หัวข้อข่าวปีที่ 1 ฉบับที่ 9 ประจำวันที่ 2000-10-17

ข่าวการศึกษา

มีสอนแล้ว! วิชาเอกหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
ครูเกษียณก่อนกำหนด รุ่น 2
กรมสามัญเตือน ร.ร. ติว ม.6
ขานรับใช้ จีพีเอ สอบเรียนต่อ ม.1
กรมสามัญฯ เดินหน้าสนองพ.ร.บ.ศึกษาวางรูปแบบจัดนอกระบบ-ตามอัธยาศัย
ทปอ.คงรูปแบบเอ็นทรานซ์ปี’44 , 24 มหา’ลัยตั้งกองทุนเลียน กบข.
วัฒนธรรมการอ่านอันอ่อนแอ เยาวชนไทย…น่าห่วง
ขานรับใช้ จีพีเอ สอบเรียนต่อ ม.1

ข่าววิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี

โซลเว้นท์สารอันตราย
ขุมทรัพย์อินเตอร์เน็ต ทศท. รอวันระเบิด แฉ 24 เอกชนรุมแย่งสัมปทาน 6 โครงข่าย
อังกฤษจะปูถนนด้วยไทเทเนียมลดปัญหามลพิษ
ระดมทำโพลครั้งใหญ่ ทุกมุมโลกผ่านอินเตอร์เน็ต
ชี้ตะกั่วทำเด็กไอคิวต่ำจี้รัฐเลิกสัมปทาน
สธ.ชี้ปรับค่ามาตรฐานสารตะกั่วในเลือดทำไม่ง่าย
กศน.ดันไทยตั้งศูนย์ติวเข้มเทคโนโลยีวิทยุโทรทัศน์
รถญี่ปุ่นไล่ตามไฮเทคแข่งบริการเชื่อมเน็ต

ข่าววิจัย/พัฒนา

นักวิจัยบุกเบิกเทคนิค “พระสังข์เรียกปลา
วัสดุชนิดใหม่ที่ใช้สลายไนโตรเจนออกไซด์ในอากาศ

ข่าวทั่วไป

3 นักวิทย์พิชิต “โนเบลแพทย์
ดันจนได้โรงเผาขยะอ่อนนุชรอสภาฯ “กู้ญี่ปุ่นอีก 4.8 ล้านผูกพัน 40 ปี อีก 3 ปีได้ใช้





ข่าวการศึกษา


มีสอนแล้ว! วิชาเอกหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ

ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) มจธ. กล่าวว่าศูนย์ฟีโบ มจธ. ร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งมลรัฐแมสซาชูเสตต์ (M.I.T.) และมหาวิทยาลัยคาร์เนกี้เมลลอน (CMU) เปิดสอนระดับปริญญาโท-เอก ด้านหุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ (Robotics and Automation Program : RAP) ในปีการศึกษา 2545 ติดต่อขอข้อมูลได้ที่ โทรฯ 470-9339, 470-9219 ที่คุณอนุสรา มีชัย ในวันและเวลาราชการ (เดลินิวส์ จันทร์ที่ 9 ตุลาคม 2543 หน้า 16)





ครูเกษียณก่อนกำหนด รุ่น 2

การเปลี่ยนเส้นทางชีวิต : เกษียณก่อนกำหนดเป็นโครงการที่สืบเนื่องมาจาก คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบในหลักการอนุมัติให้ดำเนินการในรุ่นที่ 2 ปีงบประมาณ 2544 โดยจูงใจให้ข้าราชการออกจากราชการก่อนการเกษียณอายุ เพื่อเป็นการลดกำลังคนในภาครัฐให้เล็กกะทัดรัดแต่มีประสิทธิภาพ โครงการดังกล่าวทำให้กระทรวงศึกษาธิการต้องสูญเสียอัตรากำลังข้าราชการครูไปมาก และอัตราดังกล่าวไม่สามารถบรรจุบุคคลอื่นมาทดแทนให้ ทั้งที่ปัจจุบันก็ขาดแคลนอัตราข้าราชการครูอยู่แล้ว ยิ่งทำให้ขาดแคลนอัตรากำลังมากขึ้น (มติชน จันทร์ที่ 9 ตุลาคม 2543 หน้า 10)





กรมสามัญเตือน ร.ร. ติว ม.6

นายบุญเลิศ สาขามุละ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย (สบมท.) เปิดเผยถึงกรณีผู้ปกครองร้องเรียนที่มีมหาวิทยาลัยบางแห่งคัดเลือกนักศึกษาโควตา โดยใช้ผลคะแนนสอบวัดความรู้ครั้งที่ 1 ว่าขณะนี้มีนักเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายจังหวัด ซึ่งอยู่ในพื้นที่โควตาของมหาวิทยาลัยขอนแก่นต้องประสบกับปัญหาดังกล่าว นายบุญเลิศ กล่าวว่า สบมท. เห็นด้วยกับข้อเสนอของกรมวิชาการที่ได้ขอความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ใช้ผลคะแนนการสอบวัดความรู้ทั้ง 2 ครั้ง เป็นเกณฑ์ในการตัดสินรับนักศึกษาโควตา โดยจะเสนอปัญหานี้ไปยังกรมสามัญฯ เพื่อประสานขอความร่วมมือไปยังทบวงมหาวิทยาลัยอีกทางหนึ่งด้วย (ไทยโพสต์ ศุกร์ที่ 13 ตุลาคม 2543 หน้า 12)





ขานรับใช้ จีพีเอ สอบเรียนต่อ ม.1

นายประพัฒน์พงศ์ เสนาฤทธิ์ อธิบดีกรมวิชาการ เ ปิดเผยว่า กรณีที่กรมสามัญมีแนวคิดให้มีการนำค่าผลการเรียนเฉลี่ย (จีพีเอ) เข้าใช้ในการสอบคัดเลือกนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 เข้าเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 นั้น ได้มีการหารือกับสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.) ซึ่งทาง สปช. ก็มีความพร้อม แต่ให้โรงเรียนที่เด็กไปสมัครสอบเข้าเรียนต่อเป็นผู้คิดค่า จีพีเอ แทนที่จะให้โรงเรียนที่เด็กจบชั้น ป.6 เป็นผู้คิด ทั้งที่การใช้ค่าจีพีเอในการสอบเข้าเรียนต่อ ม.1 ควรใช้เฉพาะโรงเรียนที่รับเด็กด้วยการสอบคัดเลือก และควรจะมีการระบุค่าจีพีเอไว้ในใบแสดงผลการเรียน (ใบ ป.05) อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อสรุปว่าจะให้มีการคิดค่าจีพีเอ ในระดับ ป.1 – ป.6 หรือ ป.4 – ป.6 เนื่องจากตามหลักสูตรการศึกษาพื้นฐาน 11 ปี ได้แบ่งระดับการศึกษาเป็นช่วงละ 3 ปี (ไทยโพสต์ อาทิตย์ 10 ตุลาคม 2543 หน้า 12)





กรมสามัญฯ เดินหน้าสนองพ.ร.บ.ศึกษาวางรูปแบบจัดนอกระบบ-ตามอัธยาศัย

นายกล้า สมตระกูล ที่ปรึกษากระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า นางกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา อธิบดีกรมสามัญศึกษา ได้ขอให้ตนเป็นที่ปรึกษาช่วยในการวางระบบการจัดการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยในโรงเรียนมัธยมศึกษา เพื่อรองรับ พ.รบ. การศึกษาแห่งชาติ ที่ระบุว่าสถานศึกษาสามารถจัดการศึกษาได้ 3 รูปแบบ ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งจะมีผลตั้งแต่ปี 2545 (มติชน จันทร์ที่ 9 ตุลาคม 2543 หน้า 10)





ทปอ.คงรูปแบบเอ็นทรานซ์ปี’44 , 24 มหา’ลัยตั้งกองทุนเลียน กบข.

นางสุมณฑา พรหมบุญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) ในฐานะประธานที่ประชุม อธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เปิดเผยผลการประชุม ทปอ.ว่าที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานของคณะทำงานวิจัย เกี่ยวกับการพัฒนาการสอบเอ็นทรานซ์ระบบใหม่ ซึ่งมีนางอุทุมพร จามรมาน อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธานคณะทำงาน และได้ตั้งข้อสังเกตในเรื่อง จีพีเอ และพีอาร์ เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาระยะกลางเวลา 3 ปี ที่เสนอให้พิจารณาเกรดเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ ม.1-6 แทนการใช้เฉพาะมัธยมปลายนั้น มีความเป็นไปได้สูง ส่วนระยะสั้นที่เสนอให้จัดทำจีพีเอของนักเรียนแยกตามกลุ่มการเรียนนั้น คงจะเปลี่ยนแปลงไม่ทัน จึงให้คงรูปแบบเดิมไปก่อน และที่ประชุมเห็นชอบให้นายนริศ ชัยสูตร อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นประธานดำเนินงานร่างรายละเอียดจัดตั้งกองทุนที่มีรูปแบบคล้ายกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราช (กบข.) (มติชน จันทร์ที่ 9 ตุลาคม 2543 หน้า 10)





วัฒนธรรมการอ่านอันอ่อนแอ เยาวชนไทย…น่าห่วง

ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศที่ก้าวไกล ข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว สื่อทั้งวิทยุ โทรทัศน์และอินเตอร์เน็ต เข้ามามีบทบาทอย่างมาก ทำให้วัฒนธรรมการอ่านในสังคมไทยที่อ่อนแออยู่แล้ว กลับถูกบั่นทอนมากยิ่งขึ้น ปัญหาที่แท้จริงของความอ่อนแอในวัฒนธรรมการอ่านของเด็กในสังคมไทย เพราะระบบการศึกษาของไทยไม่เอื้อให้เด็กไทยรักการอ่าน อีกทั้งการเรียนการสอนตั้งแต่ 8 โมงเช้า ถึง 4 โมงเย็น และตอนเย็นต้องเรียนพิเศษอีก ทำให้เด็กไม่อยากอ่านหนังสือ (มติชน เสาร์ที่ 7 ตุลาคม 2543 หน้า 14)





ขานรับใช้ จีพีเอ สอบเรียนต่อ ม.1

นายประพัฒน์พงศ์ เสนาฤทธิ์ อธิบดีกรมวิชาการ เ ปิดเผยว่า กรณีที่กรมสามัญมีแนวคิดให้มีการนำค่าผลการเรียนเฉลี่ย (จีพีเอ) เข้าใช้ในการสอบคัดเลือกนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 เข้าเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 นั้น ได้มีการหารือกับสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.) ซึ่งทาง สปช. ก็มีความพร้อม แต่ให้โรงเรียนที่เด็กไปสมัครสอบเข้าเรียนต่อเป็นผู้คิดค่า จีพีเอ แทนที่จะให้โรงเรียนที่เด็กจบชั้น ป.6 เป็นผู้คิด ทั้งที่การใช้ค่าจีพีเอในการสอบเข้าเรียนต่อ ม.1 ควรใช้เฉพาะโรงเรียนที่รับเด็กด้วยการสอบคัดเลือก และควรจะมีการระบุค่าจีพีเอไว้ในใบแสดงผลการเรียน (ใบ ป.05) อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อสรุปว่าจะให้มีการคิดค่าจีพีเอ ในระดับ ป.1 – ป.6 หรือ ป.4 – ป.6 เนื่องจากตามหลักสูตรการศึกษาพื้นฐาน 11 ปี ได้แบ่งระดับการศึกษาเป็นช่วงละ 3 ปี (ไทยโพสต์ อาทิตย์ 10 ตุลาคม 2543 หน้า 12)





ข่าววิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี


โซลเว้นท์สารอันตราย

สารละลายไฮโดรคาร์บอน หรือ โซลเว้นท์ เป็นสารที่ได้มาจากการกลั่นน้ำมันดิบ ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นตัวทำละลายที่ดี กลุ่มของสารโซลเว้นท์แบ่งได้ 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่างๆ และกลุ่มที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์แต่นำไปปลอมปนในน้ำมัน ผลเสียคือเครื่องยนต์จะเสื่อมเร็ว เนื่องจากโซลเว้นท์จะทำให้การจุดระเบิดในเครื่องยนต์ไม่พร้อม โดยเฉพาะเครื่องยนต์ดีเซล เกิดปัญหาเครื่องยนต์สะดุด สตาร์ทติดยาก เร่งเครื่องไม่ขึ้นและก่อให้เกิดมลพิษในอากาศด้วย (มติชน อังคารที่ 10 ตุลาคม 2543 หน้า 7)





ขุมทรัพย์อินเตอร์เน็ต ทศท. รอวันระเบิด แฉ 24 เอกชนรุมแย่งสัมปทาน 6 โครงข่าย

นายสุธรรม มลิลา ผู้อำนวยการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) เปิดเผยว่าในสัปดาห์นี้ ทศท. จะเปิดให้เอกชนที่สนใจยื่นความจำนงในการเป็นผู้ร่วมดำเนินการเพื่อให้บริการอินเตอร์เน็ต (ไอเอสพี) ผ่านโครงข่ายไอพีของ ทศท. ผู้ผ่านการคัดเลือกจะต้องดำเนินการให้เสร็จใน 3 เดือน ในเบื้องต้นโครงข่ายไอพีของ ทศท. จะให้บริการ 6 บริการคือ 1. บริการอินเตอร์เน็ตสาธารณะ 2. บริการโทรศัพท์ราคาประหยัด วายเทล 1234 3. บริการวาย-แอ็คเซส บริการเหมือนไอเอสพี 4. บริการ คอลไดเร็ค 1255 เหมือนบริการคอลเซ็นเตอร์ 5. บริการไซเบอร์แมสเซส เป็นบริการเสริมในอินเตอร์เน็ต 6. บริการไอเอสพีเกตเวย์ ซึ่งเป็นบริการที่ ทศท.เปิดให้เอกชนมาเช่าโครงข่ายให้บริการ (ไทยรัฐ จันทร์ที่ 9 ตุลาคม 2543 หน้า 9)





อังกฤษจะปูถนนด้วยไทเทเนียมลดปัญหามลพิษ

นายฟริกโซ ทอมโบลิส ประธานคณะกรรมาธิการทางหลวงและการขนส่ง เขตเวสมินสเตอร์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เปิดเผยว่า อีกไม่นานถนนทุกสายในกรุงลอนดอน จะถูกปูด้วยโลหะไทเทเนียม ซึ่งเป็นวัสดุที่สามารถย่อยสลาย และดูดซับไนโตรเจนออกไซด์ที่มาจากรถยนต์ที่วิ่งไปมาบนถนนได้ โดยหินที่เคลือบไทเทเนียมจะทำปฏิกิริยากับไนโตรเจนออกไซด์ในลักษณะดูดซับ แล้วเปลี่ยนไนโตรเจนกับออกซิเจนที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ (มติชน จันทร์ที่ 9 ตุลาคม 2543 หน้า 7)





ระดมทำโพลครั้งใหญ่ ทุกมุมโลกผ่านอินเตอร์เน็ต

การสำรวจความคิดเห็นหรือโพลครั้งใหญ่ที่สุดในโลก จะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 15-16 พฤศจิกายนนี้ นับเป็นความพยายามที่จะสะท้อนเงื่อนไขความเป็นมนุษย์ผ่านทางกระจกดิจิตอล อินเตอร์เน็ต โครงการสำรวจแพลนเน็ตโพรเจกต์ จัดทำขึ้นโดยบริษัท 3 คอม ซึ่งเป็นบริษัทด้านไฮเทคของสหรัฐฯ ซึ่งวางแผนจะเก็บรวบความความคิดเห็นของผู้คนในเรื่องความคิดความเชื่อ และการให้คุณค่าของมนุษย์จากทั่วทุกมุมโลก คำถามที่ใช้ในการทำโพลมี 8 ภาษาได้แก่ จีน อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น โปรตุเกส และสเปน ในส่วนคำถามจะครอบคลุม 8 หัวข้อ คือ เรื่องศาสนา ความเชื่อ สุขภาพ การนอนหลับและฝัน ภาพลักษณ์ของตน การแต่งงาน การนัดหมายกับเพศสัมพันธ์ การดูแลให้การศึกษา และระเบียบกฎหมาย หลังการสำรวจแล้วจะมีการวิเคราะห์ข้อมูลและเผยแพร่โดยบริษัทแฮร์รีส อินเตอร์แอคทีพ (ไทยรัฐ อังคารที่ 10 ตุลาคม 2543 หน้า 7)





ชี้ตะกั่วทำเด็กไอคิวต่ำจี้รัฐเลิกสัมปทาน

สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (สปรส.) กล่าวถึงผลสรุปจากการระดมสมองเรื่อง “คนตะกั่ว ที่ห้วยคลิตี้” ว่า การกำหนดค่ามาตรฐานสารตะกั่วในเลือดโดยทั่วไปนั้น ถ้ามีสารตะกั่วเกิน 10 ไมโครกรัม/เดซิลิตร ถือว่าเป็นความเสี่ยงและถ้าพบสารตะกั่วในเลือดเกิน 15 ไมโครกรัม/เดซิลิตรโดยเฉพาะในเด็กจะต้องให้แพทย์ดูแลอย่างใกล้ชิด ขณะที่ผู้ใหญ่ถ้ามีระดับตะกั่วเกิน 40 ไมโครกรัม/เดซิลิตร ก็จะต้องให้แพทย์ตรวจรักษาเช่นกัน กระทรวงสาธารณสุขจะต้องรีบแก้ไขปัญหาที่ห้วยคลิตี้ จ.กาญจนบุรี แม้ว่าจะถือเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุก็ตาม ที่สำคัญการฟื้นฟูทางด้านสิ่งแวดล้อมรวมทั้งแก้ปัญาในคนที่ได้รับพิษจากสารตะกั่วไปแล้วนั้นจะต้องรีบทำโดยเร็ว โดยให้บริษัทหรือผู้ประกอบการเหมืองตะกั่วที่เป็นตัวก่อปัญหาเป็นคนรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด (ไทยรัฐ อังคารที่ 10 ตุลาคม 2543 หน้า 12)





สธ.ชี้ปรับค่ามาตรฐานสารตะกั่วในเลือดทำไม่ง่าย

หลังจากที่เครือข่ายแก้ไขปัญหาพิษสารตะกั่วต่อสุขภาพ และสภาพแวดล้อมบริเวณแม่น้ำแม่กลองตอนบน ได้พยายามกระตุ้นให้ภาคราชการที่เกี่ยวข้องสนใจลงไปแก้ปัญหา กรณีที่ชาวบ้านหมู่บ้านคลิตี้ล่าง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ได้รับผลกระทบสุขภาพจากภาระการปนเปื้อนของสารตะกั่วในลำห้วยคลิตี้ ซึ่งเกิดจากโรงแต่งแร่ตะกั่วเหนือลำน้ำปล่อยลงสู่ลำห้วย โดยเมื่อไม่นานมานี้เครือข่ายฯ ได้ยื่นเรื่องขอให้นายกร ทัพพะรังสี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธรณสุข พิจารณาและประสานหน่วยงานต่างๆ ให้ปรับลดค่ามาตรฐานสารตะกั่วในเลือดให้ลดลง เพื่อหน่วยงานราชการจะได้ไม่อ้างค่ามาตรฐานนี้ในการละเลยช่วยเหลือชาวบ้าน (มติชน เสาร์ที่ 7 ตุลาคม 2543 หน้า 7)





กศน.ดันไทยตั้งศูนย์ติวเข้มเทคโนโลยีวิทยุโทรทัศน์

ดร.ทองอยู่ แก้วไทรฮะ อธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) เปิดเผยว่า จากที่ตนไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางด้านการเผยแพร่ออกอากาศของ วิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ พบว่าใช้เทคโนโลยีชั้นสูง และนำอุปกรณ์เก่ามาดัดแปลงเป็นเครื่องใช้ที่เหมาะสมกับงานด้วย และเนเธอร์แลนด์สนใจที่จะมาตั้งศูนย์ฝึกอบรมในประเทศไทย ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์อย่างมากต่อไทย (ไทยรัฐ เสาร์ที่ 7 ตุลาคม 2543 หน้า 15)





รถญี่ปุ่นไล่ตามไฮเทคแข่งบริการเชื่อมเน็ต

บริษัทฮอนด้า มอเตอร์ ของญี่ปุ่น ออกรถรุ่นใหม่ที่มีอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ช่วยให้คนที่ขับรถอยู่บนถนนรับข้อมูลต่างๆ ได้ตามต้องการ ซึ่งขณะนี้ผู้ผลิตรถชาวญี่ปุ่นกำลังไล่ตามเทคโนโลยีด้วยการผลิตรถให้เป็น รถยนต์ไซเบอร์ บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตฟรี สำหรับฮอนด้า ได้สร้างระบบคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันด้วยสัญญาณดาวเทียม ติดต่อไปยังรถยนต์จำนวนกว่า 5 ล้านคันในญี่ปุ่น ในตัวรถจะมีจอขนาดเล็กแสดงข้อมูลแผนที่ มีบราวเซอร์ต่ออินเตอร์เน็ต และเป็นโทรศัพท์มือถือด้วย อย่างไรก็ตามก็ยังไม่สะดวกสบายเท่ากับการเชื่อมต่อผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี เช่น ไม่มีคีย์บอร์ดสำหรับพิมพ์ตัวหนังสือ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลไม่เร็วดังใจ ที่สำคัญคือการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตในรถต้องผ่านระบบโทรศัพท์มือถือที่คิดค่าบริการ 29 เซนต์ต่อนาที (ไทยโพสต์ อังคารที่ 10 ตุลาคม 2543 หน้า 8)





ข่าววิจัย/พัฒนา


นักวิจัยบุกเบิกเทคนิค “พระสังข์เรียกปลา

นายโจนาธาน โลเวลล์ นักวิจัยแห่งสถาบันวิจัยทางทะเล มหาวิทยาลัยพลีมัธ ได้ทดลองให้ลูกปลาเลี้ยงรู้จักจดจำคลื่นเสียงที่ใช้เรียกมากินอาหาร หวังปล่อยพันธุ์ปลาไปหากินและเติบโตในทะเลเปิด ก่อนใช้คลื่นเสียงล่อให้ว่ายกลับมาเข้าอวนอีกครั้งเมื่อพร้อมให้จับขายได้ โดยเชื่อว่าวิธีนี้จะช่วยให้การทำฟาร์มเลี้ยงปลาเป็นกิจการที่ทำกำไรได้มากขึ้น และเป็นวิธีเลี้ยงปลาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมกับมีส่วนช่วยฟื้นฟูท้องทะเลที่มีการจับปลามากเกินไปในเวลานี้อีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งเขากำลังทดลองความคิดนี้กับปลาคาร์พ ปลากระบอก และปลาหมอทะเล และจะมีการทดสอบครั้งใหญ่ในฤดูใบไม้ผลินี้ โดยโลเวลล์ จะปล่อยลูกปลาหมอทะเล 10,000 ตัวที่ชายฝั่งพลีมัธ ซาวนด์ แล้วจะพยายามเรียกพวกมันกลับมา โดยจะเปิดเสียงเรียกวันละ 2 ครั้ง พร้อมให้อาหารเป็นรางวัล และจะเรียกกลับมาให้จับเมื่อโตเต็มที่แล้ว (ไทยโพสต์ พฤหัสที่ 12 ตุลาคม 2543 หน้า 12)





วัสดุชนิดใหม่ที่ใช้สลายไนโตรเจนออกไซด์ในอากาศ

วัสดุชนิดใหม่ที่ใช้สลายไนโตรเจนออกไซด์ในอากาศ ผช.ศจ. M. Machida และทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัย Miyazaki University ได้พัฒนาวัสดุชนิดใหม่ที่สามารถสลายไนโตรเจนออกไซด์ อันเป็นต้นเหตุของการเกิดมลพิษในบรรยากาศ วัสดุชนิดนี้เป็นวัสดุเซรามิก และมีลักษณะในการช่วยเร่งปฏิกิริยาการดูดซับไนโตรเจนออกไซด์ และทำให้แก๊สไม่เป็นพิษ (สยามรัฐ อาทิตย์ที่ 15 ตุลาคม 2543 หน้า 5)





ข่าวทั่วไป


3 นักวิทย์พิชิต “โนเบลแพทย์

นักวิทยาศาสตร์ชาวสวีดิช 1 คนชื่อ นายอาร์วิด คาร์ลสัน และนักวิจัยชาวอเมริกัน 2 คนชื่อ นายพอล กรีนการ์ด และนายเอริก แคนเดล ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ ในผลการศึกษาเรื่องระบบการส่งข้อมูลระหว่างเซลล์สมองของมนุษย์ ซึ่งจะนำไปสู่การรักษาโรคพาร์คินสัน และอาการสลดหดหู่ (ข่าวสด อังคารที่ 10 ตุลาคม 2543 หน้า 7)





ดันจนได้โรงเผาขยะอ่อนนุชรอสภาฯ “กู้ญี่ปุ่นอีก 4.8 ล้านผูกพัน 40 ปี อีก 3 ปีได้ใช้

นายณัฏฐพล กรรณสูต สก.เขตดุสิต ในฐานะกรรมการคณะกรรมการรักษาความสะอาดและสิ่งแวดล้อม สภากทม.เปิดเผยว่า คณะกรรมการฯ ได้เชิญ นายพิชัย ไชยพจน์พานิช ผอ.สำนักรักษาความสะอาด มาชี้แจงเรื่องการก่อสร้างโรงกำจัดขยะแบบผสมผสาน ที่กทม. ได้รับอนุมัติโครงการจาก ครม. แล้ว โดย กทม. มีสิ่งชดเชยให้กับคนบริเวณที่สร้างโรงเผาขยะคือ การนำกระแสไฟฟ้าที่ได้จากการเผาขยะมาจ่ายให้กับประชาชนในลักษณะไฟฟ้าสาธาณะฟรี รวมทั้งนำรายได้ของโรงเผาขยะสร้างเป็นศูนย์สุขภาพให้ประชาชน (สยามรัฐ อังคารที่ 10 ตุลาคม 2543 หน้า 6)






KMUTT Digital Library
Contact Digital Library : info@lib.kmutt.ac.th
Tel : 0-2470-8215