หัวข้อข่าวปีที่ 7 ฉบับที่ 35 ประจำวันที่ 2006-08-28

ข่าวการศึกษา

ไฟเขียวมาตรฐานหลักสูตรอาชีวะ
สมศ.กระทุ้งรัฐชี้ไทยจะยิ่งใหญ่ต้องทุ่มให้นักวิจัย
แนะปฏิรูปการเรียนรู้ อย่าใช้ "เกรด" ตัดสินอนาคตเด็ก
สมศ.แนะรัฐตั้งสถาบันวิจัย ระบุ"เกาหลีใต้"ต้นแบบที่ดี
ม.มหิดล คว้ารางวัล PM AWARD 2006
วิทยานิพนธ์'ทักษิณคุยกับปชช.'อำนาจล้นฟ้า
ม.รังสิตเปิดหลักสูตรนิติฯทางไกลผ่านเนตแห่งแรกในไทย
สมศ.แจงงบฯประเมินสถานศึกษา
จวกรัฐปฏิรูปล่ม แนะฉีก พ.ร.บ.ศึกษาฯ
(เดลินิวส์ พฤหัสบดีที่ 31 ส.ค. 2549 http://www.dailynews.co.th)
สกอ.ส่งสัญญาณมหา’ลัยปรับแผนผลิตบัณฑิต
ติวเข้มฟรีโอเน็ต-เอเน็ต มาม่ารับสมัครถึง 10 ก.ย.
ทปอ.เดินหน้าแยกกระทรวงอุดมฯ เน้นอิสระคล่องตัวรับมือเปิดเสรีการศึกษา
ลูกเรือทะเลมีโอกาสได้รับปริญญา

ข่าววิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี

ใช้เนื้อหนังของก้นสร้างลิ้นใหม่ ให้หนุ่มถูกตัดทิ้ง เพราะมะเร็งกิน
นักวิจัยนาซาชี้อีก 20 ปี “นาโนเทค” จะครองโลก แนะไทยร่วมแชร์ด้านการเกษตร
สหรัฐผลิตเซลล์ต้นกำเนิด เทคนิคใหม่ไม่ขัดศีลธรรม
ไอบีเอ็มหนุนเครือข่ายรวมพลังซีพียู เปิดโลกการศึกษาวิจัยพัฒนาวิทย์-ไอที
"หุ่นยนต์"เหมือนคน
กรมวิทย์บริการสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ไทย
นศ.ฟลอริด้าเจ๋งออกแบบสารพัดหุ่นยนต์
“คาโปะจัง” ตุ๊กตานาโนดูดกลิ่น ดึงเรื่องไฮเทคลงสิ่งใกล้ตัว
สหรัฐทำปลอกนิ้วดิจิทัลสั่งคอมพิวเตอร์ ใช้ป้อนข้อมูลแทนแป้นพิมพ์ เม้าส์ และจอยสติ๊ก
ดึงเพลย์สเตชั่น 3 มาช่วยงานวิจัยแพทย์

ข่าววิจัย/พัฒนา

เพาะ "สเต็มเซลล์" วิธีใหม่ ไม่ทำลาย "ตัวอ่อน"
“เตาเทวดา” เตาถ่านชีวมวลที่ไม่ธรรมดา จากมือนักประดิษฐ์นครพนม
"น้ำมัน" จากยางและพลาสติกใช้แล้ว ผลงานช่วยชาติในยามวิกฤติ โดยวิทยาลัยปิโตรเลียม จุฬาฯ
รวมพลสิ่งประดิษฐ์ฝีมือไทย วช.เปิดเวทีหาสุดยอดผลงาน
วิจัยปุ๋ยชีวภาพ"อัลจินัว"เจ๋ง เพิ่มผลผลิตพืช-ปรับคุณภาพดิน
หุ่นยนต์ล้มลุกดูแลคนชรา
อาจารย์วิศวะเหมืองแร่ฯม.สงขลาฯ ชนะเลิศประกวดงานวิจัยThainox
“เครื่องตากแดดเดียว” ตากอาหารอย่างหายห่วง ครบเครื่องในคลิ๊กเดียว
มอ.สร้างต้นแบบโรงงานสกัดปาล์มน้ำมัน
นักวิจัยสหรัฐพบวิธี บังคับ"เซลล์มะเร็ง"ฆ่าตัวเอง

ข่าวทั่วไป

สมาร์ทการ์ดหมดสต๊อก! 1 ก.ย.หยุดทำบัตรทุก เขต
นักศึกษา"มรช."กวาด3รางวัล งานประกวดซอฟต์แวร์ธุรกิจ
“ปลาทู” นักวิทย์หัวใจศิลป์ เจ้าของงานเขียนรอบสุดท้าย "ซีไรต์"
โทรศัพท์มือถือเกือบพาเข้าคุก ปล่อยให้เสียงดังลั่นขึ้นกลางศาล
น้ำกลับศักดิ์สิทธิ์ยิ่งกว่าเนื้อผลไม้ ดื่มน้ำห่างหมอได้ไกลกว่ากินทั้งลูก
“อานันท์”ชี้ปัจจุบันสังคมแตกแยกเป็น2ซีก





ข่าวการศึกษา


ไฟเขียวมาตรฐานหลักสูตรอาชีวะ

นายวีระศักดิ์ วงษ์สมบัติ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ ได้ลงนามในประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องกรอบมาตรฐานหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น กรอบมาตรฐานหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และกรอบมาตรฐานหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) โดยกรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเฉพาะ กำหนดให้มีสมรรถนะในสาขาอาชีพไม่น้อยกว่า 1 หน่วย สมรรถนะตรงตามความต้องการของสาขาอาชีพ สถานประกอบการชุมชนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาดำเนินการและตรวจสอบอย่างเป็นระบบ ในระดับผู้ปฏิบัติงานเฉพาะทาง ปฏิบัติงานอาชีพในขอบเขตที่กำหนด และนำไปพัฒนางานอาชีพ หรือประกอบอาชีพอิสระอย่างมีคุณธรรม และจริยธรรม ส่วนกรอบคุณวุฒิวิชาชีพระดับ ปวช.กำหนดให้มีสมรรถนะในสาขาอาชีพระดับฝีมือ มีความสามารถคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา วางแผนดำเนินการตรวจสอบ และบูรณาการความรู้อย่างเป็นระบบในระดับผู้ปฏิบัติงาน สำหรับกรอบคุณวุฒิวิชาชีพระดับ ปวส. กำหนดให้มีสมรรถนะในสาขาอาชีพระดับเทคนิค บูรณาการความรู้อย่างเป็นระบบในระดับผู้ควบคุมงาน “เมื่อ รมว.ศธ.ลงนามในกรอบหลักสูตรดังกล่าวแล้ว วิทยาลัยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สามารถปรับหลักสูตรการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับอาชีพในท้องถิ่น และสอดคล้องความต้องการของสถานประกอบการได้” (ไทยรัฐ จันทร์ที่ 28 ส.ค. 2549 http://www.thairath.co.th)





สมศ.กระทุ้งรัฐชี้ไทยจะยิ่งใหญ่ต้องทุ่มให้นักวิจัย

ศ.ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ผอ.สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้มอบให้ สมศ.จัดทำมาตรฐานการวิจัย ในหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งขณะนี้ สมศ.ได้จัดทำมาตรฐานดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยการจัดทำมาตรฐานช่วงแรกจะเน้นมหาวิทยาลัยก่อน จากนั้นจะเป็นหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ รวมทั้ง สมศ.ยังเสนอว่าเมื่อดูมาตรฐานแล้ว ต่อไปควรจัดระบบประกันคุณภาพในหน่วยงานภาครัฐ ส่งเสริมสนับสนุน และยกเครื่องเพื่อทำให้นักวิจัยภาครัฐเป็นนักวิจัยอาชีพให้ได้ด้วย สำหรับสาระสำคัญของมาตรฐานดังกล่าว จะแบ่งมหา วิทยาลัยออกเป็น 4 กลุ่ม และมีการให้ค่าน้ำหนักภาระงานขั้นต่ำได้แก่ 1.มหาวิทยาลัยที่เน้นการ ผลิตบัณฑิตและการวิจัย การสอน 30% การวิจัย 30% การบริการวิชาการ 20% และการทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรม 10% 2. มหาวิทยาลัยที่เน้นผลิตบัณฑิตและพัฒนาสังคม การสอน 30% วิจัย 20% การบริการวิชาการ 30% และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 10% 3.มหาวิทยาลัยที่เน้นการผลิตบัณฑิตและพัฒนาศิลปวัฒนธรรม การสอน 30% วิจัย 20% บริการวิชาการ 20% และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 20% และ 4. มหาวิทยาลัยที่เน้นการผลิตบัณฑิต การสอน 35% วิจัย 20% บริการวิชาการ 20% และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 10% (เดลินิวส์ จันทร์ที่ 28 ส.ค. 2549 http://www.dailynews.co.th)





แนะปฏิรูปการเรียนรู้ อย่าใช้ "เกรด" ตัดสินอนาคตเด็ก

อาจารย์พลอนันต์ สุพรรณเภษัช ผู้จัดการโรงเรียนถนอมพิศวิทยา(โรงเรียนพระราชทานสมเด็จพระเทพฯ) กรุงเทพฯ เปิดฉากชี้แจงผลพวงจากระบบประเมินคุณภาพภายนอกของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. ที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการเรียนของเด็กในปัจจุบัน อาจารย์พลอนันต์ ผู้บริหารมือทอง วัย 49 ปี นำทัพช่วยรัฐขับเคลื่อนจัดการศึกษามาเกือบ 40 ปี จนกระทั่งวันนี้ "ถนอมพิศวิทยา" เป็นสถานการศึกษาระดับ "เกรดเอ" มีนักเรียน 2,294 คน จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับก่อนปฐมวัย (อนุบาล) ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทั้งหลักสูตรปกติ และหลักสูตรสองภาษาสอนโดยครูต่างชาติ ร.ร.ถนอมพิศวิทยา ยังมี "ศูนย์อภิวัฒน์ปัญญา" ซึ่งเป็นศูนย์เพื่อการวิจัยเพื่อการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ด้วยดนตรีและโยคะ มี อาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช นั่งเก้าอี้ผู้อำนวยการศูนย์คนปัจจุบัน "ระบบประเมินภายนอกของ สมศ. ทำให้โรงเรียนต้องเปลี่ยนระบบการเรียนการสอนใหม่หมด จากเดิมเด็กทำการบ้านก็พอ แต่เดี๋ยวนี้ต้องทำโครงงาน เมื่อเป็นนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ผู้บริหารทุกโรงเรียนต้องปฏิบัติ" ผู้จัดการ ร.ร.ถนอมพิศวิทยา ตั้งข้อสังเกต (คมชัดลึก จันทร์ที่ 28 ส.ค. 2549 http://www.komchadluek.net)





สมศ.แนะรัฐตั้งสถาบันวิจัย ระบุ"เกาหลีใต้"ต้นแบบที่ดี

ศ.ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ มอบให้ สมศ.จัดทำมาตรฐานการวิจัยในหน่วยงานภาครัฐ ขณะนี้ดำเนินการเสร็จแล้ว โดยเสนอให้จัดการมาตรฐานการวิจัยในหน่วยงานภาครัฐ จากนั้นควรจัดระบบประกันคุณภาพและส่งเสริมการยกเครื่องทำให้นักวิจัยภาครัฐเป็นนักวิจัยอาชีพให้ได้ สมศ.ได้นำประสบการณ์จากการศึกษางานดูงานที่ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งใช้งานวิจัยผลักดันการพัฒนาประเทศอย่างจริงจัง มีการจัดตั้งสภาการวิจัย 4 แห่ง ซึ่งแต่ละสภามีหน่วยงานที่ดำเนินการเฉพาะด้าน เช่น สภาการวิจัยสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีสถาบันวิจัยถึง 23 สถาบัน ซึ่งเมื่อรัฐบาลกำหนดนโยบายแล้วจะส่งผ่านมายังสภาการวิจัย "สภาวิจัยแต่ละแห่งมีอำนาจจัดสรรงบได้อย่างเป็นระบบและคล่องตัว ไม่ต้องของบเป็นรายปี ทำให้งานวิจัยดำเนินไปได้รวดเร็ว และงบกว่า 90% รัฐสนับสนุน จากนั้นสภาการวิจัยจะติดตามประเมินผล เพื่อรายงานกลับไปยังผู้บริหารที่กำหนดนโยบายของประเทศ ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงระหว่างการวิจัยกับการโยบายของประเทศอย่างรอบด้าน (คมชัดลึก จันทร์ที่ 28 ส.ค. 2549 http://www.komchadluek.net)





ม.มหิดล คว้ารางวัล PM AWARD 2006

วันที่28 สิงหาคม 2549 เวลา 10.00 น. ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ พรชัย มาตังคสมบัติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล จะเข้ารับรางวัล PM AWARD 2006 ประเภทธุรกิจบริการดีเด่นกลุ่มการศึกษานานาชาติที่ได้รับความนิยมจากชาวต่างประเทศมากที่สุด(Most Recognized service) จากฯพณฯ พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล รางวัลPM AWARD 2006 จัดโดยคณะทำงานและเลขานุการเพื่อสร้างภาพพจน์สินค้าและบริการส่งออกของไทยสำนักพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออก แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ Best Exporter ผู้ส่งออกสินค้าดีเด่น,Thai Owned Brand ใช้ตราสินค้าของตนเอง,Thai Owned Design ออกแบบของตนเอง,OTOP หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์และ Best Service Provider ธุรกิจบริการซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ธุรกิจบริการดีเด่นกลุ่มสถานประกอบการ และร้านอาหาร และธุรกิจบริการดีเด่นกลุ่มการศึกษานานาชาติที่ได้รับความนิยมจากชาวต่างประเทศมากที่สุด (Most Recognized service) ซึ่งเป็นรางวัลที่มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับในปีนี้ ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีนโยบายสนับสนุน และส่งเสริมการประสานงานด้านวิชาการกับองค์กรต่างประเทศทั่วโลก โดยมีวิทยาลัยนานาชาติผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรี ทั้งสาขาสังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ คณะ/สถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดลยังได้จัดหลักสูตรระดับปริญญาโท ปริญญาเอกนานาชาติอีกหลายหลักสูตร ส่วนงานวิจัยที่ดำเนินการอยู่ในหลายคณะ ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรนานาชาติทุกระดับมากที่สุดในประเทศไทยต่ำกว่าปริญญาตรี 1 หลักสูตร ปริญญาตรี 17 หลักสูตร (วิทยาลัยนานาชาติ 16 หลักสูตร/ICT 1 หลักสูตร) ประกาศนียบัตรบัณฑิต 2 หลักสูตร ประกาศนียบัตรชั้นสูง 2 หลักสูตร ปริญญาโท 50 หลักสูตร ปริญญาเอก 43 หลักสูตร มีนักศึกษานานาชาติรวม 622 คน จาก 46 ประเทศทั่วโลก (กรุงเทพธุรกิจ พุธที่ 30 ส.ค. 2549 http://www..bangkokbiznews.com)





วิทยานิพนธ์'ทักษิณคุยกับปชช.'อำนาจล้นฟ้า

สำนักงานบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดโครงการสัมมนาวิทยานิพนธ์ดีเด่นในรอบปี ซึ่งมีวิทยานิพนธ์ได้รับรางวัลจำนวนทั้งสิ้น 15 เรื่อง โดย ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวในการเป็นประธานเปิดการสัมมนาวิทยานิพนธ์ดีเด่นในรอบปี 2548 ว่า มธ.มีจุดมุ่งหมายเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยโดยระยะยาวจะเน้นรับนักศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรีให้มากกว่านักศึกษาปริญญาตรี โดยปัจจุบันแต่ละปีมีนักศึกษาปริญญาโทและเอกทำวิทยานิพนธ์ออกมาประมาณ 1 พันเล่ม แต่มีแค่ 20-30 เล่มเท่านั้นที่ได้รับยกย่องเป็นวิทยานิพนธ์ดีเด่น จึงถือเป็นเกียรติประวัติของผู้ที่ได้รับยกย่องทำวิทยานิพนธ์ดีเด่นเท่ากับได้รับเกียรตินิยมสำหรับบัณฑิตศึกษา ซึ่งในรอบปี 2548 มีวิทยานิพนธ์ดีเด่น 15 เรื่อง ”อนาคตมธ.จะให้ความสำคัญกับการทำวิทยานิพนธ์มากขึ้น ไม่ใช่แค่เน้นผลงานวิชาการ แต่ให้มีการตีพิมพ์เผยแพร่เช่น บทความออกสู่สังคมด้วย หรือนำเสนอสู่สาธารณชนในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง จะนำมาเป็นเกณฑ์สำหรับพิจารณาให้สำเร็จการศึกษา มีการยกย่องทางวิชาการ ให้รางวัลเป็นรูปธรรมมากขึ้น เพื่อยกระดับมธ.ให้เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยในอนาคต” น.ส.จิราภรณ์ เจริญเดช บรรณาธิการเซคชั่น จุดประกาย หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ในฐานะมหาบัณฑิตสาขาการบริหารสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มธ.และเจ้าของวิทยานิพนธ์ดีเด่น”การแปลงสิทธิเป็นอำนาจผ่านรายการวิทยุนายกฯทักษิณคุยกับประชาชนศึกษากรณี:วิกฤติการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้”ได้นำเสนอวิทยานิพนธ์ว่า จากการหาข้อมูลเพิ่มเติมนอกจากที่ทำวิทยานิพนธ์พบว่า ปัญหาภาคใต้เพราะเห็นว่าไม่สามารถแก้ไขได้ จะเห็นได้จากในปี 2543 เกิดเหตุ 12 ครั้ง ปี 2544 เกิดเหตุ 50 ครั้ง ปี 2545 เกิดเหตุ 75 ครั้ง ปี 2546 เกิดเหตุ 110 ครั้ง และปี 2547 เดือนม.ค.-พ.ย.เกิดเหตุ 1,253 ครั้ง (กรุงเทพธุรกิจ พุธที่ 30 ส.ค. 2549 http://www..bangkokbiznews.com)





ม.รังสิตเปิดหลักสูตรนิติฯทางไกลผ่านเนตแห่งแรกในไทย

วันที่25 ส.ค.2549 ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า คนไทยทุกคนต้องรู้กฏหมาย การปฏิบัติงานด้านต่างๆ ในปัจจุบัน มีความจำเป็นต้องมีความรู้กฏหมายด้วย แม้จะจบการศึกษาด้านอื่นมาแล้ว ถ้าไม่มีความรู้ด้านกฏหมายอาจทำงานขาดตกบกพร่องไม่รอบคอบได้ แต่จะให้ไปเรียนกฏหมายก็ไม่มีเวลา ดังนั้นมหาวิทยาลัยรังสิต จึงเปิดหลักสูตรสอนนิติศาสตร์ออนไลน์ขึ้น เพื่อที่ทุกคนจะเข้าเรียนได้โดยทางไกล ไม่ต้องเรียนในสถานศึกษา แต่เรียนที่บ้าน ที่ทำงาน โดยไม่จำกัดเวลา รศ.ดร.ทิวา เงินยวง คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้บริหารหลักสูตรฯ นี้ เปิดเผยว่า หลักสูตรนิติศาสตร์ออนไลน์ของมหาวิทยาลัยรังสิต เกิดขึ้นมาท่ามกลางพัฒนาการความเปลี่ยนแปลง 2 ด้าน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันมากขึ้น คือด้านกฏหมายและด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทุกคนที่เกิดในสังคมไทยเกี่ยวข้องกับกฏหมายตั้งแต่เกิด มีวิถีชีวิตการดำเนินชีวิตที่มีโอกาสใช้กฏหมายด้วยกันทุกคน ไม่ว่าจะเป็นในชีวิตประจำวัน หรือเกี่ยวข้องกับการเจรจาต่างๆ เพราะฉะนั้น โลกของไซเบอร์บวกกับโลกของกฏหมาย ดังนั้น เมื่อ 2 สิ่งนี้เข้ามาผสมผสานกันบวกกับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ทำให้ทางคณะฯ มองว่าเมื่อคนเกี่ยวข้องกับกฏหมาย ก็ควรจะมีโอกาสเข้าถึงการศึกษากฏหมายอย่างเป็นระบบ และเป็นไปตามกฏเกณฑ์ของการศึกษากฏหมาย จึงมีความคิดว่าทำอย่างไรจึงจะเปิดโอกาสให้บุคคลที่สนใจศึกษาทางด้านกฏหมายได้มีโอกาสเข้าถึง แต่การเข้าถึงนี้ไม่ต้องเรียนในห้องแบบนักศึกษาทั่วไป เนื่องจากการเข้าถึงโดยอาศัยสื่ออินเตอร์เน็ต จะทำให้โอกาสการเข้าถึงกว้างขึ้น จึงคิดหลักสูตรนิติศาสตร์ออนไลน์ขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้คนได้ศึกษาเท่าเทียมกันเป็นหลัก (กรุงเทพธุรกิจ พุธที่ 30 ส.ค. 2549 http://www..bangkokbiznews.com)





สมศ.แจงงบฯประเมินสถานศึกษา

ตามที่วงเสวนาประชาชนเรื่อง “สร้างบ้านแปงเมือง...ปฏิรูปการศึกษา” มีข้อเสนอให้ฉีก พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ทั้งเห็นว่าควรทุบทิ้งสำนักงานรับรอง มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) นั้น ศ.ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ผอ.สมศ.และในฐานะอดีตกรรมการบริหารสำนักงานปฏิรูปการศึกษา (สปศ.) ชี้แจงว่า พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ มีหลักการสำคัญคือ การปฏิรูปการเรียนรู้ ซึ่งครูที่สอนจะต้องได้รับการพัฒนาเป็นครูมืออาชีพ กระจายอำนาจให้โรงเรียนมีความเป็นอิสระ ซึ่งจะเป็นไปได้ก็ต้องปรับโครงสร้างโดยให้ส่วนกลางคือกระทรวงศึกษาธิการทำหน้าที่กำหนดนโยบายและกำกับมาตรฐาน ส่วนเขตพื้นที่ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงคอยให้การช่วยเหลือกับโรงเรียนและดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในรูปของคณะบุคคล ศ.ดร.สมหวังกล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องเกณฑ์มาตรฐานนั้น เนื่องจากโรงเรียนของเราถูกปล่อยปละละเลยมานาน ในการประเมินรอบแรกใช้เกณฑ์ 14 มาตรฐาน เป็นเกณฑ์ขั้นต่ำ เพื่อให้รู้ว่าโรงเรียนแต่ละแห่งอยู่ในระดับใดและต้องปรับปรุงด้านใดบ้าง ส่วนการประเมินรอบสองนั้นจะเพิ่มเติมตัวบ่งชี้ให้เหมาะสม โดยเกณฑ์ของโรงเรียนทั่วไป จะแตกต่างจาก ร.ร.กีฬา ร.ร.นานาชาติ ทั้งขณะนี้ ร.ร.มหิดลวิทยานุสรณ์ ก็จะใช้เกณฑ์ที่เหมาะกับความเป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ สำหรับค่าใช้จ่ายในการประเมินสถานศึกษานั้น ยืนยันว่าทุกบาททุกสตางค์เป็นงบประมาณแผ่นดินที่ สมศ.ได้รับ โดยการประเมินแต่ละรอบใช้เวลา 5 ปี จะใช้งบฯ 1,600 ล้านบาท เฉลี่ยโรงเรียนละ 32,000 บาท โดย สมศ.จะให้เงินกับผู้ประเมินเป็นค่าใช้จ่าย และหากโรงเรียนมีค่าใช้จ่ายด้านอาหารในการต้อนรับผู้ประเมิน ซึ่งเป็นธรรมเนียมไทยนั้น สมศ.ก็แนะนำให้ผู้ประเมินนำเงินที่ได้รับเป็นค่าใช้จ่ายมอบคืนให้โรงเรียน (ไทยรัฐ พฤหัสบดีที่ 31 ส.ค. 2549 http://www.thairath.co.th)





จวกรัฐปฏิรูปล่ม แนะฉีก พ.ร.บ.ศึกษาฯ

จากการเสวนาประชาชนเรื่อง “สร้างบ้านแปง เมือง...ปฏิรูปการศึกษา” จัดโดยเครือข่ายจุฬาฯ เชิดชูคุณธรรม นำประชาธิปไตย ร่วมกับสถาบันสหัสวรรษ ดร.วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ กรรมการผู้อำนวยการสถาบันสหัสวรรษ กล่าวว่า ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมาของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี การปฏิรูปการศึกษาไม่ประสบความสำเร็จ เพราะ พ.ต.ท. ทักษิณ ทำโพลแล้วเห็นว่า ผลการปฏิรูปการศึกษาไม่ได้ทำให้รัฐบาลได้คะแนนเสียง เทียบกับกองทุนหมู่บ้าน หรือการขึ้นเงินเดือนข้าราชการและครูไม่ได้ แต่เรื่องการปฏิรูปการศึกษาซึ่งเป็นกล่องดวงใจของประเทศกลับไม่ดูแล ตนยืนยันว่าการปฏิรูปการศึกษาของรัฐบาลนี้ ไม่เคยเริ่มต้นและไม่ประสบความสำเร็จ เพราะ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ซึ่งร่างและประกาศใช้ในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งโจทย์ผิดและไม่ได้มีเจตนารมณ์ที่จะปฏิรูปการศึกษาอย่างแท้จริง มุ่งเน้นที่จะปฏิรูปหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษามากกว่าจะเปลี่ยนแปลงวิธีการสอน นอกจากนี้รัฐบาลนี้ยังใช้คนผิด โดยใช้นักการศึกษามาทำการปฏิรูปการศึกษา กระบวนการทำงานอยู่ในระบบราชการ ทั้งที่การปฏิรูปการศึกษานั้นไม่ควรปล่อยให้เป็นเรื่องของคนใน ศธ.เท่านั้น สิ่งที่ควรทำก็คือ ควรฉีก พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติทิ้ง และหันมาสนใจกระบวนการเรียนรู้ของเด็กอย่างจริงจัง ทั้งควรทุบสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ทิ้ง เพราะใช้วิธีการประเมินโดยใช้สูตรเดียวกันทั้งประเทศ ทำให้โรงเรียนทั้ง 3-4 หมื่นโรงทั่วประเทศเหมือนกันหมด ซึ่งจะทำให้การศึกษาล่มสลาย นอกจากนี้ตนยังเห็นว่า สมศ.เป็นแหล่งผลาญเงินประชาชน และเป็นแหล่งแจกผลประโยชน์ให้กับบริษัทประเมิน (ไทยรัฐ พฤหัสบดีที่ 31 ส.ค. 2549 http://www.thairath.co.th)





(เดลินิวส์ พฤหัสบดีที่ 31 ส.ค. 2549 http://www.dailynews.co.th)

ดร.กุลยา ก่อสุวรรณ ประธานโครงการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้ที่มีความสามารถพิเศษและเด็กที่มีความต้องการพิเศษแห่งชาติ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยว่า ปัจจุบันเด็กไทยจำนวนมากมีปัญหาในการเรียนรู้ (Learning Disabi lity) หรือ LD โดยเฉพาะอาการสำคัญคือความบกพร่องทางการอ่าน หรือ Dyslexia ซึ่งเด็กบางคนอาจมีความบกพร่องเฉพาะด้าน เช่น ปัญหาทางตัวเลข ภาษา การเขียน แม้ว่าไอคิวเด็กจะปกติหรือบางคนอาจจะมีไอคิวสูงก็ตาม แต่เมื่อมีความบกพร่องก็จะทำให้เด็กรู้สึกเบื่อหน่ายและไม่สนใจการเรียน หากพ่อแม่ที่ไม่เข้าใจก็มักคิดว่าเด็กสมองทึบ จากนั้นครอบครัวหรือพ่อแม่บางคนก็จะไม่สนใจและไม่สนับสนุนให้เด็กได้เรียนต่อ ส่วนครูที่ไม่เข้าใจ และไม่สนใจเด็กก็จะส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว รู้สึกถูกทอดทิ้งและในที่สุดจะกลายเป็นเด็กมีปัญหา อาการ Dyslexia เกิดที่สมอง แต่ยังระบุไม่ได้ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร ซึ่งเด็กที่มีปัญหาเช่นนี้มักจะอ่านหนังสือข้ามคำ อ่านตก ๆ หล่น ๆ บางครั้งก็อ่านเกิน ตีความหมายไปเอง อ่านข้ามบรรทัด หรือเขียนเว้นช่องไฟ ไม่สม่ำเสมอ โย้หน้าโย้หลัง ตัวสูง ๆ ต่ำ ๆ ไม่เท่ากัน ซึ่งเด็กที่มีปัญหา Dyslexia มาก ๆ จะเขียนหนังสือกลับด้าน ต้องเอากระจกส่องดูถึงจะรู้ว่าเขียนอะไร หรือบางคนจะจำตัวอักษรไม่ได้ จำสลับกัน ทำให้เด็กมีปัญหาในกระบวนการรับรู้ เช่น รับข้อมูลมาผิดก็จะแปลข้อมูลออกมาผิด หรือถ่ายทอดผ่านภาษาพูด และอ่านเขียนแบบผิด ๆ หรือแม้บางครั้งรับข้อมูลมาถูกต้อง แต่สมองแปลข้อมูลผิดก็ทำให้การถ่ายทอดออกมาผิดเช่นกัน อีกทั้งยังพบว่ามักจะมีปัญหาสมาธิสั้นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดยเด็กจะวอกแวกง่าย อยู่ไม่นิ่ง ชอบลุกออกจากที่ ซึ่งปัจจุบันเด็กไทยจำนวนมากกำลังประสบปัญหา Dyslexia ในขณะที่ครูและผู้ปกครองส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจ และอาจมองเด็กกลุ่มนี้เป็นปัญหา “สิ่งที่จะช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้ได้ต้องเริ่มจากครอบครัว และครูที่โรงเรียนต้องเข้าใจและให้กำลังใจ เสริมแรงที่ถูกต้องให้เด็ก ถ้าเด็กทำอะไรถูกต้องก็ต้องรีบชม หรืออยู่ในชั้นเรียนก็ควรให้เด็กมานั่งแถวหน้าใกล้ครู สอนให้เพื่อนช่วยเพื่อน ส่วนการติวหรือสอนเสริมก็จะช่วยได้มาก” (เดลินิวส์ พฤหัสบดีที่ 31 ส.ค. 2549 http://www.dailynews.co.th)





สกอ.ส่งสัญญาณมหา’ลัยปรับแผนผลิตบัณฑิต

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี ได้มอบนโยบายให้สถาบันอุดมศึกษาปรับทิศทางการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศนั้น ศ.(พิเศษ)ดร.ภาวิช ทองโรจน์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาสถาบันอุดมศึกษาของเรายังไม่สามารถผลิตบัณฑิตได้ตรงกับความต้องการของประเทศ โดยจะพบ 2 ลักษณะใหญ่ คือ 1. ปริมาณการผลิตบัณฑิตที่ยังขาดแคลนในหลายสาขา โดยเฉพาะสาขาที่จะเพิ่มขีดความสามารถของประเทศหรือสาขาที่จะสนับสนุนภาคอุตสาหกรรม เช่น สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ อุตสาหกรรมสิ่งทอ หรือ อุตสาหกรรมเหล็ก ซึ่งยังมีความต้องการอีก 30,000-40,000 คน แต่ยังผลิตไม่ได้ และ 2. การผลิตบัณฑิตมากเกินความจำเป็นทำให้ ตกงานเป็นจำนวนมาก เช่น สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ บริหารธุรกิจ โดยเฉพาะสาขาครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ส่งสัญญาณไปแล้วว่ามีการผลิตจนล้น แต่ก็ยังเฉยและยังมีการผลิตเพิ่มจาก 12,000 คน เป็น 17,000 คน ต่อปี ทำให้บัณฑิตตกงานถึงปีละ 3,000-4,000 คน แต่หากดูในภาพรวมทั้งหมดจะพบว่ามีบัณฑิตตกงานกว่า 100,000 คน (เดลินิวส์ พฤหัสบดีที่ 31 ส.ค. 2549 http://www.dailynews.co.th)





ติวเข้มฟรีโอเน็ต-เอเน็ต มาม่ารับสมัครถึง 10 ก.ย.

ดร.เพ็ญนภา ธนสารศิลป์ กรรมการบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน)และผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์มาม่า ในฐานะผู้จัดโครงการทบทวนความรู้สู่มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ปีนี้มาม่าร่วมกับหน่วยงานรัฐ-เอกชนจัดโครงการทบทวนความรู้สู่มหาวิทยาลัยเป็นครั้งที่ 9 โดยปีนี้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ยังคงใช้ระบบแอดมิชชั่นส์รับเด็กเข้ามหาวิทยาลัย เป็นปีที่ 2 มาม่าจึงจัดโครงการให้เป็นไปตามระบบแอดมิชชั่นส์ การแนะแนวพิชิตการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) และการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง (เอเน็ต) ทั้งนี้ จะจัดติวใน 5 กลุ่มวิชาหลัก ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ในการสอบโอเน็ต และวิทยาศาสตร์ในการสอบเอเน็ต รวมทั้งมีแนวข้อสอบและแนะวิธีพิชิตข้อสอบของแต่ละมหาวิทยาลัยที่จะเปิดรับตรงในเดือนตุลาคม โดยนักเรียนเข้าร่วมโครงการฟรี (เดลินิวส์ พฤหัสบดีที่ 31 ส.ค. 2549 http://www.dailynews.co.th)





ทปอ.เดินหน้าแยกกระทรวงอุดมฯ เน้นอิสระคล่องตัวรับมือเปิดเสรีการศึกษา

ศ.ดร.ปรัชญา เวสารัชช์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เผยถึงเรื่องการแยกกระทรวงอุดมศึกษาว่า หลังจากที่ ทปอ.ได้มอบหมายให้ รศ.ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) ศึกษาข้อดีข้อเสียในเรื่องนี้ ทปอ.ไม่ได้มีการคุยกันอีก แต่ในหลักการกระทรวงอุดมศึกษาจะคล้ายกับการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาลหรือการออกนอกระบบ มีความเป็นอิสระ คล่องตัวในการบริหารจัดการ มีหน้าที่ดูแลมาตรฐานและส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาอุดมศึกษา และแม้มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคุมอยู่ แต่การบริหารจะต้องไม่เป็นระบบราชการ ด้าน รศ.ดร.มณฑล กล่าวว่า ได้เก็บข้อมูลการแยกกระทรวงอุดมศึกษาเพิ่มเติม และกำลังรอข้อมูลจาก ศ.น.พ.อดุลย์ วิริยเวชกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.) ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลของกระทรวงอุดมศึกษาต่างประเทศ เพื่อนำมาเปรียบเทียบ เมื่อได้ข้อมูลสมบูรณ์จะเร่งนำเสนอ ทปอ.ทันที (เดลินิวส์ พฤหัสบดีที่ 31 ส.ค. 2549 http://www.dailynews.co.th)





ลูกเรือทะเลมีโอกาสได้รับปริญญา

นายวิมล จำนงบุตร ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกรุงเทพมหานคร1 เปิด เผยถึงการจัดการศึกษาให้แก่ลูกเรือต่างประเทศเพื่อเพิ่มพูนความรู้ว่า เป็นนโยบาย ปรับการ เรียน เปลี่ยนการสอน ปฏิรูปหลักสูตร เพื่อให้ผู้ที่ไม่มีโอกาสทางการศึกษาในช่วงวัยอันสมควรได้ มีโอกาสเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ทำให้พบว่ายังมีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ปฏิบัติงานในเรือเดิน ทะเลอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่มีโอกาสได้รับการศึกษา หลายคนมีพื้นฐานการศึกษาอยู่ในเกณฑ์ต่ำ บาง คนไม่สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพราะต้องปฏิบัติงานประจำอยู่ในเรือซึ่งเรือจะต้องเดินทางไปต่าง ประเทศเป็นประจำ และการเดินทางแต่ละครั้งต้องใช้เวลายาวนาน ทางศูนย์การศึกษานอกโรง เรียน กทม.จึงได้แนะนำให้ทำวิธีการประเมินเทียบระดับการศึกษา ซึ่งเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ใน รูปแบบใหม่ที่ให้การยอมรับความรู้ที่เกิดขึ้นจากการศึกษาด้วยตนเอง การเรียนรู้จากประสบการณ์ การทำงานการฝึกอบรม แล้วรวบรวมข้อมูลจากการศึกษา จัดทำรายละเอียด สรุปความรู้ที่มีในด้าน ต่างๆ คือ ด้านความรู้พื้นฐาน ด้านพัฒนาอาชีพ ด้านพัฒนาคุณภาพชีวิต และด้านพัฒนาสังคมและชุมชน นำเสนอข้อมูลเพื่อรับการประเมินว่าพื้นฐานความรู้ของแต่ละคนสามารถเทียบได้กับการศึกษาระดับใด (แนวหน้า พฤหัสบดีที่ 31 ส.ค. 2549 http://www.naewna.com)





ข่าววิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี


ใช้เนื้อหนังของก้นสร้างลิ้นใหม่ ให้หนุ่มถูกตัดทิ้ง เพราะมะเร็งกิน

คณะแพทย์ของแผนกวิทยาเนื้องอกโรงพยาบาลกลางเมืองกลีไวซ์ ได้ช่วยกันผ่าตัดสร้างลิ้นใหม่ให้กับนายจาริสลาฟ เอิร์นสต์ จากเนื้อหนังที่แก้มก้นของเขาเอง หมอสตานีสสลอว์ โปลโตเรค หัวหน้าหมอกล่าวแจ้งว่า “ลิ้นใหม่นั้นคงจะไม่ตาย เพราะมันมีเลือดไปเลี้ยงดี และคนไข้ก็มีอาการดีด้วย” ลิ้นเดิมของหนุ่มวัย 23 ปี ต้องโดนถูกตัดทิ้งไป เพราะถูกตรวจพบว่าเป็นมะเร็ง หมอโปนโตเรคเล่ากรรมวิธีผ่าตัดว่า “หลังจากที่เราตัดทิ้งลิ้น ที่เต็มไปด้วยมะเร็งของเขาทิ้งไปแล้ว เราก็ต้องตรวจดูว่ายังมีเซลล์มะเร็งหลงเหลือในปากเขาอยู่อีกหรือไม่ เมื่อเห็นว่าปลอดหมดแล้ว จึงได้เก็บรวบรวมผิวหนัง ไขมันและเยื่อประสาทจากแก้มก้นของเขา มาตกแต่งให้เป็นลิ้นใหม่ แล้วจึงเย็บติดไว้ในปากของเขาได้”. (ไทยรัฐ จันทร์ที่ 28 ส.ค. 2549 http://www.thairath.co.th)





นักวิจัยนาซาชี้อีก 20 ปี “นาโนเทค” จะครองโลก แนะไทยร่วมแชร์ด้านการเกษตร

นักวิจัยนาซาบรรยายในสัปดาห์วิทย์ 49 เชื่ออีก 20-30 ปีข้างหน้า นาโนเทคฯ จะมาแรง ประยุกต์ใช้ในศาสตร์หลายแขนง ชี้ประเทศไทยพอมีส่วนแบ่งด้านอาหาร เกษตร สิ่งทอ และชิ้นส่วนรถยนต์ ขณะที่อุตสาหกรรมด้านอิเล็กทรอนิกส์และสุขภาพดูท่าจะหมดหวัง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ได้เชิญ ดร.ธวัช วิรัตติพงศ์ นักวิจัยผู้จัดการฝ่ายออกแบบและติดตั้งระบบการสื่อสารบนยานอวกาศไร้คนขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (นาซา) มาให้ความรู้ด้านนาโนเทคโนโลยีแก่ผู้ร่วมงาน ดร.ธวัช วิรัตติพงศ์ กล่าวว่า การพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีในอนาคต เราอาจได้เห็นความก้าวหน้าในการนำเทคโนโลยีชนิดนี้ไปใช้กับวิทยาศาสตร์แขนงอื่นๆ อย่างแพร่หลาย เช่น คอมพิวเตอร์ที่มีความฉลาดมากกว่าปัจจุบันนับล้านเท่า, การออกแบบยานอวกาศอัจฉริยะที่คิดแก้ปัญหาได้โดยลำพัง, หรือแม้แต่การนำโลหะอนุภาคนาโนมาใช้กับการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ให้มีความยืดหยุ่นและรองรับแรงกระแทกได้มาก ทำให้เมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วจะมีความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินน้อยลงนาโนเทคโนโลยีมีหลักการพื้นฐานอยู่เพียงสั้นๆ เท่านั้นว่า “คุณสมบัติของสสารจะเปลี่ยนไปอย่างมากเมื่อขนาดของสารนั้นลดลงถึงระดับนาโนเมตร” อาทิ มีความแข็งแรงมากขึ้น นำความร้อนและไฟฟ้าได้ดีขึ้น อย่างไรก็ดี ความสำเร็จของงานด้านนี้จะขึ้นอยู่กับว่า เราจะมีความสามารถสร้างเครื่องมือควบคุมความแม่นยำในระดับอะตอมได้หรือไม่, สามารถออกแบบ ผลิตตัวต้นแบบ และทดสอบได้หรือไม่ รวมถึงสามารถทำการผลิตระดับอุตสาหกรรมได้หรือไม่ “ส่วนประเทศไทย เราควรเลือกทำในสิ่งที่เชื่อว่าเราทำได้ และจะต้องทำให้ได้ถึงผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด เช่น อาหาร ด้านสิ่งทอ เกษตรกรรมและปศุสัตว์ เครื่องสำอาง และชิ้นส่วนรถยนต์ ขณะที่การผลิตในสายอิเล็กทรอนิกส์และสุขภาพค่อนข้างจะมีความเสี่ยงและต้องใช้ความระมัดระวังมาก โดยหลายชาติในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลี ได้พัฒนาเทคโนโลยีด้านนี้ไปมากแล้ว” (ผู้จัดการ จันทร์ที่ 28 ส.ค. 2549 http://www.manager.co.th)





สหรัฐผลิตเซลล์ต้นกำเนิด เทคนิคใหม่ไม่ขัดศีลธรรม

นักวิทยาศาสตร์สหรัฐพบวิธีใหม่ผลิตต้นกำเนิด หรือสเต็มเซลล์ โดยดัดแปลงจากเทคนิคการรักษาภาวะมีบุตรยากที่ใช้กันในปัจจุบัน เพื่อเลี่ยงข้อครหาทำลายตัวอ่อนมนุษย์ ซึ่งถือว่าผิดศีลธรรม ในการรักษาคู่สามีภรรยาที่มีปัญหามีบุตรยาก แพทย์จะนำไข่และเชื้อที่แข็งแรงมาปฏิสนธิในหลอดแก้ว ซึ่งจะได้ตัวอ่อนจำนวนมาก ในระยะแรก ตัวอ่อนจะมีเซลล์กลมๆ ราว 8-10 เซลล์ จากนั้นนักเทคนิคแพทย์จะนำเอาเซลล์ออกมาหนึ่งเซลล์ เพื่อเช็คว่ามีความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือไม่ ถ้าพบว่าเซลล์สมบูรณ์ดี จึงนำกลับไปฝังในมดลูกของผู้หญิง พร้อมกับหวังว่าจะพัฒนาการเป็นทารกสมบูรณ์ เทคนิคดังกล่าวเรียกว่า การวินิจฉัยทางพันธุกรรมก่อนระยะฝังตัว หรือพีจีดี ซึ่งจะนำมาใช้เมื่อคู่สามีภรรยาต้องการแน่ใจว่า ทารกจะไม่เสียชีวิต หรือคลอดออกมาแล้วพิการ ในสหรัฐ แพทย์ได้ใช้เทคนิคนี้ตรวจความสมบูรณ์ของตัวอ่อนปีละราว 1,000 ราย สำหรับวิธีการผลิตสเต็มเซลล์แบบใหม่ นักวิทยาศาสตร์ จากบริษัทแอดวานซ์ด เซลล์ เทคโนโลยี นำเซลล์ที่ดูดนำออกมาตรวจตามขั้นตอนพีจีดี มาเพาะเลี้ยงให้แบ่งเซลล์เป็น 2 เซลล์ ซึ่งมีข้อมูลพันธุกรรมเหมือนกันทุกอย่าง ตัวหนึ่งเอาไปตรวจสอบความสมบูรณ์ด้วยวิธีพีจีดีปกติ ส่วนอีกเซลล์หนึ่งนำไปเลี้ยงให้เป็นเซลล์ต้นกำเนิด (คมชัดลึก จันทร์ที่ 28 ส.ค. 2549 http://www.komchadluek.net)





ไอบีเอ็มหนุนเครือข่ายรวมพลังซีพียู เปิดโลกการศึกษาวิจัยพัฒนาวิทย์-ไอที

ซิป้าจับมือไอบีเอ็ม หนุนภารกิจของศูนย์เครือข่ายคอมพิวเตอร์แห่งชาติ รองรับงานวิจัยที่ต้องการใช้งานเครือข่ายประมวลผล ที่มีความเร็วในการอ่านและวิเคราะห์ข้อมูล หวังสร้างนวัตกรรมแข่งขันกับต่างประเทศ ปัจจุบัน โครงการวิจัยขนาดใหญ่ที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์พลังสูง หรือที่เรียกว่า ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ในการประมวลผล ได้หันมาใช้การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หลายเครื่องเข้าด้วยกันแทน เพื่อขอใช้พลังประมวลผลของซีพียูจากคอมพิวเตอร์ ซึ่งเรียกกันว่า เครือข่ายกริด สำหรับโครงการที่รู้จักกันดีในต่างประเทศ คือ โครงการสืบหาสัญญาณของสิ่งมีชีวิตที่มีภูมิปัญญานอกโลก (www.setiathome.com) คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายภายใต้โครงการนี้ อนุญาตให้ศูนย์ข้อมูลส่วนกลาง ส่งข้อมูลมาให้กลุ่มของพีซีที่อยู่ในเครือข่าย ช่วยประมวลผลสัญญาณวิทยุที่รับได้จากนอกโลก เนื่องจากสัญญาณที่รับได้มีจำนวนมหาศาล จึงต้องอาศัยพลังซีพียูของคอมพิวเตอร์จำนวนมากช่วยกันประมวลผล ดร.ภุชงค์ อุทโยภาศ ผู้อำนวยการศูนย์ไทยกริดแห่งชาติ กล่าวว่า โครงการสร้างเครือข่ายกริดเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที การคำนวณและการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ (คมชัดลึก จันทร์ที่ 28 ส.ค. 2549 http://www.komchadluek.net)





"หุ่นยนต์"เหมือนคน

นิตยสารวิทยาศาสตร์ "ป๊อปปูล่าร์ ไซน์" ฉบับล่าสุด ติดตามความก้าวหน้าการพัฒนาหุ่นยนต์ประเภท "ฮิวมานอยด์ โรบอต" เป้าหมายการประดิษฐ์หุ่นยนต์กลุ่มนี้ คือ ทำให้มันมีศักยภาพบางประการ หรือหลายๆ ประการใกล้เคียง หรือเหมือนกับ "มนุษย์" ให้มากที่สุดเท่าที่สมองจะคิดได้ เช่น การเดินเหิน ทรงตัว พูด รับรู้อารมณ์ความรู้สึก ฯลฯ 1. "โดโม" พัฒนาโดยสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเส็ตต์ (เอ็มไอที) : ตามปกติ มือของหุ่นยนต์จะเพิ่มแรงบีบมาก-น้อย ขึ้นอยู่กับสัญญาณจากตัวเซ็นเซอร์ที่ติดไว้กับนิ้วหรือมือ แต่เซ็นเซอร์จะต้องสัมผัสกับ "วัตถุ" ตลอดเวลา สำหรับมือกลของหุ่นโดโมต่างออกไป เนื่องจากติดตั้ง "มอเตอร์" ชนิดพิเศษตรงนิ้ว ข้อมือ แขน ไล่ไปจนถึงต้นคอ ข้อต่อแต่ละส่วนเป็นอิสระจากกัน ทำให้หุ่นยนต์ปรับแรงกอด-แรงบีบให้เหมาะสมกับสถานการณ์ 2. "นิโค" พัฒนาโดยทีมวิจัยมหาวิทยาลัยเยล : เป็นหุ่นยนต์-จักรกลรุ่นแรกของโลกที่ "จดจำตัวมันเองได้" หมายความว่าเวลาหุ่นอยู่ตรงหน้ากระจกเงา จะแยกแยะออกว่าภาพที่ปรากฏสะท้อนบนกระจก ภาพไหนคือตัวมัน ภาพไหนคือสิ่งของหรือบุคคลอื่น เทคนิคนี้จะช่วยให้หุ่นยนต์มีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ดีขึ้นในอนาคต 3. "ยูเอสซี อาร์เอ็มพี" พัฒนาโดยนักวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียใต้ : ติดตั้งระบบบอกพิกัดบนพื้นโลกผ่านดาวเทียม (จีพีเอส), กล้องวิดีโอ, เลเซอร์นำร่อง และระบบสื่อสารไร้สาย อุปกรณ์ทั้งหมดนี้จะทำงานสอดประสานกันยามหุ่นเคลื่อนตัวไปในทิศทางต่างๆ พร้อมกับจัดทำ "แผนที่ 3 มิติ" ในจุดเสี่ยง เช่น สนามรบที่อาจมีการวางวัตถุระเบิด 4. "ดับเบิลยูที-6" ของมหาวิทยาลัยวาเซดะ : ทีมวิจัยต้องการสร้างหุ่นยนต์ที่พูดด้วยน้ำเสียงใกล้เคียงกับคนมากที่สุด ผลที่ได้คือการพัฒนาอวัยวะเทียมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการออกเสียง ได้แก่ ลิ้น เส้นเสียง ริมฝีปาก ฟัน เพดานปาก ปอด ซึ่งทุกชิ้นผลิตจากพลาสติกและยางโพลีเมอร์ ปัจจุบันการออกเสียงภาษาญี่ปุ่นยังเพี้ยนอยู่บ้าง ซึ่งต้องพัฒนาต่อไป (มติชน จันทร์ที่ 28 ส.ค. 2549 http://www.matichon.co.th)





กรมวิทย์บริการสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ไทย

นายนาคา ฟูรังษีโรจน์ กรรมการผู้จัดการบริษัท โควิก เคทท์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า บริษัทได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต "สบู่นมแพะ" จากกรมวิทยาศาสตร์บริการ ซึ่งจะได้รับผลตอบแทน 3% ของรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นเวลา 5 ปี ส่วนลูกค้าเป้าหมายอยู่ในกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสมุนไพรไทย ความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดจากกรมวิทยาศาสตร์บริการ คือ เทคนิคการผลิตสบู่นมแพะธรรมดา ว่าจะเติมส่วนผสมน้ำนมแพะในปริมาณเท่าไร จึงไม่ทำให้สบู่เหลว และเทคนิคการผลิตสบู่นมแพะโคเลสตุ้ม ซึ่งใช้วัตถุดิบเป็นน้ำนมจากแม่แพะที่คลอดลูกไม่เกิน 7 วัน ในการผลิตสบู่ทั้งสองชนิดนี้ได้อาศัยเทคโนโลยีนาโนร่วมด้วย เพื่อให้สารเคมีที่เป็นประโยชน์จากน้ำนมแพะซึมซับเข้าลึกถึงผิวชั้นใน คาดว่าจะได้รับการจำหน่ายในอีก 2 เดือนข้างหน้า ทั้งนี้ กรมวิทยาศาสตร์บริการ นอกจากจะถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสบู่นมแพะสู่เชิงพาณิชย์แล้ว ยังถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมะนาวผงให้บริษัท ไทยเพียวอะกริคัลเจอร์ ฟูดส์ จำกัด และเทคโนโลยีการผลิตดอกไม้เซรามิค ซึ่งถ่ายทอดให้บริษัท ศิระลำปาง จำกัด (กรุงเทพธุรกิจ พุธที่ 30 ส.ค. 2549 http://www..bangkokbiznews.com)





นศ.ฟลอริด้าเจ๋งออกแบบสารพัดหุ่นยนต์

นักศึกษามหาวิทยาลัยฟลอริดา พัฒนาสมองกลพร้อมเซ็นเซอร์ใส่รถเข็นห้างสรรพสินค้า ให้คอยเดินตามทั่วห้างเป็นบริวารนักช้อป ไม่ต้องเหนื่อยเข็น แถมยังหยุดตามเมื่อผู้บริโภคหยุดเลือกสินค้า และรอจนกว่าจะมีของหยิบมาใส่ ที่สำคัญ ไม่ต้องกลัวว่ามันจะถูกเข็นมาชนส้นเท้า เกรกอรี่ การ์เซีย หนึ่งในนักศึกษามหาวิทยาลัยฟลอริดา คิดค้นโครงงานส่งประกวดกับเพื่อนฝูงอีก 30 คน โดยออกแบบรถเข็นสินค้าอัจฉริยะ ที่ดูผิวเผินแล้ว แทบจะไม่ต่างจากรถเข็นซื้อของทั่วไป แต่เคล็ดลับของมันอยู่ที่เซ็นเซอร์ซึ่งถูกติดไว้ เพื่อป้องกันการเข็นชนลูกค้าในห้างที่เดินกันขวักไขว่ รถเข็นอัจฉริยะของเขามีชื่อว่า "บ.อ.ส.ส." ซึ่งย่อมาจากรถเข็นอัจฉริยะทำงานด้วยแบตเตอรี่ แรงจูงใจในการประดิษฐ์หุ่นยนต์รถเข็นก็คือ ความฝังใจที่ตอนเด็กมักจะถูกน้องสาวเข็นรถชนเอาเนืองๆ ก็เลยคิดว่า "เจ้านี้แหละเป็นที่คนอยากได้มาใช้งาน" (กรุงเทพธุรกิจ พุธที่ 30 ส.ค. 2549 http://www..bangkokbiznews.com)





“คาโปะจัง” ตุ๊กตานาโนดูดกลิ่น ดึงเรื่องไฮเทคลงสิ่งใกล้ตัว

ในงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำปี 2549 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-22 ส.ค.นี้ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ(นาโนเทค) ได้ทำของที่ระลึกสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ โดยผลิต “คาโปะจัง” (Capo Chang) ตุ๊กตาเคลือบสารนาโนไททาเนียมไดออกไซด์ สำหรับใช้ดูดกลิ่นในรถยนต์ ซึ่งขายในราคาตัวละ 160 บาท ทั้งนี้ ดร.ศิรศักดิ์ เทพาคำ ผู้อำนวยการฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยีและวิชาการ ศูนย์นาโนเทคกล่าวว่า ผลิตตุ๊กตาขึ้นมาในงานนี้เพราะเห็นว่า “น่ารักดี” และอยากให้ประชาชนเห็นว่านาโนเทคโนโลยีที่เป็นของไฮเทคนั้น ประยุกต์ใช้กับของใกล้ตัวได้ เพราะปกติสามารถนำไททาเนียมไดออกไซด์ไปเคลือบวัสดุหลายชนิดได้ เช่น ใช้เคลือบเส้นใย เคลือบโลหะ แล้วจะนำไปเคลือบอย่างอื่นได้หรือไม่ ซึ่งตุ๊กตาที่ผลิตมานั้นจะขายเป็นของที่ระลึกในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ประมาณ 1,000 ตัว ส่วนอายุการใช้งานประมาณ 2-3 ปีขึ้นอยู่กับชนิดของเส้นใย (ผู้จัดการ พุธที่ 30 ส.ค. 2549 http://www.manager.co.th/)





สหรัฐทำปลอกนิ้วดิจิทัลสั่งคอมพิวเตอร์ ใช้ป้อนข้อมูลแทนแป้นพิมพ์ เม้าส์ และจอยสติ๊ก

คิม ยังซุก วิศวกรเครื่องกล และ ผศ.เดนคูรัสซี่ เคซาวาดาส ผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการเสมือนจริงประจำมหาวิทยาลัยบัฟฟาโล่พัฒนาอุปกรณ์ไฮเทคที่เรียกชื่อโก้เก๋ว่า "ฟิงเกอร์ทิป ดิจิไทเซอร์" ที่สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายตั้งแต่ใช้ป้อนข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์หรือพีดีเอไปจนถึงใช้งานด้านการออกแบบภาพกราฟฟิกโดยแปลความหมายจากการเคลื่อนไหวของร่างกาย "เมื่อมีเจ้าอุปกรณ์ตัวนี้แล้ว ไม่ว่าคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรือเกมคอมพิวเตอร์ ก็สามารถรู้ได้ว่าผู้ใช้ต้องการทำอะไร สุดท้ายแล้วปลอกนิ้วดิจิทัลก็จะถูกนำมาใช้แทนที่เม้าส์ คีย์บอร์ดและจอยสติ๊กที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน" อุปกรณ์ดิจิทัลที่สามารถจำแนกอากัปกิริยาของร่างกายมีวางจำหน่ายในตลาดบ้างแล้ว แต่อุปกรณ์ของสองนักประดิษฐ์นี้เจ๋งกว่าตรงที่สามารถรับรู้แรงบีบแรงกดได้ด้วย และยังสามารถวัดการเคลื่อนไหวของนิ้วได้ละเอียดกว่าอุปกรณ์ดิจิทัลสัมผัสอื่นที่มีอยู่ สามารถกำหนดความเร็วและชะลอความเร็วได้เหมือนจริง (เดลินิวส์ พฤหัสบดีที่ 31 ส.ค. 2549 http://www.dailynews.co.th)





ดึงเพลย์สเตชั่น 3 มาช่วยงานวิจัยแพทย์

โซนี่ ผู้ผลิตเครื่องเพลย์สเตชั่นได้จับมือกับทีมนักวิทยาศาสตร์สหรัฐ เจ้าของโครงการวิจัยทางการแพทย์ "โฟลดิงแอตโฮม" หรือเอฟเอเอช (http://folding.stanford.edu/) โครงการดังกล่าวต้องการศึกษากลไกการประกอบตัวของโปรตีนต่างๆ ในร่างกาย รวมถึงความผิดพลาดในการประกอบตัวของโปรตีนจนนำไปสู่โรคต่างๆ เช่น โรคอัลไซเมอร์ส โรคพาร์กินสัน โรคฮันติงตัน ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของยีน เกิดขึ้นในประชากร 8 ต่อหนึ่งแสนคน ส่งผลให้เกิดความผิดปกติในการเคลื่อนไหวร่างกาย เป็นต้น ในการศึกษารูปร่างของโปรตีนที่ก่อให้เกิดโรคนั้น เดิมโครงการได้อาศัยหน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลนับพันเครื่องเชื่อมต่อกัน แต่สำหรับการร่วมมือกับโซนี่ครั้งนี้ จะนำเอาเครื่องเพลย์สเตชั่น 3 หนึ่งหมื่นเครื่องมาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย ทำให้มีพลังในการประมวลผลเทียบเท่า "ซูเปอร์คอมพิวเตอร์" สามารถประมวลผลได้ถึง 1,000 ล้านล้านคำสั่งต่อวินาที ซึ่งถือว่าเร็วกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลก คือ บลูยีน/แอล ซิสเต็ม ของไอบีเอ็ม ที่มีความสามารถในการประมวลผล 280.6 ล้านล้านคำสั่งต่อวินาที ถึงเกือบ 4 เท่า (เดลินิวส์ พฤหัสบดีที่ 31 ส.ค. 2549 http://www.dailynews.co.th)





ข่าววิจัย/พัฒนา


เพาะ "สเต็มเซลล์" วิธีใหม่ ไม่ทำลาย "ตัวอ่อน"

เอเจนซี – แอดวานซ์เทคโนโลยีพบวิธีเพาะเซลล์ต้นกำเนิดแบบไม่ทำลายตัวอ่อน โดยดึงเซลล์จากตัวอ่นอระยะแรกที่ยังไม่ฝังติดผนังมดลูกของแม่ หวังจะเรียกคะแนนจากกลุ่มต่อต้านเทคโนโลยีการเพราะสเต็มเซลล์ได้ นักชีววิทยาจากสถาบันวิจัยภาคเอกชนในแมสซาชูเซตส์ เผยว่า สามารถพัฒนาวิธีเพาะเซลล์ต้นกำเนิด (stem cell) จากตัวอ่อนมนุษย์ (embryo) ได้ โดยไม่ต้องทำลายตัวอ่อนนั้นๆ ซึ่งการค้นพบครั้งนี้อาจช่วยขจัดเสียงคัดค้านในแง่จริยธรรม ต่อการวิจัยทางการแพทย์โดยใช้เซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อน "อาจเป็นไปได้ที่จะเซลล์เพาะเลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิด โดยไม่ต้องทำลายตัวอ่อนและไม่ทำลายชีวิตที่จะเกิดมาด้วย" ดร.โรเบิร์ต ลานซา (Robert Lanza) หัวหน้านักวิทยาศาสตร์จากสถาบัน 'แอดวานซ์เซลล์เทคโนโลยี' (Advanced Cell Technology) ในมลรัฐแมสซาชูเซตส์ กล่าว (ผู้จัดการ จันทร์ที่ 28 ส.ค. 2549 http://www.manager.co.th)





“เตาเทวดา” เตาถ่านชีวมวลที่ไม่ธรรมดา จากมือนักประดิษฐ์นครพนม

นักประดิษฐ์สมัครเล่น จ.นครพนม พัฒนาเตาถ่านแบบใหม่ ใช้เศษชีวมวลเป็นเชื้อเพลิง แจงให้ความร้อนเทียบเท่าเตาแก๊ส แถมประหยัดกว่า เติมถ่านครั้งเดียวติดไฟได้ต่อเนื่อง 12 ชั่วโมง แนะใช้กับครัวเรือน ร้านอาหาร และโรงงาน นายจริง ดินเชิดชู ชาวบ้านจากนครพนม ผู้ประดิษฐ์คิดค้น “เตาเทวดา” เล่าว่า หลังจากที่ได้ลงมือพัฒนาเตาเทวดามาเป็นเวลา 2-3 ปี เขาก็ได้สิ่งประดิษฐ์ที่ใช้เชื้อเพลิงชีวมวล คือ แกลบ ขี้เลื่อย เศษใบไม้ ฯลฯ เสร็จสมบูรณ์ และได้จดสิทธิบัตรเป็นของตัวเองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คุณสมบัติของเตาเทวดาที่เขาประดิษฐ์ขึ้น มีขนาดกะทัดรัด เหมาะกับการใช้ในครัวเรือน ร้านอาหาร และโรงงาน ใช้ต้นทุนเชื้อเพลิงต่ำเนื่องจากนำเศษไม้ ขี้เลื่อย หรือแกลบที่ไม่ได้ใช้งานมาอัดเป็นแท่งเชื้อเพลิง เมื่อใช้งาน จะให้ควันและขี้เถ้าน้อย อีกทั้งไม่ฟุ้งกระจายในอากาศเมื่อเทียบกับเตาถ่านทั่วไป จุดไฟติดง่ายและติดไฟได้นานติดต่อกัน 12 ชั่วโมงต่อการใส่เชื้อเพลิงอัดแท่ง 1 ครั้ง สามารถปรับความแรงของไฟได้ตามความต้องการด้วยการปรับปล่องอากาศ หรือแม้แต่ในกรณีเลิกใช้งานก็ควบคุมให้หยุดการเผาไหม้ได้ โดยสามารถจุดไฟใหม่เพื่อใช้เชื้อเพลิงจนหมดในครั้งต่อไปได้ ด้านหลักการทำงานของเตาเทวดา เมื่อจุดไฟด้านล่างที่ท่อรูปตัวแอล (L) ซึ่งทำหน้าที่ทั้งเป็นท่อใส่เชื้อเพลิงอัดแท่งและปล่องอากาศ ไฟจะลุกไหม้ตลอดผิวแนวด้านในของเตา และถ่ายเทความร้อนขึ้นสู่ข้างบน โดยจะให้ความร้อนสม่ำเสมอตลอดการใช้งาน ทั้งนี้ หลังการติดไฟ 6 ชั่วโมง เชื้อเพลิงจะเผาไหม้ถึงบริเวณเกือกม้า ซึ่งเอวเตาด้านบนซึ่งมีหน้าที่ยึดโครงสร้างไม่ให้ทรุดตัวจะหดตัวลงประมาณ 2 เซนติเมตร ช่วงนี้เกือกม้าจะทำหน้าที่ลดการเผาไหม้ด้านล่าง และถ่ายอากาศขึ้นด้านบน โดยเตาเทวดายังมีท่อติดหมวกทำหน้าที่คอยดักควันด้วย ส่วนการใช้งาน นายจริงบอกว่า เนื่องจากเตาเทวดาจะให้ความร้อนสูงกว่าเตาอังโล่ทั่วไป เทียบเท่ากับความร้อนที่เกิดจากเตาแก๊สที่ใช้ก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) จึงทำให้สามารถจ่ายความร้อนได้อย่างต่อเนื่อง 8-10 ชั่วโมงโดยไม่ต้องหยุดพัก จึงเหมาะสำหรับการต้ม การตุ๋น และการอุ่นอาหารให้อุ่นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงชีวมวลเพียง 6 กิโลกรัม (ผู้จัดการ จันทร์ที่ 28 ส.ค. 2549 http://www.manager.co.th)





"น้ำมัน" จากยางและพลาสติกใช้แล้ว ผลงานช่วยชาติในยามวิกฤติ โดยวิทยาลัยปิโตรเลียม จุฬาฯ

ผศ.ดร.ศิริรัตน์ เจ้าของงานวิจัย “การผลิตเชื้อเพลิงเหลวจากขยะพลาสติกและยางโดยใช้กระบวนการไพโรไลซิส” ซึ่งจบการศึกษาระดับปริญญาเอกทางด้านตัวเร่งปฏิกิริยาจากมหาวิทยาลัยเท็กซัส เอ แอนด์ เอ็ม (Texas A&M University) เล่าว่าหลังจากจบกลับมาแล้วก็มาคิดว่าควรจะทำงานวิจัยอะไรที่บ้านเรากำลังประสบปัญหาและขาดแคลนซึ่งก็คิดว่าต่อต้องขาดแคลนน้ำมัน โดยช่วงเวลานั้นทุกคนให้ความสำคัญกับไบโอดีเซลซึ่งก็ไม่ทราบว่าทำไม และจากการศึกษาปริมาณขยะพลาสติกในพื้นที่นำร่องพบว่า บริเวณกรุงเทพมหานครมีขยะพลาสติกราว 6 แสนตัน/ปี บริเวณเขตเทศบาลสมุทรปราการมีปริมาณ 4 พันตัน/ปี และจังหวัดนครปฐมมีปริมาณเกือบ 1 หมื่นตัน/ปี การนำไปเผาทิ้งหรือฝังกลบก็ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหามากนัก หรือขยะจำพวกยางแม้จะจะนำไปทำรองเท้หรือกระถางต้นไม้ แตถึงที่สุดแล้วก็กลับไปเป็นขยะเช่นเดิม จึงน่าจะมีวิธีการที่ดีกว่า ส่วนหลักการในการผลิตน้ำมันด้วยวิธีนี้คือจะเผายางหรือพลาสติกนั้นโดยไม่ใช้ออกซิเจน ผลิตภัณฑ์ที่ได้ออกมาจะได้น้ำมันที่มีคุณสมบัติเหมือนน้ำมันเตา ซึ่งทั้งน้ำมัน พลาสติกและยางต่างก็เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon) แต่แตกต่างกันที่ความยาวของสายโซ่ของสารประกอบ ยางและพลาสติกเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากสารมอนอเมอร์ (Monomer) ของปิโตรเลียมและปิโตรเคมี สำหรับการผลิตเชื้อเพลิงจากยางหรือพลาสติกนี้ ผศ.ดร.ศิริรัตน์กล่าวว่าเป็นวิธีที่หลายประเทศก็ทำอยู่แล้ว ซึ่งบางประเทศก็ให้ความสำคัญและบางประเทศก็มองข้ามไปเนื่องจากไม่คุ้มทุน แต่บางประเทศอย่างไต้หวันก็สามารถผลิตน้ำมันจากยางที่มีประสิทธิภาพคือได้เป็นน้ำมันเบนซินถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้เนื่องจากรัฐบาลได้ให้ความช่วยเหลือบริษัทเอกชนในการลงทุน ทั้งนี้การผลิตน้ำมันจากขยะทั้งหลายของ ผศ.ดร.ศิริรัตน์นี้ มุ่งที่จะพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาที่จะช่วยปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันที่ได้จากขยะให้ดีขึ้น และที่ไต้หวันสามารถผลิตนำมันเบนซินเนื่องจากสามารถผลิตตัวเร่งปฏิกิริยาที่คุณภาพและเป็นความลับที่ไม่เปิดเผย ซึ่งนักวิจัยคนเก่งของไทยก็กำลังพยายามพัฒนาเพื่อที่จะได้น้ำมันที่คุณภาพมากขึ้น ซึ่งในการพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาของ ผศ.ดร.ศิริรัตน์ก็มีอยู่ 2 วิธีคือ 1.สังเคราะห์ขึ้นมาเอง และ 2.นำตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีมาดัดแปลงโดยการเพิ่มธาตุต่างๆ ในตารางธาตุลงไป (ผู้จัดการ จันทร์ที่ 28 ส.ค. 2549 http://www.manager.co.th)





รวมพลสิ่งประดิษฐ์ฝีมือไทย วช.เปิดเวทีหาสุดยอดผลงาน

ศ.อานนท์ บุณยะรัตเวช เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวว่า วช.กำหนดจัดการประกวดผลงานประดิษฐ์คิดค้น เพื่อขอรับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2550 จำนวน 80 ผลงานขึ้น ระหว่างวันที่ 1-2 กันยายนนี้ ณ อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้น เพื่อส่งเสริมผลงานประดิษฐ์คิดค้นของประเทศ ให้รู้จักอย่างแพร่หลายในระดับชาติ สนับสนุนนักประดิษฐ์คนไทย ให้มีโอกาสได้แสดงผลงานในระดับชาติ และเพื่อพัฒนาผลงานประดิษฐ์คิดค้นของประเทศ ให้เจริญรุดหน้าและสามารถผลักดันไปสู่การผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ ภายในงานยังมีนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์ "เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย หรือกังหันน้ำชัยพัฒนา" และนิทรรศการของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ พร้อมทั้งบริการให้คำแนะนำและคำปรึกษาเกี่ยวกับการจดทะเบียนสิทธิบัตรและลิขสิทธิ์ด้วย ทั้งนี้ สภาวิจัยได้จัดให้มีรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ตั้งแต่ปี 2518 จนถึงปัจจุบัน รวม 31 ปี มีผลงานที่ได้รับรางวัลทั้งสิ้น 468 ผลงาน โดยรางวัลดังกล่าวเป็นรางวัลระดับชาติ ที่นักประดิษฐ์ไทยและประชาชนทุกระดับให้ความสนใจ เนื่องจากการประดิษฐ์คิดค้นเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงจำเป็นต้องมีการส่งเสริมการประดิษฐ์คิดค้นอย่างจริงจังเพื่อลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ (คมชัดลึก จันทร์ที่ 28 ส.ค. 2549 http://www.komchadluek.net)





วิจัยปุ๋ยชีวภาพ"อัลจินัว"เจ๋ง เพิ่มผลผลิตพืช-ปรับคุณภาพดิน

ดร.นงลักษณ์ ปานเกิดดี ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กล่าวถึงปุ๋ยชีวภาพอัลจินัว ว่า วว. ได้พัฒนาขึ้นด้วยกระบวนการเทคโนโลยีชีวภาพในการคัดเลือกทรัพยากรชีวภาพขนาดเล็กคือ สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว เป็นวัสดุออกฤทธิ์ในตัวปุ๋ย ซึ่งมีคุณสมบัติเพิ่มธาตุอาหารให้กับพืช โดยเฉพาะธาตุไนโตรเจน และมีประสิทธิภาพปรับปรุงบำรุงคุณภาพของดินให้ดีขึ้น ส่งผลให้การเจริญแพร่กระจายของรากพืชและการสร้างผลผลิตของพืชเป็นไปได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ มีการทดสอบปุ๋ยในไร่นาเพื่อวิเคราะห์ผลทางการเกษตรและผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ได้ผลว่า การใช้ปุ๋ยชีวภาพอัลจินัว อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ และแต่งหน้าด้วยปุ๋ยเคมี 46-0-0 (ปุ๋ยยูเรีย) อัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิตข้าวมากกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว หรือผลผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ 100 ก.ก.ต่อไร่ โดยข้าวจะแตกกอได้ดี ต้นข้าวเขียวนานกว่าการใช้ปุ๋ยเคมี เมล็ดข้าวสวย น้ำหนักข้าวดี ดินร่วนซุย ไถพรวนง่าย และดินอุ้มน้ำเพิ่มขึ้น ทำให้ลดจำนวนครั้งของการให้น้ำแก่ต้นข้าว โดยเฉพาะการปลูกข้าวหอมมะลิในหลายพื้นที่ภาคอีสานที่มีน้ำน้อย (มติชน จันทร์ที่ 28 ส.ค. 2549 http://www.matichon.co.th)





หุ่นยนต์ล้มลุกดูแลคนชรา

ราล์ฟ โฮลลิส ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน มหาวิทยาลัยมีชื่อด้านหุ่นยนต์ศาสตร์ ได้พัฒนาหุ่นยนต์ช่วยงานมนุษย์ ซึ่งเป็นสาขาวิชาใหม่ที่ต้องการพัฒนาให้หุ่นยนต์สามารถช่วยเหลือมนุษย์ได้ การพัฒนาหุ่นยนต์ในสาขาวิชาการดังกล่าวกำลังเป็นที่นิยมในญี่ปุ่น และเกาหลี เนื่องจากทั้งสองประเทศมีประชากรสูงอายุจำนวนมาก ซึ่งต้องการแรงงานหนุ่มสาวมาคอยพยาบาลอย่างใกล้ชิด หุ่นยนต์บอลบอทจากมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน ถูกออกแบบมาให้ต่างจากหุ่นยนต์อื่น บอลบอทสามารถเคลื่อนไหวได้ในทุกทิศทางโดยไม่ต้องหมุนตัวเลี้ยวเนื่องจากมันเลี้ยงตัวยืนอยู่บนลูกบอล มันจึงเหมาะที่จะทำงานในพื้นที่ที่คนมักจะออกันแน่น นักวิจัยยังเตรียมออกแบบติดตั้งแขน และกล้องให้กับบอลบอท รวมถึงเทคโนโลยีต่างๆ แต่การใช้งานจริงยังคงต้องรอไปอีกนาน และนักวิจัยยอมรับว่า ตัวเขาเองยังไม่แน่ใจว่าจะทำได้สำเร็จหรือไม่ แต่ก็รับปากว่าจะผลักดันให้เป็นไปได้มากที่สุด (กรุงเทพธุรกิจ พุธที่ 30 ส.ค. 2549 http://www..bangkokbiznews.com)





อาจารย์วิศวะเหมืองแร่ฯม.สงขลาฯ ชนะเลิศประกวดงานวิจัยThainox

รายงานข่าวจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) แจ้งว่า โครงงานวิจัยเรื่อง "การหล่อโลหะกึ่งของแข็งแบบเทของโลหะผสมอะลูมิเนียมทองแดง" ของนายตฤณเมษ สังขพันธ์ นายสมใจ จันทร์อุดม และ นายรอมฎอน บูระพา นักศึกษาปี 4 สาขาวิศวกรรมวัสดุ ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และวัสดุ ซึ่งมีนายเจษฎา วรรณสินธุ์ เป็นที่ปรึกษา ได้รับรางวัลและเกียรติบัตรจากการประกวดผลงานวิจัย Thainox Metallurgy Award 2006 จัดโดย บริษัท ไทยน๊อค สเตนเลส จำกัด (มหาชน) เมื่อเร็วๆ นี้ โดยผ่านเข้ารอบสุดท้าย 1 ใน 3 ของผลงานทั่วประเทศ ส่วนในระดับสูงกว่าปริญญาตรี ผลงานวิจัยเรื่อง "Development of a Novel Semi-Solid Metal Processing Technique for Aluminium Casting Applications" ของนายเจษฎา วรรณสินธุ์ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และวัสดุ และนายสงบ ธนบำรุงกูล นักศึกษาปริญญาโท ได้ผ่านเข้ารอบสุดท้าย 1 ใน 3 ของผลงานทั่วประเทศ และได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 (มติชน พุธที่ 30 ส.ค. 2549 http://www.matichon.co.th/)





“เครื่องตากแดดเดียว” ตากอาหารอย่างหายห่วง ครบเครื่องในคลิ๊กเดียว

2 หนุ่มปากท่อพิทยาคม ปิ๊งไอเดียเขียนโปรแกรมควบคุมเครื่องตากอาหารแดดเดียว คว้าที่ 2 โครงงานคอมพิวเตอร์ สสวท.49 เผยช่วยดูแลอาหารที่ตากไว้แทนแรงงานคนแบบฟูลออปชั่น ทั้งพลิกเนื้อ ปัดแมลง เก็บเมื่อแดดหมด แถมกันอาหารไม่ให้เปียกฝน สิ่งประดิษฐ์ที่ว่านี้ได้กลายเป็นจริงแล้ว โดยการพัฒนาของ 2 หนุ่มชั้น ม.5 โรงเรียนปากท่อพิทยาคม จังหวัดราชบุรี ได้แก่ นายปิ่นศักดิ์ พูลสวัสดิ์ หรือน้องอ๋า และนายมิ่งมงคล เตาฉะอ้อน หรือน้องแอร์โร่ โดยมีอาจารย์ไตรรงค์ โต้ตอบ คอยให้คำแนะนำ ซึ่งสิ่งประดิษฐ์เก๋ๆ ที่มีชื่อว่า "เครื่องตากแดดเดียว" นี้ก็เพิ่งคว้ารางวัลรองชนะเลิศ การประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) มาครองได้ พร้อมทั้งโล่รางวัล เกียรติบัตร และทุนการศึกษาอีกจำนวนหนึ่ง เครื่องตากแดดเดียวจะทำงานโดยใช้ไฟฟ้าจากไฟบ้านที่แปลงให้เหลือเพียง 12 โวลท์ ซึ่งอาจมีปัญหาเมื่อไฟฟ้าดับ ดังนั้นในขั้นต่อไปจึงอาจพัฒนาให้มีแบตเตอรี่เก็บไฟฟ้าในตัว หรือมีแผงโซล่าร์เซลล์เก็บไฟฟ้ามาใช้แทนไฟบ้าน นอกจากนั้นยังได้รับคำแนะนำจากคณะกรรมการตัดสินรางวัลของ สสวท.ให้ลองพัฒนาเครื่องตากแดดเดียวให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อขยายไปสู่การทำอาหารแดดเดียวในเชิงพาณิชย์ด้วย จากตัวต้นแบบในขณะนี้ที่ตากอาหารได้เพียงครั้งละ ½ กิโลกรัม (ผู้จัดการ พุธที่ 30 ส.ค. 2549 http://www.manager.co.th/)





มอ.สร้างต้นแบบโรงงานสกัดปาล์มน้ำมัน

รศ. ดร. ชาคริต ทองอุไร ผู้อำนวยการศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ สถานวิจัยและพัฒนาพลังงานทดแทนจากน้ำมันปาล์มและพืชน้ำมัน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เผยถึงโครงการปรับปรุงโรงงานต้นแบบสกัดน้ำมันปาล์มและการใช้น้ำมันปาล์ม เพื่อเป็นเชื้อเพลิงไบโอดีเซลว่าโครงการดังกล่าวได้เริ่มศึกษาวิจัยมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 โดยสร้างโรงงานผลิตไบโอดีเซลที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.นราธิวาส มีกำลังการผลิต 400ลิตรต่อวัน ปัจจุบันผลิตได้วันละ ประมาณ 1,000 ลิตร เดือนหนึ่งประมาณ 20,000 ลิตร โดยใช้น้ำมันทอดแล้วเป็นวัตถุดิบ สำหรับการทดสอบการใช้น้ำมันไบโอดีเซล ทดสอบโดยการใช้ไบโอดีเซลในเครื่องจักรกลการเกษตรและรถขนส่ง ภายในศูนย์การศึกษาพิกุลทอง พร้อมศึกษาผลกระทบการใช้ไบโอดีเซล โดยใช้กับรถไฟดีเซลราง และศึกษาการใช้โอดีเซลกับรถยก ของโรงงานผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋อง จังหวัดสตูล รวมไปถึงโรงงานห้องเย็นโชติวัตน์หาดใหญ่จำกัด (มหาชน) (แนวหน้า พฤหัสบดีที่ 31 ส.ค. 2549 http://www.naewna.com)





นักวิจัยสหรัฐพบวิธี บังคับ"เซลล์มะเร็ง"ฆ่าตัวเอง

นักวิจัยมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา สังเคราะห์โมเลกุลที่ทำให้ "เซลล์มะเร็ง" ฆ่าตัวเอง สร้างความหวังเรื่องการรักษามะเร็งด้วยวิธีใหม่ๆ เซลล์ปกติมีกระบวนการทำลายตัวเองหากพบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น โดยจะเปลี่ยนโปรตีน "โปรคาสเปส 3" เป็น "คาสเปส 3" ส่งสัญญาณให้เซลล์ฆ่าตัวเอง แต่เซลล์มะเร็งสามารถต้านทานกระบวนการนี้ ทำให้เซลล์มะเร็งอยู่รอดและแพร่กระจาย คณะนักวิจัยศึกษาสารสังเคราะห์กว่า 20,000 ชนิด ที่มีโครงสร้างแตกต่างกัน เพื่อดูว่าตัวไหนสามารถกระตุ้นให้โปรคาสเปส 3 พัฒนาเป็นคาสเปส 3 ได้ พบว่า สารสังเคราะห์ที่ชื่อว่า "โมเลกุลพีเอซี 1" สามารถกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งของหนูและคนทำลายตัวเองได้ ยิ่งเซลล์มะเร็งมีโปรคาสเปส 3 มากเท่าไหร่ ยิ่งใช้สารตัวนี้น้อยลง ขณะที่เซลล์ปกติ เช่น เซลล์เม็ดเลือดขาวไม่ได้รับผลจากการเติมโมเลกุลดังกล่าว เพราะมีโปรคาสเปส 3 น้อย จึงไม่ถูกกระตุ้นให้เกิดกระบวนการฆ่าตัวเอง ผลการทดลองกับเซลล์มะเร็งและเซลล์ปกติของอาสาสมัครคนเดียวกันพบว่า เซลล์มะเร็งตอบสนองต่อโมเลกุลพีเอซี 1 มากกว่าเซลล์ปกติถึง 2,000 เท่า (มติชน พฤหัสบดีที่ 31 ส.ค. 2549 http://www.matichon.co.th)





ข่าวทั่วไป


สมาร์ทการ์ดหมดสต๊อก! 1 ก.ย.หยุดทำบัตรทุก เขต

นายยศศักดิ์ คงมาก ผู้อำนวยการกองปกครองและทะเบียน (กปท.) เปิดเผยว่า กรุงเทพมหานครได้รับแจ้งจากกระทรวงมหาดไทยว่า ขณะนี้บัตรประชาชนแบบสมาร์ทการ์ดซึ่งเป็นบัตรเปล่าที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) สำรองไว้จำนวนใกล้จะหมดสต๊อก อีกทั้งการจัดซื้อบัตรเปล่าลอตถัดไป จำนวน 13 ล้านใบ วงเงิน 962 ล้านบาท มีปัญหาเรื่องการจัดซื้อ ทั้ง 2 ปัจจัยส่งผลให้กระทบต่อการให้ บริการทำบัตรประชาชนตามสำนักงานเขตต่างๆ อย่างแน่นอน เนื่องจาก กทม.ไม่สามารถเบิกบัตรเปล่าเพื่อกระจายไปสำรองในสำนักงานเขต 50 เขตได้ เมื่อไม่มีวัตถุดิบดังกล่าว กทม.คงไม่สามารถให้บริการทำบัตรประชาชนเหมือนปกติได้ ที่ผ่านมา กทม.ได้เร่งสำรวจจำนวนบัตรประชาชนสำรองตามสำนักงานเขต 50 แห่ง พบว่ายังเหลือบัตรเปล่ากระจายอยู่ตามเขตต่างๆ มากบ้างน้อยบ้าง แต่รวมแล้วมีเหลือเพียง 10,000 ใบ และคาดว่าน่าจะให้บริการทำบัตรประชาชนได้ถึงวันที่ 31 ส.ค. 2549 เท่านั้น และ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. เป็น ต้นไป ฝ่ายทะเบียนของสำนักงาน 50 แห่งคงจะต้องหยุดให้บริการทำบัตรประชาชนแบบสมาร์ทการ์ด เหตุที่ไม่สามารถให้บริการได้เนื่องจากไม่มีบัตรสมาร์ทการ์ดเปล่าและ ปัญหาลักษณะนี้เกิดขึ้นเหมือนกันทั่วประเทศไม่ได้เฉพาะเจาะจงที่กทม.แห่งเดียว และจะเปิดให้บริการทำบัตรใหม่อีกครั้งในช่วงใดนั้น ต้องรอจนกว่ากระทรวงมหาดไทยจะได้ข้อสรุปกับกระทรวงไอซีทีเรื่องการสั่งซื้อบัตรใหม่เสียก่อน อย่างไรก็ตาม มีความเป็น ไปได้ว่าในช่วงที่ไม่ให้บริการทำบัตรประชาชนแบบสมาร์ทการ์ดอาจจะหันกลับไปทำบัตรประชาชนแบบแถบแม่เหล็กเป็นการชั่วคราว ซึ่งบัตรดังกล่าวก็มีลักษณะคล้ายกันกับสมาร์ทการ์ด แต่เรื่องนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน คงจะต้องหารือกับกระทรวงมหาดไทยเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าต่อไป. (ไทยรัฐ จันทร์ที่ 28 ส.ค. 2549 http://www.thairath.co.th)





นักศึกษา"มรช."กวาด3รางวัล งานประกวดซอฟต์แวร์ธุรกิจ

อาจารย์วีนารัตน์ แสวงกิจ ประธานโปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย (มรช.) เปิดเผยว่า ทางโปรแกรมได้นักศึกษา และคณาจารย์เข้าร่วมงานวิชาการตาม "โครงการประกวดซอฟต์แวร์เพื่องานทางธุรกิจ" ที่คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) เมื่อเร็วๆ นี้ ปรากฏว่าทางโปรแกรมได้ส่งนักศึกษาเข้าแข่งขัน และคว้ารางวัลชนะเลิศ ทั้งนี้ การจัดงานดังกล่าวจัดเพื่อส่งเสริมงานด้านวิชาการธุรกิจคอมพิวเตอร์ในระดับอุดมศึกษา และในฐานะที่คณะวิทยาการจัดการ มรช.เปิดสอนวิชาเอกดังกล่าว จึงส่งนักศึกษาเข้าแข่งขันในโปรแกรม Software Application 7 โครงการ เพื่อทดสอบความสามารถของนักศึกษา โดยมีมหาวิทยาลัยต่างๆ ส่งโครงการเข้าร่วมประกวดมากกว่า 20 โครงการ ซึ่งการแข่งขันมี 2 ประเภท คือ ประเภท Software Application และประเภท Web Service & Web Application แต่ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการ 3 โครงการ (มติชน พุธที่ 30 ส.ค. 2549 http://www.matichon.co.th/)





“ปลาทู” นักวิทย์หัวใจศิลป์ เจ้าของงานเขียนรอบสุดท้าย "ซีไรต์"

“ปลาทู” นักเรียนทุนคิงด้านอุตุนิยมวิทยา และอดีตผู้แทนฟิสิกส์โอลิมปิก 3 ปีซ้อน ก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่านอกจากสามารถด้านวิทยาศาสตร์ที่เป็นเลิศแล้ว เขายังยังมีจินตนาการที่สุดล้ำ ด้วยผลงานเขียนที่ผ่านเข้ารอบ 10 เล่มสุดท้ายรางวัลซีไรต์ปีล่าสุด แม้จะเป็นเพียงนักเขียนหน้าใหม่ในวัยเพียง 25 แต่ “ภาณุ ตรัยเวช” นักศึกษาปริญญาเอกวิชาอุตุนิยมวิทยาและสมุทรศาสตร์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส หรือ ยูซีแอลเอ (University of California at Los Angeles: UCLA) ก็พา “เด็กกำพร้าแห่งสรวงสวรรค์” นวนิยายแห่งโชคชะตาและวรรณกรรมเพศที่ 3 เข้ารอบ 10 เล่มสุดท้าย รางวัลซีไรต์ 2549 ด้วยการผสานทั้งจินตนาการและความรู้วิทยาศาสตร์ถ่ายทอดเป็นตัวอักษรบนหนังสือหนากว่า 200 หน้า ในด้านความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์นั้น ภาณุ หรือ “ปลาทู” ได้พิสูจน์ให้เห็นด้วยการเป็นผู้แทนโอลิมปิกวิชาการ สาขาฟิสิกส์ถึง 3 ปีซ้อน จากนั้นสอบทุนเล่าเรียนหลวงสายวิทยาศาสตร์ได้อันดับ 1 ไปเรียนต่อฟิสิกส์ที่สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (California Institute of Technology: Caltech) และเรียนจบด้วยเกียรตินิยม ก่อนที่จะเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท-เอกที่ยูซีแอลเอ โดยอีกเพียง 3 ปีเขาก็จะสำเร็จการศึกษาออกมาเป็นนักวิจัยทางด้านอุตุนิยมวิทยา (ผู้จัดการ พุธที่ 30 ส.ค. 2549 http://www.manager.co.th/)





โทรศัพท์มือถือเกือบพาเข้าคุก ปล่อยให้เสียงดังลั่นขึ้นกลางศาล

โทรศัพท์มือถือก่อเหตุ ทำให้ผู้เข้าฟังการพิจารณาคดี บนศาลอาญาของเลค เคาน์ตรี ที่สหรัฐฯ ถูกศาลสั่งกักตัวเกือบทั้งแถวม้านั่งแถวหน้า 5 คน และอีกสองคนโดนถูกพิพากษาให้ไปใช้แรงงานทำงานสาธารณ ประโยชน์ โทษฐานปล่อยให้เกิดเสียงเรียกดังขึ้นมาตั้ง 3 หน เมื่อเสียงโทรศัพท์ดังขึ้น ผู้พิพากษาไดแอน บอสเวลล์ ได้ถามหาเจ้าของโทรศัพท์มือถือต้นเหตุขึ้นก่อน แต่หามีใครลุกขึ้นยอมรับไม่ ผู้พิพากษาเลยสั่งให้ผู้เข้าฟังที่นั่งอยู่ที่ม้าแถวหน้า ยกแถวไปนั่งยังที่ซึ่งจัดไว้ให้ สำหรับนักโทษ ทั้ง 5 คน ต้องนั่งตากหน้าอยู่ นานเกือบ 2 ชม. จนศาลเลิกการพิจารณาในตอนเช้า นอกจากนั้นยังอีก 3 คน ที่ศาลถือว่าหมิ่นประมาทศาล เพราะเมื่อศาลถามในชั้นแรก ไม่มีใครยอมรับเลยว่าโทรศัพท์ของใครดัง นางซินเทีย แคนนอน ผู้ถูกลงโทษคนหนึ่ง ถูกปรับเป็นเงิน 3,700 บาท หลังจากยอม สารภาพในที่สุดว่า เป็น เจ้าของโทรศัพท์ที่ดัง ขึ้นเครื่องหนึ่ง และจะต้องไปใช้แรงงานบำเพ็ญประโยชน์ เป็นเวลานาน 40 ชม. แม้นางจะอ้างว่าไม่สามารถไปทำงานนานขนาดนั้นได้ เนื่องจากทุพพลภาพ ส่วนอีก 2 คน ถูกสั่งให้ ไปทำงานเป็นเวลานานเท่ากัน (ไทยรัฐ พฤหัสบดีที่ 31 ส.ค. 2549 http://www.thairath.co.th)





น้ำกลับศักดิ์สิทธิ์ยิ่งกว่าเนื้อผลไม้ ดื่มน้ำห่างหมอได้ไกลกว่ากินทั้งลูก

คณะนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ ซึ่งค้นพบในการศึกษา ยังได้พบว่า เหล่าสารเคมีที่มีอยู่ในน้ำแอปเปิ้ลยังมีสรรพคุณป้องกันอัมพาต โรคหัวใจและมะเร็งได้อีกด้วย และเตรียมจะทดสอบความเชื่อเรื่องนี้กับอาสาสมัครอีก 12 คน ซึ่งแต่ละคนจะต้องพยายามดื่มให้ได้ปริมาณมากถึง 476 ซีซี อีกด้วย แล้วจะจับตรวจตัวอย่างเลือดและปัสสาวะ เพื่อดูว่า มันจะช่วยขนบรรดาสารป้องกันความเสื่อมของร่างกายต่างๆ ซึ่งมีสรรพคุณต่อต้านโรคเข้าไปในร่างกายได้หรือไม่ สารประกอบที่ทำให้น้ำแอปเปิ้ลเก่งกล้านั้น อยู่ที่สารที่มีชื่อว่า “พีโนลิก” ซึ่งนักวิจัยยังเชื่อว่า มันอาจจะมีอภินิหารแรงกล้ายิ่งกว่านั้น ดร.เซเรนา มาร์คส หัวหน้านักวิจัย กล่าวว่า “การค้นคว้าหนก่อนส่อว่า ฟีโนลิกอาจจะมีส่วนในการป้องกันโรคร้ายแรงบางโรค เราจึงพยายามค้นหาดูว่า เราจะหาฟีโนลิกจากอาหารของเราอย่างไร”. (ไทยรัฐ พฤหัสบดีที่ 31 ส.ค. 2549 http://www.thairath.co.th)





“อานันท์”ชี้ปัจจุบันสังคมแตกแยกเป็น2ซีก

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดเสวนาทางวิชาการเรื่อง “การปฏิรูปการเมืองครั้งใหม่” โดยนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานองค์การเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย กล่าวปาฐกถาเรื่อง“การปฏิรูปการเมืองและสังคมครั้งใหม่“ว่า สถานการณ์ปัจจุบันต้องยอมรับว่ามีความอ่อนไหว การโต้เถียง แลกเปลี่ยนความรู้ สอบถาม กลับกลายเป็นเรื่องการเมืองไปหมด แต่เป็นยุคที่คนพูดเรื่องการเมืองไม่ได้ จะถูกหาว่าอยู่ฝ่ายไหนทันที ต้องระวัง การสัมมนานี้ ต้องการให้เป็นเรื่องของความเป็นกลาง ไม่ใช่เวทีสนับสนุนฝ่ายใด แต่ตนประกาศตัวไม่เป็นกลาง ชีวิตตนไม่เคยเป็นกลาง ตนอยู่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสมอ และหวังตลอดชีวิตว่า จะอยู่ข้างความถูกต้อง ถึงเวลาแล้วที่จะบอกว่า สังคมไทยใช้คำว่า ความเป็นกลางพร่ำเพรื่อ สังคมไทยต้องมีจุดยืนซึ่งต้องแน่ใจว่าเป็นจุดยืนของฝ่ายไม่ใช่จุดยืนเรื่องบุคคลและเป็นจุดยืนที่ถูกต้อง (เดลินิวส์ พฤหัสบดีที่ 31 ส.ค. 2549 http://www.dailynews.co.th)






KMUTT Digital Library
Contact Digital Library : info@lib.kmutt.ac.th
Tel : 0-2470-8215