ภาควิชาจุลชีววิทยา
คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

Immunology
วิทยาภูมิคุ้มกัน เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับ กลไกการทำงานของร่างกายในการตอบสนอง และกำจัดเชื้อโรครวมทั้งสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย
Antigen สิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกาย และกระตุ้นให้เกิดการตอบสนอง ของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
Vaccine สารชีวโมเลกุลที่ผลิตมาจาก เชื้อโรคหรือเชื้อโรคที่ทำให้อ่อนฤทธิ์ลง มีฤทธิ์ในการกระตุ้น ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเพื่อนำไปสู่การป้องกันโรค
Antibody สารน้ำที่เป็นพวกไกลโคโปรตีน สร้างมาจากเม็ดเลือดขาวชนิด B lymphocyte ในร่างกายทำหน้าที่ในการจับ และทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย
Cluster of differentiation (CD) กลุ่มของโปรตีนผิวเซลล์ ที่ใช้ในการจัดจำแนกกลุ่มเซลล์ ในระบบภูมิคุ้มกันออกจากกัน
แบคทีเรียแลคติก: กลุ่มของจุลินทรีย์แกรมบวก ไม่สร้างสปอร์ ที่สามารถผลิตกรดแลคติกจากน้ำตาล ได้แก่จุลินทรีย์กลุ่มแลคโตบาซิลลัล (lactobacillus) เพดิโอคอคคัส (pediococcus) เสตร็บโตคอคคัส (Streptococcus) เป็นต้น
แบคทีเรีย (Bacteria): กลุ่มของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีรูปร่างแบบแท่ง กลม หรือเป็นเกลียว บางชนิดเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ ในคน พืช และสัตว์ บางชนิดมีประโยชน์ในการผลิตยา สารอาหาร หรือสารอื่นๆ ที่ใช้ในอุตสาหกรรม
เอนไซม์ (enzyme): เป็นโปรตีนที่ทำหน้าที่ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมี แต่ไม่ทำให้ทิศทางหรือธรรมชาติของปฏิกิริยาเปลี่ยนแปลง
ไวรัส (virus): เป็นจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กมาก ที่สามารถเพิ่มจำนวนในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตที่เป็นเจ้าบ้าน มีโครงสร้างหลักประกอบด้วย ดีเอนเอ (DNA) หรือ อาร์เอนเอ (RNA) ที่ห่อหุ้มด้วยโมเลกุลของโปรตีน โดยมากมักเป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด
โปรไบโอติก (probiotic) เป็นจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ที่เมื่อสิ่งมีชีวิตได้รับในปริมาณที่พอเพียง จะมีประโยชน์ด้านสุขภาพ
จุลินทรีย์ (micro-organism) หมายถึงสิ่งมีชีวิตซึ่งส่วนใหญ่ มีขนาดเล็กมากจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ที่อาจมีโทษหรือมีประโยชน์ต่อเราก็ได้ แบ่งออกได้เป็น 4 ชนิดใหญ่ๆ คือ ไวรัส, ราหรือยีสต์, แบคทีเรีย และพาราไซต์
พันธุวิศวกรรม: เป็นกระบวนการที่เจาะจงเลือกหน่วยพันธุกรรมบางตัว ของสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่ง (ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์) และนำไปใส่ในสิ่งมีชีวิตอีกประเภทหนึ่ง เพื่อทำให้เกิดลักษณะพิเศษที่ต้องการ
GMP (Good Manufacturing Practice) หรือ หลักเกณฑ์แลวิธีการที่ดีในการผลิต เป็นระบบการจัดการ และควบคุมการผลิตอาหาร ให้ปลอดภัยต่อการบริโภคว่าด้วยสุขลักษณะทั่วไป จัดเป็นระบบหรือโปรแกรมพื้นฐาน ที่ผู้ผลิตอาหารจำเป็นต้องดำเนินการ
HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Point) ระบบการวิเคราะห์อันตราย และจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม เป็นการจัดการควบคุมกระบวนการผลิต (Process control) โดยเน้นการจัดการ จุดที่ได้มีการวิเคราะห์แล้วว่าเป็นจุดที่สำคัญ หรือวิกฤตในการควบคุมอันตรายไม่ให้ไปสู่ผู้บริโภค
Biodiversity ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
Biotransformation, Bioconversion คือการเปลี่ยนแปลงสสารโดยกระบวนการทางชีวภาพ เช่นการใช้จุลินทรีย์จำพวกยีสต์ เพื่อเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นแอลกอฮอล์ หรือการใช้แบคทีเรียเปลี่ยนแป้งเป็นผงชูรสเป็นต้น
Bioreactor, Fermentor คือถังปฏิกรชีวภาพหรือเรียกสั้นๆ ว่าถังหมัก หมายถึงภาชนะที่ใช้เลี้ยงจุลินทรีย์ โดยจะมีสารอาหารที่จำเป็นบรรจุอยู่ภายใน พร้อมทั้งมีระบบควบคุมสภาพแวดล้อม ให้เหมาะสม่อการเจริญของจุลินทรีย์นั้นๆ



Presented by
Digital Library Team | e-mmet@lib.kmutt.ac.th