หัวข้อข่าวปีที่ 1 ฉบับที่ 6 ประจำวันที่ 2000-09-26

ข่าวการศึกษา

โครงสร้าง สนง. อุดมศึกษาใหม่ใกล้ลงตัว
No Lectures or Teachers, Just Software
Does Six Sigma Belong in Sixth Grade ?
มหาวิทยาลัยรามคำแหง เตรียมสอนภาษาไทยผ่านอินเตอร์เน็ต
โฉมใหม่ “ราชมงคล” ก้าวสู่ยุคปฏิรูปการศึกษา
“พนม” หนุนตั้งราชภัฏทุกจังหวัดรับผู้จบ 12 ปี
วิทยาลัยเทคนิคนครปฐมได้รับรอง ISO 9002
“กษมา” หนุนมัธยมออกนอกระบบ
แทรกวัฒนธรรมในหลักสูตรเพศศึกษา
ห้องเรียนยุคไซเบอร์อี-คลาสรูม

ข่าววิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี

บ้านประหยัดพลังงาน
ดาวเคราะห์น้อยเฉียดโลก
ทุ่นทะเลตรวจอากาศ
เยอรมนี เผยแผนเร่งรัดพัฒนา - ดูแลสังคมอินเตอร์เน็ต
Govt to draft new IT Plan
PC for lease : Is buying a computer out of fashion?
จับกระแส “อีบุ๊กส์” ปฏิวัติโลกการอ่าน
เปิดเว็บสกัดความงมงายชาวบ้าน
ผลกระทบทางเทคโนโลยี
นักดาราศาสตร์ชวนชมจุดดำบนดวงอาทิตย์

ข่าววิจัย/พัฒนา

มจธ. สร้างหุ่นยนต์ป้อนอุตสาหกรรมเหล็ก
ไทย-ญี่ปุ่น ร่วมพัฒนาเทคโนโลยีหลังเก็บเกี่ยว
ชี้สารเคมีปนเปื้อนในคอมพ์ส่งผลผู้ใช้ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้
ลิฟต์ไปอวกาศ
เครื่องตัดกาบมะพร้าว
ช็อกโกแลตช่วยป้องกันฟันผุ
สร้างอุโมงค์ลมฝึกดิ่งเวหา
รีไซเคิลน้ำมันกลายเป็นครีมล้างจาน
พบวิธีเพิ่มอัตรารอดเลี้ยงปลากะพงขาว
กอล์ฟช่วยชะลอความแก่ผู้ชาย

ข่าวทั่วไป

พระราชทานชื่อทางพิเศษ 2 สาย อุดรรัถยา-บูรพาวิถี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อทางพิเศษ แก่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเพิ่มอีก 2 สาย คือ ทางพิเศษสายบางปะอิน – ปากเกร็ด ว่า “อุดรรัถยา” มีความหมายว่า ทางไปทิศเหนือ ซึ่งมีระยะทาง 32 กิโลเมตร และทางพิเศษ สายบางนา – ชลบุรี ว่า “บูรพาวิถี” มีความหมายว่า ทางไปทิศตะวันออก ซึ่งมีระยะทาง 55 กิโลเมตร
สวิสเซอร์แลนด์ยังคงเป็นประเทศที่ร่ำรวยที่สุด
ไม่ให้นอนคว่ำทารกจะโตยาก
กระทรวงใหญ่ร่วมจัดงานสมุนไพร
หอยสังข์แตรผู้พิทักษ์แนวปะการัง





ข่าวการศึกษา


โครงสร้าง สนง. อุดมศึกษาใหม่ใกล้ลงตัว

นายสุรพล นิติไกรพจน์ กรรมการบริหารสำนักงานปฏิรูปการศึกษา (สปศ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดโครงสร้างสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา ตาม พ.ร.บ. การศึกษาว่า สปศ. ได้ข้อยุติเบื้องต้น ตามกรอบที่ให้คำนึงถึงความเป็นอิสระของสถาบันอุดมศึกษาโดยทุกสถาบันเป็น นิติบุคคล สำนักงานดังกล่าว มีหน้าที่รองรับงานด้านนโยบาย มาตรฐาน การสนับสนุนด้านทรัพยากรและการประเมินผล โดยมีฐานะเป็นกรมที่ไม่ต้องผ่านปลัดกระทรวง แต่ขึ้นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมโดยตรง (มติชน 20 กันยายน 2543 หน้า 10)





No Lectures or Teachers, Just Software

ได้มี การนำเอา Software ที่พัฒนาโดย Dr. Roger C. Schank ผู้อำนวยการของ Institute for Learning Sciences มาใช้ในการเรียนการสอนรายวิชาต่างๆ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา Dr. Schank เป็นผู้สำเร็จการศึกษาด้าน Artificial Intelligence จากมหาวิทยาลัย Stanford และ Yale และ ได้จัดตั้งบริษัท Cognitive Arts ขึ้นในปี ค.ศ. 1995 เพื่อศึกษาพัฒนาการเรียนการสอน โดยใช้ software-based ให้เป็นเชิงพาณิชย์ Dr. Schank และทีมงานของ Institute for Learning Science และ Cognitive Arts ได้พัฒนา software ออกมามากกว่า 100 โปรแกรมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในสาขาวิชาต่างๆ แต่ละโปรแกรมของ Dr. Schank จะเป็นการผสมผสานภาพลักษณ์ของวิดีโอเกมส์ ที่ไฮเทค และสไตล์ของ Mission Impossible เช่น ในวิชาชีววิทยา โปรแกรมจะท้าทายให้นักศึกษาหยุดการเจริญเติบโตของไวรัส, วิชาเศรษฐศาสตร์ อาจจะให้นักศึกษาเล่นบทบาทเป็น ที่ปรึกษาของประธานกรรมการ Federal Reserve หรือใน วิชาฟิสิกส์ อาจจะให้นักศึกษาสร้างจรวด และนำไปลงที่ดวงจันทร์ เป็นต้น ฉะนั้นในแต่ละ software course ของ Dr. Schank จะเป็นการให้โอกาสผู้เรียนในการเลือกว่า จะให้นวนิยายของตัวจบอย่างไร Dr. Schank ได้ให้ความเห็นว่า “คุณค่าของคอมพิวเตอร์คือ สามารถทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการกระทำ เพราะการเรียนรู้จะไม่เกิดจากการฟังอย่างเดียว แต่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้เมื่อเขาพยายามที่จะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วล้มเหลว และการเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนพยายามหาเหตุผลว่า ทำไมเขาถึงล้มเหลว” (Green, J. “No Lectures or Teachers, Just Software” The New York Times on the Web,August 10, 2000 [Available] http://www.nytime.com/library/tech/00/08/circuits/articles/10prof.html.)





Does Six Sigma Belong in Sixth Grade ?

ผู้เขียนบทความคือ Art Kleiner กล่าวถึง ความพยายามในการสร้าง Partnership ระหว่างภาคธุรกิจเอกชนกับนักการศึกษา ในการจัดระบบการเรียนการสอนแนวใหม่ขึ้นในโรงเรียนในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้เขียนได้กล่าวถึงกิจกรรมของบริษัทต่างๆ ที่พยายามจะเข้ามามีส่วนในการเรียนการสอน เช่น กิจกรรมของ Motorola, Toyota, British Telecom และ Microsoft and Intel นอกจากนี้เขายังได้นำเสนอว่า สื่อมวลชนได้ให้ความสนใจมากเมื่อนักธุรกิจ ชื่อ C. Whittle และนักลงทุนชื่อ T.J. Forstmann ได้ร่วมกันสร้างโรงเรียนเอกชนแนวใหม่ขึ้นมา ซึ่งพวกเขาถือว่าเป็นธุรกิจที่สำคัญอย่างยิ่ง Mr. Forstmann ได้ถามผู้สื่อข่าว New York Times ว่า “คุณคิดว่าอะไรยากกว่ากัน ระหว่าง การสร้างเครื่องยนต์ของจรวดไอพ่น กับการการสอนเด็กๆ ให้รู้วิธีอ่าน เขียน และรู้คณิตศาสตร์” อย่างไรก็ตาม ความพยายามที่จะสร้าง Partnership ระหว่าง นักธุรกิจและนักการศึกษาในการปรับปรุงการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนได้ทักษะใหม่ๆ ที่ภาคธุรกิจต้องการนั้นเป็นสิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่า เพราะมีอุปสรรคและสิ่งท้าทายมากมาย ซึ่งเป็นเรื่องทัศนคติและมุมมองที่แตกต่างกัน ความพยายามในการนำภาคธุรกิจเข้ามาเป็น Partnership กับภาคการศึกษาเป็นสิ่งที่ไม่ง่ายเลย หากภาคธุรกิจทำคนเดียว กิจกรรมการเรียนรู้จะไม่ประสบความสำเร็จ เพราะพวกเขาไม่สนใจในการสอน ดังนั้นนักการศึกษามีสิ่งที่จะเสนอให้กับภาคธุรกิจมากกว่าที่ภาคธุรกิจมีให้เขาเสียอีก เพราะนักการศึกษา หรือ ครูผู้สอน ทราบวิธีที่จะสร้างสภาพแวดล้อมที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ได้ (Kleiner, Art “Does Six Sigma Belong in sixth Grade ?” Strategy & Business, No.19 : 23-26)





มหาวิทยาลัยรามคำแหง เตรียมสอนภาษาไทยผ่านอินเตอร์เน็ต

มหาวิทยาลัยรามคำแหง เตรียมเปิดสอนภาษาไทยแก่ผู้สนใจทั่วโลกผ่านทางอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ชาวต่างประเทศได้เรียนรู้ภาษาไทยเพิ่มขึ้นอีกภาษาหนึ่ง โดย นายรังสรรค์ แสงสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง กล่าวว่าขณะนี้คณะทำงานกำลังเร่งดำเนินการเพื่อให้เปิดสอนได้ในต้นปี 2544 ซึ่งเนื้อหาในการสอนมีการแบ่งตามระดับความรู้ต่างๆ และเมื่อเรียนแล้วจะมีการประเมินผลทางอินเตอร์เน็ตด้วย ทั้งนี้ผู้เรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ยกเว้นผู้เรียนที่ต้องการประกาศนียบัตรตัวจริง ต้องมาสอบด้วยตนเองที่มหาวิทยาลัยฯ (ข่าวสด จันทร์ที่ 18 กันยายน 2543 หน้า 5)





โฉมใหม่ “ราชมงคล” ก้าวสู่ยุคปฏิรูปการศึกษา

ผศ.ดร. นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เปิดเผยว่า สถาบันฯ มีความพร้อมเพื่อเข้าสู่โครงสร้างใหม่ มีการทบทวนบทบาทและภารกิจให้มากยิ่งขึ้น งดรับ นศ. ระดับ ปวช. ขยายการศึกษาระดับปริญญาตรี วางเป้าหมายเปิดสอนในระดับปริญญาโท และที่สำคัญ คือ การปรับปรุงคุณภาพการศึกษา การสร้างความร่วมมือกับสถาบันในต่างประเทศ ในการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ และการพัฒนาหลักสูตรให้เป็นสากลโดยเปิดสอนหลักสูตรภาษาอังกฤษในระดับปริญญาตรี (เดลินิวส์ พฤหัสบดีที่ 14 กันยายน 2543 หน้า 32)





“พนม” หนุนตั้งราชภัฏทุกจังหวัดรับผู้จบ 12 ปี

ดร. พนม พงษ์ไพบูลย์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ตนมีแนวคิดที่จะผลักดันให้สถาบันราชภัฏมีการสอนในลักษณะตลาดวิชา และเปิดสอนตั้งแต่ 08.00 – 21.00 น เพื่อรองรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี และจะปรับแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับท้องถิ่น ในฐานะที่เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อท้องถิ่น และการรับนักศึกษาก็ไม่จำเป็นต้องสอบ ให้รับนักศึกษาโดยดูคะแนนเฉลี่ยจากมัธยมปลายไม่ต่ำกว่า 2.20 และนักเรียนที่มีคะแนนต่ำกว่า 2.20 ก็ควรข้ามไปเรียนทางสายอาชีพ (เดลินิวส์ พุธที่ 14 กันยายน 2543 หน้า 12)





วิทยาลัยเทคนิคนครปฐมได้รับรอง ISO 9002

นายศักดิ์ชัย เดติวัฒน์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคนครปฐม เปิดเผยว่า จากการที่วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม ได้กำหนดการจัดตั้งระบบการประกันคุณภาพการศึกษาตามแนวมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9002 เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีแบบแผน เป็นระบบ อันจะส่งผลต่อระดับคุณภาพของผู้จบการศึกษา ซึ่งทางวิทยาลัยได้รับความร่วมมือจากบุคลากรทุกฝ่ายนั้น ยังผลให้วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม ได้รับรองมาตรฐาน ISO 9002 ทุกกิจการทั้งระบบจากสถาบันรับรองมาตรฐานระดับโลก UKAS (United Kingdom Accerditation Service) เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2543 (เดลินิวส์ อังคารที่ 12 กันยายน 2543 หน้า 32)





“กษมา” หนุนมัธยมออกนอกระบบ

ดร.กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา อธิบดีกรมสามัญศึกษา เปิดเผยว่า ร.ร.มัธยมแห่งใดที่พร้อมจะออกนอกระบบ ทางกรมสามัญศึกษาก็พร้อมจะให้การสนับสนุน แต่ก็อยากให้ศึกษาความเป็นไปได้ จากกรณีของ ร.ร.มหิดลวิทยานุสรณ์ ด้วยว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไร อย่างไรก็ดี ดร.รุ่ง แก้วแดง เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (กกศ.) กล่าวว่า การที่ ร.ร.มัธยม จะออกนอกระบบคงอีกนาน เพราะจะต้องผ่านหลายขั้นตอน ตั้งแต่ยกร่างกฎหมายตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน ส่งไปให้ต้นสังกัด และนำเข้าคณะรัฐมนตรี และที่สำคัญคือการออกไปนั้นต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน อย่างไรก็ตามถึงแม้จะออกไปในรูปแบบใดก็ตาม แต่ถ้ายังอยู่ในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก็จะต้องรับเด็กทั่วไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง และเงื่อนไขของรัฐด้วย (เดลินิวส์ พฤหัสบดีที่ 14 กันยายน 2543 )





แทรกวัฒนธรรมในหลักสูตรเพศศึกษา

เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2543 นางจรวยพร ธรณินทร์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (กช.) กล่าวถึงกรณีที่นักเรียนระดับมัธยมศึกษา และนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาจำนวนหนึ่งนิยมมีเพศสัมพันธ์กับเพื่อน โดยมีการใช้ยาคุมกำเนิดชั่วคราวชนิดเม็ด ในส่วนของ กช. ไม่สามารถควบคุมยาคุมกำเนิดได้ เพราะเป็นเรื่องของกระทรวงสาธารณสุข ด้านนางสงบ ลักษณะ เลขาธิการสภาสถาบันราชภัฎ ทราบว่าทางกรมวิชาการ กำลังปรับปรุงหลักสูตรเพศศึกษาใหม่ โดยนำเอาหลักวิทยาศาสตร์มาประยุกต์เข้ากับเรื่องวัฒนธรรมที่ดีในสังคม เช่น สอดแทรกวัฒนธรรมเรื่องผู้ชายไม่ควรเอาเปรียบผู้หญิง ควรรอให้ถึงวัยที่จบการศึกษาแล้วจึงแต่งงาน เป็นต้น (มติชน 23 กันยายน 2543 หน้า 5)





ห้องเรียนยุคไซเบอร์อี-คลาสรูม

ห้องเรียนยุคใหม่ อี-คลาสรูม (Electronic Classroom) เป็นระบบการเรียนการสอนแนวใหม่ ที่มีการพัฒนาเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนแบบครบวงจรที่น่าสนใจ ด้วยระบบมัลติมีเดีย การติดตั้งระบบ E-Classroom สามารถใช้ห้องเรียนให้เป็นระบบเครือข่าย ครูสามารถเช็คโปรแกรมการสอน ตรวจสอบหน้าจอของนักเรียนจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของครู และโต้ตอบกับ นักเรียนได้ ในประเทศไทย โรงเรียนวัดสุทธิวรารามเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวที่นำระบบนี้มาใช้เมื่อ 3 เดือนที่แล้ว และจะพัฒนาเต็มรูปแบบในปีการศึกษาหน้า (เดลินิวส์ 18 กันยายน 2543 หน้า 12)





ข่าววิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี


บ้านประหยัดพลังงาน

หนึ่งในโครงการประหยัดพลังงานในประเทศญี่ปุ่น คือ การสร้างที่พักอาศัยโดยใช้ พลังงานธรรมชาติล้วน ๆ พลังงานในบ้านพักตัวอย่าง ได้จากกังหันลม พลังสุริยะ ใช้น้ำฝน ทำสวนบนหลังคา เป็นต้น (มติชน 23 กันยายน 2543 หน้า 7)





ดาวเคราะห์น้อยเฉียดโลก

เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2543 มีก้อนหินอวกาศขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางราวครึ่งกิโลเมตร เคลื่อนที่ผ่านเฉียดฉิวโลกไปในระยะไกลกว่าดวงจันทร์ 12 เท่า แม้ระยะห่างนี้จะไม่ได้เป็นอันตรายต่อโลกแต่อย่างใด แต่ทางดาราศาสตร์ถือว่าเป็นระยะสั้นมากในอวกาศ นักดาราศาสตร์คาดหมายว่า มีวัตถุใหญ่กว่า 1 ก.ม. เคลื่อนที่เข้ามาใกล้โลกมากราว 500 – 1,000 ดวง ซึ่งปัจจุบันหน่วยงาน NEAT (Near Earth Asteroid Tracking) ขององค์การนาซา สหรัฐซึ่งมีหน้าที่ติดตามสังเกตดาวเคราะห์น้อยที่เข้ามาใกล้โลกมากนี้ ได้ศึกษาพบแล้ว 424 ดวง (มติชน 22 กันยายน 2543 หน้า 22)





ทุ่นทะเลตรวจอากาศ

นักวิทยาศาสตร์พบความชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ ว่า มหาสมุทรสามารถส่งผลกระทบต่อสภาพลมฟ้าอากาศ และปรากฎการณ์หลายอย่าง เช่น เอลนิโญ และลานินญา จึงจัดทำโครงการทดสอบสภาพน้ำทะเลทั่วโลก ด้วยการปล่อยทุ่น 3,000 ลูก เพื่อวัดอุณหภูมิและความเค็มของน้ำในมหาสมุทร โดยจะครอบคลุมพื้นผิวโลกถึงเกือบสามในสี่ ซึ่งรัฐมนตรีพาณิชย์ของสหรัฐ นอร์แมน มิเนตา ได้ประกาศเข้าร่วมโครงการระดับนานาชาติที่มีชื่อว่า อาร์โก (Argo) แล้ว ทุ่นอาร์โก้จะทดสอบน้ำเฉพาะในบริเวณที่เคยมีการตรวจวัดโดยเรือ เป็นครั้งคราวมาแล้วเท่านั้น ทุ่นจะถูกวางห่างกันราว 300 กม. โดยทุ่นจะจมตัวเองลงไปลึก 2,000 เมตร เป็นเวลา 10 วัน แล้วลอยกลับขึ้นมาบนผิวหน้ำใหม่ ขณะที่ลอยขึ้นมา มันจะวัดอุณหภูมิและความเค็มของน้ำในแต่ละระดับที่มันผ่าน เมื่อถึงผิวน้ำ มันจะส่งตำแหน่งและข้อมูลทางคลื่นวิทยุไปยังดาวเทียมดวงหนึ่งแล้วจมลงอีกครั้ง ข้อมูลที่ได้เป็นประ-โยชน์ต่อนักวิทยาศาสตร์ให้ทราบถึง พลังงานที่อยู่ในน้ำ ความหนาแน่นของน้ำและปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อสภาพอากาศในยุโรป ทุ่นเหล่านี้ ราคาลูกละ 5 แสนบาทเศษ ทำงานได้ 4-5 ปี การปล่อยทุ่นจะเพิ่มเป็นปีละ 700 ลูก ในปี 2545 และจะกลายเป็นทั้งหมด 3,000 ลูกในที่สุด (ไทยโพสต์ 21 กันยายน 2543 หน้า 12)





เยอรมนี เผยแผนเร่งรัดพัฒนา - ดูแลสังคมอินเตอร์เน็ต

นายแกร์ฮาร์ด ชโรเดอร์ นายกรัฐมนตรีแห่งสหพันธสาธารณรัฐเยอรมัน แถลงถึงมาตรการต่าง ๆ ของรัฐบาลกลางเยอรมนี ที่กำลังจัดทำขึ้นเพื่อเร่งรัดดูแล และป้องกันปัญหาทั้งในทางเศรษฐกิจและสังคมการเรียนรู้พื้นฐานผ่านระบบอินเตอร์เน็ตของชาวเยอรมัน ปัจจุบันประชากรชาวอินเตอร์เน็ตในเยอรมนีมีถึง 19 ล้านคน และระบบเศรษฐกิจใหม่ที่เน้น IT เป็นศูนย์กลาง ทำให้รัฐบาลกลางต้องสอดแทรกความรู้ด้านอินเตอร์เน็ตเข้าไปในระบบการศึกษา โรงเรียนและห้องสมุดสาธารณะทุกแห่ง มีบริการผ่านระบบอินเตอร์เน็ตด้วย นอกจากนี้รัฐบาลกลางยังสนับสนุนให้มีการใช้อินเตอร์เน็ตทั้งในที่ทำงานและที่บ้าน ด้วยการยกเลิกการจัดเก็บภาษีการใช้อินเตอร์เน็ต และให้ผู้ใช้พีซีที่บ้านนำค่าใช้จ่ายบริการอินเตอร์เน็ตมาลดหย่อนภาษีได้ (มติชน 22 กันยายน 2543 หน้า 11)





Govt to draft new IT Plan

คณะกรรมการได้เตรียมจัดทำร่างนโยบาย IT หรือ e-Thailand ซึ่งจะเริ่มจัดทำร่างนี้ในเดือนหน้า ผู้ร่างนโยบาย คือ คณะทำงานเฉพาะกิจ ซึ่งได้มีการแต่งตั้ง เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว โดยคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (NITC) นโยบาย e-Thailand นี้จะรวมนโยบายต่าง ๆ ในด้านการพัฒนา IT สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในเรื่อง e-commerce, การสร้างสังคมอิเล็กทรอนิกส์ (e-society) และรัฐบาลอิเล็ก- ทรอนิกส์ (e-government), e-investment และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ NITC ยังได้อนุมัติ Domain Name ภาษาไทย 7 ชื่อ คือ ดอต-คอม สำหรับ บริษัท ดอต-องค์การ ” หน่วยงาน/องค์กร ดอต-ศึกษา ” สถาบันการศึกษา ดอต-รัฐ ” หน่วยงานรัฐบาล ดอต-เน็ต ” ผู้ให้บริการ Network ดอต-อิสระ ” บุคคลทั่วไป (Bangkok Post Wednesday Sept. 20, 2000 P.3)





PC for lease : Is buying a computer out of fashion?

ขณะนี้ลูกค้าสามารถเช่าเครื่องคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการเช่าจากบริษัท ผู้ผลิตโดยตรง หรือ จากบริษัทตัวแทนให้เช่าคอมพิวเตอร์ ซึ่งขณะนี้มีสาขาทั่วโลก บริษัทให้เช่าส่วน-ใหญ่ จะรับประกันเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ด้วย พร้อมทั้งเสนอสิทธิพิเศษให้ลูกค้ามากมาย บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ในสหรัฐหลายบริษัทได้เปิดบริการให้เช่าเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น Gateway, Dell และ Hewlett-packard อย่างไรก็ตาม ก็มีอีกหลายวิธีที่จะทำให้ผู้ใช้ได้คอมพิวเตอร์ราคาถูก เช่น บริษัทแห่งหนึ่งในประเทศเยอรมัน วางแผนที่จะเสนอเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตให้บุคคลากรของบริษัทจำนวน 72,000 คน ทั่วโลก โดยบุคลากรเสียเฉพาะค่าเชื่อมต่อกับ Internet บริษัท Ford ในสหรัฐ ก็กระทำเช่นเดียวกัน (Bangkok Post Wednesday Sept. 20, 2000 P. 4)





จับกระแส “อีบุ๊กส์” ปฏิวัติโลกการอ่าน

อี-บุ๊กส์ หรือ Electronics Books เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่นักเทคโนโลยีพยายามคิดค้นให้เป็นเหมือนหนังสือที่คนทั้งโลกกำลังอ่านอยู่ในเวลานี้ เพียงแต่รูปเล่มเท่านั้นที่ต่างกัน กล่าว-คือ ไม่ต้องพิมพ์เป็นเล่ม ๆ แต่ อี-บุ๊กส์ เป็นตัวหนังสือในรูปของไฟล์ดิจิตอล (Formatted Digital Files) ตัวหนังสือทั้งหมด จะถูกบรรจุอยู่ในคลังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในเว็บไซต์ต่าง ๆ ผู้อ่านเพียงแต่กดปุ่มในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือในเครื่อง พีดีเอ (Personal Digital Assistant : PDA) แล้วโหลดไฟล์ดังกล่าวก็สามารถเลือกหนังสือที่ต้องการได้ ขณะนี้ อี-บุ๊กส์ กำลังได้รับความนิยมในหมู่นักเขียนชื่อดังที่มีเว็บไซต์ของตัวเอง และเขียนเรื่องตัวเองขายผ่านเว็บไซต์ แนวโน้ม อี-บุ๊กส์ กำลังมาแรง เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์ เชื่อว่าอนาคตโลกจะต้องลดปริมาณการใช้กระดาษลง เชื่อกันว่าเทคโนโลยี อี-บุ๊กส์ จะได้รับการพัฒนาให้อ่านได้เร็วมากขึ้น สามารถพลิกกลับไปกลับมาเหมือนพลิกอ่านหนังสือ เล่ม หรือเลือกอ่านหนังสือหลาย ๆ เล่มในเวลาเดียวกัน อีกทั้งจะมีเสียงและภาพประกอบเหมือนกับดูภาพยนต์ไปในตัว (มติชน 22 กันยายน 2543 หน้า 11)





เปิดเว็บสกัดความงมงายชาวบ้าน

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ได้เปิดเว็บไซต์โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ ใช้เป็นสื่อในการลดความงมงาย และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ประชาชนในเรื่องต่างๆ ซึ่งคาดว่าจะเผยแพร่ได้ภายใน เดือนตุลาคม 2543 นี้ ผู้สนใจติดตามได้ที่ URL http://www.askthai.org (ไทยรัฐ อังคารที่ 19 กันยายน 2543 หน้า 12)





ผลกระทบทางเทคโนโลยี

ผลงานวิจัยของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มนทิรา เกียรติสิริสมบัติ ชี้ชัดว่า กว่าครึ่งหนึ่งของผู้เล่นอินเตอร์เน็ตที่ชอบไซเบอร์เซ็กซ์ (Cybersex) คุยกันได้มีโอกาสทดลองของจริง ผลที่ออกมานี้ทำให้ผู้ปกครองเกือบทุกท่านไม่สบายใจ เพราะว่ากลัวลูกหลานของตนจะไปพบกับสิ่งที่ไม่ดีงามในระบบอินเตอร์เน็ต สิ่งเหล่านี้มีทางแก้ไขได้ คือ ในการสอนอินเตอร์เน็ต จะต้องมีการสอนเรื่องจริยธรรม ควบคู่กันไปด้วย (เดลินิวส์ พฤหัสบดีที่ 21 กันยายน 2543 หน้า 16)





นักดาราศาสตร์ชวนชมจุดดำบนดวงอาทิตย์

การเกิดปรากฏการณ์จุดดำบนดวงอาทิตย์ (Sunspot) สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในช่วงดวงอาทิตย์ขึ้น และตก ลักษณะของจุดดำที่เห็นจะพุ่งจากล่างขึ้นบนแล้ววกกลับลงมา จุดดำบนดวงอาทิตย์นี้เป็นบริเวณพื้นผิวของดวงอาทิตย์ที่มีความเข้มข้นของสนามแม่เหล็ก และการถ่ายเทของสนามแม่เหล็กสูงมาก ทำให้การเคลื่อนที่ของก๊าซถูกจำกัด เป็นผลให้บริเวณนั้นมีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณรอบข้าง จำนวนจุดดำบนดวงอาทิตย์นี้ จะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีจำนวนตั้งแต่ 1-200 จุด โดยจะมีจำนวนเพิ่มสูงสุดทุก ๆ 11 ปี ปรากฏการณ์ดังกล่าวจะมองเห็นได้ชัดเจนตั้งแต่วันที่ 18-28 กันยายน 2543 นี้ (ไทยโพสต์ 24 กันยายน 2543)





ข่าววิจัย/พัฒนา


มจธ. สร้างหุ่นยนต์ป้อนอุตสาหกรรมเหล็ก

ศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอม-เกล้าธนบุรี ได้ลงนามสัญญาสร้างหุ่นยนต์ให้กับอุตสาหกรรมเหล็กสยาม ยามาโตะ โดยหุ่นยนต์ที่จะจัดสร้างขึ้น ต้องเก็บหางเหล็กหนัก 250 kg อุณหภูมิ 900oC ออกจากสายการผลิตภายใน cycle time 50 วินาที (เดลินิวส์ พฤหัสบดีที่ 21 กันยายน 2543 หน้า 16)





ไทย-ญี่ปุ่น ร่วมพัฒนาเทคโนโลยีหลังเก็บเกี่ยว

คณะพลังงานและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนุบรี ร่วมกับกรมวิชา-การเกษตร สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ JIRCAS จากประเทศญี่ปุ่น ได้เซ็นสัญญาบันทึกความเข้าใจ เรื่องการจัดตั้งโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวที่มีต้นทุนในการลดความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยนายอานันท์ ดาโลดม อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า หน่วยงานแต่ละแห่งมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบแตกต่างกันไป เช่น ทางญี่ปุ่นจะรับผิดชอบในการจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือที่เกี่ยวข้องในโครงการ และคณะพลังงานและวัสดุ มจธ. จะรับผิดชอบในการสร้างเครื่องอบความชื้น เป็นต้น (ไทยรัฐ พฤหัสบดีที่ 21 กันยายน 2543 หน้า 7)





ชี้สารเคมีปนเปื้อนในคอมพ์ส่งผลผู้ใช้ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้

นิตยสารเอนไวรอนเมนทอล ไซน์ แอนด์ เทคโนโลยี ในสหรัฐอเมริกา ได้เผยแพร่รายงานการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสตอกโฮล์ม ว่า สารเคมีจากจอภาพคอมพิวเตอร์สามารถทำให้ผู้ ใช้งานคอมพิวเตอร์ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ได้ โดยส่วนประกอบสารเคมีไทรเฟนิลฟอสเฟต เป็นสารที่มีฤทธิ์ ในการลดความเร็วของปฏิกิริยาทางเคมีที่นิยมใช้เป็นส่วนประกอบในพลาสติกของจอภาพวีดิ-ทัศน์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถกระตุ้นให้ผู้ใช้งานเกิดอาการแพ้ได้ เช่น อาการคัน คัดจมูก และเวียนศรีษะ เป็นต้น (มติชน 22 กันยายน 2543 หน้า 11)





ลิฟต์ไปอวกาศ

นักวิทยาศาสตร์ขององค์การนาซา ได้ศึกษาความเป็นไปได้ในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการเดินทางสู่อวกาศ โดยอาศัยหลักการการสร้างสายเคเบิล เชื่อมต่อระหว่าง ดาวเทียม หรือสถานีอวกาศกับโลก เพื่อจะได้อาศัยเป็นเส้นทางในการขนส่งยานอวกาศขึ้นไป แต่มีความเป็นไปได้น้อย ดังนั้นวิธีการที่น่าจะเป็นไปได้ คือ การสร้างสายเคเบิลจากดาวเทียมหรือสถานีอวกาศ แล้วค่อย ๆ หย่อนมันลงมาที่พื้นโลก ซึ่งจะต้องอาศัยวัสดุที่เป็นเหมือนลูกตุ้มถ่วงน้ำหนักไว้คอยรักษาสภาพสมดุล อย่างไรก็ตาม แนวความคิดนี้มีสิ่งที่ท้าทายความสามารถของนักวิทยาศาสตร์มากมาย เช่น วัสดุที่จะนำมาทำเป็นโครงสร้างสายเคเบิล เทคโนโลยีการก่อสร้าง/การดูแลรักษาและเทคโนโลยีการขนส่ง ซึ่งทำให้แนวคิดนี้ยังห่างไกลจากความเป็นจริงในปัจจุบัน (เดลินิวส์ พุธที่ 20 กันยายน 2543 หน้า 15)





เครื่องตัดกาบมะพร้าว

นายธนฤทธิ์ จิตมาตย์ และนายเจริญ แซ่ฉิน นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศว-กรรมเครื่องกล ภาควิชาเครื่องกล วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า-พระนครเหนือ โดยมีอาจารย์การุณย์ เศวตนัย เป็นที่ปรึกษา ได้สร้างเครื่องตัดกาบมะพร้าวชนิดใหม่ แรงกว่า เร็วกว่า เนียนกว่าเดิม เครื่องตัดกาบมะพร้าว ได้รับการพัฒนาชุดลูกรีดใหม่ มีประสิทธิภาพในการดึงกาบมะพร้าวได้ดี สามารถตัดกาบมะพร้าวได้ในปริมาณ 120-150 ลูก/ชั่วโมง หรือ 100-120 กิโลกรัม/ชั่วโมง โดยสามารถตัดหยาบได้ประมาณ 15-20 ตารางมิลลิเมตร ในปริมาณ 110-120 กิโลกรัม/ชั่วโมง เครื่องนี้ใช้งบประมาณสร้างประมาณ 22,000 บาท เป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพ ช่วยประหยัดเวลา ปลอดภัย และได้ขนาดชิ้นมะพร้าวที่สวยงาม (สยามรัฐ 21 กันยายน 2543 หน้า 20)





ช็อกโกแลตช่วยป้องกันฟันผุ

ทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยโอซากาในญี่ปุ่น ศึกษาพบว่า ช็อกโกแลต สามารถจะปกป้องรักษาฟันไม่ให้กลายเป็นฟันผุได้ เพราะมีสารบางอย่างในเปลือกเมล็ดโกโก้ที่นำมาทำช็อกโกแลต ซึ่งช่วยต่อต้านยับยั้งแบคทีเรียในช่องปาก อีกทั้งยับยั้งหินปูนและสิ่งที่จะทำให้เกิดฟันผุได้ นักวิจัยญี่ปุ่น ศึกษาพบว่า ถ้าเทียบกันแล้ว ช็อกโกแลตมีอันตรายต่อฟันน้อยกว่า อาหารหวานชนิดอื่น ๆ เพราะสารต่อต้านแบคทีเรียในโกโก้จะชดเชยระดับน้ำตาลสูงในตัวเองได้ (สยามรัฐ 24 กันยายน 2543 หน้า 5)





สร้างอุโมงค์ลมฝึกดิ่งเวหา

พล.ต. สมบุญ อินทรประสาท เจ้ากรมยุทธโยธาทหารบก กล่าวถึง โครงการก่อสร้างอุโมงค์ลมเพื่อฝึกดิ่งเวหา ของหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ที่จะสร้างบริเวณลานกว้างของโรงเรียนสงครามพิเศษ จ.ลพบุรี มูลค่า 19 ล้านโดยวิศวกรของกรมยุทธโยธา เป็นผู้ออกแบบอุโมงค์ลมนี้ เพื่อใช้ในการฝึกกระโดดร่ม โดยจะใช้หลักกการสร้างกระแสจากใบพัดลม โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้าและเครื่องยนต์ดีเซล กำลัง 1,100 แรงม้า อุโมงค์ลมทางดิ่งจะสามารถจำลองการควบคุมร่างกายในขณะที่ลอยตัวกลางอากาศได้ จะมีเครนเหล็กที่ผูกติดกับตัวของผู้ฝึกเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ วัตถุประสงค์หลักคือ เพิ่มลดการ สูญเสียกำลังพล ปลอดภัย และประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก (ไทยโพสต์ 24 กันยายน 2543 หน้า 1)





รีไซเคิลน้ำมันกลายเป็นครีมล้างจาน

นางสาวสุมาลัย ศรีกำไลทอง ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วท.) ได้นำน้ำมันที่เหลือใช้จากการทำอาหารตามโรงแรม ร้านอาหาร ฯลฯ กลับมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ โดยได้ทดลองทำผลิตภัณฑ์ 2 ชนิด คือ ครีมล้างจาน และแผ่นโพลียูรีเทน ซึ่งเป็นวัสดุต้านแรงกระแทก พบว่าครีมล้างจานจากน้ำมันที่เหลือจากการประกอบอาหารมีคุณสมบัติ และคุณภาพไม่แตกต่างจากครีมล้างจาน หรือน้ำยาล้างจานตามท้องตลาดเลย มีประสิทธิภาพในการกำจัดสิ่งสกปรกได้ในเกณฑ์ดี ละลายน้ำง่าย ปริมาณฟองมาก และยังมีความปลอดภัย ไม่มีสารพิษ และมีสารฆ่าแบคทีเรีย และแต่งกลิ่นให้เหมือนน้ำยาล้างจาน ทั่วๆ ไป (ไทยโพสต์ อังคารที่ 19 กันยายน 2543 หน้า 24)





พบวิธีเพิ่มอัตรารอดเลี้ยงปลากะพงขาว

พบวิธีเลี้ยงลูกปลากะพงขาวให้มีอัตราการรอดและเจริญเติบโตสูง ด้วยวิธีใช้ระบบกระแสน้ำหมุนเวียนในการเลี้ยง โดยการใช้ท่อพีวีซี เส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้ว ผ่าซึกแล้วหล่อปูนซีเมนต์ทำเป็นฐานขนาด 20x30x5 ซ.ม. ยึดท่อไว้เป็นแนวเฉียงทำมุม 60 องศา กับระดับพื้นแล้วนำอุปกรณ์ดังกล่าวไปประกอบกับระบบการให้อากาศ จะช่วยทำให้เกิดการหมุนเวียนของกระแสน้ำในบ่อ ผู้สนใจติดต่อที่ศูนย์พัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งสตูล โทร (074) 781-347 (ไทยรัฐ อังคารที่ 19 กันยายน 2543 หน้า 7)





กอล์ฟช่วยชะลอความแก่ผู้ชาย

ผลการวิจัยของศูนย์วิชาเวชศาสตร์การกีฬาในฟินแลนด์ โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างจากผู้ชายอายุระหว่าง 48-64 ปี จำนวน 110 คน ระยะเวลา 5 เดือน พบว่าคนที่เดินตีกอล์ฟไปทั่วสนาม สัปดาห์ละไม่กี่ครั้งช่วยลดไขมันได้ ในขณะที่มีไขมันที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเพิ่มขึ้น มากกว่าคนที่นั่งๆ นอนไม่มีการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว (ไทยรัฐ อังคารที่ 19 กันยายน 2543 หน้า 7)





ข่าวทั่วไป


พระราชทานชื่อทางพิเศษ 2 สาย อุดรรัถยา-บูรพาวิถี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อทางพิเศษ แก่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเพิ่มอีก 2 สาย คือ ทางพิเศษสายบางปะอิน – ปากเกร็ด ว่า “อุดรรัถยา” มีความหมายว่า ทางไปทิศเหนือ ซึ่งมีระยะทาง 32 กิโลเมตร และทางพิเศษ สายบางนา – ชลบุรี ว่า “บูรพาวิถี” มีความหมายว่า ทางไปทิศตะวันออก ซึ่งมีระยะทาง 55 กิโลเมตร (เดลินิวส์ จันทร์ที่ 11 กันยายน 2543 หน้า 34)





พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อทางพิเศษ แก่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเพิ่มอีก 2 สาย คือ ทางพิเศษสายบางปะอิน – ปากเกร็ด ว่า “อุดรรัถยา” มีความหมายว่า ทางไปทิศเหนือ ซึ่งมีระยะทาง 32 กิโลเมตร และทางพิเศษ สายบางนา – ชลบุรี ว่า “บูรพาวิถี” มีความหมายว่า ทางไปทิศตะวันออก ซึ่งมีระยะทาง 55 กิโลเมตร

โรงเรียนเทพลีลา ได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ 20 ตารางเมตรริมรั้วโรงเรียน ซึ่งอยู่หน้าป้ายรถเมล์ ดัดแปลงเป็นห้องกระจกใสติดเครื่องปรับอากาศ ให้เป็นห้องสมุดริมรั้วที่มีหนังสือนานาชนิด เปิดให้บริการตั้งแต่ 08.30 – 15.30 น. วันจันทร์ – ศุกร์ เริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการ 40 – 70 คนต่อวัน ห้องสมุดนี้จะมีหนังสือให้อ่านทุกประเภท ส่วนใหญ่ได้มาจากการบริจาค ค่าใช้จ่ายทั้งหมดโรงเรียนเป็นผู้สนับสนุน ห้องสมุดริมรั้วนี้เป็นโครงการของกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับโครงการการศึกษานอกโรงเรียน ที่จะจัดให้มีแหล่งให้ความรู้ และบริการข้อมูลข่าวสารแก่ชุมชน ซึ่งขณะนี้มีห้องสมุดริมรั้วอยู่ 10 แห่งทั่วประเทศ (ไทยโพสต์ อังคารที่ 19 กันยายน 2543 หน้า 13)





สวิสเซอร์แลนด์ยังคงเป็นประเทศที่ร่ำรวยที่สุด

World Bank รายงานว่า ถึงแม้ว่ารายได้ต่อหัวของคนสวิสเซอร์แลนด์จะลดลง แต่สวิสเซอร์แลนด์ก็ยังคงเป็นประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลก คือมีรายได้ประชาชาติ $38,350 ต่อปี ประเทศที่ร่ำรวยเป็นลำดับที่ 2 คือ นอร์เวย์ ซึ่งมีรายได้ $32,880 ต่อปี ที่สามคือ ญี่ปุ่น ($32,230) ที่ 4 คือ เดนมาร์ก ($32,030) ที่ 5 คือ สหรัฐอเมริกา ($30,600) ที่ 6 คือ สิงคโปร์ ($29,610) ที่ 7 คือ ออสเตรีย ($25,970) ที่ 8 คือ เยอรมัน ($25,250) ที่ 9 คือ สวีเดน ($25,040) และที่ 10 คือ เบลเยี่ยม ($24,510) World Bank รายงานว่า หากพิจารณาถึงอำนายการซื้อ ประเทศสหรัฐอเมริกาจะอยู่ในอันดับ 1 ตามมาด้วย ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และ ประเทศสิงคโปร์ ส่วนประเทศที่ยากจนที่สุดคือ ประเทศเอธิโอเปีย (Bangkok Post Thursday, Sept. 14, 2000)





ไม่ให้นอนคว่ำทารกจะโตยาก

องค์การแพทย์ของอังกฤษ ได้ศึกษาวิจัยพบว่า ทารกที่ไม่ได้นอนคว่ำเล่นบ้าง อาจทำให้คลานและเดินได้ช้ากว่าเด็กที่มีการนอนคว่ำบ้าง และการนอนคว่ำของทารกนั้น ไม่ก่อให้เกิดอันตรายตามที่พ่อแม่เด็กวิตกกังวลแต่อย่างใด (ไทยรัฐ อังคารที่ 19 กันยายน 2543 หน้า 7)





กระทรวงใหญ่ร่วมจัดงานสมุนไพร

ชมรมพืชสมุนไพรร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระ-ทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม และทบวงมหาวิทยาลัย จะจัดงานพืชสมุนไพรไทยก้าวไกลไปทั่วโลก ครั้งที่ 1 ขึ้น ในวันที่ 27 ต.ค. – 5 พ.ย. 2543 ณ ศูนย์แสดงสินค้านานาชาติอิมแพค เมืองทอง-ธานี ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 533-3555, 533-3994-8 (ไทยโพสต์ 24 กันยายน 2543 หน้า 7)





หอยสังข์แตรผู้พิทักษ์แนวปะการัง

หอยสังข์แตร เป็นสัตว์ทะเลที่สวยงามและมีคุณค่ายิ่งต่อระบบวงจรของแนวปะการังในฐานะที่เป็นห่วงโซ่อาหาร คอยกำจัด ควบคุมปลาดาวหนามให้มีปริมาณที่สมดุล เนื่องจากปลาดาวหนาม เป็นตัวทำลายแนวปะการัง หอยสังข์แตร มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Charonia tritonic นอกจากมีบทบาทเป็นผู้พิทักษ์แนวปะการังแล้ว ยังมีความสำคัญทางเศรษฐกิจอีกด้วย จากการที่มีเปลือกสวยงาม สีสันลวดลายถูกมองเป็นศิลปะ จึงมีผู้นิยมสะสมเปลือกหอย ปัจจุบันหอยสังข์แตรกลายเป็นสัตว์หายากในท้องทะเลไทย นักวิชาการสถาบันชีววิทยาและประมงทะเล ภูเก็ต ร่วมกับศูนย์พัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง จ.ประจวบคีรีขันธ์ จึงร่วมกันค้นหาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ ของหอยสังข์-แตรและทำการเพาะพันธุ์ตั้งแต่ปี 2542 โดยได้นำหอยส่วนหนึ่งไปปล่อยลงทะเลที่บริเวณเกาะราชา-ใหญ่ ภูเก็ต และอีกส่วนได้เพาะพันธุ์เลี้ยงไว้บนฝั่ง ณ สถาบันวิจัยชีววิทยาและประมงทะเลภูเก็ต โดยจะมีการประเมินผลการเจริญเติบโตของหอยที่นำส่งปล่อยทุก 1 เดือน เพื่อเปรียบเทียบกันกับเลี้ยงบนฝั่ง และบันทึกภาพการเจริญเติบโตในขั้นตอนต่าง ๆ ของวงจรชีวิตของหอยสังข์แตรด้วย (ไทยโพสต์ วันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน 2543 หน้า 9)






KMUTT Digital Library
Contact Digital Library : info@lib.kmutt.ac.th
Tel : 0-2470-8215