รศ.ดร.บุญเจริญ ศิริเนาวกุล

รองอธิการบดีฝ่ายวางแผน
และพัฒนา
สวัสดีครับ ฉบับนี้เป็นฉบับที่ 3 แล้ว สำหรับเรื่องเด่นประจำฉบับนี้จะมี 3 เรื่อง เรื่องแรกเป็นเรื่อง เทคนิคการทดสอบแบบจำลองโครงสร้างใต้ดิน โดยใช้วิธีหมุนเหวี่ยง นำเสนอโดย ดร.กิติเดช สันติชัยอนันต์ เนื้อหาจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ การศึกษาทางด้านวิศวกรรมโยธา เกี่ยวกับการสร้างแบบจำลอง ที่อาศัยวิธีหมุนเหวี่ยง เพื่อสร้างแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ ที่ทำให้เกิดแรงเค้นกับวัสดุที่เราต้องการนำมาทดลอง เทคนิคนี้มีการคิดค้นเริ่มแรกเมื่อ 75 ปีก่อน ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต และถูกศึกษามาโดยตลอด 30 ปีที่ผ่านมา โดยถือว่าเป็นเทคนิคใหม่ที่ปฎิวัติวงการวิศวกรรมเทคนิคธรณี เทคนิคนี้จะใช้หลักการการจำลองแบบหมุนเหวี่ยง (Centrifuge Modeling) เข้ามาช่วยในการจำลองโครงสร้างดิน

เรื่องที่ 2 เป็นเรื่อง การใช้ไคโตซานชะลอความเสียหาย หลังการเก็บเกี่ยวของสตรอเบอรี่ นำเสนอโดย ปัทมา วิศาลนิตย์ และ ดร.ทศพร ทองเที่ยง ในการศึกษาเป็นเรื่องการนำสารที่สกัดจากเปลือกกุ้ง หรือเปลือกปลาหมึกมาทำเป็นไคโตซาน ซึ่งมีคุณสมบัติภายนอกคล้ายพลาสติกห่อของ เมื่อนำมาใช้กับการห่อผลไม้ จะทำให้เกิดผลดีต่าง ๆ อย่างมากมาย ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการนำไคซานมาใช้กับ ผลสตรอเบอรี่

เรื่องที่ 3 เป็นเรื่องเกี่ยวกับ Green Campus หรือ มหาวิทยาลัยสีเขียว ซึ่งหมายถึงมหาวิทยาลัยที่มีการบูรณาการอนุรักษ์ด้านพลังงานและ สิ่งแวดล้อมเข้าไปในการเรียนการสอน การวิจัย และในทุกกิจกรรม ของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการทำงานในบรรยากาศที่มีความปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงาน อันก่อให้เกิดผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนของชาติ

ขอเชิญท่านผู้อ่านที่สนใจในเรื่องเหล่านี้ได้ติดตามเลยครับ





Presented by
Digital Library Team | e-mmet@lib.kmutt.ac.th