สรุปข่าว
e-Magazine ฉบับที่ 2 ข่าวที่ 1 การถนอมอาหารแบบปลอดสารเคมี
ทางเลือกใหม่ในการยืดอายุหรือถนอมอาหาร แทนการใช้สารเคมี โดยสร้างเครื่องกีดขวางการทำงานของเชื้อจุลินทรีย์
โดยใช้ เฮอร์เดิล เทคโนโลยี(Huedle Technology) ซี่งเป็นเทคโนโลยีเพื่อยืดอายุมาใช้ในการถนอมอาหาร
ศ.บัญชา อุไรกุล คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เปิดเผยในเวทีวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง "จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องใช้
Food Additives" ถึงเรื่องการนำเฮอร์เดิล เทคโนโลยีหรือเทคโนโลยีสิ่งกีดขวางมาใช้ในกระบวนการถนอมอาหารทั้งหมด
ได้แก่ การควบคุมค่าความเป็นกรดเบส (พีเอช) การฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ด้วยวิธีต่างๆ
ฉายรังสี ใช้อุณหภูมิทั้งสูงและต่ำ การใช้ความดัน รวมถึงการบรรจุหีบห่อ
ซึ่งในการนำมาใช้จะนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้เป็นกลุ่ม หรือจะนำมาใช้แบบเดี่ยวๆ
ก็ได้ โดยพิจารณาจากความเหมาะสมของอาหารแต่ละชนิด ให้สามารถควบคุมคุณภาพอาหารสดหรือกึ่งสด
ให้คงความสด รสชาติและสีสันที่เหมือนเดิม เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมอาหารส่งออก
แต่ข้อจำกัดคือผู้ใช้ต้องมีความรู้ความเข้าใจด้านเทคโนโลยีถนอมอาหาร กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 ข่าวที่ 2 เครื่องผลิตขนมทองม้วน
เครื่องม้วนทองม้วนอัตโนมัติแทนแรงงานคน สามารถผลิต 5 ชิ้นต่อนาที
ใช้เวลาเร็วกว่าแรงคน 2 เท่าและถูกสุขอนามัย รวมถึงลดการปนเปื้อนจากมือ
ผลงานนักวิจัยไทย มีบริษัทส่งออกขนมสนใจรับไปทดลองแล้ว
สิ่งประดิษฐ์ เครื่องม้วนทองม้วน ผลงานของนายสัมพันธ์ ศรีสุริยวงษ์
นักวิจัยฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
(วว.) ได้กล่าวถึงทองม้วนเป็นขนมไทยที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย
แต่กรรมวิธีการผลิต จะใช้แรงงานคนในการปิ้ง ม้วนและบรรจุ โดยจะต้องใช้มือม้วนขึ้นรูปเพื่อให้ได้แท่งทองม้วน
ไม่สะอาดและถูกสุขอนามัย และคนที่ม้วนต้องทนกับความร้อนมาก 90-100
องศา
คุณสมบัติของเครื่องม้วนทองม้วนที่ประดิษฐ์ขึ้น สามารถผลิตทองม้วนได้ 5 ชิ้นต่อนาที
ซึ่งเร็วกว่าคน 2 เท่า และได้คุณภาพทองม้วนมาตรฐานเท่าเทียมกันทุกชิ้นและถูกสุขอนามัย
ส่วนประกอบหลักของเครื่อง ได้แก่ เตาความร้อนที่ต้องควบคุมอุณหภูมิให้สม่ำเสมอ ชุดลูกกลิ้งสำหรับม้วนแผ่นแป้ง
และชุดตัดจะทำหน้าที่ตัดแท่งทองม้วนให้ได้ขนาดที่พอดีสำหรับการรับประทาน กรุงเทพธุรกิจ วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547
ข่าวที่ 3 นาโนเทคโนโลยีกับการศัลยกรรมระยะไกล
การใช้ความรู้ทางวิศวกรรมเครื่องกลเพื่อพัฒนาอุปกรณ์ควบคุมนาโนเทคสำหรับการนำไปใช้ได้จริงในการศัลยกรรมระยะไกล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
วอง จอง คิม ผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลแห่งมหาวิทยาลัยเอแอนเอ็มเท็กซัส
เป็นผู้ประดิษฐ์อุปกรณ์ที่สามารถใช้ในการคำนวณตำแหน่งของวัตถุได้อย่างแม่นยำ เพื่อนำไปใช้กับนาโนเทคโนโลยีและการศัลยกรรมระยะไกล
ศาสตราจารย์ วอง จอง คิมได้พัฒนาอุปกรณ์ให้สามารถวางตำแหน่งของวัตถุ เพื่อใช้กับนาโนเทคโนโลยีในการเคลื่อนย้ายวัตถุเป้าหมายไปยังตำแหน่งที่ต้องการอย่างถูกต้อง
ในการศัลยกรรมระยะไกลนั้น การผ่าตัดสามารถกระทำได้ในห้องผ่าตัดที่อยู่ห่างออกไปไม่กี่ฟุตหรือหลายร้อยไมล์โดยการใช้อุปกรณ์ดังกล่าวในการวางตำแหน่งที่ถูกต้องให้แก่หุ่นยนต์ที่ทำการผ่าตัดแทนมนุษย์
อุปกรณ์ดังกล่าวใช้แม่เหล็กกำลังสูงช่วยในการทำงาน เพื่อยึดส่วนประกอบต่างๆ เข้าด้วยกัน
ส่วนประกอบของอุปกรณ์จะไม่ประกอบเข้ากันสนิท แต่จะยึดไว้ด้วยแรงดึงดูดของแม่เหล็ก
ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ไห้เกิดการเสียดสีหรือแรงเสียดทาน อันอาจจะเกิดจากการสัมผัสของชิ้นส่วน
ซึ่งจะทำให้การกำหนดมาตราส่วนนาโนเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับวิทยาการแบบดั้งเดิมแล้ว ข้อได้เปรียบของนาโนเทคโนโลยีคือ
ความสามารถในการขจัดแรงเสียดทานหรือความฝืดและแรงสัมผัสที่เกิดขึ้นจริง นอกจากนี้ยังมีความถูกต้องและการวินิจฉัยที่ดีขึ้น
เป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์และเพิ่มความน่าเชื่อถือมากขึ้นกว่าเดิม ข่าวที่ 4 นักวิจัยไทยพัฒนาชุดตรวจไข้หวัดนกสำเร็จรู้ผลใน ๑๐ นาที
นักวิจัยไทยประสบความสำเร็จพัฒนาชุดตรวจไข้หวัดนกรู้ผลได้ใน ๑๐ นาที แถมราคาต่อเครื่องเพียง
๑๙๐ บาท ยันผลตรวจแม่นยำถึงร้อยละ ๙๐ เหมาะสำหรับฟาร์มไก่ใช้ตรวจเบื้องต้นเพื่อแก้ปัญหาได้ทันที
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
ร่วมกับบริษัท อินโนวา ไบโอเทคโนโลยี ได้พัฒนาชุดตรวจไข้หวัดนกอย่างรวดเร็วขึ้นเรียกว่า
Innova Flu-A สามารถตรวจพบเชื้อได้ภายใน ๑๐ นาที มีความแม่นยำสูง ทำได้ง่าย ไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษและสามารถตรวจได้เป็นจำนวนมาก
ได้ทำการประเมินชุดตรวจ Innova Flu-A ร่วมกับสถาบันสุขภาพสัตว์ กรมปศุสัตว์ พบว่า
ชุดตรวจดังกล่าวสามารถสนับสนุนการตรวจของสถาบันฯ ซึ่งใช้วิธีมาตรฐานในการเพาะเลี้ยงเชื้อในไข่
๓-๕ วัน และทดสอบเชื้อไข้หวัดนกในภายหลังได้ โดยสามารถทำงานในขั้นตอนหลังได้อย่างรวดเร็ว
ถูกต้อง และสามารถลดระยะเวลาของการทดสอบลงได้ ๒-๓ วัน เป็นประโยชน์กับกรมปศุสัตว์สามารถรับมือกับตัวอย่างจำนวนมากที่รัฐบาลกำลังเริ่มตรวจสอบได้ดีขึ้น
และมีราคาถูกกว่าของต่างประเทศ ชุดตรวจ Innova Flu-A มีราคาจำหน่ายปลีก ๑๙๐ บาท
โดยหลักการตรวจหาเชื้อไข้หวัดนก H๕N๑ ที่ระบาดในไทย คล้ายกับตรวจไข้หวัดใหญ่ บริษัท
แปซิฟิก ไบโอเทค กล่าวว่า ชุดตรวจวินิจฉัยโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกนี้ บริษัทได้ใช้เวลาพัฒนาเพียง
๑๕ วัน ชุดตรวจนี้เป็นการตรวจหาแอนติเจนของไวรัสไข้หวัดนก และใช้เทคนิคเดียวกับการทำชุดตรวจยาบ้าหรือชุดตรวจการตั้งครรภ์
การตรวจทำโดยใช้ก้านสำลีป้ายที่ก้นไก่หรือสัตว์ปีก และนำก้านสำลีลงไปกวนในสารละลาย
การอ่านผลใช้เวลา ๕๑๐ นาที โดยหากไม่มีเชื้อไวรัสจะปรากฎ ๑ ขีด ตรงตำแหน่งที่กำหนด
แต่หากมีเชื้อไวรัสจะปรากฎ ๒ ขีด มีความแม่นยำในระดับร้อยละ ๙๐ เหมาะสำหรับให้ฟาร์มไก่นำไปใช้ตรวจเบื้องต้น สำนักข่าวไทย http://tnanews.mcot.net/ (11 กุมภาพันธ์ 2547) ข่าวที่ 5 หูเทียมช่วยคนหูพิการ
โอกาสดีสำหรับผู้มีปัญหาการได้ยิน เป็นความสำเร็จของแพทย์รามา ในการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมให้ผู้พิการทางการได้ยิน
ได้ช่วยให้ผู้ป่วยทั้งเด็กและผู้ใหญ่สามารถได้ยินเสียงใกล้เคียงกับปกติ
จากการเปิดเผยของแพทย์หญิงชนิดา กาญจนลาภ ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์
โรงพยาบาลรามาธิบดี ถึงความสำเร็จในการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมแก่ผู้ป่วยในรอบปีที่ผ่านมามีจำนวนถึง
13 ราย ซึ่ง 9 รายเป็นเด็กเล็กอายุ 2 3 ขวบ โดยประสาทหูเทียมดังกล่าวสามารถช่วยให้ผู้เข้ารับการรักษาได้ยินเสียงเป็น
24 แชนแนล แยกเสียงที่ได้ยินหลากหลายขึ้น ทั้งนี้ ประสาทหูเทียมประกอบด้วยอุปกรณ์
2 ส่วน คือ อุปกรณ์ที่อยู่ภายในฝังไว้ที่กะโหลกศีรษะหลังใบหู ทำหน้าที่เป็นตัวรับสัญญาณจากภายนอก
ซึ่งจะต่อกับสายอิเล็กโทรดที่หุ้มด้วยซิลิโคนสำหรับสอดเข้าไปในบริเวณกระดูกหูชั้นในรูปก้นหอย
ซึ่งจะไปกระตุ้นเซลล์ประสาทในการได้ยิน และส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยังสมองเพื่อแปลผล
ความแตกต่างของผู้ป่วยหลังผ่าตัด กรณีผู้ป่วยเป็นผู้ใหญ่และไม่ได้สูญเสียการได้ยินจากประสาทหูพิการแต่กำเนิด
หรือเคยได้ยินเสียงมาก่อน อุปกรณ์ประสาทหูเทียมนี้จะทำหน้าที่ช่วยขยายเสียงที่ได้ยินให้ดังขึ้น
แต่ถ้าเป็นเด็กเล็กและผู้ที่ไม่เคยได้ยินเสียงมาก่อน เมื่อฝังประสาทหูเทียมเข้าไป
จะต้องมาเรียนรู้ในภายหลังว่าเสียงที่ได้ยินนั้นหมายถึงอะไร ข้อควรระมัดระวังการกระแทกบริเวณศีรษะ
เพราะอาจกระทบกระเทือนต่อสายอิเล็กโทรดที่ฝังในศีรษะ ส่วนตัวอุปกรณ์ภายนอกต้องระมัดระวังไม่ให้เปียกน้ำ
แต่อุปกรณ์ชนิดนี้สามารถอดเก็บได้จึงไม่มีปัญหาเวลาอาบน้ำ และเนื่องจากอุปกรณ์ชิ้นนี้ราคาแพงถึง
7.5 แสนบาท ผู้ที่จะเข้ารับการรักษาด้วยวิธีนี้ จึงจำกัดเฉพาะผู้ที่ใช้อุปกรณ์ช่วยฟังอื่นๆ
แล้วไม่ได้ผล จึงจะเลือกรักษาด้วยการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม ข่าวที่ 6 เตาแก๊สพับได้
ข่าวดีสำหรับผู้ที่ชอบไปเที่ยวปิกนิค และชอบปรุงอาหารรับประทานเอง เพราะมีผู้คิดค้นประดิษฐ์เตาแก๊สแบบใหม่มีขนาดกระทัดรัดสามารถพกพาไปได้สะดวก
พร้อมปรับปรุงกลไกท่อในเตาให้สามารถหมุน 360 องศา ขณะที่เตาแก๊สธรรมดาทำไม่ได้
เตรียมพัฒนาจากหัวทองเหลืองเป็นอินฟราเรด ที่ให้ความร้อนปรุงอาหารดีกว่า
ปรีชา ลิ้มตรีรัตนา เจ้าของผลิตภัณฑ์เตาแก๊ส "อีซี่ ไลฟ์" หรือ อีแอล
เป็นผู้คิดค้นประดิษฐ์เตาแก๊สแบบใหม่ เพื่อความแตกต่างจากเตาแก๊สทั่วไป โดยเตาแก๊สรุ่นต้นแบบมีขนาด
742 x 380 x 97 มิลลิเมตร หรือประมาณเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คน้ำหนัก 6.80 กิโลกรัม
ตัวถังหรือตัวเตาแก๊สผลิตจากสเตนเลส มีหัวเตาทองเหลือง 2 เตา ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษที่ขัดล้างทำความสะอาดง่าย
ทนทานต่อการพกพาไปไหนมาไหน พับเก็บได้ และยังมีกลไกท่อในเตาให้สามารถหมุน 360
องศา พร้อมต่อเข้ากับถังแก๊สแอลพีจี ขนาด 4,7,15 และ 48 กิโลกรัม ได้ตามความต้องการ
ขณะนี้ราคาเสนอขายประมาณ 2900 บาท ข่าวที่ 7 ผลิตกรดโอเมก้า 3
นักวิจัยประสบความสำเร็จในการตัดต่อยีนพิเศษใส่ตัวหนู เพื่อช่วยให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสามารถผลิตกรดโอเมก้า
3 ได้เอง และเตรียมพัฒนาต่อเพื่อใช้กับไก่ เนื้อ และสัตว์ประเภทอื่น ๆ
จิง คัง และคณะนักวิจัย จากโรงพยาบาลกลางแมสซาชูเซตส์ และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ประสบความสำเร็จระดับห้องปฏิบัติการในการตัดต่อพันธุกรรมหนูทดลอง โดยทำการตัดต่อยีนที่ชื่อว่า "แฟท
1" ที่ได้จากพยาธิตัวกลมแคนอแรบดิติส เอลิแกน ให้สามารถทำการผลิตกรดโอเมก้า
3 ซึ่งเป็นกรดไขมันที่พบมากในปลาทั่วไป และมีประโยชน์ต่อสุขภาพในแง่ของการป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตัน
ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคหัวใจ
จากการทดลองตัดต่อยีนพิเศษใส่ตัวหนูทดลองแล้ว พบว่าสามารถเปลี่ยนกรดไขมันโอเมก้า
6 ที่มีอยู่ร่างกายให้เป็นกรดโอเมก้า 3 ได้ คาดว่าในอนาคตจะสามารถขยายการใช้ประโยชน์การตัดต่อยีนดังกล่าวกับอุตสาหกรรมปศุสัตว์ในอุตสาหกรรมอาหารต่อไป ข่าวที่ 8 น้ำลายค้างคาวรักษาโรคได้
พบวิธีรักษาโรคหมดสติอันเกิดอาการอุดตันของเส้นเลือดในสมอง หรือที่เรียกว่า "สโตรก" ด้วยน้ำลายค้างคาวและไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียง
อาการของโรคที่เกิดจากการอุดตันของเส้นเลือดในสมอง ผู้ป่วยจะต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยวิธีการสลายลิ่มเลือดภายใน
2-3 ชั่วโมง ไม่เช่นนั้นเนื้อสมองในพื้นที่ที่เกิดการอุดตันจะไม่ได้รับออกซิเจน
และทำให้เกิดอาการสมองตายเป็นบางส่วน ซึ่งอาจส่งผลกระทบ อาจทำให้เกิดอาการอัมพฤกษ์
หรืออัมพาตแก่ผู้ป่วยได้
ความสำเร็จของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา ได้ค้นพบว่า โปรตีนที่สกัดจากน้ำลายค้างคาวที่ประกอบอยู่ในตัวยาชื่อเดสมาเตพลาส
เพื่อใช้รักษาอาการของผู้ป่วยเลือดออกในสมอง สามารถยึดเวลาการพบแพทย์ออกไปได้นานถึง
9 ชั่วโมง คุณสมบัติสำคัญของยาคือ สามารถเข้าไปสลายลิ่มเลือดที่อุดตันในสมองได้
ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยที่มาของอาการได้อย่างถูกต้องและช่วยให้ผู้ป่วยได้รับผลการรักษาที่ดีขึ้นกว่าเดิม
ข่าวที่ 9 โคลนนิงเซลล์มนุษย์
การค้นพบเทคนิคใหม่เพื่อช่วยผู้ป่วยที่เซลล์ได้รับความเสียหายจากโรค เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน
และอัลไซเมอร์ สามารถหายขาดได้ โดยนักวิจัยเกาหลี นำโดย วู ซูก กวาง ผู้เชี่ยวชาญด้านโคลนนิงสัตว์
และ ชิน ยอง มูน สูตินรีแพทย์ มหาวิทยาลัยโซล ในเกาหลีใต้
การปรับเปลี่ยนเทคนิคการโคลนนิงมาใช้เพื่อช่วยผู้ป่วยที่เรียกว่า somatic cell
nuclear transfer" โดยใช้เซลล์ของผู้ป่วยใส่เข้าไปในเซลล์ไข่ที่เอานิวเคลียสออกแล้วกระตุ้นด้วยไฟฟ้า
จนเซลล์เกิดการแบ่งตัวในระยะบลาสโตซิสต์ จากนั้นดูดเอาสเต็มเซลล์ออกมา และยังได้พัฒนาถึงขั้นผลิตสเต็มเซลล์ไลน์
หรือกลุ่มของเซลล์ที่สามารถสำเนาตัวเองได้มากถึง 70 ครั้ง
ขั้นตอนการโคลนนิง โดยเริ่มต้นจากการดึงเอานิวเคลียสของไข่ออก และแทนที่ด้วยเซลล์จากผู้ป่วยที่ต้องการโคลนนิง
จากนั้นก็กระตุ้นไฟฟ้าหรือสารเคมีเพื่อให้เซลล์เกิดการแบ่งตัว โดยไข่ที่ใช้ในการทดลองนั้น
คณะทำงานได้รับบริจาคจากหญิงสุขภาพดีจำนวน 16 คน ซึ่งเข้ารับการกระตุ้นฮอร์โมนให้เกิดการผลิตไข่มากกว่าปกติ
โดยมีจำนวนเซลล์ไข่ที่ใช้ในการทดลองมากถึง 242 ใบ เทคนิคดังกล่าวจะไม่มีสเปิร์ม
และมดลูกเข้ามาเกี่ยวข้อง คณะทำงานจึงยืนยันว่าการแบ่งตัวที่เกิดขึ้นนั้นจะไม่เรียกว่าตัวอ่อนมนุษย์
นับว่างานวิจัยชิ้นนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในวงการแพทย์อย่างยิ่ง
ข่าวที่ 10 กระดาษอิเล็กทรอนิกส์
ความฝันของนักท่องเที่ยวที่ต้องการแผนที่ที่แสดงรายละเอียดของเส้นทางเดินรถ โรงแรม
ร้านอาหาร พิพิธภัณฑ์ วัด สถานีตำรวจและสถานที่อื่นๆ อย่างครบถ้วน ถูกต้องและชัดเจน
อีกทั้งมีขนาดเล็ก พกพา ใกล้จะเป็นจริงเพราะบริษัทหลายแห่งพร้อมใจกันเร่งพัฒนาจอแสดงผลอิเล็กทรอนิกส์
ที่มีคุณสมบัติยืดหยุ่นได้ สามารถม้วนเก็บได้ โดยผลิตภัณฑ์เป้าหมาย คือ หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
เพราะสามารถส่งข่าวสารล่าสุดมาแสดงผลที่ตัวกระดาษได้โดยตรง ไม่ว่าจะเป็น ราคาหุ้น
ข่าวด่วน และข้อมูลอื่นๆ อีกมากมาย
ฟิลิปส์ อิเล็กทรอนิกส์ ประกาศผลิตกระดาษอิเล็กทรอนิกส์ม้วนได้เชิงพาณิชย์ ภายใต้ชื่อ
โพลิเมอร์วิชั่น กระดาษดังกล่าวเป็นจอภาพสี่เหลี่ยมผืนผ้าหนากว่ากระดาษ 3
เท่า กว้าง 5 นิ้ว หนัก 3.5 กรัม สามารถม้วนจนได้เส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 2 นิ้ว
โพลิเมอร์วิชั่น ใช้เทคโนโลยีอี-เปเปอร์ของบริษัท อี-อิงค์ ในอังกฤษ ซึ่งใช้เทคนิคฝังอนุภาคสีขาว-ดำ
นับพันลงในแคบซูลจิ๋วบนแผ่นพลาสติกบาง และใช้ไฟฟ้าเป็นตัวกระตุ้นให้อนุภาคเหล่านั้นแสดงเป็นสีขาวหรือดำ คม ชัด ลึก วันที่ 2 ก.พ. 2547
ข่าวที่ 11 อังกฤษประดิษฐ์ หุ่นยนต์ AI สำหรับช่วยงานนักวิทยาศาสตร์
นักวิจัยของชาวอังกฤษประกาศว่า พวกเขาสามารถสร้างหุ่นยนต์อัจฉริยะที่สามารถช่วยในการทดลองด้านวิทยาศาตร์ต่าง
ๆ ซึ่งหุ่นยนต์สามารถตั้งสมมติฐานได้ด้วยตนเอง หรือพูดง่าย ๆ ก็คือสามารถคิดได้
เหมือนเช่นปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent) นั่นเอง
โดยหุ่นยนต์อัจฉริยะดังกล่าวสามารถสร้างสูตรทางเคมีได้ สามารถทำการวิจัยและร่วมผลิตตัวยาใหม่
ๆ ได้ ซึ่งผู้สร้างบอกว่ามันสามารถทำงานได้ดีพอ ๆ กับนักศึกษาระดับปริญญาโทเลยทีเดียว
ซึ่งการประดิษฐ์คิดค้นครั้งนี้ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถทุ่มเทให้กับการวิจัยได้มากขึ้น
เนื่องจากสามารถมอบหมายงานด้านการวิจัยที่น่าเบื่อ หรือมีขั้นตอนซ้ำ ๆ กันประจำให้หุ่นยนต์ดังกล่าวปฏิบัติแทนได้
หุ่นยนต์อัจฉริยะตัวนี้ ใช้เวลาในการพัฒนาโดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำถึง 3 ปี
โดยเป็นความร่วมมือของทีมนักวิทยาศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์ของ ศจ.สตีเฟน โอลิเวอร์,
นักชีววิทยาผู้ศึกษาด้านโมเลกุล, นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งเวลส์ (Unมหาวิทยาลัยโรเบิร์ต
กอร์ดอน สก็อตแลนด์ และ อิมพีเรียลคอลเลจ ผู้จัดการออนไลน์ 15 ม.ค. 2547 ข่าวที่ 12 กล้องนาโนและระเบิดอนุภาคนาโน
ภาพลับเฉพาะของเซลล์ในร่างกายสิ่งมีชีวิต กำลังจะถูกเปิดเผยแล้ว จากกล้องนาโนที่มีไวรัสเป็นตัวช่วย
นอกจากนี้ยังความเข้าใจมากขึ้น เกี่ยวกับกลไกการทำงานของไวรัสอีกด้วย จากผลการวิจัยของคณะทำงานจากมหาวิทยาลัยอินเดียน่า
สหรัฐอเมริกา
จากการเปิดเผยผลการวิจัยของบ็อกแดน แดรกนี หัวหน้าคณะทำงานจากมหาวิทยาลัยอินเดียน่า
สหรัฐ กล่าวว่า "กล้องนาโน" (nano-cameras) ที่พัฒนาขึ้นมา สามารถแสดงภาพของสิ่งต่างๆ
ที่อยู่ภายในเซลล์ได้ในระดับที่ลึกซึ้งเกินบรรยาย อีกทั้งช่วยให้ทีมงานเข้าใจการทำงานของไวรัสได้ดียิ่งขึ้น
เพราะผู้ช่วยสำคัญที่ทำให้ภารกิจนี้ลุล่วงก็คือ "ไวรัส" ที่มีอนุภาคทองคำระดับนาโนติดอยู่
ทำหน้าที่เป็นกล้องสอดแนมที่จะแหวกว่ายเข้าไปในเซลล์ของร่างกายสิ่งมีชีวิต โดยจะทำงานร่วมกับเทคนิคการวิเคราะห์คลื่นแสงแบบรามานสเปคโตรสโกปี
(Raman spectroscopy)
ส่วนนักวิจัยทางด้านนาโนเทคโนโลยีของแคนาดายังได้ค้นพบวิธีการช่วยในระบบนำจ่ายยาแก่ผู้ป่วยโรคมะเร็งและโรคร้ายแรงอื่น
ๆได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ที่มีชื่อว่า "ระเบิดอนุภาคนาโน"ระเบิดดังกล่าวเป็นอนุภาคนาโนจิ๋วที่จะส่งผ่านทางหลอดพ่นยาเหมือนกับที่ผู้ป่วยโรคหืดพกติดตัว
และจากการทดลองพบว่าอนุภาคจิ๋วนี้ สามารถทำลายเซลล์มะเร็งปอดภายในจานเพาะเชื้อได้อย่างสมบูรณ์
และเตรียมนำไปทดลองกับสัตว์ในเร็วๆ นี้ กรุงเทพธุรกิจ วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547
ข่าวที่ 13 นาโนเทคโนโลยี พัฒนาการของวิทยาศาสตร์ขนาดจิ๋ว
นาโนเทคโนโลยีเกิดขึ้นจากการนำเอาอะตอมหลาย ๆ ชนิดมาผสมเข้าด้วยกัน นั่นอาจทำให้เราได้วัตถุดิบที่สามารถหดตัว
ยืดหยุ่น เรืองแสงได้ในคราวเดียวกัน ปัจจุบันเราสามารถพบสินค้าที่ใช้นาโนเทคโนโลยีในการผลิตได้
เช่น ผ้าที่สามารถป้องกันกระแสไฟฟ้าได้ หรือการประดิษฐ์แพ็กเกจห่ออาหารสด นักวิทยาศาสตร์บางคนได้ทำนายเอาไว้ว่า
ในท้ายที่สุดแล้ว นาโนเทคโนโลยีก็อาจจะเป็นเพียงแค่เรื่องราวธรรมดา ๆ ที่เกิดขึ้น
หรือพบได้ทั่วไป การทำงานในระดับของนาโนเทคโนโลยีนั้นมีขนาดเล็กมาก เปรียบเทียบกับขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผม
1 เส้น แล้วซอยออกเป็น 80,000 ส่วน เท่า ๆ กัน หนึ่งใน 80,000 ส่วนนั้นคือขนาดที่นักวิทยาศาสตร์ทำงานกับนาโนเทคโนโลยีบริษัทยักษ์ใหญ่ต่าง
ๆ ไม่ว่าจะเป็น อินเทล โมโตโรลา ไอบีเอ็ม ต่างพยายามพัฒนาการวิจัยของตนเองอย่างขะมักเขม้น
ด้วย Nanoparticles ซึ่งทำจากทอง สามารถสั่งการให้ร้อนจนสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้
โปรเจ็คดังกล่าวทำให้นาโนเทคโนโลยีเป็นที่น่าสนใจเช่นเดียวกับที่เทคโนโลยีชีวภาพเคยจุดกระแสดังกล่าวขึ้นเมื่อปี
1980 ทว่านาโนเทคโนโลยีแตกต่างจากไบโอเทคโนโลยี หรือเทคโนโลยีชีวภาพ ตรงที่ความสามารถของมันไม่หยุดอยู่แค่การตัดต่อพันธุกรรมด้านการเกษตร
แต่มันยังสามารถใช้ในธุรกิจอีกหลายประเภท เช่นการทำสถานออกกำลังกาย ไปจนถึงไมโครชิปสำหรับเครื่องบิน ผู้จัดการออนไลน์ 6 ก.พ. 47
ข่าวที่ 14 เทร่าฯผนึกยักษ์ซิเคียวริตีโลกเปิดตัวไฮเทคติดตามตัวนักโทษ
นายชาญยุทธ์ เจนธัญญารักษ์ ประธาน กรรมการบริหาร บริษัทเทร่า บอนด์ จำกัด เปิดเผยว่า
ขณะนี้บริษัทได้เปิดตัวเทคโนโลยีด้านความ ปลอดภัยตัวใหม่อีกตัวในประเทศไทย คือ
ตัวระบบ ติดตามตัวผู้ต้องโทษ (Electronic Monitoring System) หรือ EMS เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับ
ผู้ต้องโทษในคดีทางเศรษฐกิจหรือในคดีลหุโทษ
หลังจากได้ร่วมมือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับ Premier Geografix ยักษ์ใหญ่ด้านซิเคียวริตี
เทคโนโลยีจากประเทศอังกฤษ ระบบ EMS ของบริษัทจะประกอบ ไปด้วย Personal Identification
Device (PID) มีลักษณะคล้ายกำไลที่ใช้สำหรับสวมข้อมือ-ข้อเท้า ซึ่งจะทำหน้าที่ส่งสัญญาณวิทยุขนาดเล็กในย่านความถี่
RF ในการส่งสัญญาณรหัสข้อมูลแสดงหมายเลขประจำเครื่อง เพื่อแจ้งการเคลื่อนไหวของผู้ต้องโทษว่าอยู่ในพื้นที่ควบคุมหรือไม่
เครื่องควบคุม Monitoring Unit (MU) ทำหน้าที่รับสัญญาณวิทยุจากเครื่อง PID ผ่านเสาอากาศ
หาก สัญญาณขาดหาย MU จะทำการแจ้งข้อมูลไปยังศูนย์ควบคุมทันที โดยการส่งผ่านข้อมูลไปยังสายโทรศัพท์
และเครื่องสายตรวจ Field Management Unit (FMU) เป็นเครื่องมือของเจ้าหน้าที่
ภาคสนามใช้ตรวจในสถานที่ควบคุม ในระยะรัศมี 100 เมตร โดยเครื่องควบคุมจะแสดงหมายเลข
PID ที่อยู่ในรัศมีให้เจ้าหน้าที่ทราบ
โดยในระยะแรกจะทดลองนำร่องให้บริการกับผู้ต้องโทษในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
จำนวน 3,000 ราย แต่หากมีจำนวนผู้ต้องโทษแสดงความจำนงต้องการใช้ระบบ และทางกระทรวงยุติธรรมอนุมัติมากกว่านี้
ระบบของ บริษัทก็สามารถให้บริการกับผู้ต้องโทษได้สูงสุดประมาณ 10,000 ราย จากนั้นจึงจะเริ่มขยายการให้บริการระบบให้ครอบคลุมทั้งประเทศ หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 24 ฉบับที่ 1,880 วันที่ 19-21 กุมภาพันธ์ 2547
|