หัวข้อข่าวปีที่ 1 ฉบับที่ 17 ประจำวันที่ 2000-12-12

ข่าวการศึกษา

สสวท. ‘ มีมติจัดสรรทุน ‘พสวท.’
หลักสูตรอินเตอร์รามฯ ทางเลือกคนรายได้น้อย
ยกอาชีวะสอนระดับปริญญาเท่ามหา’ลัย
ศึกษาฯ มก. รับเพิ่มเด็กต่างจังหวัดหดยอดเอ็นทรานซ์
21 ธ.ค. นัดพบคนมหา’ลัยช่วยกันคิดออกนอกระบบ

ข่าววิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี

‘วช.’ เน้นนโยบายเจ๋งเชิดชูนักวิจัยไทย
ศึกษาตั้งเอธานอลใกล้รู้ผล
ขนส่งน้ำมันทางท่อ ทางเลือกในการแก้ปัญหาจราจรในยุคน้ำมันแพง
กสท. อัด 50 ล้าน ขยายสัญญาณให้เอเน็ต
กล่องยูเอชทีรีไซเคิลทำเฟอร์นิเจอร์

ข่าววิจัย/พัฒนา

สิ่งประดิษฐ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้รับรางวัลเหรียญทอง
อังกฤษลงขันวิจัย 400 ล้าน ดูผลต่อสุขภาพจากโทร.มือถือ
ทดลองยาขนานใหม่ได้ผล ทำลายมะเร็งเม็ดเลือดที่ต้นคอ

ข่าวทั่วไป

แก้ระเบียบอาคารผิดกฎหมายให้สร้างอาคารพาณิชย์ได้
เชื่อมมอเตอร์เวย์สนามบินแห่งใหม่
เปิดใช้ถนนตากสิน-เพชรเกษม 9 ธ.ค. ช่วงตากสิน-รัชดาภิเษก
ดันสร้างให้ได้ภายในเดือนนี้ ต่อขยายรถไฟฟ้าเสร็จใน 2 ปี
พีพีเอ
ทำไมต้องทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน





ข่าวการศึกษา


สสวท. ‘ มีมติจัดสรรทุน ‘พสวท.’

นายธงชัย ชิวปรีชา ผอ. สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการดำเนินการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) เห็นชอบในหลักการให้เชื่อมโยงการให้ทุน พสวท. ด้านมัธยมศึกษาตอนปลายเข้ากับโครงการโรงเรียนวิทยาศาสตร์ โดยให้ สสวท. เป็นผู้จัดทำรายละเอียดการเชื่อมโยงทุนแล้วนำเสนอต่อไป สำหรับการให้ทุน พสวท. เพื่อศึกษาต่อต่างประเทศจะให้ปรับลดจำนวนทุนลงและจัดสรรให้เป็นทุนในประเทศให้มากขึ้น โดยเน้นสาขาฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ (ข่าวสด อังคารที่ 5 ธันวาคม 2543 ) ศึกษาฯ มก. รับเพิ่มเด็กต่างจังหวัดหดยอดเอ็นทรานซ์ ผศ. ดร. พนิต เข็มทอง คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) เปิดเผยว่า จากการประชุมแผนการศึกษา ฉบับที่ 9 ของคณะศึกษาศาสตร์ ที่ประชุมได้หารือถึงแผนการปฏิรูปการผลิตบัณฑิตครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ผลหารือปรากฏว่าที่ประชุมเห็นควรให้มีการบูรณาการหลักสูตรข้ามภาควิชาได้ เพื่อให้นักศึกษามีโอกาสได้ศึกษาในหลักสูตรที่หลากหลายสาขามากขึ้น คณะศึกษาศาสตร์ จะปรับสัดส่วนการรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีลงทั้งการรับประเภทโควตา ทุนนักกีฬาดีเด่นและนักศึกษาที่คัดเลือกผ่านระบบเอ็นทรานซ์ของทบวงฯ แต่จะเพิ่มการรับนักศึกษาในส่วนภูมิภาคมากขึ้น เพื่อกระจายโอกาสให้กับเด็กต่างจังหวัด ตามนโยบายทบวงฯ รวมทั้งการเพิ่มระดับสูงกว่าปริญญาตรีให้มากขึ้น (ไทยรัฐ พฤหัสบดีที่ 7 ธันวาคม 2543) 21 ธ.ค. นัดพบคนมหา’ลัยช่วยกันคิดออกนอกระบบ รศ. ดร. สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่าในวันที่ 21 ธ.ค. นี้ กลุ่มแกนนำคณาจารย์ จุฬาฯและสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) จะจัดเสวนาในหัวข้อการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. จุฬา โดยจะเชิญ ผศ.ใจ อึ้งภาภรณ์ และ รศ. ดร. แล ดิลกวิทยรัตน์ จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ รวมทั้ง ผู้จัดทำร่าง พ.ร.บ. จากมหาวิทยาลัยต่างๆ มาร่วม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องการออกนอกระบบ (เดลินิวส์ พุธที่ 6 ธันวาคม 2543)





หลักสูตรอินเตอร์รามฯ ทางเลือกคนรายได้น้อย

รศ. ดร. ไพบูลย์ ภูริเวทย์ ผู้อำนวยการสถาบันการศึกษานานาชาติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กล่าวว่ามหาวิทยาลัยรามคำแหงจะเปิดหลักสูตรนานาชาติใหม่มี 3 หลักสูตร ในปีการศึกษา 2544 ซึ่งประกอบด้วย ระดับปริญญาโท 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขารัฐศาสตร์ (ภาคภาษาอังกฤษ), M.A. หลักสูตรการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ภาคภาษาอังกฤษ), M.Ed. และ ระดับปริญญาตรี 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ภาคภาษาอังกฤษ), B.B.A. และในปี 2544 จะเปิดการศึกษาในระดับปริญญาเอกเพิ่มอีก 3 สาขา คือ สาขาบริหารธุรกิจ สาขาบริหารรัฐกิจ และสาขาบริหารการศึกษา พร้อมทั้งเปิดอบรมระยะสั้นด้านการท่องเที่ยว การโรงแรม มัคคุเทศก์ เพื่อให้เกิดความหลากหลายทางวิชาการ สำหรับการเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่จะเริ่มจำหน่ายใบสมัครตั้งแต่วันที่ 15 ม.ค. 2544 และในวันที่ 10 มี. ค. 2544 จะเป็นการสอบข้อเขียน โดยจะเน้นสอบความสามารถทางภาษาอังกฤษ ค่าใช้จ่ายระดับปริญญาโททั้ง 2 หลักสูตรจะเหมาจ่ายรวมตลอดหลักสูตร แบ่งจ่าย 4 ภาคการเรียน สำหรับนักศึกษาไทยคนละ 250,000 บาท ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในเมืองไทย 400,000 บาท และชาวต่างชาติที่เดินทางมาเรียนในประเทศไทยคนละ 600,000 บาท ส่วนหลักสูตรปริญญาตรีหน่วยกิจละ 1,000 บาท (ไทยโพสต์ จันทร์ที่ 4 ธันวาคม 2543)





ยกอาชีวะสอนระดับปริญญาเท่ามหา’ลัย

นายสุรพล นิติไกรพจน์ กรรมการบริหารสำนักงานปฏิรูปการศึกษา (สปศ.) เปิดเผยว่า การบริหารจัดการสถาบันอาชีวศึกษาที่สอนต่ำกว่าปริญญาตรีต้องขึ้นอยู่กับคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา โดยให้มีผู้แทนของกรมอาชีวศึกษาร่วมเป็นคณะกรรมการเขตพื้นที่ด้วย สำหรับสถาบันอาชีวศึกษาที่จัดการศึกษาเทียบเท่าปริญญาตรี เช่น หลักสูตรประกาศนียบัตรเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 24 แห่ง ก็จะออกกฎหมายรับรองให้เป็นสถาบันอุดมศึกษา ที่เป็นนิติบุคคล มีอิสระในการบริหารจัดการ โดยกำหนดให้จัดการศึกษาร่วมกันเป็นเครือข่าย เพื่อส่งเสริมสนับสนุนและใช้ทรัพยากรร่วมกัน (ไทยโพสต์ พฤหัสบดีที่ 7 ธันวาคม 2543)





ศึกษาฯ มก. รับเพิ่มเด็กต่างจังหวัดหดยอดเอ็นทรานซ์

ผศ. ดร. พนิต เข็มทอง คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) เปิดเผยว่า จากการประชุมแผนการศึกษา ฉบับที่ 9 ของคณะศึกษาศาสตร์ ที่ประชุมได้หารือถึงแผนการปฏิรูปการผลิตบัณฑิตครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ผลหารือปรากฏว่าที่ประชุมเห็นควรให้มีการบูรณาการหลักสูตรข้ามภาควิชาได้ เพื่อให้นักศึกษามีโอกาสได้ศึกษาในหลักสูตรที่หลากหลายสาขามากขึ้น คณะศึกษาศาสตร์ จะปรับสัดส่วนการรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีลงทั้งการรับประเภทโควตา ทุนนักกีฬาดีเด่นและนักศึกษาที่คัดเลือกผ่านระบบเอ็นทรานซ์ของทบวงฯ แต่จะเพิ่มการรับนักศึกษาในส่วนภูมิภาคมากขึ้น เพื่อกระจายโอกาสให้กับเด็กต่างจังหวัด ตามนโยบายทบวงฯ รวมทั้งการเพิ่มระดับสูงกว่าปริญญาตรีให้มากขึ้น (ไทยรัฐ พฤหัสบดีที่ 7 ธันวาคม 2543)





21 ธ.ค. นัดพบคนมหา’ลัยช่วยกันคิดออกนอกระบบ

รศ. ดร. สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่าในวันที่ 21 ธ.ค. นี้ กลุ่มแกนนำคณาจารย์ จุฬาฯและสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) จะจัดเสวนาในหัวข้อการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. จุฬา โดยจะเชิญ ผศ.ใจ อึ้งภาภรณ์ และ รศ. ดร. แล ดิลกวิทยรัตน์ จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ รวมทั้ง ผู้จัดทำร่าง พ.ร.บ. จากมหาวิทยาลัยต่างๆ มาร่วม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องการออกนอกระบบ (เดลินิวส์ พุธที่ 6 ธันวาคม 2543)





ข่าววิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี


‘วช.’ เน้นนโยบายเจ๋งเชิดชูนักวิจัยไทย

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มีนโยบายที่จะส่งเสริมและเชิดชูเกียรตินักวิจัยไทย จึงจัดให้มีการคัดเลือกนักวิจัยที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อประกาศเกียรติคุณเป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ เป็นประจำทุกปี ในปี 2544 วช. ได้กำหนดระยะเวลาสำหรับให้หัวหน้าหน่วยราชการระดับกรม คณะ ภาควิชา หรือเทียบเท่าขึ้นไป รัฐวิสาหกิจ สมาคม นิติบุคคล กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติหรือผู้ที่เคยได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ที่จะประสงค์จะเสนอชื่อผู้ที่สมควรได้รับประกาศเกียรติคุณ ให้ส่งรายชื่อเสนอถึงเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ โทร 579-2288, 561-2445 ต่อ 530 โทรสาร 579-0458 , 579-9775 ได้ทุกวันในเวลาราชการ (ข่าวสด อังคารที่ 5 ธันวาคม 2543)





ศึกษาตั้งเอธานอลใกล้รู้ผล

นายมนู เลียวไพโรจน์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมประธานโครงการศึกษาการสร้างโรงงานเอธานอลจากพืช ได้เปิดเผยถึง แนวทางการก่อสร้างโรงงานดังกล่าวว่า จะส่งเสริมให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนก่อสร้าง โดยกระทรวงอุตสาหกรรมจะสนับสนุนด้านสิทธิพิเศษที่เกี่ยวกับการลงทุน คาดว่าโรงงานจะมีกำลังผลิตประมาณ 500,000 ลิตรต่อวัน ลงทุนประมาณ 5,000 ล้านบาทต่อโรงงาน โรงงานนี้สามารถนำพืชที่เหลือใช้ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก เช่น พืชไร่ มันสำปะหลัง มาผลิตเป็นเอธานอล เติมเป็นเชื้อเพลิง โดยผสมกับน้ำมันเบนซิน ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันต่ำลง 5-10 % ของราคาขายในขณะนั้น (กรุงเทพธุรกิจ เสาร์ที่ 2 ธันวาคม 2543)





ขนส่งน้ำมันทางท่อ ทางเลือกในการแก้ปัญหาจราจรในยุคน้ำมันแพง

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2543 ให้จัดตั้งบริษัทขนส่งน้ำมันทางท่อจำกัด (FPT) และบริษัทท่อส่งปิโตรเลียมไทยจำกัด (THAPPLINE) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดจำนวนรถบรรทุกน้ำมันในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ จากการเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายที่ผ่านมา พบว่า การขนส่งน้ำมันผ่านระบบท่อ เป็นการขนส่งที่ถูกที่สุด อีกทั้งยังเป็นการแก้ไขปัญหาจราจร บรรเทาปัญหาอุบัติเหตุ และเป็นการรักษาสภาพแวดล้อม (เดลินิวส์ เสาร์ที่ 2 ธันวาคม 2543)





กสท. อัด 50 ล้าน ขยายสัญญาณให้เอเน็ต

นายแจ๊ค มินทร์ อิงค์ธเนศ รองประธานบริษัทเอเน็ตจำกัด เปิดเผยว่าเอเน็ตได้ขยายสัญญาณเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ระหว่างประเทศด้วยเทคโนโลยีใยแก้วนำแสง หรือไฟเบอร์ออฟติค จากประเทศสหรัฐอเมริกา มาที่การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) เป็นความเร็ว 45 เมกะบิตและใช้งบ 50 ล้าน เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจดอตคอม และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จะมีผลให้ช่องสัญญาณใหญ่ขึ้นและมีความเร็วมากขึ้น (เดลินิวส์ พุธที่ 6 ธันวาคม 2543)





กล่องยูเอชทีรีไซเคิลทำเฟอร์นิเจอร์

นายพิชัย ไชยพจน์พานิช ผู้อำนวยการสำนักรักษาความสะอาด กทม. เปิดเผยว่า ขณะนี้การก่อสร้างโรงงานแปรรูปกล่องนมยูเอชทีให้เป็นวัสดุแทนไม้ที่อ่อนนุช คาดว่าจะสามารถเปิดรับก่องเปล่ายูเอชทีไปรีไซเคิลเป็นแผ่นกรีนบอร์ดได้ภายในเดือน ธ.ค. นี้ ซึ่งจะช่วยลดปริมาณขยะได้ส่วนหนึ่ง กล่องยูเอชทีที่แปรรูปเป็นกรีนบอร์ด มีความคงทนทัดเทียมไม้ สามารถนำมาประกอบเป็นโต๊ะ เก้าอี้ เครื่องเรือน เฟอร์นิเจอร์สำนักงานและของใช้ต่างๆ โดยจะนำออกจำหน่ายแก่ประชาชนในราคาที่ถูกกว่าของใช้ที่ทำจากวัสดุอื่น (ไทยโพสต์ พุธที่ 6 ธันวาคม 2543)





ข่าววิจัย/พัฒนา


สิ่งประดิษฐ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้รับรางวัลเหรียญทอง

คณะผู้จัดงาน นิทรรศการแสดงสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ Brussels Euroka 2000 ที่กรุง บรัสเซล ระหว่างวันที่ 14-20 พ.ย. 2543 ได้ตัดสินให้ “กังหันน้ำชัยพัฒนา” ซึ่งเป็นผลงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้รับรางวัลเหรียญทอง และประกาศนียบัตรเทิดทูนพระเกียรติคุณ (เดลินิวส์ อาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม 2543)





อังกฤษลงขันวิจัย 400 ล้าน ดูผลต่อสุขภาพจากโทร.มือถือ

รายงานข่าวของบีบีซี นิวส์ แจ้งว่า รัฐบาลอังกฤษได้ออกเอกสารแนะนำการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างปลอดภัย โดยแจกจ่ายตามศูนย์การแพทย์และซุปเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ และแนะนำไม่ให้เด็กใช้โทรศัพท์มือถือ มาตรการดังกล่าวรวมถึงการให้ทุนวิจัยเพิ่มเติมอีกล้านปอนด์ หรือ 430 ล้านบาท การเปิดเผยให้ประชาชนทราบถึงระดับคลื่นรังสีจากโทรศัพท์ทุกรุ่น และการตรวจสอบคลื่นวิทยุจากสถานีเครือข่ายด้วย จากการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยที่เกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือ กล่าวว่ายังไม่มีรายงานเป็นหลักฐานมั่นคงว่าโทรศัพท์มือถือทำลายสุขภาพโดยตรง แต่ก็มีหลักฐานขั้นต้นที่แสดงถึงผลการเปลี่ยนแปลงด้านชีวภาพที่เกิดขึ้นในทางอ้อม และควรเตือนเด็กๆไม่ให้ใช้โทรศัพท์มือถือจะเป็นการดีกว่า เพราะจะส่งผลถึงพัฒนาการทางสมองแก่เด็กๆ ได้ ดังนั้น จึงมีคำแนะนำสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปีว่า ควรใช้โทรศัพท์มือถือเท่าที่จำเป็น และควรใช้เวลาคุยให้น้อยที่สุด หรือทางที่ดี ไม่ควรให้เด็กใช้โทรศัพท์มือถือเลย (ไทยรัฐ จันทร์ที่ 11 ธันวาคม 2543)





ทดลองยาขนานใหม่ได้ผล ทำลายมะเร็งเม็ดเลือดที่ต้นคอ

คณะแพทย์ของศูนย์โรคมะเร็งเอ็มดี แอนเดอร์สัน นครฮิวส์ตัน สหรัฐอเมริกา แจ้งว่า จากการทดลองยาขนานใหม่ชื่อ “เอสทีไอ-571” รักษาโรคลูคีเมีย หรือมะเร็งเม็ดเลือด โดยทำการทดลองกับคนไข้ที่มีอาการระยะเริ่มแรกของโรคลูคีเมียจากความผิดปกติของโครโมโซมไขสันหลัง จำนวน 530 คน พบว่า ช่วง 6 เดือนแรก อาการคนไข้กว่า 90 % ทุเลาลงและในการทดลองกับคนไข้ระยะที่ 2 จำนวน 230 คน ก็พบว่า คนไข้กว่า 90 % ก็ตอบสนองกับการรักษาได้ดี และมีอาการทุเลาลง 63 % (ไทยรัฐ เสาร์ที่ 9 ธันวาคม 2543)





ข่าวทั่วไป


แก้ระเบียบอาคารผิดกฎหมายให้สร้างอาคารพาณิชย์ได้

นายนิคม ไวยรัชพานิช ผู้อำนวยการสำนักผังเมือง เปิดเผยว่า ได้ตรวจสอบพื้นที่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ ใช้ที่ดินผิดกฎหมายผังเมือง ซึ่งกำหนดให้เป็นพื้นที่สีเขียว-ขาว หรือพื้นที่อนุรักษ์ และเกษตรกรรม ห้ามการอยู่อาศัยทุกประเภท พบว่า ประชาชนสร้างอาคารผิดข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานคร คือ เว้นที่ว่างของอาคารน้อยกว่าที่ กทม. กำหนด สำนักผังเมืองเห็นว่าควรที่จะเสนอร่างแก้ไขปรับปรุงร่างข้อบัญญัติ กทม. เรื่องกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้างดัดแปลงใช้ หรือ เปลี่ยนแปลงการใช้อาคารบางชนิด หรือบางประเภทในท้องที่เขตมีนบุรี โดยจะต้องกำหนดว่า หากจะมีการก่อสร้างพาณิชย์ จะต้องเว้นที่ว่างของอาคารแต่ละห้องให้ห่างกันไม่ต่ำกว่า 6 เมตร (เดลินิวส์ พุธที่ 6 ธันวาคม 2543)





เชื่อมมอเตอร์เวย์สนามบินแห่งใหม่

นายสมชาย จารุเกษมรัตน์ รองผู้ว่าการฝ่ายก่อสร้าง การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยว่า การทางฯ ได้ออกแบบเพื่อเตรียมต่อเชื่อมทางด่วน สายบางนา-ชลบุรี กับสนามบินหนองงูเห่า ใช้งบก่อสร้าง 1,000 กว่าล้านบาท และเตรียมสร้างถนนพื้นที่ราบ เพื่อเชื่อมถนนบางนา-ตราด กับทางเข้าสนามบินหนองงูเห่า นอกจากนี้กรมทางหลวงยัง จะเชื่อมต่อทางมอเตอร์เวย์สายตะวันออก (บางประอิน-บางพลี) เพื่อเชื่อมต่อเข้าหนองงูเห่าด้วย (เดลินิวส์ พุธที่ 6 ธันวาคม 2543)





เปิดใช้ถนนตากสิน-เพชรเกษม 9 ธ.ค. ช่วงตากสิน-รัชดาภิเษก

นายวรวิทย์ เลิศลักษณา อธิบดีกรมโยธาธิการ เปิดเผยว่า กรมโยธาธิการจะทดลองเปิดการจราจรถนนสายตากสิน-เพชรเกษม ช่วงจากถนนธนบุรีข้ามถนนตากสิน และจากแยกตัดถนนตากสิน ถึงทางแยกใหม่ตัดถนนรัชดาภิเษกในวันที่ 9 ธ.ค. 2543 หลังจากเดือน มี.ค. 2544 จะเปิดให้ใช้ทั้งโครงการ (เดลินิวส์ อังคารที่ 5 ธันวาคม 2543)





ดันสร้างให้ได้ภายในเดือนนี้ ต่อขยายรถไฟฟ้าเสร็จใน 2 ปี

นายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานงานฉลองครบ 1 ปี การเดินรถไฟฟ้าบีทีเอส เปิดเผยว่า รถไฟฟ้าได้ช่วยแก้ปัญหาจราจรได้มากจะเร่งต่อขยายเส้นทางจากอ่อนนุช-สำโรง ระยะทาง 9 กม. และจากสถานีตากสิน-โกวบ๊อ 2 กม. จะเปิดบริการได้ภายใน 2 ปี ขณะนี้อยู่ในระหว่างเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (เดลินิวส์ อังคารที่ 5 ธันวาคม 2543)





พีพีเอ

คณะกรรมการยามีมติเป็นเอกฉันท์ ให้เพิกถอนสารฟีนิลโพรพาโนลามีน (Phenyl- propanolamine) หรือ พีพีเอ ออกจากยาแก้หวัดคัดจมูก แก้ไข้ แก้ไอ แก้แพ้ ซึ่งเป็นยาสูตรผสมทั้ง 493 ตำรับ ภายใน 180 วัน หลังจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขลงนามในประกาศและประกาศมีผลบังคับใช้ (เดลินิวส์ เสาร์ที่ 2 ธันวาคม 2543)





ทำไมต้องทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน

ทุกประเทศที่ใช้แรงงานต่างให้ความสำคัญ ในเรื่องมาตรฐานฝีมือแรงงาน (Occupational Skill Standards) ซึ่งหมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความรู้ ความสามารถของบุคคลในการปฏิบัติงานอาชีพหนึ่งๆ โดยองค์กรที่เชื่อถือได้เป็นผู้กำหนดขึ้น โดยคำนึงถึงเกณฑ์มาตรฐานของสากล และกำหนดให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคมในขณะนั้นๆ สาเหตุที่ต้องทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานเพราะ ถ้าผู้ใช้แรงงานมีฝีมืออยู่ในระดับที่ดี หรือผ่านการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานที่ต่างประเทศยอมรับ ผู้ใช้แรงงานก็จะได้รับค่าจ้างสูง ขึ้น (เดลินิวส์ เสาร์ที่ 2 ธันวาคม 2543)






KMUTT Digital Library
Contact Digital Library : info@lib.kmutt.ac.th
Tel : 0-2470-8215