่อนนำเสนอคณะกรรมการปฏิรูปการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ทดลองใช้ในปีการศึกษา 2543 นี้ จากนั้นจะมีการปรับปรุง จุดอ่อนครั้งก่อนที่จะ ประกาศใช้จริงในปี 2544





การบรรจุนักเรียนทุนกระทรวงสาธารณสุข

นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ ซึ่งสำเร็จการศึกษาปี 2542 ประมาณ 10 คน เดินทางมายื่นหนังสือถึงนายชวน หลีกภัย ผ่านเจ้าหน้าที่ กองรับเรื่องราวร้องทุกข์ เพื่อ ความเป็นธรรม ในการเปลี่ยนแปลงการใช้ทุน ของนักศึกษาเภสัช-ศาสตร์ โดยระบุถึงมติกรรม การกำหนดเป้าหมาย และนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร) ที่ให้ ผู้ทำสัญญาสำเร็จการศึกษาปี 2542 ที่ไม่ประสงค์จะ รับราชการพ้นความผูกพัน โดยไม่เสียค่าปรับ นักศึกษาจึงแสดงความจำนง ไม่ใช้ทุนและ ได้เข้าทำงานกับภาคเอกชน แต่ ปรากฎ มีการเปลี่ยนแปลง ให้ทุกคนกลับมาใช้ทุนโดยให้เป็นลูกจ้าง ในส่วนราชการไม่ใช่ ตำแหน่งทางราชการ ขอให้รัฐบาลให้ความเป็นธรรม นายกร ทัพพะรังสี รมว.สธ. ได้เรียกประชุมผู้บริหาร ที่เกี่ยวข้องเพื่อหาข้อสรุป ที่ประชุมเห็นสอดคล้องกันว่า การบรรจุนักเรียนทุนของ สธ.เข้าเป็นพนักงานของรัฐตามมติ คปร. เมื่อเดือน มี.ค. 2543 นั้นประสบปัญหา เป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ เนื่องจากสถานที่ทำงาน ของบุคคลกรเหล่านี้ เป็นสถานที่ราชการ ถ้าผู้บังคับบัญชา เป็นพนักงานของรัฐ จะไม่สามารถลงโทษ หรือกำกับดูแล ผู้ใต้บังคับบัญชาที่เป็น ข้าราชการได้ และมีกฎหมายใดมารองรับ สธ.จะนำปัญหาและ อุปสรรคดังกล่าวเสนอ คปร. การออกนอกระบบ ของหน่วยราชการ ตาม พ.ร.บ.องค์กรมหาชนอิสระ จะต้องดูความพร้อม ของสถานพยาบาลในสังกัด สธ. ที่จะออกนอกระบบก่อน ขณะนี้โรงพยาบาล รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆในสังกัด เป็นสถานที่ราชการ คนที่ทำงานควรจะเป็นข้าราชการ หาก คปร. ยังยืนยืนยันมติเดิม ต้องให้ ครม. เป็นผู้ตัดสิน นายพิชัย รัตตกุล รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะ ประธานคณะกรรมการ กำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร) กล่าวถึงกรณีที่นายกร ทัพพะรังสี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารสุข (สธ) ออกมาให้สัมภาษณ์ขัดแย้งกับมติ คปร. ที่ให้บรรจุผู้ทำสัญญา ใช้ทุนทุกสาขาวิชาชีพ เป็นพนักงานของรัฐ ว่าเรื่องนี้ คปร. ได้ประชุมชี้แจง ร่วมกันกับผู้แทนของ สธ. ทุกหน่วยงานเรียบร้อยแล้ว มีมติว่าให้บรรจ ุในตำแหน่งที่ว่าง ซึ่งมีกว่า 2,000 ตำแหน่ง ส่วนที่เหลือ ให้เป็นพนักงานของรัฐ และต่อไปให้หยุดรับ การเป็นพนักงานของรัฐ จะเสียสิทธิบางอย่างไป เพราะต่อไปนี้หน่วยงาน ที่ออกนอกระบบราชการ เช่น มหาวิทยาลัย พนักงานจะได้รับเงินเดือนสูงขึ้น จึงต้องมีการประเมิน





มสธ.พร้อมนอกระบบ

รศ.ดร.ทองอินทร์ วงค์โสธร อธิบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช (มสธ) เปิดเผยถึงแนวการปรับเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐของมสธ. ว่า ขณะนี้ มสธ.กำลังเตรียมการเพื่อรองรับการนอกระบบคือ 1. พัฒนาระบบการจัดบุคลากรที่เข้ามาทำงานในระบบใหม่ว่าจัดอย่างไร เพื่อให้งานมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ จะสนับสนุนผู้ที่ต้องการในระบบเดิมให้ดีที่สุด 2. วางระบบสำหรับรองรับที่จะเข้ามาใหม่ โดยให้เป็นไปตามระบบใหม่เพราะระบบราชการจะไม่มีการรับอัตราใหม่ 3. สำหรับการตั้งหน่วยงานใหม่ เช่น สาขาวิชา สำนัก และศูนย์ต่างๆให้ตั้งในรูปของนอกระบบได้เลย ตามระเบียบมหาวิทยาลัย 4. การประกันคุณภาพ ซึ่งทุกมหาวิทยาลัยเมื่อออกนอกระบบจะต้องดำเนิน





อธิการบดีคนใหม่ของสถาบันราชมงคล

สภาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล (รม.) ได้ประชุมเพื่อสรรหาอธิการบดีคนใหม่สืบต่อจากนายวินิจ โชติสว่าง ที่จะครบวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี เป็นวาระที่ 2 ในวันที่ 9 มิถุนายนนี้ ซึ่งปรากฏว่าที่ประชุมลงมติให้นายนำยุทธ์ สงค์ธนาพิทักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ขึ้นเป็นอธิการบดี นายนำยุทธ เกิดเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2490 จบปริญญาโทด้านอิเล็กทรอนิกส์ จากสถาบัน Macquavia University Australia ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ (ไฟฟ้าสื่อสาร) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้อำนวยการ(ผอ.) วิทยาเขตตาก ผอ. วิทยาเขตภาคใต้ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผู้ช่วยอธิการบดี รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มีผลงานเช่นการจัดตั้งสถาบันไทย – เยอรมัน เพื่อสนองความต้องการ กำลังคนของภาคอุตสาหกรรม





รร.วิทยาศาสตร์

นายวิชัย ตันศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ภายหลังคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่ ศธ. เสนอขอแก้ไข เพิ่มเติมกรณี การจัดตั้ง โรงเรียนวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นสถานศึกษาเฉพาะทางในรูปองค์กรมหาชน โดยเปลี่ยนชื่อจาก โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาลง-กรณ์ มาเป็นโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ซึ่งนอกจากเน้น ความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ ยังมุ่งเน้นด้านสังคม การมีมนุษยสัมพันธ์ คุณธรรมและ จริยธรรม สำหรับสถานภาพของบุคลากรใน โรงเรียนเดิม จะมีการให ้มีเวลาตัดสินใจ จะปรับเปลี่ยนมาเป็นเจ้าหน้าที่ ของโรงเรียนตามรูปแบบใหม่ ภายในเวลา 6 เดือน หากใคร ที่ไม่ประสงค์ จะเข้าเป็นเจ้าหน้าที่ หรือไม่ผ่านการประเมิน สามารถขอย้าย ไปโรงเรียนอื่นได้ นอกจากนี้ภายใน 4 ปี หากบุคลากรที่ได้ เป็นเจ้าหน้าที่เกิดความไม่สบายใจ ต้องการจะขอกลับ เข้าเป็นข้าราชการเหมือนเดิม ก็สามารถ แจ้งกรมสามัญฯ ขอย้ายไปโรงเรียนอื่นได้ด้วย





หลักสูตรเภสัชศาสตร์ 6 ปีแห่งแรกในเอเชีย

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) เปิกหลักสูตรเภสัชศาสตร์ หลักสูตร 6 ปี เป็นแห่งแรกของไทย แห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปีการศึกษา 2543 เปิดรับนักศึกษาโดยรับตรงเป็นรุ่นที่ 2 จำนวน 80 คน หลักสูตรนี้ ศึกษาพื้นฐานด้านยา เมื่อเรียนจบแล้ว จะเป็นเภสัชกรเช่นเดียวกับหลักสูตร 5 ปี แต่สิ่งที่เหนือกว่าคือสามารถ สัมผัสกับผู้ป่วย มีการฝึกงานมากขึ้น จะฝึกงานตั้งแต่เรียนปี 3 – 6 โดยในชั้นปี 6 จะฝึกงานทั้งปี ฝึกวิชาละ 6 สัปดาห์ คล้ายกับหลักสูตรแพทยศาสตร์ จะฝึกเกี่ยวยาอายุรศาสตร์ ยาทางเด็ก ขณะนี้หลักสูตร 6 ปี เปิดรับผู้ที่จบ หลักสูตร 5 ปี เข้าต่อยอดอีก 2 ปี แล้วได้รับการตอบรับอย่างดี ในปี 2550 สภาเภสัชจะรับรอง เฉพาะหลักสูตร 6 ปีเท่านั้น ดังนั้น มหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เปิดคณะเภสัชศาสตร์อยู่ในระหว่าง ปรับเปลี่ยนหลักสูตรจาก 5 ปี เป็น 6 ปี โดยในปีการศึกษา 2544 จะเป็นรุ่นสุดท้าย ที่มหาวิทยาลัยจะรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ หลักสูตร 5 ปี นอกจากนี้มีโครงการร่วมเอกชน องค์-การอาหารและยาและ สมาคมเภสัชกรุงเทพมหานคร และชุมชน จัดหลัก สูตรเภสัชศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเภสัชศาสตร์ชุมชน จะเปิดรับนักศึกษาปี 2543 เป็นปีแรก จำนวน 60 คน นอกจากนี้ ยังจัดหลักสูตรมหาบัณฑิต เภสัชศาสตร์ ร่วมกับกรม วิเทศสหการ หลักสูตร นานาชาติเน้นงานวิจัย หลักสูตรนี้จะเน้นรับนักศึกษาจาก ลาว พม่า เวียดนาม จีนตอนใต้ และจะทำโครงการ ผลิตบัณฑิตปริญญาเอกร่วมกับ มหาวิทยาลัยของไทย ในต่างจังหวัด 6 แห่ง มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น หลักสูตรดังกล่าวจะเน้นงานวิจัยเพียงอย่างเดียว เกี่ยวกับสมุนไพร และการคิดค้นตัวยาใหม่ๆ





มศว เตรียมออกนอกระบบ

ดร.สุมณฑา พรหมบุญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ (มศว) แถลงว่า มศว ได้เริ่มดำเนินการเตรียมการ ออกนอกระบบมาระยะเวลาปีกว่าแล้ว ได้ตั้งคณะทำงาน เพื่อตั้งกรอบแนวคิด นำเสนอเข้าสู่สภามหาวิทยาลัย เพื่อขอหลักการ และแนวคิดเพิ่มเติม ให้คณะกรรมการเตรียมการ ออกนอกระบบ มศว มี ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต ประธานสภามหาวิทยาลัย ผู้ทรงคุณวุฒิ ประธานคณะทำงาน ซึ่งขณะนี้ได้กรอบความคิด ที่ซัดเจนแล้ว คณะกรรมการ ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงาน ทั้งหมดในมหาวิทยาลัยแล้ว 13 ครั้ง โดยสรุป บุคลากรมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่เห็นชอบที่จะมีการเปลี่ยนแปลงสถานะ มหาวิทยาลัยเป็น มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล สำหรับปัญหา และข้อวิตกของบุคลากร นั้นจะต้องรอมติคณะรัฐมนตรี ที่จะหารือแก้ไขข้อวิตกห่วงใย ทั้งในเรื่องงบประมาณ และสิทธิประโยชน์ของ ข้าราชการ ที่จะต้องออกนอก ระบบไปเป็นพนักงาน อธิการบดี มศว กล่าวว่า จะดำเนินการเป็นขั้นเป็นตอน เริ่มจากการกรอบความคิด นำเสนอเข้าสู่สภามหาวิทยาลัย คาดว่าจะสามารถนำเสนอ ได้ในการประชุมสภาในวันที่ 12 พ.ค.นี้ เมื่อได้รับความเห็นชอบจะดำเนินการร่างมติ พ.ร.บ. มศว ทันที และคาดว่า จะส่งร่าง พ.ร.บ. ให้แก่ทบวงมหาวิทยาลัยได้ภายในปี 2543 นี้แน่นอน





การร้องเรียนของผู้ปกครอง

ผู้ปกครองจำนวนหนึ่งมาร้องเรียนต่อ น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และนายสุวัฒน์ เงินฉ่ำ อธิบดีกรมสามัญศึกษา ขอให้โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รับนักเรียนระดับ ม.1 เพิ่มขึ้น จากห้องละ 40 คน เป็น 45 คน รวมถึงเปิดเพิ่มขึ้นอีกห้องหนึ่ง จำนวนประมาณ 55 คน จากเดิมรับ 11 ห้อง โดยให้เหตุผลว่าอยู่พื้นที่บริการ โดยบางรายเจ้าบ้าน และบางรายเป็นผู้อาศัยครบ 2 ปี ผู้ปกครองกลุ่มดังกล่าว ได้เข้าร้องเรียนต่อผู้อำนวยการโรงเรียนแล้วแต่ ไม่ประสบผล





ข้อร้องเรียนของอาจารย์ผู้สอนใน ม.มหานคร

นายสมพร อรรคเศรณีวงศ์ อาจารย์ประจำและอดีตผู้อำนวยการบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ทำหนังสือร้องเรียนถึงผู้บริหารมหาวิทยาลัย ขอลาออกจากตำแหน่ง ผู้อำนวยการบัณฑิตฯและอาจารย์ โดยระบุ เพราะถูกแทรกแซงการดำเนินงาน จากการที่มหาวิทยาลัย การตัดเกรดวิชา CIVL 0415 เทอม 2/2543 ที่ตนสอนโดยพลการ จากการตัด F ทุกครั้งจะอยู่ในช่วง 25 – 29% และครั้งนี้ตัด F ที่ 28% แต่ทางมหาวิทยาลัยมาตัด F ที่ 13% ถือว่ากระทำโดยไม่สนใจ ระบบคะแนนและข้อสอบของอาจารย์ผู้สอน เป็นการละเมิดจรรยาบรรณ และทำลายคุณภาพ น.ศ. ทางอ้อม นายเลอเกียรติ วงศ์สารพิกุล รองอธิบดีฝ่ายวิชาการ กล่าวว่า ปกติการตัดเกรดจะมีคณะกรรมการกลั่นกรองเกรด ไปสิ้นสุดที่คณะกรรมการกำกับมาตรฐานของสำนักการสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ทบวงมหาวิทยาลัย ซึ่งถ้ากรรมการเห็นว่าเหมาะสมก็เปลี่ยนได้ ในครั้งการเปลี่ยนเกณฑ์การตัดเกรดไม่ได้ผลส่งผลต่อนักศึกษาที่ได้เกรดที่ได้ C+ ขึ้นไปซึ่งถือว่าสอบผ่าน ขณะที่คนที่ได้ D, D+ จะได้เกรดดีขึ้นนั้นมีน้อย ฉะนั้นจึงไม่กระทบมาตรฐานการศึกษา การปรับเกณฑ์ตัดเกรดเป็นเรื่องปกติ และวิชาที่นายสมพรสอน ก็ถูกปรับเกรดหลายครั้ง ซึ่งคนที่ได้ประโยชน์ ก็คือนักศึกษา





การกำหนดเขตพื้นที่การศึกษา

นายปราโมทย์ เจนวิทย์การ รองผอ.ศูนย์ปฏิบัติการศูนย์ปฎิรูปการศึกษาแจ้งว่าการประชุมคณะกรรมการปฏิรูปการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ที่ประชุมได้พิจารณา ความก้าวหน้าการกำหนด เขตพื้นที่การศึกษา มอบหมายให้คณะกรรมการกำหนดเขตพื้นที่ การศึกษากระทรวงศึกษาธิการ ศึกษาข้อมูลเชิงลึกในด้านประชากร วัยเรียน ความสามารถในการรับนักเรียน ความสามารถในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ความคุ้มทุนในการดำเนินการ เขตพื้นที่การศึกษาจำนวน 12 เขต กระทรวงศึกษาฯ ร่วมกับคณะกรรมการบริหารสำนักงานปฏิรูปการศึกษา (สปศ) คัดเลือกไว้จากพื้นที่ในแบบทดลอง 289 เขต ซึ่งคาดว่าผลสรุปการศึกษา และสามารถ ประกาศเขต พื้นที่ทดลอง ได้ในเดือนตุลาคมนี้ นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบ แผนปฏิบัติการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี ตามที่อนุกรรมการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี แต่ขอให้ร่วมกับกรมต่างๆ จัดทำแผนปฏิบัติ เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายเสนอ ที่ประชุม ในครั้งต่อไป





โรงเรียนผู้ใหญ่พระดาบส

โรงเรียนผู้ใหญ่พระดาบส เปิดฝึกอบรมวิชาชีพช่างอุตสาหกรรมให้แก่บุคคลผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ แต่มีความตั้งใจ ศรัทธาขวนขวายหาความรู้ เป็นวิชาชีพเพื่อนำไปประกอบอาชีพ หลักสูตรประจำ (กินอยู่ประจำที่ โรงเรียน) ระยะเวลาศึกษา 15 เดือน เปิดรับสมัคร ช่างเครื่องยนต์ ช่างไฟฟ้ากำลัง ช่างอิเล็กทอนิกส์ รับสมัครตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2543 ณ โรงเรียนผู้ใหญ่พระดาบส แผนใหม่อาคารกาญจนาภิเษก ภายในเขตพระฐาน ท่าว่าสุกรี ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 ในวันเวลาราชการ ผู้เรียนจะต้องสมัครด้วยตนเอง หรือสมัครทางไปรษณีย์ รับจำนวนจำกัด ผู้สมัครเองที่ผู้ใหญ่พระดาบส ในระหว่างการศึกษา ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับ พระราชทานพระมหากรุณาไม่เสียค่าใช้จ่าย ที่เกี่ยวกับการศึกษาใดๆ ทั้งสิ้น และมูลนิธิพระ-ดาบสจะจัดอาหารเลี้ยง 3 มื้อ





การเพิกถอนกรรมการออกข้อสอบ และตรวจข้อสอบ

นายวันชัย ศิริชนะ ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย กล่าวถึงกรณีที่ทบวงฯ สั่งถอดถอนผู้บริหารระดับสูงของคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 4 คน ออกจากการเป็นกรรมการออกและตรวจข้อสอบ เอ็นทรานซ์ ปีการศึกษา 2543 เนื่องจากละเมิดหน้าที่กรรมการ โดยจัดค่ายอบรมและติวเข้ม เอ็นทรานซ์ให้กับนักเรียน ในโครงการฝึกอบรมทักษะทางศิลปะ เพื่อการทดสอบซึ่งเป็นโครงการของ ม. บูรพา ว่ากรณีที่ทบวงฯ ตรวจสอบพบว่า มีกรรมการไปจัดอบรมหรือจัดติววิชาที่เกี่ยวข้อง จะถือว่าทำตัวไม่เหมาะสม ทบวงฯ จะไม่ให้เป็นกรรมการอีกต่อไป นายปราโมทย์ โชติมงคล เลขาธิการ ผู้ตรวจการแผ่นดิน รัฐสภา อดีตรองปลัดทบวงฯ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ทบวงฯ ได้ทำหนังสือแจ้ง ม. บูรพาว่า ได้ถอดถอนกรรมการฯ ทั้ง 4 คน ดังกล่าว ภายหลังได้รับเรื่องร้องเรียน และได้ตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นความจริง ส่วนผู้บริหาร ม. บูรพา จะดำเนินการอย่างใดกับบุคคลดังกล่าวต่อไปหรือไม่นั้น คงไม่เกี่ยวกับทบวงฯ ทบวงฯ จึงได้ทำหนังสือแจ้ง นายผาสุข กุลละวณิชย์ อธิการบดี ม. บูรพา เมื่อวันที่ 21 และ 23 มีนาคม ที่ผ่านมา ขอให้นายผาสุข ชี้แจงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น แต่ผ่านไป 1 เดือนแล้ว ทบวงฯ ยังไม่ได้รับการชี้แจง ซึ่งทบวงฯ จะให้เวลาอีกประมาณ 2 เดือน ถ้ายังไม่ได้รับคำชี้แจงก็จะดำเนินการในขั้นต่อไป





ประกาศผลเอ็นทรานซ์ได้ 9 พ.ค.

นางวราภรณ์ สีหนาท ผู้อำนวยการสำนักทดสอบกลาง ทบวงมหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ในวันที่ 25 เมษายนนี้ เป็นกำหนดส่งข้อมูลผลคะแนนเฉลี่ยสะสมชั้น ม.ปลาย (GPA) และเปอร์เซ็นต์ไทล์ แรงก์ (PR) ของผู้จบชั้นม.6 หรือเทียบเท่า รุ่นปีการศึกษา 2542 ของกระทรวงศึกษาธิการ และสังกัดอื่นๆ ให้ทบวงฯ คาดว่าจะไม่มีปัญหา เพราะในช่วงที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประสานงานกับทบวงฯ ตลอดเวลา ส่วนปัญหาก่อนหน้านี้ที่พบว่า มีผู้สมัครกว่า 5,000 คน ไม่มี GPA และ PR นั้น ทางศธ. ได้ยืนยันว่ามีไม่ถึง 5,000 คน และขณะนี้แก้ปัญหาจนได้ข้อมูลเกือบครบแล้ว หลังจากทบวงฯได้ข้อมูล GPA และ PR จะทำการตรวจสอบข้อมูล ของผู้สอบวัดความรู้ เพื่อนำผลคะแนนครั้งสูงสุด มาใช้ในการประเมินร่วมกับคะแนน GPA และ PR ซึ่งถ้าทบวงฯพบว่าคะแนน GPA และ PR มีปัญหา ก็จะแจ้งกลับไปยังศธ. ในวันที่ 26 เมษายน เพื่อให้ศธ. ส่งข้อมูลที่ถูกต้องกลับมาอีกครั้ง และถ้าทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอน ทบวงฯก็จะประกาศผลการสอบได้ในวันที่ 9 พฤษภาคม นางอารีรัตน์ วัฒนสิน รองอธิบดีกรมวิชาการ กล่าวว่า การส่งข้อมูลคะแนน GPA และ PR ไปยังทบวงฯ เชื่อว่าจะไม่มีปัญหา เพราะได้เตรียมการมาอย่างดี ข้อมูล GPA และ PR ของนักเรียนที่หาไม่พบก่อนหน้านี้นั้น ขณะนี้ทุกกรมได้ตรวจพบ และส่งมายังศูนย์สารสนเทศเรียบร้อยแล้ว





27 โรงเรียนเอกชน ผ่านการรับรองมาตรฐาน

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.) เปิดเผยว่า จากที่สช. ได้จัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายนอกให้กับโรงเรียนเอกชนที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมาตั้งแต่ปี 2538 ปรากฏว่า มีโรงเรียนที่ผ่านการรับรองมาตรฐานคุณภาพจนถึงปี 2541 รวม 124 โรง และสำหรับในปี 2542 นี้ ในรอบ 6 เดือนแรกมีโรงเรียนที่ผ่านการประเมินอีก 27 โรง โรงเรียนที่ผ่านการประกันคุณภาพ ภายนอก สช. จะนำเสนอ สำนักงานรับรอง และประเมินมาตรฐานคุณภาพ เป็นองค์กรมหาชนจัดตั้งใหม่ ขอให้รับรองโดยไม่ต้อง ถูกประเมินซ้ำอีกสำหรับการประเมินในรอบ 5 ปีแรก นอกจากนี้ สช. ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน เพื่อให้โรงเรียนเอกชนได้ประเมินตนเองตามข้อกำหนดใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติด้วย





สถาบันราชภัฏงดรับเด็กฝาก

นายสงบ ลักษณะ เลขาธิการ สรภ. ได้ทำหนังสือเกี่ยวกับมติของอธิการบดีดังกล่าว รายงานไปยังรัฐมนตรี ในกระทรวงศึกษาธิการทุกคน ระบุว่า ที่ประชุมอธิการบดีมีนโยบายไม่รับการฝากเข้าเรียนใน สรภ. เพราะจะสร้างความไม่ยุติธรรม และความไม่เสมอภาคในโอกาสเข้าเรียน กระทบต่อภาพพจน์ของสถาบันที่มีมาตรฐานการรับนักศึกษาทัดเทียมนักศึกษาของรัฐ แต่สถาบันราชภัฏแต่ละแห่งสามารถพิจารณารับนักศึกษาเพิ่มได้ เพื่อทดแทนจำนวนที่อาจขาดไปในบางโปรแกรมวิชา หรือรับเพิ่มตามจำนวนหมู่ที่สามารถจัดเพิ่มได้ รับนักศึกษาเข้าเรียนในระบบทางเลือก เช่น เรียนทางไกล เรียนผ่านสื่อเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นอำนาจของสภา ประจำสถาบันราชภัฏ และอธิการบดีจะพิจารณาบนพื้นฐานของความยุติธรรม เสมอภาค ได้มีผู้แสดงความคิดเห็นดังนี้ น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึง ที่ประชุมอธิการบดีสถาบันราชภัฏทั่วประเทศทั้ง 36 แห่ง มีมติว่าจะไม่รับเด็กฝากปีการศึกษา 2543 คิดว่าเป็นเรื่องดี ที่ออกมาสกัดการฝากเด็ก ได้ระดับหนึ่ง การรับนักศึกษาของสถาบันราชภัฏ ให้โอกาสกับคนในชุมชน ไม่ใช่คัดเด็กที่เรียนเก่งเข้าไปอย่างเดียว ต้องบ่มเพาะคนที่ไม่เก่ง ให้เป็นคนเก่ง สามารถประกอบอาชีพได้ นายวิชัย ตันศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า การเรียนในระดับปริญญาตรี ไม่ควรมีการฝาก ทุกคนต้องเข้าเรียนตามความสามารถตนเอง นายไพโรจน์ โล่ห์สุนทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า เห็นด้วยที่จะไม่มีเด็กฝาก จะทำได้หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับตัวอธิการบดีของแต่ละสถาบัน เพราะไม่มีใครสามารถไปบังคับ ให้รับได้ นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล กล่าวว่า มติของที่ประชุมอธิการบดี สถาบันราชภัฏมีช่องว่าง เป็นการซ่อนปมให้สิทธิแก่อธิการบดี และกรรมการสภาประจำสถาบัน ในการรับนักศึกษา เมื่อมีมติไม่ให้คนในศธ. ฝากก็ไม่ควรเปิด ช่องให้อำนาจแก่อธิการบดี และ กรรมการสภาสถาบันรับนักศึกษา เพิ่มในภายหลัง เพื่อให้เกิดความโปร่งใสอย่างแท้จริง





การจัดตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ

คณะกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษาเพื่อคนพิการ ด้อยโอกาสและผู้มีความสามารถพิเศษ มีมติให้สถาบันราชภัฏจัดวิชาการศึกษาพิเศษเป็นวิชาบังคับ 1 รายวิชา สำหรับนักศึกษา ในสายครูในสถาบัน ที่มีศูนย์การศึกษาพิเศษ และสถาบันที่มีความพร้อม ทั้งยังกำหนดเป็นนโยบายให้สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา ศธ. บรรจุเนื้อหาเรื่องการศึกษาพิเศษ ในหลักสูตรการฝึกอบรมด้วย คณะกรรมการยังได้กำหนดแนวทางการจัดการศึกษา เพื่อคนพิการในแผนพัฒนาฉบับที่ 9 ระหว่างปี 2545-2549 ดังนี้ 1.การขยายการดำเนินการ ให้คนพิการทุกคนได้เรียน 2.จัดตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษแห่งชาติ โดยมีศูนย์ในเขตพื้นที่เป็นเครือข่าย 3.ระบบการจัดสรร งบประมาณ โดยเน้นการกระจายอำนาจ ไปให้สถานศึกษา และสมทบงบฯของท้องถิ่น 4.กำหนดปฏิญญาการศึกษาเพื่อคนพิการ 5.ขอความร่วมมือองค์กรคนพิการของเอกชนเป็นผู้ตรวจสอบการทำงานของศธ.





แจ้งผลเอ็นทรานซ์ผ่านเว็บไซต์

นายปรเมศวร์ มินศิริ รองประธานบริหารฝ่ายกลยุทธ์บริษัท เอ็มเว็บ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทเป็นองค์กรแรก ที่ได้รับอนุมัติจาก ทบวงมหาวิทยาลัย ในการให้บริการ แจ้งผลสอบเอ็นทรานซ์ อย่างครบถ้วนผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต โดยจะส่งผลสอบทางอีเมล์ที่นักเรียนได้ลงทะเบียนไว้ที่ http://education.mweb.co.th ให้แต่ละคนระหว่างวันที่ 9-15 พฤษภาคมนี้ โดยเว็บไซต์ดังกล่าว จะเปิดให้นักเรียนเข้ามาลงทะเบียนล่วงหน้า ระหว่างวันที่ 1-8 พฤษภาคม นอกจากนั้นนักเรียนและผู้ปกครอง ยังสามารถตรวจผลสอบได้ ทางโทรศัพท์มือถือที่ใช้เทคโนโลยี WAP โดยบริษัทจะระบุหมายเลขประจำตัวผู้สอบ ชื่อ-นามสกุล รหัสคณะ คณะ และชื่อมหาวิทยาลัย





สถาบันยอดนิยม

นายวันชัย ศิริชนะ ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ในการสมัครเลือกคณะของการคัดเลือก บุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา หรือเอ็นทรานซ์ ระบบใหม่ ประจำปีการศึกษา 2543 ทบวงฯ ได้จัดอันดับสถาบันและ คณะที่มีผู้นิยมสมัครมากที่สุด ดังนี้ สถาบันที่มีผู้สมัคร ในทุกอันดับการเลือกมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) 73,941 คน รับ 4,688 คน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) 41,392 คน รับ 2,212 คน และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) 38,581 คน รับ 1,891 คน สถาบันที่มีผู้เลือกสมัครเป็นอันดับการเลือกที่ 1 มากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 20,784 คน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 16,412 คน และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 14,134 คน คณะวิศวกรรมศาสตร์ทุกสาขา สมัครมากที่สุด 3 อันดับแรก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง 10,984 คน รับ 810 คน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 6.422 คน รับ 1,045 คน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า - ธนบุรี 6,059 คน รับ 558 คน ทบวงฯได้เริ่มนำผลการเรียนเฉลี่ยสะสม หรือ GPA และ PR มาประเมินในวันที่ 29 เมษายน





อันดับคณะและภาควิชาที่ได้รับความนิยม

นายวันชัย ศิริชนะ ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย เปิดเผยชื่อคณะที่ได้รับความนิยมจากผู้สมัครเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาประ-จำปี 2543 รวม 20 คณะ เรียงตามความนิยม คณะวิศวกรรมศาสตร์ กลุ่มวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มีผู้สมัคร 7,252 ราย คณะสังคมศาสตร์ประเภทวิชาภูมิศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ มีผู้สมัคร 7,252 ราย คณะสังคมศาสตร์ประเภทวิชาภูมิศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ มีผู้สมัคร 6,047 ราย วิทยาเขตศรีราชา สาขาการเงิน(วิทย์) ม.เกษตรศาสตร์ มีผู้สมัคร 5,366 ราย คณะวิทยาศาสตร์ (วิทยาเขตบางแสน) สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ม.บูรพา มีผู้สมัคร 5,014 ราย คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีผู้สมัคร 3,237 ราย นายวันชัยกล่าวว่า อันดับที่มีผู้สมัครมากแสดงถึงการแข่งขันที่สูง เหตุที่ผู้สมัครนิยมเลือกมาก เนื่องจากที่ผ่านมามีคะแนนค่อนข้างน้อย ผู้สมัครจึงเลือกเผื่อพลาด ก็มีบางที่ตั้งใจจริงๆ ซึ่งคล้ายกับปีที่แล้วคือผู้สมัครนิยมเลือกคณะที่คะแนนต่ำ คณะแพทยศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์แต่ละมหาวิทยาลัย มีผู้สมัครเลือกน้อยประมาณ 400 – 500 ราย ส่วนการแข่งขันเพียง 1 ใน 3 หรือ 1 ใน 4 แต่การแข่งขันก็ไม่ใช่น้อย การแข่งขันในหมู่ผู้ที่มีคะแนนสูง คณะวิศวะ สจล. ซึ่งมีผู้นิยมเป็นอันดับแรก มีผู้สมัครน้อยคะแนนจึงต่ำ จึงแห่ไปสมัครเพราะคิดว่าคะแนนน้อย





สำนักงานปฏิรูปการศึกษา

นางสาวเจือจันทร์ จงสถิตอยู่ เลขาธิการสำนักงานปฏิรูปการศึกษากล่าวว่า โครงสร้างสำนักงานมี 4 สำนักงานรองรับ สภาการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, คณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน, คณะกรรมการอุดมศึกษา, และคณะกรรมการศาสนาและวัฒนธรรม โดยแต่ละสำนักงานมีฐานะเทียบเท่ากรมขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการ กำหนดให้มี สำนักงานปลัดกระทรวงเป็นหน่วยบริหารกลาง รวมทั้งให้มี องค์กรอิสระเป็นองค์กรมหาชน 3 องค์กรคือ สำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และสถาบันพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ส่วนองค์กรอิสระอื่นๆ อยู่ระหว่างพิจารณา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ขอให้คำนึงว่าหน่วยงานใหม่ต้องไม่ยิ่งใหญ่กว่ากรมในปัจจุบัน ต้องเน้นประสานกับเขตพื้นที่การศึกษา อย่างจริงจัง ซึ่ง 289 เขตที่แบ่งไปนั้นน่าจะลดลงได้อีก เพราะเกรงจะมีปัญหาด้าน การจัดสรรงบประมาณ





การฝากเด็กผิดรัฐธรรมนูญ

จากกรณีที่มีข่าวว่าคณะกรรมการกฤษฎีกามีข้อวินิจฉัยเรื่องการรับนักเรียนผู้มีอุปการคุณของโรงเรียนสาธิตแห่ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ว่า เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพราะไม่ก่อให้เกิดความเท่าเทียม กันทางการศึกษานั้น นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ไม่แน่ใจว่าการวินิจฉัยดังกล่าว จะส่งผลถึงการรับเด็กในส่วน ของผู้มีอุปการคุณในโรงเรียนมัธยมหรือไม่ จึงได้สั่งการให้ ดร.พนม พงษ์ไพบูลย์ ปลัดกระทรวงศึกษาฯหารือกับฝ่ายกฎหมาย เพื่อเตรียมหาทางแก้ปัญหา เพราะหากขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็อาจจะต้องมีการรับนักเรียนใหม่ ซึ่งจะเป็นปัญหาใหญ่แน่นอน ข้อวินิจฉัยจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นการวินิจฉัยเฉพาะกรณี ร.ร.สาธิตเกษตรฯ ว่าผิดรัฐธรรมนูญ แต่ไม่ทราบว่าจะเกี่ยวโยงถึงกระทรวงศึกษาฯหรือไม่ แต่การรับเด็กผู้มีอุปการคุณของโรงเรียนมัธยม เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น และเป็นการรับในโรงเรียนบางโรง ที่มีเงื่อนไขตั้งแต่เริ่มก่อตั้งโรงเรียน





แนวทางการปฏิรูปการศึกษาของกรมอาชีวฯ

นายจรูญ ชูลาภ อธิบดีกรมอาชีวศึกษา กล่าวบรรยายเรื่องแนวทางการปฏิรูป การอาชีวศึกษาต่อผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษาว่า กรมได้ร่าง พ.ร.บ. การอาชีวศึกษาเพื่อรองรับ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ มีสาระสำคัญคือต่อไป สถาบันอาชีวศึกษาจะเปิดหลักสูตรปริญญาตรีมากขึ้น ในรูปเครือข่าย ความร่วมมือหลายสถาบัน โดยสถาบันนั้นๆ จะมีฐานะเป็นนิติบุคคล ภายใต้การกำกับดูแลของ คณะกรรมการเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา สำหรับสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน และสถานประกอบการ ที่จัดฝึกงานนักศึกษาอาชีวะ จะดึงให้ร่วมเป็นเครือข่ายของ สถาบันเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา เพื่อร่วมมือทางวิชาการ สร้างคุณภาพ และมาตรฐานวิชาชีพต่อไป "แนวคิดปฏิรูปการอาชีวศึกษาที่สำคัญอีกแนวหนึ่งคือ การที่สถานศึกษา สามารถส่งนักศึกษาเข้าไป ฝึกงานในโรงงาน และสถานประกอบการได้ เพราะจะทำให้เด็กมีทักษะ ทางวิชาชีพตรงตามที่ตลาดต้องการ แต่ที่ผ่านมายังทำได้น้อยและล่าช้า เนื่องจากอาจารย์ไม่รู้สภาพ ของสถานประกอบการอย่างแท้จริง" นายจรูญกล่าวถึงกรณี กำหนดเขตพื้นที่การศึกษาแตกต่างไป จากที่สำนักงานปฏิรูปการศึกษา (สปศ.) กำหนดว่า กรมต้องการกำหนดให้อยู่ในกรอบของเขตอุตสาหกรรม เพราะต้องการให ้ภาคอุตสาหกรรมในแต่ละพื้นที่ ได้เข้าร่วมจัดการศึกษา ขณะที่ สปศ. อาจกำหนดโดยนักการศึกษา ที่อาจจะมองภาพของการอาชีวศึกษา ยังไม่ชัดเจน แต่ก็เชื่อว่า สปศ.ยินดีจะรับฟังความเห็นของกรม





สาธิตมก.ปรับปรุงเกณฑ์รับนักเรียน

นายธีระ สูตะบุตร อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) เปิดเผยกรณี ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สรุปคำวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ เรื่องที่โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยเกษตร์ศาสตร์ ดำเนินการสอบคัดเลือกนักเรียน ไม่เป็นธรรม ว่าได้รับแจ้งจากคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว ขณะนี้นิติกรกำลังสรุปประเด็น เพื่อจัดเตรียมมาตรการ รับนักเรียนในปีการศึกษา 2544 การระบุว่าเกณฑ์รับนักเรียนขัดมาตรา 30 ในรัฐธรรมนูญนั้น หมายถึงอาจจะเท่านั้น โรงเรียนสาธิตมก.ได้ปรับปรุงเกณฑ์รับนักเรียน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2541 โดยแบ่งกลุ่มอายุชัดเจน การระบุว่าการรับไม่สอดคล้อง กับวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งโรงเรียนนั้น โรงเรียนสาธิตมก. ตั้งเพื่อเป็นที่ศึกษาวิจัยของนิสิต ดังนั้นเด็กที่เข้าเรียนต้องหลากหลาย ไม่ใช่รับโดยพิจารณาจากคะแนนสูงสุดเพียงอย่างเดียว หลักเกณฑ์ 4 ข้อที่คณะกรรมการ วินิจฉัยร้องทุกข์ระบุว่าเป็นหลักเกณฑ์พิเศษที่ไม่ได้ ประกาศให้สาธารณชนรับรู้ ส่งผลให้โรงเรียนใช้ดุลพินิจได้ตามอำเภอใจนั้น จะยกเลิกหรือไม่ จะต้องหารือกับนักกฎหมาย รวมทั้งคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย เกณฑ์ในปีการศึกษาหน้าในส่วนของผู้มีอุปการคุณ คงไม่แยกประเภทการรับออกจากบุคคลทั่วไป การรับบุตรหลานของบุคลากรใน มก. ไม่ใช่ สวัสดิการ เป็นการเสริมสร้างประสิทธิภาพให้อาจารย์ เจ้าหน้าที่และลูกจ้าง หรือกรณีบุตรของตำรวจจราจร ที่มาอำนวยความสะดวก โรงเรียนก็รับเข้าเรียนเพราะเห็นว่า ได้ช่วยเหลือมหาวิทยาลัย สำหรับวิธีจับสลากนั้น ไม่เห็นด้วยที่จะให้มี เป็นการรับเด็กเข้าเรียนโดยการวัดดวง แท้จริงแล้วโรงเรียนอยากสอบสัมภาษณ์ อย่างเดียว แต่เมื่อมีผู้สมัครมากยากแก่การปฏิบัติ กรณีเด็กฝากนั้น ถ้าใครฝากก็ยินดีรับไว้พิจารณา โดยไม่มีการแยกจำนวน ที่ชัดเจน เพราะไม่อยากตีตราบาปให้เด็ก ในกรณีที่ต้องการให้มีวิธีรับที่เท่าเทียมและเป็นธรรม การให้สิทธิพิเศษแก่เด็กออทิสติกปีละ 5 คน เป็นธรรมหรือไม่ ถ้าประเมินแบบเดียวกับ เด็กทั่วไปจะเป็นธรรมหรือไม่ ถ้าอยากให้ยกเลิกเกณฑ์ 4 ข้อก็สามารถทำได้ แต่สังคมไทยเป็นสังคมเอื้อเฟื้อกัน มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สำหรับผู้ที่ช่วยเหลือกัน





มหาวิทยาลัยอิเล็คโทรนิคส์

Don Norman ประธานบริษัท Unext Learning Systems ได้ให้สัมภาษณ์ ในวารสาร Ubiquity ว่า ขณะนี้บริษัท Unext ได้จัดตั้งมหาวิทยาลัยชื่อ Cardean University เป็น Virtual University โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำ คือ U. of Chicago, Columbia U., Stanford U., Carnegie Melon U. และ London School of Economics พัฒนารายวิชาเพื่อเผยแพร่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต รายวิชาเหล่านี้ไม่เหมือนรายวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยเหล่านั้น เนื่องจากรายวิชาเดิม ที่มีอยู่ไม่เหมาะสำหรับ การเรียนรู้ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะรายวิชาเดิมที่มีการเรียนการสอนแบบบรรยาย แม้แต่การนำวีดิทัศน์การเรียนการสอน ที่ใช้วธีสอนแบบบรรยาย มาเผยแพร่บนเครือข่ายก็ไม่เหมาะสม กับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้มีงานทำ ที่ต้องการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาตนเอง หรือเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งมีเวลาจำกัด ในระยะแรกจะเปิดการเรียนการสอนในสาขาบริหารธุรกิจก่อน เนื่องจากมีผู้สนใจมาก ระยะเวลาในการเรียนการสอน ของแต่ละรายวิชาจะใช้เวลาเพียง 5 สัปดาห์ เนื่องจากผู้เรียนมีเวลาจำกัด วิธีสอนจะใช้วิธีสอนแบบ Problem Based Learning ผู้เรียนจะต้องเสาะแสวงหา สืบสวนหาความรู้มาใช้ในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง ในการเรียนรู้ จะเน้นการอภิปรายระหว่างผู้เรียนกับผู้เชี่ยวชาญ ผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้สอนจะมีหน้าที่ให้คำปรึกษาและแนะนำ วิธีการเรียนจะเน้นการนำโจทย์ตัวอย่างจริง (Realistic Examples) มาให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ค้นคว้า และเสาะแสวงหาความรู้มาแก้ปัญหา ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้ขวนขวายหาความรู้ ใฝ่เรียนรู้ รายวิชาเหล่านี้ จะมีการปรับปรุงแก้ไข นำไปทดลองใช้จนกว่าจะได้ผลที่น่าพอใจ จึงจะเผยแพร่





ข่าววิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี


ครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์ – วิศวกรรมศาสตร์ผิดสเป๊ก

ปลัดทบวงมหาวิทยาลัยกล่าวว่า ทบวงฯได้รับเงินกู้จากธนาคารโลก จำนวน 143 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะนำไปจัดซื้อ ครุภัณฑ์และอุปกรณ์ การเรียนการสอน ที่เป็นเทคโนโลยี สมัยใหม่ ให้กับคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในสังกัดทบวงฯ ได้จัดประกวด แม้มีการตั้งคณะกรรมการ เพื่อตรวจสอบสเป๊กอย่างละเอียด มีครุภัณฑ์ต่ำกว่า หรือสูงกว่าสเป๊กปรากฎ ให้เห็นอยู่เสมอ ๆ รวมทั้งมีการสั่งซื้อสินค้าที่เลิกผลิตไปแล้ว สินค้า ล้าสมัยหรือสินค้าที่มีมาตรฐานเกินความต้องการทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง ดังขอให้ผู้เกี่ยวข้องตรวจดูสเป๊กอย่างสมเหตุผลรวมถึงความจำเป็นในการใช้งาน





ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพด้านการแพทย์ และสาธารณสุข

นายกร ทัพพะรังสี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และนายประจวบ ไชยสาส์น รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ได้ร่วมกันลงนาม ในบันทึกตกลงความร่วมมือ ในการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพ ด้านการแพทย์สาธารณสุข ศูนย์ดังกล่าวจะใช้งบประมาณปี 2544 ร่วมกับเงินกู้จากต่างประเทศ จำนวน 3,500 ล้านบาท เพื่อพัฒนา ห้องปฏิบัติการทางความปลอดภัย ด้านสุขอนามัยของ ประชาชน ใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการตรวจวินิจฉัยโรค ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ จากการตัดต่อพันธุกรรม นายภักดี โพธิศิริ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ขณะนี้หลายหน่วยงาน ในประเทศไทย สามารถตรวจสอบ ได้แล้วว่าผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ มาจากการตัดต่อพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) หรือไม่ แต่ยังไม่มีที่ใดที่สามารถพัฒนาสารเคมี เพื่อทำการตรวจสอบผลิตภัณฑ์เหล่านั้นได้ ยังคงต้องซื้อสารเคมีจากต่างประเทศ ทำให้ราคาค่าตรวจสอบสูง แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ทางศูนย์ จะสามารถผลิตน้ำยาตรวจสอบได้ ซึ่งจะลดค่าใช้จ่ายในเรื่องนี้ได้หลายเท่า





พระราชดำรัสของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

จากการประชุมวิชาการประจำปี ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับเศรษฐกิจพอเพียง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานการประชุม และทรงฝากข้อคิดในการพัฒนาความพอเพียงทางเทคโนโลยี ตอนหนึ่งว่า คนไทยจำเป็นต้องมีความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ดีเพื่อให้รู้เท่าทันผู้อื่นและให้ปฏิบัติได้ เพราะบางที มีการต่อต้านของสมัยใหม่ แต่ไม่มีความรู้ ก็ต่อต้านไม่ถูกก็แพ้เขาอยู่ดี ดังนั้น จึงต้องเรียนรู้ให้มากขึ้น ทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีก็ต้องลงทุน ให้เกิดประโยชน์สูงสุดของประเทศ และคุ้มทุนไม่ใช่วิจัยเพื่อสนอง ความรู้นักวิจัยและใช้ประโยชน์ไม่ได้หรือบางครั้งภาครัฐและเอกชนไม่สามารถนำไปต่อยอด ก็เก็บไว้บนหิ้งทำให้เกิดการสูญเปล่า สำหรับการพัฒนาบุคลากร ทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะ การคัดเลือกบุคคลไปศึกษาต่อ นอกประเทศก็เป็นเรื่องจำเป็น ถ้ามีเงินน้อยก็ต้องเลือกบุคคล ที่มีความสามารถเพียงพอ จะได้ไม่สูญเปล่า จากการตรวจเยี่ยมโรงเรียนในชนบทพบว่า หลักสูตรและสื่อการศึกษา ที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่ค่อยได้เกื้อกูล ให้คนในประเทศมีโอกาสศึกษาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเท่าเทียมกัน และมักจะพูดอยู่เสมอว่า คนไม่สนใจศึกษาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี แต่เขามีสิทธิหรือเปล่า หรือว่าเขามีโอกาสเท่าเทียมหรือเปล่า ในชนบทจะเห็นเลยว่า โรงเรียนมุ่งขยายชั้น ม.ปลาย เรียนขาดแบบแผน มีแผนกต่างๆปนกันหมดทั้งสายวิทย์ สายศิลป์ เพื่อที่จะให้ได้สถิติว่ามีคนเรียนต่อม.ปลายมาก เด็กไม่ได้รับความรู้ด้านวิทย์ฯ อะไรที่ว่าจะมีประโยชน์ก็เข้าไม่ได้ ก็รับความรู้แบบโหลๆเข้าไป ออกมาเลยกลายเป็นผู้มีปริญญา ที่ว่างงานไปอีกแยะ ก็คงจะต้องมาคิดกันใหม่ อย่างไรก็ตาม หวังว่าแนวทางการพัฒนา เศรษฐกิจพอเพียง จะสามารถสร้างความมั่นคงให้แก่บุคคล ครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติได้





เทคนิคการแทนกระดูกเก่า

วารสารวิทยาศาสตร์ "นิว ไซแอนติสต์" ของสหรัฐฯเปิดเผยว่า มีการใช้เทคนิคใหม่ ปลูกกระดูกให้งอกขึ้น จากไขกระดูกของเจ้าตัวขึ้น แทนการเปลี่ยนกระดูกแทนกระดูก ที่เสียหายเพราะอุบัติเหตุ โรคข้ออักเสบ หรือแม้แต่การผ่าตัดมะเร็ง ด้วยวิธีการต่างๆ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน กระดูกที่ได้จากคนอื่นก็ต้องระวังเรื่องโรคภัยอย่างเช่น โรคตับอักเสบ โรคเอดส์ที่ติดมา ทั้งยังจะต้องเตรียมคอยรับ กับปฏิกิริยาของร่างกาย ที่ต้องต่อต้านสิ่งแปลกปลอมมาด้วย กระทั่งการใช้โลหะแทนกับกระดูก เทคนิคใหม่ ตัวอย่างไขกระดูกของคนไข้ มาเป็นคนไข้มาเป็นเชื้อปลูกกระดูกขึ้น จากก้อนสารเคมี อันเป็นส่วนประกอบแร่ธาตุ ของกระดูก โดยใช้เวลาสัก 4 – 6 อาทิตย์ จะเกิดเซลล์งอกขึ้นเป็นชั้นของกระดูก สามารถนำไปปลูกให้กับคนไข้ได้ เนเธอร์แลนด์อ้างว่าเคยปลูกกระดูกชิ้นโตได้ยาว 2 เซนติเมตร ใส่ให้กับกระต่ายสำเร็จมาแล้ว และนักวิทยาศาสตร์ของอังกฤษ เชื่อว่าประสบความสำเร็จ เชื่อว่าจะสามารถทำได้ภายในเวลา 3 – 5 ปีนี้





การสร้างพืชจีเอ็มโอ

นายเอกเกิร์ท โฟเชอร์เรา หนึ่งในคณะกรรมการบริหารบริษัทเอเอสเอฟ เอจี กล่าวว่า บริษัทมีแผนที่จะลงทุนประมาณ 25,200 ล้านบาท เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพของพืช ในช่วงเวลา 10 ปี นับจากนี้ไป โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพในพืช เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในระยะที่สองและสาม โดยคาดว่าจะเป็นผู้นำในการสร้างพันธุ์พืช ที่มีความอดทนต่อสภาพความหนาวเย็นและความแห้งแล้ง ขณะเดียวกัน พืชชนิดนั้นก็จะให้วิตามินและกรดไขมันที่มีประโยชน์เพิ่มขึ้น





ข่าววิจัย/พัฒนา


การแปรรูปอาหารของไบโอเทค

นางดรุณี เอ็ดเวิร์ล รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) เปิดเผยว่า ไบโอเทคจัดทำโครงการอาหารพื้นบ้านสู่ธุรกิจชุมชน เป็นโครงการช่วยส่งเสริม การประกอบอาชีพ ของประชาชนในชนบท โดยไบโอเทคจะส่งนักวิชาการที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน ในเรื่องการแปรรูปอาหารชนิดต่างๆ เข้าไปให้ความรู้ แก่กลุ่มชาวบ้าน ที่ต้องการทำอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ ให้ตัวเอง และครอบครัว รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด เพื่อเข้าไปวางแผนการตลาด ในการจัดจำหน่ายอาหารแปรรูป เหล่านั้นด้วย ไบโอเทคเคยทำโครงการ นี้มาบ้างในบางพื้นที่ แต่หลายแห่งยังทำกันไม่จริงจัง ไม่ได้มาตรฐาน และไม่มีการวางแผนการตลาดทำอาชีพ ขาดความต่อเนื่อง ไบโอเทคจึงจะเข้าไปดำเนินการสำรวจ ข้อมูลว่าพื้นที่ใด มีอาหารประเภทใดอยู่จำนวนมาก และสามารถแปรรูปอาหารเหล่านั้นได้ แล้วจึงเข้าไปฝึกอบรมการแปรรูป และการผลิตที่ได้มาตรฐาน ถูกหลักอนามัย ให้การรับรองมาตรฐานการผลิต อบรมเรื่องการวางแผนการตลาดให้ ที่ผ่านมาหลาย พื้นที่ประสบความสำเร็จค่อนข้างสูง โดยเฉพาะที่ อ.นาแห้ว จ.เลย ชาวบ้านผลิตน้ำฝรั่ง แยมฝรั่งจากผลฝรั่งที่จำหน่ายไม่ทัน ได้เดือนละหลายพันบาท มาตรฐานของการผลิตอาหาร เป็นเรื่องสำคัญ ไบโอเทคได้ออกมาตรฐานอาหาร ที่เป็นเอกลักษณ์ของคนไทยได้แล้ว 3 ชนิด คือ ปลาร้า แหนม และต้มยำกุ้ง ซึ่งคำว่ามาตรฐานรสชาติอาหารนั้น ไม่ใช่เกณฑ์กำหนด ตายตัวว่าจะต้องมี รสชาติตามที่กำหนดเอาไว้ เป็นการกำหนดตัวหลักเอาไว้เพื่อเปรียบเทียบเท่านั้น เพราะคนแต่ละคนนั้น ย่อมชอบรสชาติไม่เหมือนกัน





โครงการเกษตรพอเพียงจากภูมิปัญญาชาวบ้าน

นายสิมา โมรากุล อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า ขณะนี้ กรมพัฒนาที่ดินมีแผนที่จะดำเนินโครงการเกษตรพอเพียง โดยการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่งได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ดำเนินการศึกษาการทำการเกษตร ของเกษตรกรตัวอย่างดีเด่นทั่วประเทศ ที่ได้รับรางวัลในวันพืชมงคล จะเข้าไปศึกษา ข้อมูลชุดดิน วิธีการปรับปรุงบำรุงดิน พันธุ์พืชที่ปลูก วิธีการเพาะปลูก การดูแลรักษาไปจนถึงการเก็บเกี่ยว การขนส่งผลผลิตว่า ดำเนินการอย่างไรถึงประสบผลสำเร็จ ทั้งนี้จะต้องนำข้อมูล ทางด้านเศรษฐกิจคือต้นทุนการผลิต และผลกำไรที่ได้รับเข้าไปพิจารณาด้วย อย่างไรก็ตาม จะมีการนำระบบข้อมูลสารสนเทศ ทางภูมิศาสตร์ (GIS) ที่กรมพัฒนาที่ดินมีอยู่แล้ว มาประยุกต์ผสมผสานกับข้อมูลที่ได ้ จากภูมิปัญญาชาวบ้าน จัดทำเป็นเอกสารในรูปแบบของแผ่นพับ เพื่อแนะนำกับ เกษตรกรรายอื่นๆ ที่มีชุดดินชุดเดียวกัน ไปเป็นหลักทฤษฎีในการทำการเกษตรด้วย เช่น กรณีการสำรวจโดยระบบ GIS พบว่าพื้นที่ทำการเกษตรเป็นดินชุด ที่ 5 ก็จะนำข้อมูลดินดังกล่าว ไปตรวจดูว่า เกษตรกรดีเด่น ที่ทำการเกษตรดินชุดที่ 5 ประสบผลสำเร็จนั้นทำอย่างไร เพื่อนำมาแนะนำ ให้เกษตรกรที่มีดินชุดเดียวกัน นำไปปฏิบัติ





ผลการวิจัยเรื่องนโยบายการศึกษาของพรรคการเมืองในต่างประเทศ

ในการประชุมเสนอผลงานวิจัยเรื่อง "นโยบายการศึกษาของพรรคการเมืองในต่างประเทศ" นางยศวดี บุณยเกียรติ ผู้วิจัยได้เสนอว่า การศึกษานโยบาย 18 พรรคการเมืองใน 9 ประเทศ พบว่า มีการบรรจุนโยบายเกี่ยวกับเทคโนโลยี และคอมพิวเตอร์มากที่สุด เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้ในระดับการศึกษาต่างๆ รองลงมาคือ นโยบายการจัดการ อุดมศึกษา การส่งเสริมให้ผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน สนับสนุนเงินลงทุนและงบประมาณ ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ผู้บังคับการ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ในฐานนะผู้สรุปผลวิจัย กล่าวว่า นโยบายการศึกษา ของพรรคการเมืองไทย มักให้นักวิชาการมาช่วยเขียน ซึ่งต่อไปจะต้องเปลี่ยนมาระดมสมอง จากฝ่ายต่างๆและมีหน่วยงานวิจัย ไม่ใช่ชูแต่ว่าจะส่งบุคคลที่มีคุณสมบัติ ดีอย่างไรมาเป็นรัฐมนตรีศึกษา หรือทำให้ กระทรวงศึกษาธิการ มาอยู่ในเกรดเอ นายวิชัย ตันศิริ รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ต่อไปนโยบายด้านนี้ ของแต่ละพรรคคง ไม่แตกต่างกันมากนัก เพราะมี พรบ.การศึกษาแห่งชาติ เป็นกรอบใหญ่ให้อยู่แล้ว





การออกใบรับรองพืชปลอด GMOs

นายอนันต์ ดาโลดม อธิบดีกรมวิชาการเกษตรเปิดเผยภายหลังการลงนามข้อตกลง กำหนดมาตรการออกใบรับรองสินค้า GMOs ร่วมกับสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปว่า ที่ผ่านมาการส่งออกสินค้าไทย ถูกประเทศผู้นำเข้าได้กำหนดเงื่อนไข ให้ติดฉลากเพื่อยืนยันว่าวัตถุดิบ ที่ใช้ในการแปรรูปไม่ได้มาจากการตัดต่อพันธุกรรม ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ยุ่งยาก มีผลกระทบต่อการส่งออกอาหารสำเร็จรูป กรมวิชาการเกษตรจึงได้ร่วมกับ สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป ดำเนินการออกหนังสือรับรอง ในกรณีที่ใช้วัตถุดิบที่ปลูกภายในประเทศ โดยมีการตรวจวิเคราะห์รับรองสินค้า ที่ผ่านมาทางกรมได้ดำเนินการมาแล้วเป็นเวลา 3 เดือน โดยทางกรมจะเป็นผู้เลือกวิธ ีการเก็บตัวอย่างพืช เพื่อนำมาวิเคราะห์ว่าเป็น GMOs หรือไม่ตามมาตรฐานสากล ใช้เวลาในการตรวจไม่เกิน 15 วัน อธิบดีกรมวิชาการเกษตร จะเป็นผู้ที่มีอำนาจ ในการลงนามแต่เพียงผู้เดียว พืชที่จะตรวจรับรองได้แก่ พืชผักผลไม้เมืองร้อน อ้อย มันสำปะหลัง ค่าใช้จ่ายในการตรวจวิเคราะห์ครั้งละ 1,500 บาทต่อตัวอย่าง ผู้ประกอบการเป็นผู้จ่าย ซึ่งในระยะแรกกรมจะดูแลในเรื่องนี้ไปก่อน ที่ผ่านมาได้มีการวิเคราะห์สินค้าเหล่านี้ไปแล้ว คือ ข้าวโพดอ่อน ลิ้นจี่ ลำไยกระป๋อง ข้าวโพดหวาน สินค้าเหล่านี้มีการส่งออกมาก





น้ำส้มมีสารต่อต้านมะเร็ง

นักวิจัยร่วมสหรัฐฯและแคนาดา รายงานที่ประชุมสมาคมเคมีสหรัฐฯว่า ได้ศึกษาฤทธิ์ของสารฟลาโวนอยด์ 22 อย่าง ที่มีต่อมะเร็งผิวหนัง ต่อมลูกหมากและมะเร็งปอด โดยเฉพาะพบว่าสารประกอบของน้ำส้ม และส้มเปลือกแข็งพวกส้มจีน มีสรรพคุณต่อต้านมะเร็งต่อมลูกหมากในคนได้แรงที่สุด ขัดขวางเซลล์มะเร็งผิวหนังไม่ให้เติบโตอีกด้วย ก่อนหน้านี้เคยทดลองพบมาแล้วว่า สารประกอบของส้มเปลือกแข็ง ก็ป้องกันเซลล์มะเร็งทรวงอกอย่างได้ผลด้วย ฟลาโวนอยด์จากส้มเปลือกแข็ง มีประสิทธิภาพ เหนือกว่าสารประกอบอย่างอื่น สารเพียงเล็กน้อยสามารถจำกัดการงอกขยายเพิ่มมากขึ้นของเซลล์มะเร็ง คณะนักวิจัยแจ้งว่า จะได้ศึกษาทดลองกับสัตว์ต่อไป





ญี่ปุ่นให้ทุนวิจัยมลภาวะในกทม.

รัฐบาลญี่ปุ่นมอบทุนจำนวน 2 หมื่นเหรียญสหรัฐ สำหรับการวิจัยมลภาวะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กำหนดจุดวิจัย 9 แห่ง ได้แก่ ถนนเพชรบุรี ถนนราชปรารถ ถนนอาจณรงค์ ใต้สถานีรถไฟฟ้าชิดลม ใต้สถานีรถไฟฟ้าอารีย์ ใต้สถานีไฟฟ้าศาลาแดง และบริเวณแหล่ง ชุมชน 3 แห่ง ขณะนี้ได้เริ่มติดตั้ง เครื่องตรวจวัดมลภาวะแล้ว 6 จุด จะมีการวัดตรวจสภาพอากาศ ตั้งแต่เดือน พฤษภาคมเป็นต้นไป เดือนละ 1 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 13 ครั้ง การวัดค่ามลพิษจะมีการตรวจวัด 7 ชนิด ได้แก่ ฝุ่นขนาด 10 ไมครอน สารตะกั่ว คาร์บอนมอนอกไซค์ ไนโตรเจนออกไซค์ ไฮโดรคาร์บอน ซัลเฟอร์ออกไซค์ โครงการวิจัยจะสิ้นสุดเดือนเมษายน 2544





บุหรี่ไม่ได้ช่วยชะลอสมองเสื่อม

คณะวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด หลังจากการสำรวจแพทย์ชาวอังกฤษ จำนวน 34,439 คน ที่ยังคงสูบบุหรี่ ในช่วง 6 – 12 ปีที่ผ่านมา และได้สูบติดต่อกันมานานถึง 37 ปีแล้วนั้น พบว่าในปี 1998 แพทย์กลุ่มนี้ได้เสียชีวิตไปแล้วถึงกว่า 24,000 คน ในจำนวนนี้ มี 473 คน ที่มีอาการของโรคสมองเสื่อมอยู่ด้วย และคิดเป็นสัดส่วนได้เท่าๆ กับจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยวัยชราภาพ ที่ไม่ได้สูบบุหรี่มาเลย ทำให้ผลการวิจัยก่อนหน้านี้ การสูบบุหรี่ จะช่วยชะลอไม่ให้เกิดอาการสมองเสื่อม หรือวิกลจริตเพราะวัยชราภาพนั้น ดูจะไม่ความจริง และอาจเป็นเรื่องตรงข้ามเสียด้วยซ้ำ ขณะเดียวกันก็เป็น การเสริมรายงานวิจัย ของอังกฤษก่อนหน้านี้ ที่ว่าการสูบบุหรี่อาจมีผลต่อการไหลเวียนของโลหิต และส่งผลต่อการส่งออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง ทำให้เกิดปัญหาทางจิต





อาหารกากใยสูง ไม่ช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้

วารสารการแพทย์ นิว อิงแลนด์ เผยแพร่ผลการศึกษาทางการแพทย์สองชิ้นได้ข้อสรุปว่า อาหารที่มีส่วนประกอบของเส้นใยสูงนั้น ไม่ได้ช่วยป้องกันการเกิดติ่งเนื้องอกที่อาจกลายไปเป็นมะเร็งลำไส้ สวนทางกับผลการวิจัยก่อนหน้านี้ ทำให้เกิดความเข้าใจกันมานานว่า อาหารไขมันต่ำเส้นใยสูง ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ได้ คณะนักวิจัยแห่งสถาบันมะเร็งแห่งชาติในอเมริกา ทดลองให้กลุ่มตัวอย่าง 958 คน กินอาหารไขมันต่ำ เส้นใยสูง โดยเน้นผักและผลไม้ ส่วนอีกกลุ่ม 947 คน ได้รับแจกแผ่นพับแนะนำ อาหารที่มีผลดีต่อสุขภาพ แต่ก็ให้กินอาหารที่เคยกินไปตามปกติ กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,905 คน ถูกตัดเนื้องอกอย่างน้อยหนึ่งชิ้นออกไปแล้วภายในช่วง 6 เดือนก่อนหน้าการทดลอง ซึ่งมีความเสี่ยงสูงกว่าปกติที่จะมีโอกาสเป็นมะเร็ง ลำไส้ หลังจากนั้น 4 ปีพบว่าโอกาสหรือความเสี่ยงที่กลุ่มตัวอย่างนี้จะเกิดติ่งเนื้องอกชิ้นใหม่ขึ้นมา มีโอกาสเท่ากันทั้งสองกลุ่ม ส่วนในการศึกษาชิ้นที่สองให้กลุ่มตัวอย่าง 719 คน กินอาหาร ประเภทรำข้าวที่มีเส้นใยสูง ครึ่งออนซ์ทุกวัน ส่วนอีกกลุ่ม 584 คน กินอาหารประเภทเดียวกัน แต่ลดปริมาณลงมาเหลือไม่ถึง 1 ใน 10 ของปริมาณหนึ่งออนซ์ต่อวัน เป็นเวลานาน 3 ปี ปรากฏว่าโอกาสที่จะเกิดติ่งเนื้องอก ขึ้นมาอีกนั้นมีสัดส่วนเท่ากันทั้งสองกลุ่ม นักวิจัยสรุปว่า อาหารที่มีเส้นใยสูง และไขมันต่ำ ไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยง ที่จะเกิดเนื้องอกในลำไส้แต่อย่างใด





หัวหอมต้านกระดูกผุบาง

คณะนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยเบิร์น สวิตเซอร์แลนด์ ทดลองให้หนูกินหอมหัวใหญ่วันละ 1 กรัม จะป้องกันไม่ให้กระดูกผุบาง เพราะร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ ทำให้กระดูกหนูแข็งแรงขึ้น และแคลเซียมตามกระดูกรั่วซึมน้อยลง แสดงว่าหนูที่กินผักที่มีสรรพคุณบำรุงกระดูก กระดูกจะแข็งแรง หากมนุษย์เรากินผัก เช่น หัวหอม เป็นประจำก็จะลดการเกิดโรคกระดูกผุ





ข่าวทั่วไป


องคมนตรีห่วงเด็กไทย

พล.อ.พิจิตร กุลละวณิชย์ องคมนตรี ประธานที่ปรึกษาโครงการป้องกันปัญหายาเสพติด ค่ายเด็กเยาวชนให้สัมภาษณ์ถึง โครงการค่ายยุวชนต้านภัยยาเสพติด และสถานการณ์ยาเสพติดปัจจุบันว่า ปัญหาคนรุ่นใหม่มีปัญหามาก และร้ายแรงขึ้นทุกที คือเยาวชนติดยาเสพติด เยาวชนไม่มีประสบการณ์การใช้ชีวิต และเยาวชนไม่รู้สึกรัก และหวงแหนแผ่นดินไทย ปัจจุบันเด็กไทยติดยาเสพติดเป็นล้านคน จากการสำรวจของเอแบคโพลพบว่า ประชากร 5,365,942 คน มีเด็กเยาวชนเกี่ยวข้องยาเสพติด 665,376 คน ขณะที่ไทยมีประชากร 65 ล้านคน เปรียบเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์มีเยาวชนเกี่ยวข้องกับยาอาจถึง 8 ล้านคน น่าเป็นห่วงมาก คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัญหายาเสพติดแก้ได้ในสังคมไทย แต่ถ้าผู้ใหญ่ยังปล่อยให้ปัญหานี้ ดำเนินไปเรื่อยๆ เมืองไทยในอนาคตคงอยู่ไม่ได้ "เยาวชนไทยไม่มีประสบการณ์ ในการใช้ชีวิต อยู่ในวัยเรียนก็เรียน เรียนจบใช้ชีวิตก็ทำงาน เงินเดือนที่ได้รับไม่พอใช้ต้องขอพ่อแม่ เด็กต่างชาติเริ่มทำงานตั้งแต่อยู่ไฮสคูล รู้จักใช้เงิน พอเรียนจบมีงานทำ ก็มีประสบการณ์ในชีวิตและรู้จักใช้จ่าย ไม่ต้องแบมือขอเงินจากพ่อแม่ ความรู้สึกรักแผ่นดินและหวงแหนไม่มีเกิดขึ้นในจิตสำนึกคนรุ่นใหม่ ลืมประเพณี สิ่งดีๆของไทย ลูกไทยต้องผมดำ แต่กลับไปย้อมผมเป็นสีทอง สีม่วง เด็กไม่ทำประโยชน์ให้แก่แผ่นดิน ยังทำลายแผ่นดินด้วย คนไทยกำลังแพ้ต่างชาติ ไม่ว่ามาเลเซีย สิงคโปร์ เด็กรุ่นใหม่ของเขาขยันทำงาน ขยันเรียนรู้ เด็กคนหนึ่งของเขารู้ถึง 3 ภาษา แต่เด็กไทยไม่มี ไม่มีจิตสำนึก ที่จะเรียนรู้เพื่อพัฒนาชาติ สิ่งเหล่านี้อยู่กับวัยรุ่นไทยมานาน จนฝังลึก จนแทบจะกลืนความเป็นไทยไปแล้ว"





ระบบนิเวศเสื่อมทำให้ทากระบาด

นายสุทน พิพิธแสงจันทร์ อาจารย์ภาควิชาการจัดการศัตรูพืช คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขานครินทร์ ว่าระบบนิเวศที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้การขยายพันธ์อย่างรวดเร็ว ความสมบูรณ์และความชุ่มชื้นของธรรมชาติ มีน้อยลงมาก ทากต้องมาอาศัยการแพร่และขยายพันธ์ตามแหล่งน้ำ หรือสวนยางของชาวบ้าน จนสร้างความเดือดร้อนไปทั่ว





ปัญหาการขาดแคลนน้ำ

ธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย หรือเอดีบี เผยแพร่รายงานประจำปีฉบับล่าสุด โดยระบุว่า ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย ซึ่งอาศัยภาคเกษตรกรรมเป็น กระดูกสันหลังของชาติ จะเกิดความขัดแย้งกันมากขึ้น เนื่องเพราะมีแนวโน้มว่า จะเกิดปัญหาแย่งชิงน้ำจืดกันในอนาคต เพราะปัจจุบันนี้ปัญหาขาดแคลนน้ำ กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ และกำลังจะส่งผล เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคง ทางด้านอาหาร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาคเกษตร ของประเทศกำลังพัฒนาเหล่านี้ ทั้งหมดจะครอบคลุมภูมิภาคเอเชีย ยันประเทศในแถบมหาสมุทรแปซิฟิก เอดีบีระบุด้วยว่า สหประชาชาติคาดการณ์ว่าในอีก 25 ปีข้างหน้า การใช้น้ำเพื่อการชลประทาน จะเพิ่มสูงขึ้นกว่าจากปัจจุบัน 30% รวมแล้วภาคเกษตรจะใช้น้ำจืดมากถึง 70% ของปริมาณน้ำจืดทั้งหมดที่มีอยู่ในโลก ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมจะใช้น้ำจืดเพิ่มขึ้น 22% นอกจากนี้ประชากรโลกก็จะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 2,000 ล้านคน ในช่วง 25 ปีข้างหน้า สองปัจจัยนี้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่า ประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งมีรากฐานของการเป็นประเทศเกษตรกรรมทั้งหลาย จะมีข้อพิพาทกันในเรื่องการใช้แหล่งน้ำร่วมกันมากขึ้น แม้จะมีข้อตกลงร่วมกัน ในเรื่องการใช้น้ำแล้วก็ตาม






KMUTT Digital Library
Contact Digital Library : info@lib.kmutt.ac.th
Tel : 0-2470-8215